ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม by Mind Map: ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม

1. Ivan Petrovich Pavlov

1.1. ประวิติ

1.1.1. Ivan Petrovich Pavlov เกิด 14 กันยายน ค.ศ.1849มีผลงานการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม กับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เกียรติประวัติ รางวัลโนเบลสาขาสรีวิทยา หรือการแพทย์ ( ค.ศ.1904 ) ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น ผู้ริเริ่มตั้งทฤษฎีนี้เป็นคนแรก คือ พาฟลอฟ(Pavlov) ต่อมาภายหลังวัตสัน (Watson) ได้นำเอาแนวคิดของพาฟลอฟไปดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น พาฟลอฟ เชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) คือ การตอบ สนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น

1.2. สรุปการทดลอง และทฤษฎี

1.2.1. การทดลองแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นก่อนวางเงื่อนไข ขั้นวางเงื่อนไขและขั้นการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข

1.2.2. ขั้นที่ 1 ขั้นก่อนวางเงื่อนไขเป็นขั้นที่ศึกษาภูมิหลังของสุนัขก่อนการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข ว่าภูมิหลังหรือพฤติกรรมก่อนการเรียนรู้เป็นอย่างไร เขาศึกษาพบว่า สุนัขจะแสดงอาการส่ายหัวและกระดิกหาง เมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง แต่จะแสดง อาการน้ำลายไหลเมื่อได้เห็นผงเนื้อบด

1.2.3. ขั้นที่ 2 ขั้นวางเงื่อนไขเป็นขั้นที่ใส่กระบวนการเรียนรู้ โดยการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคเข้าไป เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เขาได้สั่นกระดิ่ง (หรือเป็นการเคาะส้อมเสียง) ก่อน จากนั้นก็รีบพ่นผงเนื้อบด เข้าปากสุนัขในเวลาต่อมาอย่างรวดเร็ว ทำอย่างนี้ซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้งเพื่อให้สุนัขเกิดการเรียนรู้

1.2.4. ขั้นที่ 3 ขั้นการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข เป็นขั้นที่ทดสอบว่า สุนัขเรียนรู้หรือยัง ในวิธีการวางเงื่อนไขบบคลาสสิคนี้ โดยการตัดสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขออก คือผงเนื้อบด ให้เหลือแต่เพียงสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขคือเสียงกระดิ่ง ถ้าสุนัขยังน้ำลายไหลอยู่ แสดงว่า สุนัข เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไขนั่นเอง

1.3. ตัวอย่างการนำไปใช้

1.3.1. การฝึกให้คุ้นชิน เช่น การที่ทหารได้ยินเสียงนกหวีดแล้วจะตื่นตัวทันที เนื่องจากเป็นพฤติกรรมที่ครูฝึกจะต้องเรียกรวมด้วยเสียงนกหวีดทุกวัน และเป็นอย่างนี้อยู่เสมอ

2. Burrhus Frederic Skinner

2.1. ประวัติ

2.1.1. Burrhus Frederic Skinner เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันนักพฤติกรรมนิยมนักเขียนนักประดิษฐ์และนักปรัชญาสังคม เขาเป็นศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดตั้งแต่ปี 2501 จนกระทั่งเกษียณอายุในปี 2517

2.2. สรุปการทดลอง และทฤษฎี

2.2.1. ฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม " ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน(Antecedent) - พฤติกรรม(Behavior) - ผลที่ได้รับ(Consequence) ซึ่งเขาเรียกย่อๆ ว่า A-B-C ซึ่งทั้ง 3 จะดำเนินต่อเนื่องไป ผลที่ได้รับจะกลับกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนอันนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมและนำไปสู่ผลที่ได้รับตามลำดับ

2.2.2. การศึกษาในเรื่องนี้ Skinner ได้สร้างกล่องขึ้นมา มีชื่อเรียนกว่า Skinner Box กล่องนี่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมมีคานหรือลิ้นบังคับให้อาหารตกลงมาในจาน เหนือคานจะมีหลอดไฟติดอยู่ เมื่อกดคานไฟจะสว่างและอาหารจะหล่นลงมา Skinner Box นำนกไปใส่ไว้ในกล่อง และโดยบังเอิญนกเคลื่อนไหวไปถูกคานอาหารก็หล่นลงมา อาหารที่นกได้นำไปสู่การกดคานซ้ำและการกดคานแล้วได้อาหาร

