การเปลื่ยนแปลงเทคโนโลยี

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การเปลื่ยนแปลงเทคโนโลยี by Mind Map: การเปลื่ยนแปลงเทคโนโลยี

1. การจัดการขยะมูลฝอย

2. 1. ความสาคัญ มลพิษจากขยะมูลฝอยเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสังคมเมืองที่มีการขยายตัวของเมืองสูงตามจ านวนประชากรที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการขยายตัวและพัฒนาด้าน เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีโดยแต่ละปีหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการขยะมูลฝอยทั้งภาครัฐ และ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจ านวนมากในจัดการขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น เนื่องจากการ ด าเนินงานขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังขาดความพร้อม ทั้งด้านงบประมาณ บุคลากรที่ช านาญ ความพร้อมในการบริหารจัดการ เป็นผลท าให้การจัดการขยะมูลฝอยไม่มีประสิทธิภาพ กองสาธารณสุขและ สิ่งแวดล้อม ได้ด าเนินการจัดท าแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยระดับเทศบาลในปีงบประมาณ พ.ศ.2558 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติงานประกอบด้วย 1) แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอย 2) กิจกรรมลด คัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย/ ของเสียอันตรายชุมชน 3) ประสิทธิภาพในการให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอย 4) การบริหารจัดการขยะมูลฝอยในลักษณะรวมศูนย์ 5) ประสิทธิภาพในการก าจัดขยะมูลฝอย 6) รายได้ในการจัดการขยะมูลฝอย 2. วัตถุประสงค์ 1) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะให้กับเทศบาลต าบลบ้านโคกในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย 2) เทศบาลต าบลบ้านโคกมีการด าเนินการตามแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอย อย่างต่อเนื่อง 3) เปูาหมายการด าเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 3. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเปูาหมายมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้น 2) ปริมาณขยะมูลฝอยได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการมากขึ้น 4. แนวทางการด าเนินงานเพื่อเพิ่มสมรรถนะการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายจากชุมชน 1. วางแผนการจัดการขยะมูลฝอยด้วยการจัดให้มีแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยระดับเทศบาล/ระดับ กลุ่มพื้นที่แผนปฏิบัติการขยะมูลฝอยระดับเทศบาล หมายถึง แผนปฏิบัติการบริหาร จัดการขยะมูลฝอยแบบ ผสมผสานระดับเทศบาลซึ่งเทศบาลร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการรวมกลุ่มพื้นที่เพื่อจัดตั้งศูนย์ จัดการขยะมูลฝอยได้มีการด าเนินการจัดท าโดยก าหนดกิจกรรมที่มีการด าเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การ ลด คัดแยกและ น าขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์และของเสียอันตรายไปก าจัดอย่างถูกต้อง การจัดหาที่ดิน การปรับปรุงสถานที่ก าจัดการศึกษาออกแบบรายละเอียดการจัดตั้งศูนย์การติดตามความก้าวหน้าและการ จัดท ารายงานผลการด าเนินงาน การสนับสนุนให้เทศบาลจัดท าแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอย

3. ความเป็นมา หน่วยกำจัดขยะ สังกัดงานอาคารสถานที่ มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลจัดหาภาชนะสำหรับเป็นที่ทิ้งขยะในบริเวณสาธารณะและบริเวณที่พักขยะ เคลื่อนย้ายขยะจากบริเวณจุดพักขยะจำนวน 14 จุด ที่กำหนดไปเก็บที่โรงพักขยะ ทำความสะอาดภาชนะเคลื่อนย้าย โรงพักขยะ และบริเวณโดยรอบ ประสานงานกรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินการขนย้ายออกจากโรงพักขยะ ควบคุมดูแลการคัดแยกขยะให้ถูกประเภทพร้อมจัดทำสถิติข้อมูลในแต่ละเดือน การดำเนินการที่ผ่านมาพบว่า ยังคงมีอุบัติการณ์ ความเสี่ยงเกี่ยวกับการกำจัดขยะ เช่น การทิ้งและคัดแยกขยะผิดประเภท โดยมีตัวเลขสถิติที่ผ่านมา ดังนี้ ตัวชี้วัด (KPI) จำนวนอุบัติเหตุถูกเข็มตำจากการเก็บขยะ เป้าหมาย 0 ครั้ง ในปี 2560 มีจำนวน 3 ครั้ง ปี 2561 มีจำนวน 1 ครั้ง ปี 2562 มีจำนวน 1 ครั้ง ส่งผลให้ผู้จัดเก็บได้รับอันตราย เข็มทิ่มตำ ค่าใช้จ่ายในการกำจัดและแยกขยะเพิ่มมากขึ้น ต้องมีการประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในคณะฯ และภายนอกคณะฯ เพื่อกำจัดขยะให้ถูกวิธีมากขึ้น ในการนี้หน่วยงานเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพและการจัดการความรู้ด้านการบริหารจัดการขยะให้ถูกวิธี ถูกต้อง และเหมาะสม จึงจัดตั้งเป็นกลุ่ม CoP เพื่อแลกเปลี่ยน จัดทำวิธีการที่เป็นมาตรฐานในการเผยแพร่ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้มีการบริหารจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

