เมือง ชุมชนเมือง และสภาพแวดล้อมในเขตเมือง

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
เมือง ชุมชนเมือง และสภาพแวดล้อมในเขตเมือง by Mind Map: เมือง ชุมชนเมือง และสภาพแวดล้อมในเขตเมือง

1. 6. ปัญหาสภาพแวดล้อมเมือง

1.1. ลักษณะของปัญหาสิ่งแวดล้อม

1.1.1. 1. ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ (resource depletion)

1.1.2. 2. ปัญหามลพิษ (pollution) เกิดจากการมีสิ่งแปลกปลอมเจือปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม

1.2. ปัญหาสิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชน

1.2.1. 1. ปัญหาความหนาแน่นของประชากรและการขยายตัวของชุมชน

1.2.2. 2. ปัญหาด้านน้ำ

1.2.2.1. 2.1 ปัญหามลภาวะทางน้ำ

1.2.2.2. 2.2 ปัญหาน้ำท่วม

1.2.2.3. 2.3 ปัญหาการขาดน้ำบริโภค

1.2.3. 3. ปัญหาการจราจรติดขัด

1.2.4. 4. ปัญหามลภาวะทางอากาศ

1.2.5. 5. ปัญหาขยะมูลฝอย

1.2.6. 6. ปัญหาความเสี่ยงต่อการเกิดวินาศภัย

1.2.7. 7. ปัญหาความสวยงามของเมือง

2. 5. สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม

2.1. 1. การเพิ่มของประชากร (population growth)

2.2. 2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (economic growth and technological progress)

3. 7. วิวัฒนาการพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง

3.1. 7.1 วิวัฒนาการพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองของต่างประเทศ

3.1.1. 7.1.1 ยุคโบราณ

3.1.1.1. - ช่วงอารยธรรมเมโสโปเตเมีย (mesopotamia)

3.1.1.1.1. - สังคมเกษตรกรรม

3.1.1.1.2. - การปกครองแบบนครรัฐซึ่งมีเมืองหลวง แวดล้อมด้วยพื้นที่เกษตรเป็นขอบเมืองในบริเวณไม้กว้างขวางนัก

3.1.1.1.3. - บ้านเรือนเกาะกลุ่มแน่น แต่จะมีลานโล่งสาธารณะของชุมชนเมือง

3.1.1.2. - ยุคต่อมามีการสร้างหอสูงลดหล่นเป็นชั้นๆ ที่ประกอบด้วยลานกว้าง โดยรอบๆ มีต้นไม้หนาแน่น มีการสร้างสวนลอยที่มีชื่อเสียงคือ “สวนลอยที่เมืองบาบิโลน”

3.1.1.3. - ช่วงอารยธรรมกรีก

3.1.1.3.1. - มีการใช้พื้นที่โล่งประเภทสนามหญ้า ใช้เป็นที่พบปะสิ่งสรรค์กันระหว่างปราชญ์กับศิษย์

3.1.1.4. - ช่วงอารยธรรมโรมัน

3.1.1.4.1. - องค์ประกอบเมืองประกอบด้วยกำแพงเมือง ประตู ท่อน้ำประปา The Forum (เหมือน government center) ที่พักอาศัย และ บริเวณที่ทำเกษตรกรรม

3.1.2. 7.1.2 ยุคกลาง…เมืองในยุคมืด

3.1.2.1. - เมืองมีการเจริญเติบโตแบบ concentric growth มี 2 ศูนย์กลางชุมชนคือปราสาท และวัด ตลาดสดของท้องถิ่นเป็นที่ประกอบกิจกรรมร่วมกัน ทางสังคม

3.1.2.2. - เกิดการต่อสู้แย่งชิงอำนาจ เกิดสงคราม ไม่ได้อยู่ในความสงบ เมืองยุคนีจึงมีความเป็นอยู่แร้นแค้น แออัด ขาดพื้นที่ว่างในเมืองและสวนสาธารณะ ลานสำหรับพักผ่อนมีแต่อาคารที่สร้างใกล้ชิดกันไม่มีแสงแดด ต้นไม้ ธรรมชาติที่เจริญตาเจริญใจ บรรยากาศอับเฉา จนเรียก “เมืองในยุคมืด”

