ข้อวินิจฉัยการพยาบาล

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล by Mind Map: ข้อวินิจฉัยการพยาบาล

1. 7 ครอบครัวขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วย

1.1. วัตถุประสงค์

1.1.1. เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจ ในการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมในการป้องกันการกลับเสพซ้ำ

1.2. เกณฑ์การประเมินผล

1.2.1. 1. ผู้ป่วยสามารถอธิบายสมองติดยา ตัวกระตุ้นต่างๆที่จะทำให้เสพซ้ำได้ 2. ผู้ป่วยสามารถบอกวิธีแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมได้ 3. ผู้ป่วยสามารถบอกทักษะต่างๆที่ช่วยให้เลิกยาได

1.3. การพยาบาล

1.3.1. 1. ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษ พิษภัยและอันตรายจากการใช้ยาเสพติดของผู้ป่วย พร้อมเพิ่มเติมในส่วนขาดและความเข้าใจที่ถูกต้อง 2. สะท้อนให้ผู้ป่วยคิดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยจากการใช้ยาเสพติด และสร้างแรงจูงใจในการเลิกให้กับผู้ป่วย โดยสะท้อนคิดว่าหากผู้ป่วยเลิกได้จะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตบ้าง ในด้านของสุขภาพร่างกาย สัมพันธภาพกับครอบครัว ภาพลักษณ์ ความไว้วางใจ อนาคตและการเรียน 3. ประเมินความคาดหวังในการบำบัด วิเคราะห์ตนเองเกี่ยวกับสิ่งยึดเหนี่ยวในชีวิตที่ทำให้ไม่กลับไปใช้ยาเสพติด เช่น บิดา มารดา และหลักศาสนา 4. อธิบายถึงการเลิกยาเสพติดที่ถูกต้องให้ผู้ป่วยให้สำเร็จ ต้องตั้งใจเลิกอย่างเด็ดขาด เนื่องจากผู้ป่วยใช้สารเสพติดหลายตัว โดยสะท้อนให้ผู้ป่วยคิดว่าหากเกิดปัญหา หรือความวิตกกังวล แล้วใช้ยาเสพติดเป็นทางออก อาจช่วยได้เพียงชั่วขณะ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นจะหายหรือลดลงไปหรือไม่ 5. แนะนำเทคนิควิธีการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องเพื่อหลีกเลี่ยงการกระตุ้นใช้สารเสพติดเป็นทางออก 6. พัฒนาทักษะการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ ค้นหาตัวกระตุ้นที่ทำให้ผู้ป่วยกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำและร่วมค้นหาวิธีการจัดการกับตัวกระตุ้นแนะนำการหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นที่จะนำไปสู่การใช้สารเสพติดซ้ำในผู้ป่วย 7. แนะนำให้ผู้ป่วยคิดถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้สารเสพติด และเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดในชีวิตพร้อมหนทางที่จะนำไปสู่เป้าหมาย 8. ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลิกยาเสพติดและเทคนิคที่ผู้ป่วยจะนำไปใช้เพื่อหลีกเลี่ยงจากยาเสพติดได้สำเร็จ

2. 3 การดูแลตนเองบกพร่องเนื่องจากมีภาวะความสามารถของสมองบกพร่อง

2.1. วัตถุประสงค์

2.2. เกณฑ์การประเมินผล

2.2.1. Overhead

2.2.2. Administrative

2.3. การพยาบาล

2.3.1. 1.สร้างสัมพันธภาพให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ 2. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความจำเป็นในการดูแลตนเองด้านสุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้ป่วย 3. กระตุ้นและแนะนำเกี่ยวกับการดูแลด้านสุขวิทยาส่วนบุคคลเช่น การอาบน้ำ แปรงฟัน สระผม 4. ให้การเสริมแรงทางบวกเช่นการชมเชยเมื่อผู้ป่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองหรือ เสริมแรงทางลบ โดยจะไม่ให้โทรศัพท์ หากไม่ทำกิจวัตรประจำวันของตนเอง 5. จัดตารางการดูแลตนเองและการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจวัตรได้ตามกฎระเบียบของหอผู้ป่วย 6. จับคู่บัดดี้ระหว่างผู้ป่วยด้วยกันเพื่อแนะนำหรือช่วยกระตุ้นการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย

3. 1 เสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมก้าวร้าวเนื่องจากขาดประสิทธิในการควบคุมอารมณ์

3.1. วัตถุประสงค์

3.1.1. ผู้ป่วยควบคุมอารมณ์ได้เหมาะสม

3.2. เกณฑ์การประเมินผล

3.2.1. ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมทะเลาะกับเพื่อนสมาชิก

3.2.2. ผู้ป่วยสามารถควบคุมอารมณ์ได้และยอมรับคำตักเตือนจากเพื่อนสมาชิกได้

3.3. การพยาบาล

3.3.1. . สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยด้วยท่าทีที่เป็นมิตร และพร้อมให้การช่วยเหลือ 2. ประเมินอารมณ์ พฤติกรรมการแสดงออก ความคิด การรับรู้ การเคลื่อนไหว 3. จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยลดสิ่งกระตุ้นให้เกิดอารมณ์โกรธ ไม่พึงพอใจ ซึ่งอาจจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว วุ่นวายได้ 4. เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความคิด ความรู้สึกโดยเฉพาะความคิดความรู้สึกด้านลบ 5.เมื่อผู้ป่วยอารมณ์สงบลง ฝึกทักษะใน การอยู่ร่วมกับผู้อื่น 6. แนะนำวิธีแสดงออกอย่างเหมาะสมในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม 7. แนะนำวิธีผ่อนคลายความเครียดเมื่อรู้สึกเครียด หงุดหงิด หรือโมโห 8. กล่าวชื่นชมเมื่อผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมเพื่อเป็นการเสริมแรงบวก9. สะท้อนให้ผู้ป่วยคิด พิจารณา ถึงสาเหตุการแสดงออกที่ผ่านมา และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแสดงพฤติกรรม และหาแนวทางป้องกัน

4. 2 ไม่สุขสบายเนื่องจากนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

4.1. วัตถุประสงค์

4.1.1. ผู้ป่วยพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ

4.2. เกณฑ์การประเมินผล

4.2.1. ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างเพียงพอไม่มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีอาการง่วงซึมขณะเข้ากลุ่มกิจกรรม

4.3. การพยาบาล

4.3.1. 1. ดูแลผู้ป่วยให้นอนและตื่นตรงเวลาเป็นประจำทุกวัน 2. แนะนำและกระตุ้นให้ทำกิจกรรมในเวลากลางวัน เช่น การสนทนา การร่วมกิจกรรมภายในหอผู้ป่วย 3. ดูแลให้ผู้ป่วยมีการออกกำลังกายอย่างเพียงพอ แต่เพื่อหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายก่อนนอน 3 ชั่วโมง 4. ดูแลให้ยา Ativan (0.5) 1×เย็น ตามแผนการรักษาของแพทย์ 5. ดูแลนวดตามร่างกายหรือดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ เช่น นม เนื่องจากนมมีสารแอลทริบโตแฟน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่เป็นยานอนหลับทางธรรมชาติที่พบได้ในอาหารและสารที่เพิ่มซีโรโทนีนซึ่งมีความจำเป็นต่อวงจรการนอนหลับ

5. 4 ขาดความภูมิใจในชีวิตเนื่องจากความรู้สึกด้อยค่าในตัวเอง

5.1. วัตถุประสงค์

5.1.1. เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าในตนเองบอกจุดเด่นของตนเองได้

5.2. เกณฑ์ประเมินผล

5.2.1. -ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าในตนเองบอกจุดเด่นของตนเองได้ - ผู้ป่วยสามารถแสดงความคิดเห็นในกลุ่มและเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมได้มากขึ้น

5.3. การพยาบาล

5.3.1. 1.สร้างสัมพันธภาพเชิงการบำบัดเพื่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นและเป็นกันเองจนเกิดความไว้วางใจ 2. ประเมินทัศนคติ การรับรู้คุณค่าของตนเองของผู้ป่วย 3. เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความคิดความรู้สึก ที่เกิดขึ้นหรือสาเหตุของการมองตนเองด้านลบ 4. ให้คำปรึกษา และแนะนำแนวทางในการแก้ปัญหาของผู้ป่วย ด้วยการให้พูดคุยระบายความรู้สึกกับเพื่อนที่สนิทหรือเจ้าหน้าที่ 5. ให้ผู้ป่วยฝึกทำสมาธิ ฝึกสติให้อยู่กับปัจจุบัน 6. ส่งเสริมผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มต่างๆ โดยกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้เป็นตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลงาน และให้เพื่อนสมาชิกปรบมือให้กำลังใจ ชื่นชมเมื่อผู้ป่วยทำได้ดี 7. มอบหมายงานที่ผู้ป่วยสามารถทำได้สำเร็จ เช่น กวาดพื้นห้องกิจกรรม กวาดพื้นโรงอาหาร และให้แรงเสริมทางบวกเมื่อผู้ป่วยทำได้ดีเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและส่งเสริมความภาคภูมิใจ 8. ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง มองเห็นความสำเร็จในอดีต เช่น ให้ผู้ป่วยเล่าถึงความดีที่เคยทำพร้อมกล่าวชื่นชมในสิ่งที่ผู้ป่วยทำดี

6. 5ไม่สุขสบายจากผิวหนังมีกลากเกลื้อน

6.1. วัตถุประสงค์

6.1.1. เพื่อให้ผื่นคันที่บริเวณด้านหลังต้นคอ ข้อพับแขนขวาและข้อมือขวาของผู้ป่วยลดลง

6.2. เกณฑการประเมินผล

6.2.1. อาการคันที่บริเวณด้านหลังต้นคอ ข้อพับแขนขวาและข้อมือขวาของผู้ป่วยลดลงโดยผู้ป่วยเกาบริเวณที่มีอาการคันต่าง ๆ ลดลง

6.3. การพยาบาล

6.3.1. 1.สร้างสัมพันธภาพอธิบายแผนการรักษาเพื่อ เพื่อให้ผู้ป่วยไว้วางใจและคุ้นเคย 2.ประเมินอาการและสังเกตอาการ เช่น สังเกตรอยลักษณะคล้ายเกลื้อน และสังเกตรอยอักเสบหรือเป็นแผลที่เกิดจากการแกะเกา 3. ดูแลแนะนำให้ผู้ป่วยงดการเกาเมื่อมีอาการคัน หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่ชื้นเปียก ใส่เสื้อผ้าที่แห้งสะอาดไม่ระคายเคือง และระบายความร้อนได้ดี 4. ดูแลให้ยา 0.1% TA cream ตามแผนการรักษา โดยแนะนำให้ทาบางๆบริเวณจุดที่มีอาการคันต่างๆ 5. แนะนำให้ทำความสะอาดร่างกาย โดยใช้สบู่ฟอก และทาผิวด้วยครีมหรือ น้ำมัน หลังอาบน้ำ 6.ดูแลแยกของใช้ส่วนตัว แยกซักเสื้อผ้าไม่ซักร่วมกับผู้อื่น ไม่ใส่เสื้อที่อับชื้น ไม่ใส่เสื้อซ้ำ 7. แนะนำให้ผู้ป่วยความผิดปกติของผิวหนัง อาการคัน ปวด บวม แดง หากพบความผิดปกติมากขึ้นให้รีบพบแพทย์

7. 6 เสี่ยงต่กการกลับไปเสพซ้ำ

7.1. วัตถุประสงค์

7.1.1. ครอบครัวมีความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้กัญชาและมีปัญหาบกพร่องทางด้านความคิด

7.2. เกณฑ์การประเมินผล

7.2.1. ครอบครัวสามารถบอกวิธีการดูแลผู้ป่วยที่ใช้กัญชาและมีปัญหาบกพร่องทางด้านความคิด

7.3. การพยาบาล

7.3.1. 1. ประเมินสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยและครอบครัว 2. ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับผลเสียของยาเสพติด เน้นให้ตระหนักถึงความรุนแรงเกี่ยวกับการทำลายสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ถ้าไม่สามารถเลิกได้เด็ดขาดจะมีอาการที่รุนแรงขึ้นและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 3. ให้ความรู้เรื่องการรับประทานยาอย่างถูกต้อง รวมถึงผลข้างเคียงของยาที่ผู้ป่วยได้รับและการบรรเทาอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากยา 4. อธิบายความสำคัญของครอบครัวในการป้องกันการเสพติดซ้ำของผู้ป่วย และอธิบายให้ครอบครัวเข้าใจเรื่องการติดยาเสพติดว่าเป็นโรคชนิดหนึ่งที่สามารถรักษาให้หายได้ 5. ให้ความรู้เรื่องสมองติดยา และการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองติดยา การค้นหาและจำกัดตัวกระตุ้นที่ทำให้ผู้ป่วยกลับไปเสพยาซ้ำ 6. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการวางแผนการดูแลผู้ป่วยร่วมกับครอบครัวและตัวผู้ป่วยเองเพื่อ