องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ by Mind Map: องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์

1. People

1.1. User

1.1.1. คือผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นผู้ปฏิบัติหรือ กำหนดความต้องการ ในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ว่าทำงานอะไรได้บ้าง โดยผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่องและวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ

1.2. Operator

1.2.1. สำหรับระบบขนาดใหญ่ เช่น เมนเฟรม จะต้องมีเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ ที่คอยปิดและเปิดเครื่อง และเฝ้าดูจอภาพเมื่อมีปัญหาซึ่งอาจเกิดขัดข้อง จะต้องแจ้ง System Programmer ซึ่งเป็นผู้ดูแลตรวจสอบแก้ไข โปรแกรมระบบควบคุมเครื่อง (System Software) อีกทีหนึ่ง

1.3. Database Administrator : DBA

1.3.1. ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล (DBA) เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการบำารุงรักษา ประสิทธิภาพการทำางาน ความถูก ต้องสมบูรณ์และรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูล รวมถึงหน้าที่อื่นๆเช่นการมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัด เก็บข้อมูล การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์

1.4. System Manager

1.4.1. คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ของหน่วยงานเป็นผู้ที่มีความหมายต่อความสำเร็จหรือล้มเหลว ของการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานเป็นอย่างมาก

1.5. Programmer

1.5.1. โปรแกรมเมอร์ คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง โดยทำการเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับระบบงานนั้น ๆ ต้องมีความรู้ในเรื่องการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ แนวคิดแบบตรรกะ (Logic) ของโปรแกรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอกสารที่ได้จากการออกแบบระบบ เทคนิคการออกแบบระบบงาน ทำงานร่วมกันเป็นทีม

1.6. System Analysist and Desinger :SA

1.6.1. นักวิเคราะห์ระบบงาน คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่ในการติดต่อประสานงานกับผู้ใช้โปรแกรม ผู้จัดองค์กรและโปรแกรมเมอร์ ทำการศึกษาวิเคราะห์ระบบงานเดิม ออกแบบระบบงานใหม่ ติดตั้งระบบงานใหม่ รวมทั้งประเมินผลระบบงาน นักวิเคราะห์ระบบต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถมากกว่าโปรแกรมเมอร์ จบการศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ

2. Data

2.1. คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ

2.2. Data คือ ข้อเท็จจริง ที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯ ล ฯ ข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยต้อง มีการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

2.3. Information ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลโดยวิธีที่เหมาะสมและตามความต้องการใช้งานรวมทั้งมีการตรวจสอบความถูกต้องแล้ว การรวบรวมข้อมูลนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์กันก่อนว่าต้องการเก็บข้อมูลไปเพื่อทำอะไร ต้องการสารสนเทศใดบ้าง เพราะในความเป็นจริงข้อมูลจะมีปริมาณมาก เช่น ข้อมูลของนักเรียนคนหนึ่งที่โรงเรียนจัดเก็บจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อ ที่อยู่ บ้านเลขที่ ชื่อผู้ปกครอง บิดา มารดา ข้อมูลที่บันทึกไว้นี้ไม่อาจทำให้รู้จักและเข้าใจนักเรียนผู้นี้ได้อย่างถ่องแท้

3. Procedure

3.1. กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง รับข้อมูลเข้า (Input) คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่รับข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผล อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลได้แก่ แป้นพิมพ์ เมาส์ ประมวลผล (Process) เมื่อคอมพิวเตอร์รับข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้ว จะทำการประมวลผลตามโปรแกรมคำสั่งที่กำหนดไว้ แสดงผล (Output) คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลไปยังหน่วยแสดงผล อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผล ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์ จัดเก็บข้อมูล (Storage) คอมพิวเตอร์จะทำการจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสเก็ต

4. นางสาวเมธาวี เตียศิริ รหัส 61100102103 คณะครุศาสาตร์ สาขาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 3/3 หมู่ 02

5. Hardware

5.1. อุปกรณ์รับข้อมูล

5.1.1. 1.คีย์บอร์ด(Keyboard)อุปกรณ์รับข้อมูลจากการการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อบอกให้คอมพิวตอร์ว่ามีการกดตัวอักษรอะไร

5.1.2. 2.เมาส์(Mouse)อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลโดยการเลื่อนเมาส์เพื่อบังคับตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่างๆ มีทั้งหมด2แบบ 1.แบบทางวงกลม 2.แบบใช้แสง

5.1.3. 3.สแกนเนอร์(Scanner) เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่เป็นเอกสาร รูปภาพ หรือ รูปถ่าย แบบออกได้เป็น2ประเภท 1.แบบเลื่อน 2.แบบแท่นนอน

5.1.3.1. 1.แบบเลื่อนกระดาษ สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อยเลื่อนกระดาษ

5.1.3.2. 2.แบบแท่นนอน สแกนเนอร์แบบนี้มีกลไกคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร เหมาะกับการใช้กับเอกสารทั้งแผ่นเดียวหรือเป็นเล่ม

5.1.4. 4.แผ่นสัมผัส(Touch Pads) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการใช้นิ้วสัมผัส

