รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๑๒ องค์กรอิสระ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๑๒ องค์กรอิสระ by Mind Map: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย        หมวด ๑๒   องค์กรอิสระ

1. ส่วนที่ ๓ ผู้ตรวจการแผ่นดิน

1.1. มาตรา ๒๒๘ ผู้ตรวจการแผ่นดินมีจํานวนสามคนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคําแนะนํา ของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหา ผู้ซึ่งได้รับการสรรหาต้องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินไม่ต่ํากว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า หรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่เทียบได้ไม่ต่ํากว่ากรมตามที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกําหนด โดยต้อง ดํารงตําแหน่งดังกล่าวเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี จํานวนสองคน และเป็นผู้มีประสบการณ์ในการดําเนินกิจการ อันเป็นสาธารณะมาแล้วไม่น้อยกว่ายี่สิบปี จํานวนหนึ่งคน

1.2. มาตรา ๒๒๙ ผู้ตรวจการแผ่นดินมีวาระการดํารงตําแหน่งเจ็ดปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว

1.3. มาตรา ๒๓๐ ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคําสั่ง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใดๆ บรรดาที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรม แก่ประชาชน หรือเป็นภาระแก่ประชาชนโดยไม่จําเป็นหรือเกินสมควรแก่เหตุ (๒) แสวงหาข้อเท็จจริงเมื่อเห็นว่ามีผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจาก การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ขจัดหรือระงับความเดือดร้อน หรือความไม่เป็นธรรมนั้น (๓) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ทราบถึงการที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน ตามหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ดําเนินการตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินตาม (๑) หรือ (๒) โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบเพื่อพิจารณาสั่งการ ตามที่เห็นสมควรต่อไปในการดําเนินการตาม (๑) หรือ (๒) หากเป็นกรณีที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติดําเนินการต่อไป

2. ส่วนที่ ๑ บททั่วไป

2.1. มาตรา ๒๑๕ องค์กรอิสระเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นให้มีความอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ ให้เป็นไป ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย การปฏิบัติหน้าที่และการใช้อํานาจขององค์กรอิสระต้องเป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม กล้าหาญ และปราศจากอคติทั้งปวงในการใช้ดุลพินิจ

2.2. มาตรา ๒๑๖ นอกจากคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในส่วน ที่ว่าด้วยองค์กรอิสระแต่ละองค์กรแล้ว ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ ต้องห้ามทั่วไปดังต่อไปนี้ด้วย (๑) มีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบห้าปี แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปี (๒) มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๐๑ (๑) (๓) (๔) และ (๕) (๓) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๐๒

2.2.1. มาตรา ๒๐๑ (๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๓) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (๔) มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ (๕)มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.2.2. มาตรา ๒๐๒ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นหรือเคยเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระใด (๒) ลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๙๘ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๗) หรือ (๑๘) (๓) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทํา โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๔) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิก สภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะสิบปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา (๕) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกหรือผู้ดํารงตําแหน่งอื่นของพรรคการเมืองในระยะสิบปีก่อนเข้ารับ การคัดเลือกหรือสรรหา (๖) เป็นข้าราชการซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํา (๗) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ (๘) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งใดในห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือองค์กรที่ดําเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกําไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด (๙) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ (๑๐) มีพฤติการณ์อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง มาตรา ๒๐๓ เมื่อมีกรณีที่จะต้องสรรหาผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้เป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการสรรหา ซึ่งประกอบด้วย (๑) ประธานศาลฎีกา เป็นประธานกรรมการ (๒) ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เป็นกรรมการ (๓) ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นกรรมการ (๔) บุคคลซึ่งองค์กรอิสระแต่งตั้งจากผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๐๑ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา ๒๐๒ และไม่เคยปฏิบัติหน้าที่ใดๆ ในศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระ องค์กรละหนึ่งคน เป็นกรรมการในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งกรรมการสรรหาตาม (๒) หรือกรรมการสรรหาตาม (๔) มีไม่ครบ ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่ ให้สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของคณะกรรมการสรรหา ให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการสรรหาผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณา ของศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัคร ผู้ได้รับการคัดเลือกหรือได้รับการสรรหา ให้เป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการสรรหาเป็นผู้วินิจฉัย คําวินิจฉัยของคณะกรรมการสรรหา ให้เป็นที่สุด ในการสรรหา ให้คณะกรรมการสรรหาปรึกษาหารือเพื่อคัดสรรให้ได้บุคคลซึ่งมีความรับผิดชอบสูง มีความกล้าหาญในการปฏิบัติหน้าที่ และมีพฤติกรรมทางจริยธรรมเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคม โดยนอกจาก การประกาศรับสมัครแล้ว ให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการสรรหาจากบุคคลที่มีความเหมาะสมทั่วไปได้ด้วย แต่ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลนั้นในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งกรรมการสรรหาตาม (๒) หรือกรรมการสรรหาตาม (๔) มีไม่ครบ ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่ ให้สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของคณะกรรมการสรรหา ให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการสรรหาผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณา ของศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัคร ผู้ได้รับการคัดเลือกหรือได้รับการสรรหา ให้เป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการสรรหาเป็นผู้วินิจฉัย คําวินิจฉัยของคณะกรรมการสรรหา ให้เป็นที่สุด ในการสรรหา ให้คณะกรรมการสรรหาปรึกษาหารือเพื่อคัดสรรให้ได้บุคคลซึ่งมีความรับผิดชอบสูง มีความกล้าหาญในการปฏิบัติหน้าที่ และมีพฤติกรรมทางจริยธรรมเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคม โดยนอกจาก การประกาศรับสมัครแล้ว ให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการสรรหาจากบุคคลที่มีความเหมาะสมทั่วไปได้ด้วย แต่ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลนั้น

2.3. มาตรา ๒๑๗ เมื่อมีกรณีที่จะต้องสรรหาผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ดํารงตําแหน่ง ในองค์กรอิสระนอกจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้เป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการสรรหา ตามมาตรา ๒๐๓ ที่จะดําเนินการสรรหา เว้นแต่กรรมการสรรหาตามมาตรา ๒๐๓ (๔) ให้ประกอบด้วย บุคคลซึ่งแต่งตั้งโดยศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระที่มิใช่องค์กรอิสระที่ต้องมีการสรรหา ให้นําความในมาตรา ๒๐๓ มาตรา ๒๐๔ มาตรา ๒๐๕ และมาตรา ๒๐๖ มาใช้บังคับแก่ การสรรหาตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม

2.3.1. มาตรา ๒๐๓ เมื่อมีกรณีที่จะต้องสรรหาผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้เป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการสรรหา ซึ่งประกอบด้วย (๑) ประธานศาลฎีกา เป็นประธานกรรมการ (๒) ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เป็นกรรมการ (๓) ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นกรรมการ

2.3.2. เว้นแต่กรรมการสรรหาตามมาตรา ๒๐๓ (๔) คือ บุคคลซึ่งองค์กรอิสระแต่งตั้งจากผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๐๑ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา ๒๐๒ และไม่เคยปฏิบัติหน้าที่ใดๆ ในศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระ องค์กรละหนึ่งคน เป็นกรรมการในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งกรรมการสรรหาตาม (๒) หรือกรรมการสรรหาตาม (๔) มีไม่ครบ ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่ ให้สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของคณะกรรมการสรรหา ให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการสรรหาผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณา ของศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัคร ผู้ได้รับการคัดเลือกหรือได้รับการสรรหา ให้เป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการสรรหาเป็นผู้วินิจฉัย คําวินิจฉัยของคณะกรรมการสรรหา ให้เป็นที่สุด ในการสรรหา ให้คณะกรรมการสรรหาปรึกษาหารือเพื่อคัดสรรให้ได้บุคคลซึ่งมีความรับผิดชอบสูง มีความกล้าหาญในการปฏิบัติหน้าที่ และมีพฤติกรรมทางจริยธรรมเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคม โดยนอกจาก การประกาศรับสมัครแล้ว ให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการสรรหาจากบุคคลที่มีความเหมาะสมทั่วไปได้ด้วย แต่ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลนั้น

