Get Started. It's Free
or sign up with your email address
รูป by Mind Map: รูป

1. การจัดทำหลักสูตรทำได้ยาก

2. โครงสร้างของหลักสูตรมีลักษณะเป็นการนำเอาเนื้อหาของแต่ละวิชาจึงได้เลือกสรรแล้วมาเรียงลำดับ

3. หลักสูตรเนื้อหาวิชา

3.1. ลักษณะของหลักสูตร

3.1.1. โครงสร้างของเนื้อหาวิชา จะแยกเป็นแต่ละวิชาไม่เกี่ยวข้องกัน เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ หน้าที่พลเมือง

3.1.2. เนื้อหาวิชาจะประกอบด้วย ความรู้ ความคิดรวบยอด ทักษะ กฎ หลักเกณฑ์

3.1.3. การจัดการเรียนรู้ เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและความรู้ โดยครูผู้สอนเป็น ผู้ดำเนินการ

3.1.4. การประเมินผลการเรียนรู้ มุ่งในเรื่องความรู้และทักษะในวิชาต่าง ๆ ที่เรียนมา เน้นเรื่องการสอน

3.2. ข้อดี

3.2.1. ง่ายต่อการเลือกเนื้อหาวิชาที่จะนำมาใช้สอน

3.2.2. สอนง่าย เนื้อหาถูกจัดไว้อย่างเป็นระบบ ขั้นตอน 

3.2.3. ช่วยสร้างระเบียบวินัยในชั้นเรียนได้ดี

3.3. ข้อด้อย

3.3.1. ขัดกับหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ ธรรมชาติ

3.3.2. ความมุ่งหมายของหลักสูตรแคบเกินไป เน้นแต่ด้านวิชาการไม่ครอบคลุม พฤติกรรม

3.3.3. เน้นครูเป็นศูนย์กลาง ไม่ส่งเสริมการแสดงความคิดเห็นของผู้เรียน

3.4. ตัวอย่างหลักสูตร

3.4.1. หลักสูตรการศึกษาของไทย ปี พ.ศ. 2493

4. หลักสูตรหมวดวิชา

4.1. ลักษณะของหลักสูตร

4.1.1. นำจุดประสงค์การเรียนรู้ของแต่ละวิชามารวมกันเป็นจุดประสงค์ของหมวดวิชา

4.2. ข้อดี

4.2.1. เนื้อหาวิชามีการประสานสัมพันธ์กันมากขึ้น 

4.2.2. เนื้อหาวิชาที่เรียนไม่ซ้ำซ้อนกัน

4.2.3. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ

4.3. ข้อด้อย

4.3.1. ขาดความสัมพันธ์กับหมวดวิชาอื่น ๆ

4.3.2. การสอนอาจไม่บรรลุประสงค์ 

4.4. ตัวอย่างหลักสูตร

4.4.1. หลักสูตรการศึกษาของไทย ปี พ.ศ. 2503

5. หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม

5.1. ลักษณะของหลักสูตร

5.1.1. จัดเนื้อหาวิชาให้สัมพันธ์กับชีวิตจริง หรือประสบการณ์จริงให้มากที่สุด เช่น การประกอบอาชีพ 

5.1.2. เตรียมผู้เรียนให้ร่วมมือกับสังคม เพื่อให้เรียนรู้เกี่ยวกับหน้าที่ทางสังคม

5.2. ข้อดี

5.2.1. ช่วยพัฒนาความคิด และช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายและความสำคัญของ สิ่งที่ได้เรียนรู้มากขึ้น 

5.2.2. ช่วยเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียนได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น

5.2.2.1. เป็นแนวคิดพื้นฐานที่สนับสนุนให้เกิดโรงเรียนชุมชนขึ้น

5.2.3. ส่งเสริมการเรียนรู้แบบ active learning คือการเรียนอย่างกระตือรือร้น ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้

5.3. ข้อด้อย

5.3.1. 1. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสังคมได้เพียงบางส่วนเท่านั้น

5.3.2. เนื้อหาสาระอาจจะขาดความสมบูรณ์ไป เนื่องจากการจัดการเรียนรู้มุ่งเพื่อความสนใจ

5.3.3. การจัดตารางสอนแบบตายตัวทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมกับครูผู้สอนได้

6. หลักสูตรแบบบูรณาการ

6.1. ลักษณะของหลักสูตร

6.1.1. หลักสูตรเช่นนี้อาจอาศัยประเด็นหรือปัญหาบางอย่างเป็นแกน แล้วหลอมทุกสาระวิชาที่เกี่ยวข้องเข้าไว้ด้วยกัน

6.2. ข้อดี

6.2.1. มีความสัมพันธ์ระหว่างวิชาสูงสุด

6.2.2. เนื้อหาผสมผสานกัน สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ

6.2.3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้

6.3. ข้อด้อย

6.3.1. เป็นหลักสูตรที่ยากแก่การสอน ดังนั้นครูผู้สอนต้องมีความรู้ ความสามารถที่ดีพอ

