การเรียนรู้

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การเรียนรู้ by Mind Map: การเรียนรู้

1. จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้

1.1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และประเมินผล

1.2. ด้านเจตพิสัย (Affective Domain ) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม

1.3. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้าน การปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท การเคลื่อนไหว การกระท า การปฏิบัติงาน การมีทักษะและความชำนาญ

2. ความหมายของการเรียนรู้

2.1. คิมเบิล (Kimble, 1964 ) กล่าวว่า การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็น ผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง

2.2. ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981) กล่าวว่า การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจาก การตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์

2.3. คอนบาค (Cronbach, 1990) กล่าวว่า การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการ เปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา

2.4. ประดินันท์ อุปรมัย (2540) กล่าวว่า การเรียนรู้คือ การเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการ ได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุท าให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม

3. องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้

3.1. แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้ง สมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่ จะชักนำไปสู่การเรียนรู้

3.2. สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวการที่ท าให้บุคคลมี ปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึงครู กิจกรรมการสอน และอุปกรณ์การสอนต่างๆ

3.3. การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการ กระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง ค าพูด การคิด การรับรู้ ความสนใจ และความรู้สึก