การบันทึกบัญชีของห้างหุ้นส่วน

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การบันทึกบัญชีของห้างหุ้นส่วน by Mind Map: การบันทึกบัญชีของห้างหุ้นส่วน

1. ห้างหุ้นส่วน คือ อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น

2. ลักษณะของห้างหุ้นส่วน 1. เป็นสัญญาหรือข้อตกลงของบคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ 2. มีการตกลงเข้ากันคือมีการลงทุนร่วมมกันสิ่งที่นำมาลงทุนอาจจะเป็น -เงินสด -สินทรัพย์อื่นที่มิใชเงินสด เช่น ที่ดิน อาคารอุปกรณ์หรือสินค้าา - แรงงาน อาจจะเป็นแรงกาย ความคิด ชื่อเสียง ความสามรถ หรือความเชี่ยวชาญ 3. ต้องกระทํากิจการร่วมกัน คือ ต้องมีเจตนาร่วมกันในการประกอบกิจการ 4. มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากําไรมาแบ่งปันกัน

3. ประเภทของห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ ห้างหุ้นส่วนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน ดังนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจึงมีสิทธิดำเนินกิจการในนามห้างหุ้นส่วนได้ ซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ ห้างหุ้นส่วนสามัญจึงแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีสภาพเป็นนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน มีฐานะเป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ลักษณะคือ หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ได้แก่ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ การประกอบการในลักษณะนี้จะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และต้องใส่คำว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด" ไว้หน้าชื่อห้างเสมอไปด้วย โดยมีผู้เป็นหุ้นส่วน ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แบ่งหุ้นส่วนออกเป็น 2 ลักษณะคือ ประเภทจำกัดความรับผิดชอบ จำกัดรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้น ประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ การไม่จำกัดความรับผิดชอบ หมายถึง ไม่จำกัดหนี้สินที่เกิดขึ้นกรณี

4. ข้อดีและข้อเสียของห้างหุ้นส่วน ข้อดี ห้างหุ้นส่วนจำกัด 1.ห้างหุ้นส่วนจัดทำขึ้นโดยง่าย เพียงให้มีสัญญาระหว่างผู้เป็นหุ่นส่วนเท่าน้้น และจะเลิกเมื่อใดก็ได้ 2.มีเงินทุนมากกว่าการประกอบกิจการแบบเจ้าของคนเดียว เพราะห้างหุ้นส่วนมีบุคคลหลายคนนำมาลงทุนร่วมกัน และห้างหุ้นส่วนเพิ่มทุนเท่าไรก็ได้ 3.มีความเชื่อถือทางการเงินดีกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว เพราะหุ้นส่วนรับผิดชอบในหนี้สินโดยไม่จำกัดจำนวน เว้นแต่พวกจำกัดความรับผิดชอบ เจ้าหนี้จึงยอมให้เครดิตเพราะมีหลักประกันในหนี้สินมั่นคง 4.ห้างหุ้นส่วนมีอิสระในการประกอบธุรกิจในด้านไหนก็ได้ หุ้นส่วนจะเปลี่ยนวัตถุประสงค์ของห้างหุ้รส่วนก็ได้ เพื่อเหมาะสมกับเหตุการณ์ 5.ห้างหุ้นส่วนสามารถชวนคนที่มีความรู้ความสามารถร่วมกิจการในห้างหุ้นส่วนได้ 6.บรรดาหุ้นส่วนส่วนทั้งหมดต่างก็มีส่วนได้เสียในห้างหุ้นส่วน ย่อมมีความระมัดระวังดูแลรักษาผลประโยชน์ได้ดีกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว ข้อเสีย ห้างหุ้นส่วนจำกัด 1.หุ้นส่วนแต่ละคนต้องรับผิดชอบในหนี้สินโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งอาจจะกระทบกระเทือนถึงสินทรัพย์ส่วนตัว เว้นแต่พวกจำกัดความรับผิดชอบเท่านั้น 2.การดำเนินงานในห้างหุ้นส่วนอาจล่าช้า เพราะหุ้นส่วนพวกรับผิดชอบโดยไม่จำกัดจำนวนต้องมีการปรึกษาหารือกัน 3.หุ้นส่วนจะถอนเงินทุนออกจากห้างหุ้นส่วนได้ยาก เพราะต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนด้วยกันเสียก่อน 4.การกระทำของหุ้นส่วนที่มีผลเสียเพียงคนเดียวจะกระทบหุ้นส่วนคนอื่นๆหมดทุกคน 5.ห้างหุ้นส่วนต้องเลิก เมื่อหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตายหรือลาออกอาจทำให้งานที่กำลังดำเนินอยู่ต้องหยุดชะงักลงได้ 6.การประกอบการแบบห้างหุ้นส่วนกับกิจการที่ใช้ทุนปานกลาง เป็นกิจการที่ไม่มีหนี้สินเกี่ยวกับบุคคลภายนอกมากนัก

5. ห่วง คือ ทางสายกลาง ประกอบไปด้วย ดังนี้ ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล 2 เงื่อนไข ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