6.3.2. ต้องใช้สื่อการเรียนรู้หลายอย่าง

6.3.3. ความกว้างขวางของหลักสูตร อาจทำให้ผู้เรียนไม่มีความรู้ลึกซึ้งในเนื้อหาที่เรียน

6.4. ตัวอย่างหลักสูตร

6.4.1. หลักสูตรประถมศึกษา ปี พ.ศ. 252

7. หลักสูตรแบบแกนวิชา

7.1. ลักษณะของหลักสูตร

7.1.1. จัดเป็นหน่วยงานแบบกว้างๆหรือกิจกรรมที่ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันวางแผนขึ้น

7.1.2. จัดโดยนำเอาวิชาหรือความรู้จากสาขาต่างๆมาหลอมเป็นวิชาหรือความรู้สาขาเดียวกัน

7.2. ข้อดี

7.2.1. การเรียนการสอนแบบนี้ช่วยให้ผู้สอนรู้จักสนิทสนมและเข้าใจผู้เรียนในชั้น

7.2.2. ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนอย่างแข็งขัน

7.2.3. ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงในการเรียน

7.3. ข้อจำกัด

7.3.1. หลักสูตรแบบนี้วิชาและความรู้ต่างๆไม่เป็นหมวดหมู่

7.3.2. ในทางปฏิบัติ หลักสูตรแกนจัดได้ยากเพราะเป็นหลักสูตรที่ต้องการความสามารถกว้างขวาง

8. หลักสูตรเอกัตภาพ 

8.1. ลักษณะของหลักสูตร

8.1.1. กำหนดเวลาเรียนของแต่ละบุคคล

8.1.2. กิจกรรมการเรียนของแต่ละคน

8.1.3. การจัดหน่วยการเรียน

8.1.4. การประเมินผลการเรียนเป็นรายบุคคล

8.2. ข้อดี

8.2.1. ฝึกให้นักเรียนรู้จักการให้และการรับ รู้จักช่วยเหลือเพื่อนร่วมชั้น

8.2.2. นักเรียนอ่อนไม่รู้สึกมีปมด้อยในการเรียน เพราะได้เรียนตามความสามารถของตนเอง

8.2.3. 1. สามารถจะแก้ปัญหานักเรียนที่มีพื้นฐานความรู้ต่างกันได้

8.3. ข้อด้อย

8.3.1. ในห้องเรียนที่นักเรียนมีความสามารถต่างกันมาก ทำให้ยากต่อการเตรียมการสอนในส่วนของบทเรียนที่จะต้องเรียนร่วมกัน

8.3.2. ถ้ามีนักเรียนหลายคนในห้องเรียน จะต้องอาศัยครูหลายคนจึงจะดูแลนักเรียนได้ทั่วถึง

9. หลักสูตรแบบกิจกรรมและประสบการณ์

9.1. ข้อดี

9.1.1. ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง 

9.1.2. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

9.1.3. ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม ทำให้เกิดความกระตือรือร้นในการเรียน

9.1.4. ผู้สอนและผู้เรียนมีโอกาสได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด

9.2. ข้อด้อย

9.2.1. ต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ เช่น ห้องเรียน

9.2.2. เนื้อหาสาระที่ผู้เรียนได้รับ อาจจะได้เนื้อหาสาระไม่ครบถ้วน

9.3. ลักษณะของหลักสูตร

9.3.1. ความสนใจของผู้เรียนเป็นตัวกำหนดเนื้อหา กิจกรรม

9.3.2. วิชาที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนคือวิชาที่ผู้เรียนมีความสนใจร่วมกัน

9.3.3. โปรแกรมการสอนไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า นั่นคือครูผู้สอนไม่สามารถกำหนด กิจกรรมการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้า

9.3.4. ใช้วิธีแก้ปัญหาเป็นหลักในการจัดการเรียนรู้

10. หลักสูตรเกณฑ์ความสามารถ

10.1. ลักษณะของหลักสูตร

10.1.1. แสดงให้เห็นถึงเกณฑ์ความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่ต้องการให้ผู้เรียนมี

10.1.2. ความสามารถใน แต่ละชั้นเรียนจะถูกกำหนดให้มีความต่อเนื่องกัน

10.2. ข้อด้อย

10.2.1. การจัดทำหลักสูตรค่อนข้างยาก

10.2.2. ต้องอาศัยความร่วมมือของบุคคลที่เกี่ยวข้องอีกหลายฝ่าย 

10.2.3. ต้องอาศัยความชำนาญจากนักพัฒนาหลักสูตร

10.3. ตัวอย่างหลักสูตร

10.3.1.  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

10.4. ข้อดี

10.4.1. ง่ายต่อการจัดการเรียนรู้และการวัดผล

10.4.2. ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความไม่เสมอภาคในการศึกษา อันเนื่องมาจากความ แตกต่างทางภูมิศาสตร์ของที่ตั้งของโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนที่อยู่ในชนบท