หลักการออกแบบสื่อ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
หลักการออกแบบสื่อ by Mind Map: หลักการออกแบบสื่อ

1. ทวนความรู้เดิม(Activate Prior Knowledge)

1.1. ไม่ควรคาดเดาเอาว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานก่อนแล้วจึงมาศึกษาเนื้อหาใหม่ควรมีการทดสอบหรือให้ความรู้เพื่อเป็นการทบทวนให้พร้อมที่จะรับความรู้ใหม่

1.2. การทดสอบหรือทบทวนควรให้กระชับและตรงตามวัตถุประสงค์

1.3. ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนออกจากแบบทดสอบ หรือเนื้อหาใหม่ เพื่อไปทบทวนได้ตลอดเวลา

1.4. หากไม่มีการทดสอบควรมีการกระตุ้นให้ผู้เรียนกลับไปทบทวนหรือศึกษาในสิ่งที่เกี่ยวข้อง

2. การเสนอเนื้อหา (Present New Information)

2.1. ใช้ภาพนิ่งประกอบการเสนอเนื้อหาโดยเฉพาะส่วนเนื้อหาที่สำคัญ

2.2. พยายามใช้ภาพเคลื่อนไหวในเนื้อหาที่ยากและที่มีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับใช้แผนภูมิแผนภาพ สถิติสัญลักษณ์หรือภาพเปรียบเทียบประกอบเนื้อหา

2.3. ในเนื้อหาที่ยากและซับซ้อนให้เน้นข้อความเป็นสำคัญซึ่งอาจเป็นการตีกรอบขีดเส้นใต้การกระพริบก็ทำสีให้เด่น

3. ชี้แนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)

3.1. แสดงให้ผู้เรียนได้เห็นถึงความสัมพันธ์ของเนื้อหาและช่วยให้เห็นสิงย่อยนั้นมีความสัมพันธ์กับสิ่งใหม่อย่างไร

3.2. แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสิ่งใหม่กับสิ่งที่ผู้เรียนมีความรู้หรือมีประสบการณ์มาแล้ว

3.3. พยายามให้ตัวอย่างที่แตกต่างกันออกไปเพื่อช่วยอธิบายความคิดใหม่ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

4. ให้ข้อมูลย้อนกลับ(ProvideFeedback)

4.1. แบบไม่เคลื่อนไหวหมายถึงการเสริมแรงด้วยการแสดงคำหรือข้อความบอกความถูกหรือผิด และรวมถึงการเฉลย

4.2. แบบเคลื่อนไหวหมายถึงการเสริมแรงด้วยการแสดงกราฟฟิคเช่นภาพ หน้ายิ้มหน้าเสียใจหรือมีข้อความประกอบให้ชัดเจน

4.3. แบบ โต้ตอบหมายถึงการเสริมแรงด้วยการให้ผู้เรียนได้มีกิจกรรมเชิงโต้ตอบกับบทเรียนเป็นกิจกรรมที่จัเสริมหรือเพื่อเกิดการกระตุ้นแก่ผู้เรียนเช่นเกม

4.4. แบบทำเครื่องหมายหมายถึงการทำเครื่องหมายบนคำตอบของผู้เรียนเมื่อมีการตอบคำถามซึ่งอยู่ในรูปของวงกลมขีดเส้นใต้หรือใช้สีที่แตกต่าง

5. การจำและนำไปใช้ (Promote Retention and Transfer)

5.1. ทบทวนแนวคิดที่สำคัญและเนื้อหาที่เป็นสรุป

5.2. สรุปให้ผู้เรียนได้ทราบว่าความรู้ใหม่มีความสัมพันธ์กับความรู้เดิมหรือประสบการณ์ที่ผ่านมาอย่างไร

5.3. เสนอแนะเนื้อหาที่เป็นความรู้ใหม่ซึ่งจะนำไปใช้ประโยชน์ได้

6. เร้าความสนใจ (Gain Attention)

6.1. ใช้กราฟิกเก่ียวข้องกับส่วนเน้ือหาควรมีขนาดใหญ่ชัดเจนไม่ซับซ้อน

6.2. ใช้ภาพเคลื่อนไหว(Animation)หรือเทคนิคอื่นๆเพื่อแสดงการเคลื่อนไหวที่ควรสั้นและง่าย

6.3. ควรใช้สีเข้าช่วยโดยเฉพาะสีเขียวน้าเงินหรือสีเข้มอื่นๆท่ีตัดกับพื้นชัดเจน

6.4. ใช้เสียงให้สอดคล้องกับกราฟิก

6.5. กราฟิกควรจะใช้เทคนิคท่ีแสดงผลได้อย่างรวดเร็ว

6.6. กราฟิกที่ใช้ต้องเก่ียวข้องกับเน้ือหาและเหมาะสมกับวัย

7. บอกวัตถุประสงค์(SpecifyObjectives)

7.1. ใช้คำสั้นๆและเข้าใจได้ง่าย

7.2. หลีกเลี่ยงคำที่ยังไม่เป็นที่รู้จักและเป็นที่เข้าใจ โดยทั่วไป

7.3. ไม่ควรกำหนดวัตถุประสงค์หลายข้อเกินไปในเนื้อหาแต่ละส่วน

7.4. ผู้เรียนควรมีโอกาสที่จะทราบว่าหลังจบบทเรียนเขาสามารถนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง

7.5. หากบทเรียนนั้นยังมีบทเรียนย่อยๆ ควรบอกจุดประสงค์กว้างๆและบอกจุดประสงค์เฉพาะส่วนของบทเรียนย่อย

8. กระตุ้นการตอบสนอง (Elicit Responses)

8.1. พยายามให้ผู้เรียนได้ตอบสนองด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งตลอดการเรียน

8.2. ควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพิมพ์คำตอบหรือข้อความเพื่อเร้าความสนใจ แต่ก็ไม่ควรจะยาวเกินไป

8.3. ถามคำถามเป็นช่วงๆตามความเหมาะสมของเนื้อหาเพื่อเราความคิดและเจตนาการของผู้เรียน

9. ทดสอบความรู้ (Access Performance)

9.1. ต้องแน่ใจว่าสิ่งที่ต้องการวัดนั้นตรงกับจุดประสงค์

9.2. ข้อทดสอบคำตอบและฟิตแบคอยู่ในเฟรมเดียวกัน

9.3. หลีกเลี่ยงการให้พิมพ์คำตอบที่ยาวเกินไป

9.4. ให้ผู้เรียนตอบครั้งเดียวในแต่ละคำถาม

9.5. อธิบายให้ผู้เรียนทราบว่าควรจะตอบด้วยวิธีใด

9.6. ควรมีรูปภาพประกอบด้วยนอกจากข้อความ

9.7. คำนึงถึงความแม่นยำและความน่าเชื่อถือของแบบทดสอบด้วย