ลักษณะของภาษาไทย

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ลักษณะของภาษาไทย by Mind Map: ลักษณะของภาษาไทย

1. เสียงในภาษา

1.1. เสียงสระและรูปสระ

1.1.1. เสียงสระ คือเสียงที่ผ่านลำคอออกมาโดยตรง

1.1.2. ภาษาไทยมีเสียงสระ

1.1.2.1. สระเดี่ยวหรือสระแท้

1.1.2.1.1. 9 คู่

1.1.2.1.2. 18 หน่วยเสียง

1.1.2.2. สระประสมหรือสระเลื่อน

1.1.2.2.1. 3 หน่วยเสียง

1.2. เสียงพยัญชนะและรูปพยัญชนะ

1.2.1. พยัญชนะไทยมี 44 รูป

1.2.1.1. พยัญชนะต้น 21 เสียง

1.2.1.2. พยัญชนะท้าย 8 เสียง

1.2.2. ข้อควรสังเกตรูปและเสียงอักษรไทย

1.2.2.1. รูปพยัญชนะมีมากกว่าเสียงพยัญชนะ

1.2.2.2. รูปพยัญชนะต่างกันแต่เสียงเดียวกัน

1.2.2.3. รูปพยัญชนะบางรูปเลิกใช้

1.2.2.4. รูปพยัญชนะไทนมีหลายรูป เพราะยืมจากภาษาอื่น

1.2.2.5. รูปพยัญชนะบางรูปไม่ออกเสียง

1.3. เสียงวรรณยุกต์และรูปวรรณยุกต์

1.3.1. เสียงวรรณยุกต์

1.3.1.1. มีวรรณยุกต์ 5 เสียง

1.3.1.2. สร้างเสียงต่างๆได้มากมาย

1.3.1.2.1. เป็นคำที่มีความหมาย

1.3.1.2.2. เป็นพยางค์ที่ไม่มีความหมาย

1.3.1.2.3. บางพยางค์มีความหมายในตัวเอง

1.3.2. รูปวรรณยุกต์

1.3.2.1. รูปกับเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน

1.3.2.2. คำที่มีพยัญชนะต้น 2 ตัว

1.3.2.2.1. ถ้ามีวรรณยุกต์ เขียนไว้บนพยัญชนะตัวหลัง ผันพยัญชนะตัวหน้าเป็นหลัก

2. ส่วนประกอบของภาษา

2.1. องค์ประกอบของพยางค์

2.1.1. พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ จะมีความหมายหรือไม่มีก็ได้