2.3.2.1. ให้ประกอบด้วย

2.3.2.1.1. มาตรา ๒๐๓ เมื่อมีกรณีที่จะต้องสรรหาผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้เป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการสรรหา ซึ่งประกอบด้วย (๑) ประธานศาลฎีกา เป็นประธานกรรมการ (๒) ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เป็นกรรมการ (๓) ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นกรรมการ (๔) บุคคลซึ่งองค์กรอิสระแต่งตั้งจากผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๐๑ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา ๒๐๒ และไม่เคยปฏิบัติหน้าที่ใดๆ ในศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระ องค์กรละหนึ่งคน เป็นกรรมการในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งกรรมการสรรหาตาม (๒) หรือกรรมการสรรหาตาม (๔) มีไม่ครบ ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่ ให้สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของคณะกรรมการสรรหา ให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการสรรหาผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณา ของศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัคร ผู้ได้รับการคัดเลือกหรือได้รับการสรรหา ให้เป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการสรรหาเป็นผู้วินิจฉัย คําวินิจฉัยของคณะกรรมการสรรหา ให้เป็นที่สุด ในการสรรหา ให้คณะกรรมการสรรหาปรึกษาหารือเพื่อคัดสรรให้ได้บุคคลซึ่งมีความรับผิดชอบสูง มีความกล้าหาญในการปฏิบัติหน้าที่ และมีพฤติกรรมทางจริยธรรมเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคม โดยนอกจาก การประกาศรับสมัครแล้ว ให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการสรรหาจากบุคคลที่มีความเหมาะสมทั่วไปได้ด้วย แต่ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลนั้น

2.3.2.1.2. มาตรา ๒๐๔ ผู้ได้รับการคัดเลือกหรือสรรหาเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ของวุฒิสภา ในกรณีที่วุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการสรรหาหรือคัดเลือกรายใด ให้ดําเนินการสรรหา หรือคัดเลือกบุคคลใหม่แทนผู้นั้น แล้วเสนอต่อวุฒิสภาเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป เมื่อผู้ได้รับการสรรหาหรือคัดเลือกได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาแล้ว ให้เลือกกันเองให้คนหนึ่ง เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ ให้ประธานวุฒิสภานําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ และเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

2.3.2.1.3. มาตรา ๒๐๕ ผู้ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญโดยที่ยังมิได้ พ้นจากตําแหน่งตามมาตรา ๒๐๒ (๖) (๗) หรือ (๘) หรือยังประกอบวิชาชีพตาม (๙) อยู่ ต้องแสดงหลักฐาน ว่าได้ลาออกหรือเลิกประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๒๐๒ (๖) (๗) (๘) หรือ (๙) แล้ว ต่อประธานวุฒิสภา ภายในเวลาที่ประธานวุฒิสภากําหนด ซึ่งต้องเป็นเวลาก่อนที่ประธานวุฒิสภาจะนําความกราบบังคมทูล ตามมาตรา ๒๐๔ วรรคสี่ ในกรณีที่ไม่แสดงหลักฐานภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้นั้นสละสิทธิ และให้ดําเนินการคัดเลือกหรือสรรหาใหม

2.3.2.1.4. มาตรา ๒๐๖ ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๒๐๔ ถ้ามีผู้ได้รับความเห็นชอบ จากวุฒิสภาจํานวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคน ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธาน ศาลรัฐธรรมนูญแล้วแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบโดยไม่ต้องรอให้มีผู้ได้รับความเห็นชอบครบเก้าคน และเมื่อโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญดําเนินการตามหน้าที่และอํานาจต่อไป พลางก่อนได้ โดยในระหว่างนั้น ให้ถือว่าศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเท่าที่มีอย