3.1.3. 7.1.3 ยุคเรเนซอง …ยุคทองของศิลปวิทยาการ

3.1.3.1. - เกิดความนิยมตามธรรมชาติ เมืองต่างๆ มีนโยบายส่งเสริมธรรมชาติของเมือง มีสวนไม้ดอก สวนสาธารณะ สวนสัตว์ สวนพฤกษศาสตร์ ขึ้น ตาม ริมฝั่งแม่น้ำลำคลองกลายเป็นที่พักผ่อนของคนเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม หรือ ศิลปกรรมการจัดพื้นที่ปรากฏทั่วไปทั้งในคฤหาสน์ พระราชวัง เช่น พระราช วังแวร์ซาย บริเวณใดที่เป็นที่ว่างก็จะมีการจัดตกแต่งสวนด้วยต้นไม้ ดอกไม้ สนามหญ้า สระน้ำ เพื่อช่วยลดความแออัดของเมือง

3.1.3.1.1. - Olmstead บิดาแห่งภูมิสถาปัตยกรรม

3.1.3.1.2. - สร้างสวนสาธารณะแห่งชาติ

3.1.3.1.3. - การทำถนนที่มีทิวทัศน์สวยงาม

3.1.4. 7.1.4 ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม…ศตวรรษที่ 18

3.1.4.1. - วิถีชีวิตของคนในแถบยุโรปเปลี่ยนไปจากสังคมเกษตร กลับกลายเป็นสังคมอุตสาหกรรม ประชาชนมุ่งหน้าเดินทางเข้าหาแหล่งงานในเมืองใหญ่ ทำให้ เกิดความแออัด ด้วยเหตุที่ว่าชีวิตคนเมืองเต็มไปด้วยความรีบเร่ง ทำให้ ชาวเมืองเกิดความเครียด ประชาชนจึงมีความต้องการพื้นที่พักผ่อนส่วนกลางในเมืองมาก จึงได้มีการเรียกร้องให้เปิดสวนของพระราชวังให้ประชาชน ได้เข้าไปใช้พักผ่อน และต่อมาได้มีการจัดหาที่ดินสำหรับพัฒนาขึ้นเป็นสวนสาธารณะ โดยเฉพาะสวนส่วนตัวบางแห่งให้เป็นสาธารณะประโยชน์

3.2. 7.2 วิวัฒนาการพื้นที่สีเขียวในเมืองของประเทศไทย

3.2.1. 7.2.1 สมัยกรุงสุโขทัย

3.2.1.1. พ่อขุนรามคำแหง ได้ทรงสร้างบ้านเมือง สร้างป่า จากหลักศิลาจารึกระบุไว้ดังนี้ “ …ไพรในเมืองสุโขทัยนี้จึงชม สร้างป่าหมาก ป่าพลู ทั่วเมืองทุกแห่งหนป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้”ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าสภาพความเป็นอยู่ของคนสุโขทัยนั้นชีวิตผูกพันอยู่กับศาสนา ธรรมชาติ พื้นที่สีเขียวของเมืองรวมอยู่กับบ้านเรือนอย่างใกล้ชิด พื้นที่สีเขียว ส่วนใหญ่เป็นเรือกสวน เนื่องจากคนในสมัยสุโขทัยมีอาชีพส่วนใหญ่ทำการเกษตรชีวิตจึงผูกพันอยู่กับไร่นาและเกษตรกรรม

3.2.2. 7.2.2 สมัยกรุงศรีอยุธยา

3.2.2.1. การสร้างกรุงในระยะแรกให้ความสำคัญกับบริเวณหนองโสน (บึงพระราม) มีการสร้างพระราชวังทางตอนเหนือของบึงพระราม ซึ่งบึงพระรามนี้ถือว่า เป็นที่ว่างสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดภายในเมือง ที่ประชาชนใช้ประโยชน์เป็นที่ พักผ่อนหย่อนใจ แต่ถ้าหากต้องการใช้ที่ว่างอื่นๆ เพื่อการพักผ่อนหรือละเล่น ต้องออกไปท้องทุ่งนอกกำแพงเมืองที่มีทั้งพื้นที่ว่างและพื้นที่เกษตรกรรม ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พบว่ามีการสร้างสวนในพระราชวังเช่น พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ จ. ลพบุรี สร้างและประดับด้วยต้นไม้ และน้ำพุ และพระราชอุทยานส่วนพระองค์อีก คือสวนแก้ว