5.1.5. 5.กล้องดิจิทัล(Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถแปลงข้อมูลภาพเป็นสัญญาณดิจิทัล

5.2. หน่วยความจำหลัก Main Memory

5.2.1. 1. หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile)

5.2.2. 2. หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น

5.3. หน่วยประมวลผลกลาง Central Processing Unit

5.3.1. 2.หน่วยควบคุม(Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย

5.3.2. 1.หน่วยคำนวณและตรรกะ(Arithmetic&Logicai Unit:ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนซณทางคณิตศาสตร์

5.4. อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง Secondary storage

5.4.1. ออปติคัลดิสก์ (optical disk) เป็นหน่วยความจำรองที่ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ในการบันทึกข้อมูล ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากกว่าฮาร์ดดิสก์ธรรมดา ออปติคัลดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

5.4.2. ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) เป็นอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก สามารถเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ โปรแกรม และข้อมูลต่าง ๆ ฮาร์ดดิสก์มีหน่วยความจุตั้งแต่เป็นไบต์ เมกะไบต์ จนถึง จิกะไบต์ หากเครื่องคอมพิวเตอร์มีความจุของฮาร์ดดิสก์มากก็จะทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มาก

5.5. อุปกรณ์สื่อสาร Communication Devices

5.6. อุปกรณ์แสดงผล Output Devices

5.6.1. 1. อุปกรณ์แสดงผลหน้าจอ ( Display device ) เป็นอุปกรณ์สำหรับการแสดงผลในรูปแบบกราฟิกและผู้ใช้สามารถเห็นผลลัพธ์ได้แค่ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อไฟดับหรือปิดการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลงไปจะไม่สามารถเห็นได้อีก บางครั้งนิยมเรียกอุปกรณ์ประเภทนี้ว่า soft copy

5.6.2. 2.อุปกรณ์สำหรับพิมพ์งาน ( Print Device ) เป็นอุปกรณ์การแสดงผลที่แสดงออกมาให้อยู่ในรูปแบบข้อมูล รายงาน รูปภาพ หรือแผนที่ซึ่งสามารถจับต้องหรือเก็บรักษาไว้ได้อย่างถาวร นิยมเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ Hard copy อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องสำหรับการพิมพ์งาน

5.6.3. 3. อุปกรณ์ขับเสียง ( Audio Device )

5.6.3.1. หูฟัง ( Headphone ) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับฟังข้อมูลประเภทเสียงเช่นเดียวกัน นิยมใช้สำหรับการฟังเสียง เช่น ฟังเพลง หรือเสียงประกอบภาพยนตร์ที่เป็นแบบส่วนตัว ในบางรุ่นอาจพบได้ทั้งหูฟังและไมโครโฟนอยู่ในตัวเดียวกัน มีให้เลือกหลายชนิดทั้งแบบที่มีสายเชื่อมต่อและแบบไร้สาย ราคาของหูฟังอาจจะมีตั้งแต่ราคาไม่กี่ร้อยบาทจนถึงหลักพัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพและยี่ห้อของบริษัทผู้ผลิตด้วย

5.6.3.2. ลำโพง ( Speaker ) ข้อมูลที่เป็นแบบเสียงจะไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ไปยังจอภาพของคอมพิวเตอร์ได้ แต่จะอาศัยอุปกรณ์แสดงผลเฉพาะที่เรียกว่า ลำโพง ( speaker ) เพื่อช่วยขับเสียงออก ปัจจุบันมีราคาถูกมากตั้งแต่ร้อยกว่าบาทจนถึงหลักพัน นิยมใช้สำหรับการแสดงผลในรูปของเสียงเพลงหรือเสียงประกอบในภาพยนตร์รวมถึงเสียงที่ได้จากการพูดผ่านไมโครโฟน

6. Software

6.1. ซอฟต์แวร์ระบบ

6.1.1. 1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP , DOS

6.1.2. 1.2ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส , โปรแกรม Defrag

6.1.3. 1.3ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออก ของแต่ละอุปกรณ์

6.1.4. 1.4ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assenbly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ

6.2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์

6.2.1. 2.1ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะทาง เป็นโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาสำหรับนำไปใช้งานเฉพาะด้านหรือในสาขาใด สาขาหนึ่งตามความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้เขียน คือ โปรแกรมเมอร์ (Programmer) ที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ และต้องศึกษาทำความเข้าใจงานและรายละเอียดของการประยุกต์นั้นเป็นอย่างดี

6.2.2. 2.2เป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตได้สร้างขึ้นและวางขายทั่วไป ผู้ใช้สามารถหาซื้อมาประยุกต์ใช้งานทั่วไปได้ ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะสำหรับงานใดงานหนึ่ง ผู้ใช้งานจะต้องเป็นผู้นำไปประยุกต์กับงานของตน ผู้ใช้อาจต้องมีการสร้างหรือพัฒนาชิ้นงานภายในซอฟต์แวร์ต่อไปอีก ราคาของซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปนี้จะไม่สูงมากเกินไป ซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไป ซึ่งนิยมเรียกว่า ซอฟต์แวร์สำเร็จ แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มตามลักษณะการใช้งาน