2.3. ตัวอย่างการนำไปใช้

2.3.1. เป็นการสร้างเงื่อนไขในการกระทำหากทำไม่ถูกต้องจะถูกลงโ?าหากทำได้ดีจะได้รางวัลเช่น การให้ลูกทำการบ้านหากลูกทำได้ถูกต้องจะให้เล่นโทรศัพท์ได้ หากทำไม่ถูกต้องจะต้องทำใหม่และอาจจะโดนดุด้วยเป็นต้น

3. Edward L Thorndike

3.1. ประวัติ

3.1.1. เอ็ดเวิร์ด ลี ธอร์นไดค์ (Edward Lee Thorndike) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เกิดวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1814 ที่เมืองวิลเลี่ยมเบอรี่ (Williambury) รัฐแมซซาชูเสท (Massachusetts) และสิ้นชีวิตวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1949 ที่เมืองมอนท์โร (Montrore) รัฐนิวยอร์ค (New York) เขาเริ่มการทดลองเมื่อปี ค.ศ. 1898 เกี่ยวกับการใช้หีบกล (Puzzle-box) ทดลองการเรียนรู้จนมีชื่อเสียง หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1899 เขาได้สอนอยู่ที่วิทยาลัยครู ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) ซึ่ง ณ ที่นั้นเขาได้ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ กระบวนการต่าง ๆ ในการเรียนรู้ และธรรมชาติของภาษาอังกฤษทั้งของมนุษย์และสัตว์

3.2. สรุปการทดลอง และทฤษฎี

3.2.1. ทฤษฎีของธอร์นไดค์เรียกว่าทฤษฎีการเชื่อมโยง (Connectionism Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวถึงการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus - S) กับการตอบสนอง (Response - R) โดยมีหลักเบื้องต้นว่า “การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยที่การตอบสนองมักจะออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆ หลายรูปแบบ จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดี หรือเหมาะสมที่สุด เราเรียกการตอบสนองเช่นนี้ว่าการลองถูกลองผิด (Trial and error)เพื่อสนับสนุนหลักการเรียนรู้ดังกล่าว ธอร์นไดค์ได้สร้างสถานการณ์ขึ้นในห้องทดลอง เพื่อทดลองให้แมวเรียนเรียนรู้ การเปิดประตูกรงของหีบกลหรือกรงปริศนาออกมากินอาหาร ด้วยการกดคานเปิดประตู ซึ่งจากผลการทดลองพบว่า 1.ในระยะแรกของการทดลอง แมวจะแสดงพฤติกรรมเดาสุ่มเพื่อจะออกมาจากกรงมากินอาหารให้ได้ 2.ความสำเร็จในครั้งแรก เกิดขึ้นโดยบังเอิญ โดยที่เท้าของแมวบังเอิญไปแตะเข้าที่คานทำให้ประตูเปิดออก แมวจะวิ่งออกไปทางประตูเพื่อกินอาหาร 3.พบว่ายิ่งทดลองซ้ำมากเท่าใดพฤติกรรมเดาสุ่มของแมวจะลดลง จนในที่สุดแมวเกิดการเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างคานกับประตูกรงได้ 4.เมื่อทำการทดลองซ้ำอีกต่อไปเรื่อย ๆ แมวเริ่มเกิดการเรียนรู้โดยการลองถูกลองผิดและรู้จักที่จะเลือกวิธีที่สะดวกและสั้นที่สุดในการแก้ปัญหา โดยทิ้งการกระทำอื่น ๆ ที่ไม่สะดวกและไม่เหมาะสมเสีย

3.3. ตัวอย่างการนำไปใช้

3.3.1. สามารถนำทฤษฎีไปใช้ในการสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาการทำงานของพนักงานหรือคนในองค์กรได้เช่นหากใครทำงานได้บรรลุเป้าหมายอาจมีการให้รางวัลต่าง ๆ มีการยกย่องในการทำงาน