3.2.3. 7.2.3 สมัยกรุงรัตนโกสินทร

3.2.3.1. รัชกาลที่ 1 …ช่วงของการสร้างบ้านแปงเมือง พื้นที่สีเขียวของเมืองออกมาในรูปของสวนในพระราชวัง ที่ว่างสาธารณะส่วนใหญ่จะใช้ลานวัดในการพบปะ สังสรรค์และทำกิจกรรมร่วมกัน และยังใช้เป็นสนามเด็กเล่นไปในตัว มีคลองน้ำ และแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นที่โล่งรักษาสภาพแวดล้อม และท้องสนามหลวงที่ใช้สำหรับการประชุมประชาชนจำนวนมาก

3.2.3.2. รัชการที่ 5… ทรงตั้งกรมพระราชอุทยานขึ้นเพื่อรักษาต้นไม้โดยเฉพาะ โดยมีเจ้ากรมบรรดาศักดิเป็นพระยาอภิรักษ์ราชอุทยานเป็นผู้ดูแลต้นไม้หลวงและ ขยายกิจการตามลำดับปรากฎพระราชวังสราญรมย์ (สร้างใน ร. 4)

3.2.3.3. รัชกาลที่ 6… พระราชทานที่ดินบริเวณทุ่งศาลาแดงให้จัดสร้างเป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อใช้จัดแสดงสินค้าและเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เรียกว่า “สวนลุมพินี”

3.2.3.4. รัชกาลที่ 7… โปรดเกล้าฯ สร้างพระราชวังไกลกังวล หัวหิน และสวนให้นั้นทรงอนุรักษ์พรรณไม้ป่าติดพื้นที่ไว้ตามสภาพเดิมที่เหลืออยู่

3.2.3.5. รัชกาลที่ 9… ทรงรวบรวมสร้างสวนพรรณไม้ในอาณาเขตพระราชฐาน สวนจิตร-ลดารโหฐาน เขตพระราชวังดุสิต ทรงให้สำรวจและทำประวัติเพื่อศึกษาพันธุ์ไม้ป่า ดั้งเดิมกับนำมาปลูกเพิ่มขึ้น ทรงจัดทำ “สวนป่าสาธิต” โดยใช้พันธุ์ไม้ป่าประเภท ต่างๆ ทั้งป่าดิบ ป่าผลัดใบ ป่าโปร่ง และป่าพร

3.2.4. 7.2.4 ปัจจุบัน

3.2.4.1. การปกครองบริหารประเทศมีคณะรัฐบาลกลางเป็นผู้บริหารประเภท สำหรับกรุงเทพมหานครมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับพื้นที่สีเขียว ของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สำนักสวัสดิการสังคม กองสวนสาธารณะ สำนักงานเขตต่างๆ ที่ดูแลพื้นที่สวนหย่อมและต้นไม้ใน กทม. ส่วนเมืองอื่นๆ จะมีหน่วยงานท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล อบต. เป็นผู้ดูแล ต้นไม้และสวนสาธารณะในชุมชน

4. 1. แนวพระราชดำรัสสู่การพัฒนาอย่างยังยืน

4.1. “เข้าใจ” คือการทำอะไรต้องมีความเข้าใจ หรือเกิดปัญญารู้ข้อมูลพื้นฐาน หรือ ความจริงทั้งหมดก่อน ในทุกมิติ ทั้งภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สภาพสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิต การค้นหารากของปัญหา และความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ซึ่งต้องอาศัยการแสวงหาความรู้ เช่น เข้าไปพูดคุย สร้าง ความคุ้นเคย คลุกคลีกับคนในพื้นที่ การวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างรอบ ด้าน จากคนในพื้นที่ที่ประสบปัญหาจริง

4.2. “ภูมิสังคม” ในการพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์และ ภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ในสังคมวิทยา ภูมิประเทศทางสังคม วิทยา คือ นิสัยใจคอของคนเราจะไปบังคับให้คนคิดอย่างอื่นไม่ได้ เราต้องแนะนำ เราเข้าไปช่วย โดยที่จะคิดให้กับเขาเข้ากับเรา ไม่ได้ แต่ถ้าเราเข้าไปแล้ว เราต้องเข้าไปดูว่า เขาต้องการอะไรจริง และก็อธิบายให้เขาเข้าใจ ห

5. 2. ความหมายของเมือง สังคมเมือง ชุมชนเมือง

5.1. เมือง (urban) การตั้งถิ่นฐานถาวรของมนุษย์ที่ประกอบไปด้วยสิ่งปลูกสร้างถาวร อันได้แก่ อาคารบ้านเรือน มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้าน สาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ถนน เป็นต้น เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพลเมืองจำนวน มาก มีความหนาแน่นของประชากรในระดับสูง ที่ต่างเพศต่างวัย และต่างสถานภาพ จนเกิดเป็น “ชุมชนเมือง” ขึ้น

5.2. ชุมชนเมือง (urban community) ชุมชนที่มีการตั้งถิ่นฐานค่อนข้างหนาแน่น มีลักษณะกระจุกตัว มีกิจกรรมการใช้ที่ดินหลายประเภท มีความเป็นเมือง เป็นพื้นที่ที่มีอาณาเขต กว้างใหญ่พอสมควร ขนาดของชุมชนจะมีขนาดเล็ก ใหญ่ แตกต่างกันตาม ความสำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประชากร สังคม โครงสร้างพื้นฐาน และบทบาทที่ถูกกำหนดโดยลักษณะการบริหารราชการ ขนาดของชุมชนของไทย อาจแบ่งตามระดับเทศบาล ดังนี้

5.2.1. 1. ชุมชนเมืองขนาดใหญ่ … เทศบาลนคร เขตปกครองพิเศษ 22 แห่ง

5.2.2. 2. ชุมชนเมืองขนาดกลาง … เทศบาลเมือง 103 แห่ง

5.2.3. 3. ชุมชนเมืองขนาดเล็ก … เทศบาลตำบล 1,009 แห่ง

5.2.4. 4. ชุมชนชนบท … องค์การบริหารส่วนตำบล 6,737 แห่ง

6. 3. องค์ประกอบ โครงสร้างของเมือง

6.1. 1. ธรรมชาติ (nature) ได้แก่ สภาพภูมิประเทศ ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่พืชพรรณ ชีวิตสัตว์ ภูมิอากาศ รวมกันเป็น “สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ”

6.2. 2. คน (man) ได้แก่ ความต้องการด้านชีวภาพ คือ อากาศ อุณหภูมิ ที่เกิดจากความรู้สึกสัมผัสและการรับรู้ได้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 รูปแบบทางสังคม แบบแผน การดำรงชีวิตของสิ่งต่างๆ เหล่านี้รวมกันเป็น สังคม

6.3. 3. สังคม (society) ได้แก่ องค์ประกอบความหนาแน่นของประชากร วัฒนธรรมการศึกษา สุขภาพ และสวัสดิการ เป็นต้น

6.4. 4. โครงสร้างทางกายภาพ (shells) คือ บ้านพัก สถานบริการชุมชน สถานที่ที่ใชในการนันทนาการ ตลาด สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมต่างๆ

6.5. 5. โครงข่าย (networks) ได้แก่ ระบบบริการสาธารณูปโภค และบริการต่างๆ

7. 4. สภาพแวดล้อมในเขตเมือง

7.1. - สิ่งที่เป็นของเหลว ชีวภาพ ก๊าซ และสังคม

7.2. - สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา

7.3. - สิ่งที่เกิดขึ้นตาม ธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น

7.4. - สิ่งที่เป็นรูปธรรมและ นามธรรม

7.5. - สิ่งที่เป็นพิษและไม่เป็นพิษ

7.6. - สิ่งที่เป็นกายภาพ ชีวภาพ และสังคม/วัฒนธรรม

7.7. ประเภทของสิ่งแวดล้อม แบ่งได้ 2 ประเภท

7.7.1. 1. สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

7.7.2. 2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น