2.1.2. พยางค์มีองค์ประกอบ 3 ส่วน

2.1.2.1. พยัญชนะต้น อาจเป็นพยัญชนะต้นเดี่ยวหรือพยัญชนะต้นควบ

2.1.2.2. สระ อาจเป็นสระเดี่ยวเสียงสั้นหรือเสียงยาว หรือสระเลื่อน

2.1.2.3. วรรณยุกต์

2.1.3. การประสมอักษร 3 ส่วน

2.1.3.1. วิธีการนี้ เรียกว่า มาตร กะ กา

2.1.3.2. มีสระ และวรรณยุกต์

2.1.3.3. ประสมด้วยสระจำนวน 21 เสียง

2.1.4. การประสมอักษร 4 ส่วน

2.1.4.1. ประสม 4 ส่วนปกติ

2.1.4.1.1. ประสมอักษร 3 ส่วน

2.1.4.1.2. เพิ่มตัวสะกดเป็นส่วนที่ 4

2.1.4.1.3. มาตรา 8 มาตรา

2.1.4.2. ประสมอักษร 4 ส่วนพิเศษ

2.1.4.2.1. ประสม 3 ส่วนปกติ

2.1.4.2.2. ตัวการันต์เพิ่มเข้าเป็นส่วนที่ 4

2.1.5. การประสมอักษร 5 ส่วน

2.1.5.1. ประสม 4 ส่วนปกติ

2.1.5.2. ตัวการันต์เพิ่มเป็นส่วนที่ 5

2.1.5.3. มาตราทั้ง 8 แม่ ที่มีตัวการันต์

2.2. องค์ประกอบของคำ

2.2.1. คำ

2.2.1.1. เสียงที่เปล่งออกมา

2.2.1.2. มีความหมายอย่างหนึ่งจะเป็นกี่พยางค์ก็ได้

2.2.2. คำที่ประกอบด้วยพยางค์เดียวเรียกว่า คำพยางค์เดียว

3. ลักษณะสำคัญของภาษาไทย

3.1. คำไทยแท้มีพยางค์เดียว

3.1.1. มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง

3.1.2. ใช้เรียกสิ่งต่างๆ กิริยาอาการของมนุษย์

3.1.3. คำที่ใช้เรียกชื่อ

3.1.3.1. เครือญาติ

3.1.3.1.1. พ่อ

3.1.3.1.2. แม่

3.1.3.2. ส่วนต่างๆของร่างกาย

3.1.3.2.1. หัว

3.1.3.2.2. หน้า

3.1.3.3. สิ่งของเครื่องใช้

3.1.3.3.1. เสื้อ

3.1.3.3.2. ผ้า

3.1.3.4. กิริยาอาการ

3.1.3.4.1. ไป

3.1.3.4.2. มา

3.2. ภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนรูปศัพท์

3.2.1. คำแต่ละคำมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง

3.2.2. ใช้ได้อิสระ

3.2.3. ไม่มีการเปลี่ยนรูปศัพท์ตาม

3.2.3.1. เพศ

3.2.3.2. พจน์

3.2.3.3. กาล

3.3. ภาษาไทยสะกดตรงมาตรา

3.3.1. มี 8 มาตรา

3.3.2. คำไทยแท้มีตัวสะกดตรงตามมาตรา

3.3.3. บางคำมีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา

3.4. ภาษาไทยมีการเรียงคำในประโยค

3.4.1. หากเรียงคำในตำแหน่งต่างไป สลับกันความหมายจะเปลี่ยน

3.5. ภาษาไทยวางคำขยายไว้หลังคำที่ถูกขยาย

3.5.1. หากมีคำขยายจะวางอยู่หลังคำ

3.5.2. อยู่ติดกับคำที่อยู่ขยาย

3.6. ภาษาไทยมีคำลักษณนาม

3.6.1. บอกลักษณะของนามข้างหน้า

3.6.2. ใช้ตามหลังคำวิเศษณ์บอกจำนวน

3.6.3. ใช้ตามหลังคำนามทั่วไปเพื่อนเน้นน้ำหนัก

3.6.4. เพื่อบอกให้ทราบลักษณะของคำนามนั้น

3.7. ภาษาไทยสร้างคำใหม่

3.7.1. โดยวิธีการ

3.7.1.1. ประสมคำ

3.7.1.2. การซ้อนคำ

3.7.1.3. การซ้ำคำ

3.7.1.4. การสมาส

3.7.1.5. การสนธิ

3.8. ภาษาไทยมีเสียงวรรณยุกต์

3.8.1. การใช้วรรณยุกต์ต่างกันทำให้ความหมายคำเปลี่ยน

3.8.2. ทำให้คำในภาษาเพิ่มมากขึ้น

3.9. ภาษาไทยมีระดับ

3.9.1. มีการใช้คำพูดให้เหมาะสมแก่บุคคล

3.9.1.1. ตามกาลเทศะ

3.9.1.2. ระดับฐานะของบุคคล

3.10. ภาษาไทยมีวรรคตอนในการเขียนและจังหวะในการพูด

3.10.1. กำหนดความหมายที่ต้องการ

3.10.2. หากแบ่งวรรคตอนผิด ความหมายจะเปลี่ยน