2.4. มาตรา ๒๑๘ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระพ้นจาก ตําแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามทั่วไปตามมาตรา ๒๑๖ หรือขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามเฉพาะตามมาตรา ๒๒๒ มาตรา ๒๒๘ มาตรา ๒๓๒ มาตรา ๒๓๘ หรือ ตามมาตรา ๒๔๖ วรรคสอง และตามกฎหมายที่ตราขึ้นตามมาตรา ๒๔๖ วรรคสี่ แล้วแต่กรณี ให้นําความในมาตรา ๒๐๘ วรรคสอง วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า และมาตรา ๒๐๙ มาใช้บังคับแก่การพ้นจากตําแหน่งของผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระโดยอนุโลม ในกรณีที่ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๒๓๕ วรรคสาม ถ้ามีจํานวนเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ให้นําความในมาตรา ๒๑๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

2.4.1. ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามทั่วไปตามมาตรา ๒๑๖ หรือขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามเฉพาะตามมาตรา ๒๒๒ มาตรา ๒๒๘ มาตรา ๒๓๒ มาตรา ๒๓๘ หรือ ตามมาตรา ๒๔๖ วรรคสอง และตามกฎหมายที่ตราขึ้นตามมาตรา ๒๔๖ วรรคสี่ คือ

2.4.1.1. มาตรา ๒๑๖ นอกจากคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในส่วน ที่ว่าด้วยองค์กรอิสระแต่ละองค์กรแล้ว ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ ต้องห้ามทั่วไปดังต่อไปนี้ด้วย (๑) มีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบห้าปี แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปี (๒) มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๐๑ (๑) (๓) (๔) และ (๕) (๓) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๐๒

2.4.1.2. มาตรา ๒๒๒ คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจํานวนเจ็ดคนซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภา จากบุคคลดังต่อไปนี้ (๑) ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาการต่างๆ ที่จะยังประโยชน์แก่การบริหารและจัดการ การเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งได้รับการสรรหา จากคณะกรรมการสรรหา จํานวนห้าคน(๒) ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านกฎหมาย มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และเคยดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าอธิบดีผู้พิพากษา หรือตําแหน่งไม่ต่ํากว่าอธิบดีอัยการมาแล้วเป็นเวลา ไม่น้อยกว่าห้าปี ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมใหญศาลฎ ่ ีกา จํานวนสองคน ผู้ซึ่งจะได้รับการสรรหาเป็นกรรมการการเลือกตั้งตาม (๑) ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๓๒ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) หรือเป็นผู้ทํางานหรือเคยทํางานในภาคประชาสังคมมาแล้วเป็นเวลา ไม่น้อยกว่ายี่สิบปี ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกําหนด

2.4.1.3. มาตรา ๒๒๘ ผู้ตรวจการแผ่นดินมีจํานวนสามคนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคําแนะนํา ของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหา ผู้ซึ่งได้รับการสรรหาต้องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินไม่ต่ํากว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า หรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่เทียบได้ไม่ต่ํากว่ากรมตามที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกําหนด โดยต้อง ดํารงตําแหน่งดังกล่าวเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี จํานวนสองคน และเป็นผู้มีประสบการณ์ในการดําเนินกิจการ อันเป็นสาธารณะมาแล้วไม่น้อยกว่ายี่สิบปี จํานวนหนึ่งคน

2.4.1.4. มาตรา ๒๓๒ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประกอบด้วย กรรมการจํานวนเก้าคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งได้รับการสรรหา โดยคณะกรรมการสรรหา ผู้ซึ่งได้รับการสรรหาต้องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านกฎหมาย บัญชี เศรษฐศาสตร์ การบริหารราชการแผ่นดิน หรือการอื่นใดอันเป็น ประโยชน์ต่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ด้วย (๑) รับราชการหรือเคยรับราชการในตําแหน่งไม่ต่ํากว่าอธิบดีผู้พิพากษา อธิบดีศาลปกครองชั้นต้น ตุลาการพระธรรมนูญหัวหน้าศาลทหารกลาง หรืออธิบดีอัยการมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี (๒) รับราชการหรือเคยรับราชการในตําแหน่งไม่ต่ํากว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี (๓) เป็นหรือเคยเป็นผู้ดํารงตําแหน่งผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่ไม่เปนส็ ่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี (๔) ดํารงตําแหน่งหรือเคยดํารงตําแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมาแล้ว ไม่น้อยกว่าห้าปี และยังมีผลงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์ (๕) เป็นหรือเคยเป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่มีกฎหมายรับรองการประกอบวิชาชีพโดยประกอบวิชาชีพ อย่างสม่ําเสมอและต่อเนื่องมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าย่ีสิบปีนับถึงวันที่ได้รับการเสนอชื่อ และได้รับการรับรอง การประกอบวิชาชีพจากองค์กรวิชาชีพนั้น(๖) เป็นผู้มีความรู้ความชํานาญและประสบการณ์ทางด้านการบริหาร การเงิน การคลัง การบัญชี หรือการบริหารกิจการวิสาหกิจในระดับไม่ต่ํากว่าผู้บริหารระดับสูงของบริษัทมหาชนจํากัดมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสิบปี (๗) เคยเป็นผู้ดํารงตําแหน่งตาม (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๖) รวมกันไม่น้อยกว่าสิบปี การนับระยะเวลาตามวรรคสอง ให้นับถึงวันที่ได้รับการเสนอชื่อหรือวันสมัครเข้ารับการสรรหา แล้วแต่กรณี

2.4.1.5. มาตรา ๒๔๖ วรรคสี่ คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การสรรหา และการพ้นจากตําแหน่งของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งชาติ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทั้งนี้ บทบัญญัติเกี่ยวกับการสรรหาต้องกําหนดให้ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนมีส่วนร่วม ในการสรรหาด้วย

2.4.2. มาตราใช้บังคับแก่การพ้นจากตําแหน่งของผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระโดยอนุโลม คือ

2.4.2.1. มาตรา ๒๐๘ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตําแหน่งเมื่อ (๑) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๐๑ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๐๒ (๒) ตาย (๓) ลาออก (๔) มีอายุครบเจ็ดสิบห้าปี (๕) ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้พ้นจากตําแหน่งด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญท้ังหมดเท่าที่มีอยู่เพราะเหตุฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ

2.4.2.2. มาตรา ๒๐๙ ในระหว่างที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระและยังไม่มี การแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแทนตําแหน่งที่ว่าง ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเท่าที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ ต่อไปได้ บทบัญญัติตามวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกรณีมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเหลืออยู่ไม่ถึงเจ็ดคน

2.4.3. ในกรณีที่ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๒๓๕ วรรคสาม คือ จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการ ทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริง ที่ควรแจ้งให้ทราบ และมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สินนั้นด้วย โดยอนุโลม

2.4.3.1. ถ้ามีจํานวนเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ให้นําความในมาตรา ๒๑๔ ในกรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๒๓๕ วรรคสาม และมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเหลืออยู่ไม่ถึงเจ็ดคน ให้ประธานศาลฎีกาและประธาน ศาลปกครองสูงสุดร่วมกันแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญทําหน้าที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นการชั่วคราวให้ครบเก้าคน โดยให้ผู้ซ่ึงได้รับ แต่งตั้งทําหน้าที่ในฐานะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้จนกว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ตนทําหน้าที่แทน จะปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือจนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งแทน มาใช้บังคับโดยอนุโลม

2.5. มาตรา ๒๑๙ ให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระร่วมกันกําหนดมาตรฐานทางจริยธรรม ขึ้นใช้บังคับแก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วให้ใช้บังคับได้ ทั้งนี้ มาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าวต้องครอบคลุมถึงการรักษาเกียรติภูมิและผลประโยชน์ ของชาติ และต้องระบุให้ชัดแจ้งด้วยว่าการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมใดมีลักษณะ ร้ายแรง ในการจัดทํามาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง ให้รับฟังความคิดเห็นของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย และเมื่อประกาศใช้บังคับแล้วให้ใช้บังคับแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีด้วย แต่ไม่ห้ามสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือคณะรัฐมนตรีที่จะกําหนด จริยธรรมเพิ่มขึ้นให้เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ของตน แต่ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับมาตรฐานทางจริยธรรม ตามวรรคหนึ่ง และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

2.6. มาตรา ๒๒๐ ให้องค์กรอิสระแต่ละแห่ง นอกจากคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีหน่วยงาน ที่รับผิดชอบงานธุรการ ดําเนินการ และอํานวยความสะดวก เพื่อให้องค์กรอิสระบรรลุภารกิจและหน้าที่ ตามที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และเป็นไปตามมติหรือแนวทางที่องค์กรอิสระกําหนด โดยให้มี หัวหน้าหน่วยงานคนหนึ่งซึ่งแต่งตั้งโดยความเห็นชอบขององค์กรอิสระแต่ละองค์กรเป็นผู้รับผิดชอบ การบริหารงานของหน่วยงานนั้น รับผิดชอบขึ้นตรงต่อองค์กรอิสระ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

2.7. มาตรา ๒๒๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้องค์กรอิสระร่วมมือและช่วยเหลือกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ในการปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละองค์กร และถ้าองค์กรอิสระใดเห็นว่ามีผู้กระทําการอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ในหน้าที่และอํานาจขององค์กรอิสระอื่น ให้แจ้งองค์กรอิสระนั้นทราบเพื่อดําเนินการตามหน้าที่ และอํานาจต่อไป

3. ส่วนที่ ๒ คณะกรรมการการเลือกตั้ง

3.1. มาตรา ๒๒๒ คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจํานวนเจ็ดคนซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภา จากบุคคลดังต่อไปนี้ (๑) ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาการต่างๆ ที่จะยังประโยชน์แก่การบริหารและจัดการ การเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งได้รับการสรรหา จากคณะกรรมการสรรหา จํานวนห้าคน(๒) ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านกฎหมาย มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และเคยดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าอธิบดีผู้พิพากษา หรือตําแหน่งไม่ต่ํากว่าอธิบดีอัยการมาแล้วเป็นเวลา ไม่น้อยกว่าห้าปี ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมใหญศาลฎีกา จํานวนสองคน ผู้ซึ่งจะได้รับการสรรหาเป็นกรรมการการเลือกตั้งตาม (๑) ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๓๒ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) หรือเป็นผู้ทํางานหรือเคยทํางานในภาคประชาสังคมมาแล้วเป็นเวลา ไม่น้อยกว่ายี่สิบปี ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกําหนด

3.1.1. ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๓๒ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) คือ

3.1.1.1. (๒) รับราชการหรือเคยรับราชการในตําแหน่งไม่ต่ํากว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี (๓) เป็นหรือเคยเป็นผู้ดํารงตําแหน่งผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี (๔) ดํารงตําแหน่งหรือเคยดํารงตําแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมาแล้ว ไม่น้อยกว่าห้าปี และยังมีผลงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์ (๕) เป็นหรือเคยเป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่มีกฎหมายรับรองการประกอบวิชาชีพโดยประกอบวิชาชีพ อย่างสม่ําเสมอและต่อเนื่องมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าย่ีสิบปีนับถึงวันที่ได้รับการเสนอชื่อ และได้รับการรับรอง การประกอบวิชาชีพจากองค์กรวิชาชีพนั้น (๖) เป็นผู้มีความรู้ความชํานาญและประสบการณ์ทางด้านการบริหาร การเงิน การคลัง การบัญชี หรือการบริหารกิจการวิสาหกิจในระดับไม่ต่ํากว่าผู้บริหารระดับสูงของบริษัทมหาชนจํากัดมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสิบปี (๗) เคยเป็นผู้ดํารงตําแหน่งตาม (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๖) รวมกันไม่น้อยกว่าสิบปี การนับระยะเวลาตามวรรคสอง ให้นับถึงวันที่ได้รับการเสนอชื่อหรือวันสมัครเข้ารับการสรรหา แล้วแต่กรณ