4. การบำบัดน้ำเสีย

5. 1. น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ร่างกายของคนมีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 50-60 ของน้ำหนักตัว ขึ้นอยู่กับเพศและอายุ1 ดังนั้นการขาดน้ำจึงเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างมาก ถึงแม้ว่าโลกจะมีน้ำครอบคลุมพื้นที่ผิวโลกถึงเศษสามส่วนสี่ของผิวโลกทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่เป็นน้ำทะเลซึ่งน้ำทะเลนั้นมนุษย์และสัตว์บกทั่วไปไม่สามารถนำมาดื่มได้ มีเพียงน้ำจืดที่เป็นน้ำผิวดินและน้ำบาดาลเท่านั้นที่มนุษย์สามารถนำมาดื่มได้ น้ำจืดเหล่านี้มีที่มาจากน้ำทะเลที่ระเหยเป็นไอ แล้วควบแน่นเป็นหยาดน้ำฟ้าตกลงมาเป็นน้ำบนบกตามวัฏจักรน้ำ นอกจากดื่มแล้วเรายังใช้น้ำในกิจกรรมอื่นๆด้วย เช่น การทำความสะอาดในชีวิตประจำวัน การปรุงอาหาร การผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ เมื่อน้ำผ่านการใช้จะมีสิ่งปนเปื้อนลงไปในน้ำ หากพิจารณาแล้วว่าน้ำที่ผ่านการใช้นั้นสกปรกจะเรียกน้ำนี้ว่าน้ำเสีย เมื่อครั้งที่ประชากรยังไม่หนาแน่นมาก โรงงานอุตสาหกรรมยังมีน้อย น้ำเสียจะถูกปล่อยลงแม่น้ำลำคลองที่มีน้ำไหลเพื่อให้ความสกปรกเจือจางลง นอกจากนี้ยังมีพืชน้ำและจุลินทรีย์ที่สามารถดูดซับเอาสารเคมีบางอย่างในน้ำเสียไปใช้ในการดำรงชีวิต ทำให้ความสกปรกในน้ำมีน้อยลงจึงถือว่าน้ำนั้นสะอาดขึ้นดังภาพที่ 1 ด้วยเหตุนี้สมัยก่อนเราจึงไม่จำเป็นต้องบำบัดน้ำเสียเพราะธรรมชาติช่วยบำบัดให้อยู่แล้ว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยก่อนที่จำนวนประชากรและโรงงานอุตสาหกรรมยังมีน้อย ชุมชนริมน้ำล้วนใช้น้ำและทิ้งน้ำกลับลงแม่น้ำ แต่คุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาก็ยังดีอยู่