6. วิธีการบันทึกบัญชีห้างหุ้นส่วน 1. วิธีทุนคงที่ ห้างหุ้นส่วนจะบันทึกการเปลี่ยนแปลงในส่วนทุนของหุ้นส่วนที่มีลักษณะถาวร เช่น เงินลงทุนเริ่มแรก การเพิ่มทุน และการลดทุน ไว้ในบัญชีทุนหุ้นส่วน สําหรับการเปลี่ยนแปลงจากเรื่องอื่นๆ เช่น การรับส่วนแบ่งผลจากการดําเนินงาน เงินเดือน โบนัส ดอกเบี้ย ฯลฯ จะบันทึกไว้ในบัญชีกระแสทุน 2. วิธีทุนเปลี่ยนแปลง ห้างหุ้นส่วนจะบันทึกการเปลี่ยนแปลงในส่วนทุนของหุ้นส่วนทุกรายการ เช่น เงินลงทุนเริ่มแรก การเพิ่มทุน การลดทุน ส่วนแบ่งกําไรขาดทุนเงินเดือน หุ้นส่วน โบนัสหุ้น ส่วน ดอกเบี้ยเงินทุน ฯลฯ ในบัญชีทุนบัญชีเดียว

7. งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ แบบขั้นเดียว 1.รายได้ (revenue) หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลารายงาน หรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน ซึ่งส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น โดยไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากเจ้าของและรายการกำไร - รายได้จากการขายหรือการให้บริการ (revenue from or revenue from rendering services) หมายถึง รายได้ที่เกิดจากการขายสินค้า สิทธิ หรือบริการ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของกิจการเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินสด สิทธิเรียกร้องให้ชำระเงิน หรือสิ่งอื่นที่มีมูลค่าคิดเป็นเงินได้ ทั้งนี้ให้แยกแสดงเป็นรายได้หลักแต่ละประเภท เช่น รายได้จากการขายสินค้า รายได้จากการให้บริการ เป็นต้น -รายได้อื่น (other income) หมายถึง รายได้จากการดำเนินงานนอกจากที่กำหนดไว้ข้อ 1.1 รวมถึงผลกำไรอื่น เช่น กำไรจากการขายเงินลงทุน ผลกำไรจากการขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เป็นต้น 2.ค่าใช้จ่าย (expenses) หมายถึง การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลารายงาน หรือการลดค่าของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน ส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง โดยที่ไม่รวมถึงการแบ่งปันให้กับเจ้าของและรายการขาดทุน -ต้นทุนขายและหรือต้นทุนการให้บริการ (costs of sales or cost of services)หมายถึง ต้นทุนของสินค้า สิทธิ หรือบริการที่ขาย รวมถึงราคาซื้อ ต้นทุนการผลิต และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จ่ายไปเพื่อให้สินค้าอยู่ในสภาพพร้อมที่จะขาย โดยแยกแสดงเป็นต้นทุนตามประเภทของธุรกิจหลักของกิจการตามที่ได้แสดงไว้ในข้อ 1.1 เช่น ต้นทุนของสินค้าที่ขาย ต้นทุนของการให้บริการ เป็นต้น -ค่าใช้จ่ายในการขาย ( sellingeexpenses ) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอันเนื่อง มาจากการขาย -ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (administrative expenses ) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการบริหารกิจการอันเป็นส่วนรวม - ค่าใช้จ่ายอื่น (other expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานนอกจากค่าใช้จ่ายข้างต้นทั้งนี้ให้รวมถึงขาดทุนอื่น เช่น ผลขาดทุนจากการจำหน่ายเงินลงทุน ผลขาดทุนจากการจำหน่ายที่ดินอาคาร อุปกรณ์ ผลขาดทุนจากการหยุดงานของพนักงาน 3.กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ (profit (loss) before finance costs and income tax expenses) หมายถึง ยอดรวมรายได้หักด้วยยอดรวมค่าใช้จ่าย แต่ก่อนหักต้นทุนเงินลงทุนทางการเงินและก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ หากมีผลขาดทุนให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ 4.ต้นทุนทางการเงิน (finance costs) หมายถึง ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการก่อหนี้สินของกิจการ เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าธรรมเนียมธนาคารที่เกิดจากการกู้ยืมเงิน ดอกเบี้ยที่เกิดจากสัญญาเช่าการเงิน เป็นต้น 5.กำไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ (profit (loss) before income tax expense)หมายถึง กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ หักด้วย ต้นทุนทางการเงิน หากมีผลขาดทุนสุทธิให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ 6.ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ (income tax expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ที่คำนวณขึ้น 7.กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (net profit (loss)) หมายถึง กำไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ หักด้วย ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ หากมีผลขาดทุนสุทธิให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ

8. งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ แสดงแบบหลายขั้น 1. รายได้ 2. ต้นทุนทางการเงิน 3. ส่วนแบ่งกำไรหรือขาดทุนของบริษัทร่วมและบริษัทร่วมค้าที่ใช้วิธีส่วนได้เสีย 4. ค่าใช้จ่ายภาษี 5. ยอดรวมของกำไรขาดทุนหลังหักภาษีเงินได้จากการดำเนินงานที่ยกเลิก และผลกำไรหรือขาดทุนหลังหักภาษีเงินได้ 6. กำไรหรือขาดทุน 7. องค์ประกอบแต่ละรายการของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นที่จัดประเภทตามลักษณะ 8. ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นของบริษัทร่วมและกิจการร่วมค้าที่ใช้วิธีส่วนได้เสีย 9. กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม