Get Started. It's Free
or sign up with your email address
โรค NCDS by Mind Map: โรค NCDS

1. โรคเบาหวาน

1.1. สาเหตุ

1.1.1. 1. พันธุกรรม จากประวัติของผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบว่าคนที่มีทั้งพ่อและแม่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน6 ถึง 10 เท่าของคนที่มีพ่อแม่ไม่เป็นโรคเบาหวาน

1.1.2. 2. ความอ้วน คนอ้วนมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากกว่าคนผอมทั้งนี้เพราะร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินเผาผลาญอาหารมากกว่าคนปกติ จน ทำให้การผลิตฮอร์โมนอินซูลินต่ำลง

1.1.3. 3. อายุ ผู้ที่มีอายุมากร่างกายมีความเสื่อมมากขึ้นทำให้การผลิตฮอร์โมนอินซูลินน้อยลงจึงมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานมากกว่าคนที่มีอายุน้อย

1.1.4. 4. เพศ พบว่าผู้ชายมักป่วยเป็นโรคเบาหวานมากกว่าผู้หญิง

1.1.5. 5. อื่นๆ เช่น ความเครียดเรื้อรัง เชื้อโรค หรือยาบางชนิด หรือเกิดร่วมกับโรคเนื้องอกของต่อมใต้สมองหรือต่อมหมวกไต

1.2. อาการ

1.2.1. 1. ปัสสาวะบ่อยมากขึ้น 2. กระหายน้ำ คอแห้ง ดื่มน้ำบ่อยมาก 3. หิวบ่อย รับประทานอาหารปริมาณมากแต่น้ำหนักลด ผอมลง อ่อนเพลีย 4. คันตามผิวหนัง และบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ 5. เป็นแผลหรือฝีง่าย เมื่อเป็นแผลรักษาให้หายยาก 6. รู้สึกชาตามปลายมือและปลายเท้า 7. ความรู้สึกทางเพศลดลง 8. ตาพร่ามัวต้องเปลี่ยนแว่นบ่อยๆ บางครั้งอาจมีเลือดออก ทำให้เป็นต้อกระจกและตาบอดได้ 9. เจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ 10. เป็นแผลที่เท้าหรือขาท่อนล่าง บางรายอาจต้องตัดขา

1.3. การรักษา

1.3.1. ปัจจุบันโรคเบาหวานยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่สามารถควบคุมอาการของโรคได้โดยการปฏิบัติดังนี้ 1. ควบคุมอาหาร ลดน้ำหนัก และออกกำลังกาย 2. รับประทานยาลดน้ำตาลในเลือด 3. ฉีดยาอินซูลิน

2. โรคอ้วน

2.1. สาเหตุ

2.1.1. 1. พฤติกรรมการบริโภค 2. กรรมพันธุ์ 3. อายุ 4. สภาพแวดล้อม 5. สถานภาพทางเศรษฐกิจ

2.2. อาการ

2.2.1. 1. หายใจติดขัด 2. นอนกรน 3. เหนื่อยง่าย ร้อนง่าย เหงื่อออกง่าย 4. ทำกิจกรรมต่างๆได้ยากลำบาก

2.3. การรักษา

2.3.1. 1. ควบคุมอาหารและพฤติกรรมการบริโภค 2. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมสม่ำเสมอ 3. บางรายควรรับประทานยาลดน้ำหนักภายใต้ใบสั่งแพทย์ควบคู่กับการดูแลตนเอง

3. โรคมะเร็ง

3.1. สาเหตุ

3.1.1. 1. สาเหตุจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย 1.1 สารเคมีบางชนิด เช่น สารเคมีในควันบุหรี่และเขม่ารถยนต์ สารพิษที่เกิดจากเนื้อสัตว์รมควันปิ้ง ย่าง ทอดจนไหม้เกรียม สารพิษจากเชื้อรา สีย้อมผ้า สารเคมีบางชนิดที่เกิดจากกระบวนการทางอุตสาหกรรม 1.2 รังสีต่างๆ รวมทั้งรังสีเอาต้าไวโอเลตในแสงแดด 1.3 การติดเชื้อเรื้อรัง เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี, HPV, Epstein Bar Virus, Helicobacter Pylori 1.4 พยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ตับ 2. สาเหตุภายในร่างกาย 2.1 กรรมพันธุ์ที่ผิดปกติ 2.2 ความไม่สมดุลทางฮอร์โมน 2.3 ภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง 2.4 การระคายเคืองที่เกิดซ้ำๆเป็นเวลานาน 2.5 ภาวะทุพโภชนาการ

3.2. อาการ

3.2.1. - อาเจียนเป็นเลือด - ปัสสาวะเป็นเลือด - ปัสสาวะบ่อย ขัดลำ ปัสสาวะเล็ด โดยไม่เคยเป็นมาก่อน - อุจจาระเป็นเลือด มูก หรือเป็นมูกเลือด - ท้องผูกสลับท้องเสีย โดยไม่เคยเป็นมาก่อน - มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติหรือมีประจำเดือนผิดปกติ หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดในวัยหมดประจำเดือน หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ทางที่ไม่เคยมีมาก่อน - ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น อึดอัดท้อง โดยไม่เคยเป็นมาก่อน - มีไข้ต่ำๆ หาสาเหตุไม่ได้ - มีไข้สูงบ่อย หาสาเหตุไม่ได้ - ผอมลงมากใน6เดือน น้ำหนักลดจากเดิม 10% - มีจ้ำห้อเลือดง่ายหรือมีจุดแดงคล้ายไข้เลือดออกตามผิวหนังบ่อย - ปวดศีรษะรุนแรงเรื้อรัง หรือแขน/ขาอ่อนแรง หรือชักโดยไม่เคยชักมาก่อน - ปวดหลังเรื้อรังและปวดมากขึ้นเรื่อยๆ อาจร่วมกับแขน/ขาอ่อนแรง

3.3. การรักษา

3.3.1. 1. การผ่าตัด การเอากรที่เป็นมะเร็งออกไป 2. รังสีรักษา การให้รังสีกำลังสูงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง 3. เคมีบำบัด การให้ยาเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง 4. ฮอร์โมนบำบัด การใช้ฮอร์โมนเพื่อยุติการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง 5. การรักษาแบบผสมผสาน

4. โรคถุงลมโป่งพอง

4.1. สาเหตุ

4.1.1. 1. การสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดถุงลมโป่งพอง 2. มลพิษในอากาศ การหายใจเอามลพิษในอากาศ เช่น ไอเสียรถยนต์ ควันจากการเผาไหม้ 3. ความคิดหรือสารเคมีจากโรงงานไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละอองหรือความผิดที่มีส่วนประกอบของสารเคมีหรือฝุ่นละอองจากไม้ ฝ้าย หรือการทำเมืองแร่ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสมากขึ้นไปอีกหากเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ 4. ถุงลมโป่งพองจากการขาดอัลฟา-1 เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากการขาดโปรตีนชนิดหนึ่ง เมื่อร่างกายพร่องเอนไซม์ Alpha-1-Antitrypsin จะส่งผลให้ถุงลมที่ปอดถูกทำลาย เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดถุงลมโป่งพอง แต่พบได้น้อยมาก

4.2. อาการ

4.2.1. 1. มีอาการหายใจตื้นและไอ (อาการหลัก*) 2. หัวใจเต้นเร็ว 3. เกิดภาวะซึมเศร้า 4. น้ำหนักลด 5. เหนื่อย 6. ในบางรายอาจพบว่ามีริมฝีปากหรือเล็บเป็นสีคล้ำออกม่วงเทาหรือฟ้าเข้มเนื่องจากขาดออกซิเจน

4.3. การรักษา

4.3.1. โรคถุงลมโป่งพองเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น การรักษาจะเน้นไปที่การลดอาการหรือชะลอการดำเนินของโรค การรักษาด้วยยา - ยาขยายหลอดลม ( Bronchodilators) มีคนไกลการออกฤทธิ์จะลดการหดเกร็งกล้ามเนื้อทางเดินหายใจซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น - ยาสเตียรอยด์ เป็นยาที่ใช้ลดการอักเสบในปอดมีทั้งรูปแบบของยารับประทาน ยาให้ทางหลอดเลือด หรือยาพ่น - อยากฟอร์ดโฟร์ไดเอสเทอเรส-4 อินฮิบิเตอร์ ช่วยต้านการอักเสบสามารถลดโอกาสกำเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่รุนแรง - ยาปฏิชีวนะ เพื่อต่อต้านการติดเชื้ออันเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้อาการถุงลมโป่งพองแย่ลง การฉีดวัคซีน สำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังควรจะได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่หรือปอดอักเสบทุกปี ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในปอดที่รุนแรงได้ การบำบัด - การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดหรือการออกกำลังกายที่ความหนักระดับปานกลาง - ดูแลเรื่องโภชนาการ - การบำบัดด้วยออกซิเจน - การบำบัดด้วยการทดแทนอัลฟา-1 การผ่าตัด เพื่อนำชิ้นส่วนของปอดที่ได้รับความเสียหายออก หรือทำการปลูกถ่ายปอด เป็นวิธีที่จะใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากเท่านั้น การปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิต - เลิกสูบบุหรี่หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ปอดเกิดการระคายเคือง เช่น ฝุ่น ควันพิษ น้ำหอม หรือล้างเครื่องปรับอากาศให้สะอาดอยู่เสมอ

5. โรคความดันโลหิตสูง

5.1. สาเหตุ

5.1.1. โรคความดันสูงแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ชนิดที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด (Primary Hypertension หรือ Essential Hypertension) ซึ่งไม่สามารถระบุถึงต้นเหตุการเกิดได้ และชนิดที่ทราบสาเหตุ (Secondary Hypertension) ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสภาวะ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคไต ปัญหาต่อมไทรอยด์ เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต หลอดเลือดผิดปกติแต่กำเนิด การใช้ยาบางชนิด การใช้สารเสพติด หรือแอลกอฮอล์

5.2. อาการ

5.2.1. โรคความดันสูงส่วนใหญ่ไม่ค่อยแสดงอาการผิดปกติ ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันสูงระยะรุนแรงก็อาจมีอาการแสดง เช่น ปวดศีรษะรุนแรง หายใจสั้น เลือดกำเดาไหล ซึ่งอาการเหล่านี้ยังถือว่าเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงและบอกไม่ได้ชัดเจน หรือในบางรายทราบเมื่อตรวจพบภาวะแทรกซ้อน จากโรคความดันสูงขึ้นแล้ว ทำให้ต้องหมั่นมีการตรวจสุขภาพและวัดค่าความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ จึงทำให้โรคนี้ถูกเรียกว่าเป็นฆาตกรเงียบ (Silent Killer) ที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างไม่ทันระวังตัว

5.3. การรักษา

5.3.1. แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านการรับประทานอาหารเบื้องต้น โดยการลดอาหารประเภทโซเดียมสูง เน้นรับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใยสูง ธัญพืช ปลาที่อุดมไปด้วยกรดไขมันที่ดีต่อร่างกาย หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดง ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการใช้ยาร่วมด้วย เพื่อช่วยปรับค่าความดันโลหิตให้ลดลงอยู่ในระดับปกติ ทั้งนี้การรักษายังต้องคำนึงถึงชนิดของโรคด้วย เพราะหากเป็นชนิดที่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วยมีโอกาสในการรักษาหายได้มากกว่าชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ

6. โรคหัวใจ

6.1. สาเหตุ

6.1.1. - โรคหลอดเลือดหัวใจ สาเหตุส่วนมากเกิดจากไขมันหรือแคลเซียมที่สะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในหลอดเลือดจนขัดขวางทางเดินเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังมักมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในหลอดเลือดสูง น้ำหนักเกิน และสูบบุหรี่ - โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยบางรายที่เดิมมีความผิดปกติของหัวใจอยู่แล้วหรือเกิดกับคนทั่วไปที่มีหัวใจปกติก็ได้ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการถูกไฟฟ้าช็อต การใช้สารเสพติด ยา อาหารเสริมบางชนิด รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน นอกจากนี้อาจเป็นความเสี่ยงจากอาการเจ็บป่วยโรคหัวใจอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ หรือโรคอื่น ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง - โรคกล้ามเนื้อหัวใจ มีสาเหตุต่างกันไปตามความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม อาจเกิดจากการไหลเวียนของเลือดสู่หัวใจน้อยลง การได้รับยาหรือสารพิษบางชนิด การติดเชื้อ และพันธุกรรม ส่วนโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนามักเป็นผลจากพันธุกรรมและอายุที่มากขึ้น และโรคกล้ามเนื้อหัวใจถูกบีบรัด ที่กล้ามเนื้อหัวใจแข็งและยืดหยุ่นน้อยลง อาจเป็นผลมาจากโรคอื่น เช่น เนื้อเยื่อเกี่ยวพันผิดปกติ ภาวะธาตุเหล็กมากเกิน หรือการรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัด รังสีบำบัด เป็นต้น

6.2. อาการ

6.2.1. - โรคหลอดเลือดหัวใจ มักส่งผลให้มีอาการเจ็บหรือแน่นหน้าอก ร้าวไปตามกราม แขน ลำคอ ท้อง หรือบริเวณหลัง และบางครั้งอาจมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หรือหมดสติได้ - โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีอาการผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจ อาจเต้นเร็วผิดปกติ ช้าผิดปกติ หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ ทำให้รู้สึกใจสั่น แต่บางครั้งอาจแสดงอาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก เวียนศีรษะ หรือคล้ายจะเป็นลมได้เช่นกัน   - โรคกล้ามเนื้อหัวใจ ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์มักมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม และมีอาการมากขึ้นเมื่อต้องออกแรงหนัก ๆ ส่วนโรคกล้ามเนื้อหัวใจที่รุนแรงมากขึ้นจะทำให้มีอาการเหนื่อยแม้ขณะนั่งอยู่เฉย ๆ มีอาการบวมตามแขน ขา หนังตา ร่วมกับอาการอ่อนเพลีย นอนราบไม่ได้ และตื่นขึ้นมาไอในเวลากลางคืน - โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นโรคที่เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อทารกอยู่ในครรภ์มารดา โดยอาจแสดงอาการทันทีเมื่อแรกคลอด หรือแสดงอาการมากขึ้นในภายหลังก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือกลุ่มที่มีอาการเขียวและกลุ่มไม่มีอาการเขียว ในกลุ่มที่มีอาการยังไม่รุนแรงมากอาจสังเกตได้ในภายหลัง เช่น เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน แต่ในกลุ่มที่มีอาการมากจะทำให้เลี้ยงไม่โต ทารกมีอาการเหนื่อยขณะให้นมหรือติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย ๆ เป็นต้น - โรคลิ้นหัวใจ อาการของโรคขึ้นอยู่กับความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่เกิดขึ้น ในกลุ่มที่มีความผิดปกติเพียงเล็กน้อยอาจไม่แสดงอาการใด ๆ หรืออาจได้ยินเสียงผิดปกติจากการตรวจร่างกายเท่านั้น แต่หากมีความผิดปกติของลิ้นหัวใจมากก็จะมีอาการเหนื่อยง่าย และเกิดภาวะหัวใจวายหรือน้ำท่วมปอดได้          - โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ อาการที่แสดงถึงโรคนี้ ได้แก่ มีไข้ โดยมักจะเป็นไข้เรื้อรัง อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หัวใจเต้นผิดปกติ หายใจหอบเหนื่อย ไอเรื้อรังแห้ง ๆ ขาหรือช่องท้องบวม รวมถึงมีผื่นหรือจุดขึ้นตามผิวหนัง

6.3. การรักษา

6.3.1. การรักษาโรคหัวใจจะรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบและรักษาตามอาการที่ผู้ป่วยเป็นในขณะนั้น เช่น การทำหัตถการสวนหัวใจ การผ่าตัดหัวใจ ร่วมกับการใช้ยารักษา รวมถึงการให้คำแนะนำในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ ความเครียด และเพิ่มการออกกำลังกาย การปรับพฤติกรรมการบริโภคโดยแนะนำให้ลดอาการเค็ม อาหารหวาน และอาหารที่มีไขมันสูง