การแก้ไขข้อผิดพลาดทางบัญชี

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การแก้ไขข้อผิดพลาดทางบัญชี by Mind Map: การแก้ไขข้อผิดพลาดทางบัญชี

1. สาเหตุและประเภทของข้อผิดพลาด

1.1. สาเหตุข้อผิดพลาด มี 2 ประการ คือ

1.2. 1.ข้อผิดพลาดโดยตั้งใจ เช่น การหลบเลี่ยงภาษี การปิดบังฐานะที่แท้จริงของกิจการโดยแสดงงบการเงินที่ไม่ถูกต้อง

1.3. 2. ข้อผิดพลาดโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น ไม่เข้าใจวิธีการบันทึกบัญชี ประมาทเลินเล่อในการบันทึกบัญชี งานมากเกินไปทำให้ขาดความระมัดระวังในการบันทึกบัญชี

1.4. ประเภทของข้อผิดพลาด จะทำให้กำไรสุทธิผิดจากความเป็นจริงถ้าตรวจพบก่อนปิดบัญชีกำไรขาดทุนประจำปีจะต้องปรับปรุงกับบัญชีที่เกี่ยวข้อง จะทำให้กำไรสุทธิถูกต้อง และกำไรสุทธิของบริษัทจำกัดจะโอนไปบัญชีกำไรสะสม

2. ข้อผิดพลาดที่ชดเชยกันได้

2.1. ข้อผิดพลาดที่ชดเชยกันได้ หมายถึง ข้อผิดพลาดที่ทำให้กำไรสุทธิปีแรกสูงไป/ต่ำไปและปีที่สองกำไรสุทธิจะต่ำไป/สูงไป ข้อผิดพลาดจึงชดเชยหมดไปในสองปีข้อผิดพลาดนี้ได้แก่

2.2. 1.ตีราคาสินค้าคงเหลือปลายปีผิด

2.3. 2.ไม่ได้ปรับปรุงบัญชีค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

2.4. 3.ไม่ได้ปรับปรุงบัญชีรายได้ค้างรับ

2.5. 4.ไม่ได้บันทึกบัญชีซื้อสินค้าในงวดปัจจุบัน แต่ไปบันทึกบัญชีงวดถัดไป

2.6. 5.ไม่ได้บันทึกบัญชีขายสินค้าในงวดปัจจุบัน แต่ไปบันทึกบัญชีในงวดถัดไป

2.7. 6.ลงบัญชีผิดในหมวดเดียวกัน เช่น ค่าขนส่งเข้าบันทึกเป็นค่าขนส่งออก หรือรายได้ค่าเช่าบันทึกเป็นรายได้ดอกเบี้ย

3. ข้อผิดพลาดที่ชดเชยกันไม่ได้

3.1. ข้อผิดพลาดที่ชดเชยกันไม่ได้ หมายถึง ข้อผิดพลาดที่ทำให้กำไรสุทธิและสินทรัพย์ผิดไปจากความจริง ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น หรือหมดอายุการใช้งานของสินทรัพย์นั้นข้อผิดพลาดนี้ได้แก่

3.2. 1.บันทึกจำนวนเงินผิด

3.3. 2.จ่ายค่าใช้จ่ายแล้วไม่ได้บันทึกบัญชี

3.4. 3.รับรายได้แล้วไม่ได้บันทึกบัญชี

3.5. 4.ซื้อสินทรัพย์แล้วบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย

3.6. 5.จ่ายค่าใช้จ่ายแล้วบันทึกเป็นสินทรัพย์

3.7. 6.ไม่ได้ปรับปรุงค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า

3.8. 7.ไม่ได้ปรับปรุงรายได้รับล่วงหน้า

4. ความหมายของข้อผิดพลาด

4.1. การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด ได้ให้ความหมาย ข้อผิดพลาดในงวดก่อน หมายถึง การละเว้นการแสดงรายการและการแสดงรายการที่ขัดต่อข้อเท็จจริงในงบการเงินของกิจการในงวดใดงวดหนึ่ง

4.2. การใช้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือหรือใช้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือในทางที่ผิดซึ่งข้อมูลดังกล่าว

4.3. 1. มีอยู่ในงบการเงินของงวดก่อนที่ได้รับการอนุมัติให้เผยแพร่

4.4. 2. สามารถคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผลว่าสามารถหาข้อมูลได้และนำมาใช้ในการจัดทำ

4.5. การปรับงบการเงินย้อนหลัง หมายถึง การแก้ไขการรับรู้ การวัดมูลค่า และการเปิดเผยจำนวนเงินขององค์ประกอบของงบการเงินงวดก่อนเสมือนหนึ่งข้อผิดพลาดในงวดก่อนไม่เคยเกิดขึ้น

4.6. การแก้ไขข้อผิดพลาดในการบันทึกบัญชี หมายถึง การแก้ไขรายการบัญชีที่บันทึกไว้ผิดให้ถูกต้อง โดยการบันทึกบัญชีแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นทันทีที่ตรวจพบ เพื่อให้บัญชีถูกต้องตามหลักความเป็นจริงและหลักการบัญชีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

4.7. การไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ หมายถึง การที่กิจการไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดหลังจากที่ได้ใช้ความพยายามอย่างสมเหตุผลทุกประการแล้วถ้าเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังนี้

4.7.1. 1.กิจการไม่สามารถระบุผลกระทบที่เกิดจากการนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฎิบัติย้อนหลังหรือปรับงบการเงินย้อนหลังได้

4.7.2. 2.การนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลังหรือการปรับงบการเงินย้อนหลัง

4.7.3. 3.การนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลังหรือการปรับงบการเงินย้อนหลังนั้นต้องใช้ประมาณการที่สำคัญ

5. ลักษณะข้อผิดพลาดในการบันทึกบัญชีที่กระทบงบการเงิน

5.1. 1.ข้อผิดพลาดที่กระทบงบแสดงฐานะการเงินแก้ไขโดย

5.2. 1.1ถ้าพบในรอบบัญชีปัจจุบัน ต้องปรับปรุงรายการทันที

5.3. 2.ข้อผิดพลาดที่กระทบงบกำไรขาดทุน

5.4. 2.1ถ้าพบในรอบบัญชีก่อนที่นำมาเปรียบเทียบ ต้องปรับตัวเลขของแต่ละปีที่นำเสนอในงบการเงินให้ถูกต้อง