3.2. มาตรา ๒๒๓ กรรมการการเลือกตั้งมีวาระการดํารงตําแหน่งเจ็ดปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว ในระหว่างที่กรรมการการเลือกตั้งพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ และยังไม่มีการแต่งตั้งกรรมการ การเลือกตั้งแทนตําแหน่งที่ว่าง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเท่าที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ แต่ถ้ามี กรรมการการเลือกตั้งเหลืออยู่ไม่ถึงสี่คนให้กระทําได้แต่เฉพาะการที่จําเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

3.3. มาตรา ๒๒๔ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดหรือดําเนินการให้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกสมาชิกวุฒิสภา การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น และการออกเสียงประชามติ (๒) ควบคุมดูแลการเลือกตั้งและการเลือกตาม (๑) ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และควบคุมดูแลการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อการนี้ ให้มีอํานาจสืบสวน หรือไต่สวนได้ตามที่จําเป็นหรือที่เห็นสมควร (๓) เมื่อผลการสืบสวนหรือไต่สวนตาม (๒) หรือเมื่อพบเห็นการกระทําที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า การเลือกตั้งหรือการเลือกตาม (๑) มิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม หรือการออกเสียงประชามติ เป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ให้มีอํานาจสั่งระงับ ยับยั้ง แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกการเลือกตั้ง หรือการเลือก หรือการออกเสียงประชามติ และสั่งให้ดําเนินการเลือกตั้ง เลือก หรือออกเสียงประชามติใหม่ ในหน่วยเลือกตั้งบางหน่วย หรือทุกหน่วย (๔) สั่งระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือผู้สมัครรับเลือกตาม (๑) ไว้เป็นการชั่วคราวเป็นระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้นั้นกระทําการหรือรู้เห็น กับการกระทําของบุคคลอื่น ที่มีลักษณะเป็นการทุจริต หรือทําให้การเลือกตั้งหรือการเลือกมิได้เป็นไป โดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม (๕) ดูแลการดําเนินงานของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามกฎหมาย (๖) หน้าที่และอํานาจอื่นตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ในการสืบสวนหรือไต่สวนตาม (๒) คณะกรรมการการเลือกตั้งจะมอบหมายให้กรรมการการเลือกตั้ง แต่ละคนดําเนินการ หรือมอบหมายให้คณะบุคคลดําเนินการภายใต้การกํากับของกรรมการการเลือกตั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนดก็ได การใช้อํานาจตาม (๓) ให้กรรมการการเลือกตั้งแต่ละคนซึ่งพบเห็นการกระทําความผิดมีอํานาจ กระทําได้สําหรับหน่วยเลือกตั้งหรือเขตเลือกตั้งที่พบเห็นการกระทําความผิด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนด

3.4. มาตรา ๒๒๕ ก่อนประกาศผลการเลือกตั้งหรือการเลือก ถ้ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า การเลือกตั้งหรือการเลือกนั้นมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอํานาจ สั่งให้มีการเลือกตั้งหรือการเลือกใหม่ในหน่วยเลือกตั้งหรือเขตเลือกตั้งนั้น ถ้าผู้กระทําการนั้นเป็นผู้สมัคร รับเลือกตั้งหรือผู้สมัครรับเลือก แล้วแต่กรณี หรือรู้เห็นกับการกระทําของบุคคลอื่น ให้คณะกรรมการ การเลือกตั้งสั่งระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้นไว้เป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๒๒๔ (๔)

3.4.1. มาตรา๒๒๔(๔)

3.4.1.1. สั่งระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือผู้สมัครรับเลือกตาม (๑) ไว้เป็นการชั่วคราวเป็นระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้นั้นกระทําการหรือรู้เห็น กับการกระทําของบุคคลอื่น ที่มีลักษณะเป็นการทุจริต หรือทําให้การเลือกตั้งหรือการเลือกมิได้เป็นไป โดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม

3.5. มาตรา ๒๒๖ เมื่อมีการดําเนินการตามมาตรา ๒๒๕ หรือภายหลังการประกาศผลการเลือกตั้ง หรือการเลือกแล้ว มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือผู้สมัครรับเลือกผู้ใดกระทําการทุจริต ในการเลือกตั้งหรือการเลือกหรือรู้เห็นกับการกระทําของบุคคลอื่น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคําร้อง ต่อศาลฎีกาเพื่อสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น การพิจารณาของศาลฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้นําสํานวนการสืบสวนหรือไต่สวนของคณะกรรมการ การเลือกตั้งเป็นหลักในการพิจารณา และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ให้ศาลมีอํานาจสั่งไต่สวนข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ ในกรณีที่ศาลฎีกาพิพากษาว่าบุคคลตามวรรคหนึ่งกระทําความผิดตามที่ถูกร้อง ให้ศาลฎีกา สั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นเป็นเวลาสิบปี ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา แล้วแต่กรณี เมื่อศาลฎีกามีคําสั่งรับคําร้องไว้พิจารณาแล้ว ถ้าผู้ถูกกล่าวหาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา ให้ผู้นั้นหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลฎีกาจะพิพากษาว่าผู้นั้นมิได้กระทําความผิด และเมื่อศาลฎีกามีคําพิพากษาว่าผู้นั้นกระทําความผิด ให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นสิ้นสุดลงนับแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่ มิให้นับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาซึ่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคสี่เป็นจํานวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี ให้นํามาตรานี้ไปใช้บังคับแก่การเลือกต้ังสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นด้วยโดยอนุโลม แต่ให้อํานาจของศาลฎีกาเป็นอํานาจของศาลอุทธรณ์ และให้คําสั่งหรือคําพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด การพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาหรือศาลอุทธรณ์ตามมาตรานี้ ให้เป็นไปตามระเบียบของ ที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาซึ่งต้องกําหนดให้ใช้ระบบไต่สวนและให้ดําเนินการโดยรวดเร็ว

3.6. มาตรา ๒๒๗ ในระหว่างที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือการเลือกสมาชิกวุฒิสภา หรือเมื่อประกาศให้มีการออกเสียงประชามติ มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้จับ คุมขัง หรือหมายเรียกตัวกรรมการการเลือกตั้งไปสอบสวน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ การเลือกตั้ง หรือในกรณีที่จับในขณะกระทําความผิด ในกรณีที่มีการจับกรรมการการเลือกตั้งในขณะกระทําความผิด หรือจับหรือคุมขังกรรมการ การเลือกตั้งในกรณีอื่น ให้รายงานต่อประธานกรรมการการเลือกตั้งโดยด่วน และให้ประธานกรรมการ การเลือกตั้งมีอํานาจสั่งให้ปล่อยผู้ถูกจับได้ แต่ถ้าประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ถูกจับหรือคุมขัง ให้เป็นอํานาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งเท่าที่มีอยู่เป็นผู้ดําเนินการ

4. องค์กรอิสระ

4.1. องค์กรอิสระและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หมายถึง องค์กรของ รัฐที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเกี่ยวกับภารกิจของรัฐตามบท บัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยองค์กรของรัฐเหล่านี้จะมี หลักประกันให้สามารถปฏิบัติภารกิจที่ได้โดยอิสระ ปลอดพ้นจาก การแทรกแซงขององค์กรของรัฐอื่นหรือสถาบันทางการเมืองอื่น ๆ

4.1.1. องค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เพื่อให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายของการปฏิรูปทางการเมือง ที่ต้องการให้เป็นการเมืองใหม่ ให้สิทธิและเสรีภาพกับประชาชน โดยมุ่งหวังให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น ต่อมาได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ส่งผลให้ปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ตามหมวด 10 ศาล หมวด 11 ศาลรัฐธรรมนูญ และหมวด 12 องค์กรอิสระ รวมไปถึงหมวด 13 องค์กรอัยการ