6. การบำบัดน้ำเสีย สามารถแบ่งได้ตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ 1. การบำบัดขั้นต้น (Preliminary Treatment) และการบำบัดเบื้องต้น (Primary Treatment) : เป็นการบำบัดเพื่อแยกทราย กรวด และของแข็งขนาดใหญ่ ออกจากของเหลวหรือน้ำเสีย โดยเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบด้วย ตะแกรงหยาบ (Coarse Screen) ตะแกรงละเอียด (Fine Screen) ถังดักกรวดทราย (Grit Chamber) ถังตกตะกอนเบื้องต้น (Primary Sedimentation Tank) และเครื่องกำจัดไขฝ้า (Skimming Devices) การบำบัด น้ำเสียขั้นนี้สามารถกำจัดของแข็งแขวนลอยได้ร้อยละ 50 - 70 และกำจัดสารอินทรีย์ซึ่งวัดในรูปของบีโอดีได้ ร้อยละ 25 - 40 2. การบำบัดขั้นที่สอง (Secondary Treatment) : เป็นการบำบัดน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการบำบัดขั้นต้นและการบำบัดเบื้องต้นมาแล้ว แต่ยังคงมีของแข็งแขวนลอยขนาดเล็กและสารอินทรีย์ทั้งที่ละลายและไม่ละลายใน น้ำเสียเหลือค้างอยู่ โดยทั่วไปการบำบัดขั้นที่สองหรือเรียกอีกอย่างว่าการบำบัดทางชีวภาพ (Biological Treatment) จะอาศัยหลักการเลี้ยงจุลินทรีย์ในระบบภายใต้สภาวะที่สามารถควบคุมได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกินสารอินทรีย์ได้รวดเร็วกว่าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และแยกตะกอนจุลินทรีย์ออกจากน้ำทิ้งโดยใช้ถังตกตะกอน (Secondary Sedimentation Tank) ทำให้น้ำทิ้งมีคุณภาพดีขึ้น จากนั้นจึงผ่านเข้าระบบฆ่าเชื้อโรค (Disinfection) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคปนเปื้อน ก่อนจะระบายน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ หรือนำกลับไป ใช้ประโยชน์ (Reuse) การบำบัดน้ำเสียในขั้นนี้สามารถกำจัดของแข็งแขวนลอยและสารอินทรีย์ซึ่งวัดในรูปของ บีโอดีได้มากกว่าร้อยละ 80 3. การบำบัดขั้นสูง (Advance Treatment หรือ Tertiary Treatment) : เป็นกระบวนการกำจัดสารอาหาร (ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส) สี สารแขวนลอยที่ตกตะกอนยาก และอื่นๆ ซึ่งยังไม่ได้ถูกกำจัดโดยกระบวนการบำบัดขั้นที่สอง ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดียิ่งขึ้นเพียงพอที่จะนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ได้ นอกจากนี้ยังช่วย ป้องกันการเติบโตผิดปกติของสาหร่ายที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดน้ำเน่า แก้ไขปัญหาความน่ารังเกียจของแหล่งน้ำอันเนื่องจากสี และแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่ระบบบำบัดขั้นที่สองมิสามารถกำจัดได้ กระบวนการบำบัดขั้นสูง ได้แก่ • การกำจัดฟอสฟอรัส ซึ่งมีทั้งแบบใช้กระบวนการทางเคมีและแบบใช้กระบวนการทางชีวภาพ • การกำจัดไนโตรเจน ซึ่งมีทั้งแบบใช้กระบวนการทางเคมีและแบบใช้กระบวนการทางชีวภาพ โดยวิธีการทางชีวภาพนั้นจะมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการเปลี่ยนแอมโมเนียไนโตรเจนให้เป็น ไนเทรต ที่เกิดขึ้นในสภาวะแบบใช้ออกซิเจน หรือที่เรียกว่า "กระบวนการไนทริฟิเคชั่น (Nitrification)" และขั้นตอนการเปลี่ยนไนเทรตให้เป็นก๊าซไนโตรเจน ซึ่งเกิดขึ้นในสภาวะไร้ออกซิเจน หรือที่เรียกว่า "กระบวนการดีไนทริฟิเคชั่น (Denitrification)" • การกำจัดฟอสฟอรัสและไนโตรเจนร่วมกันโดยกระบวนการทางชีวภาพ ซึ่งเป็นการใช้ทั้งกระบวนการแบบใช้อากาศและไม่ใช้อากาศในการกำจัดไนโตรเจนโดยกระบวนการไนตริฟิเคชันและกระบวนการดีไนตริฟิเคชันร่วมกับกระบวนการจับใช้ฟอสฟอรัสอย่างฟุ่มเฟือย (Phosphours Luxuty Uptake) ซึ่งต้องมีการใช้กระบวนการแบบไม่ใช้อากาศต่อด้วยกระบวนการใช้อากาศด้วยเช่นกัน ทั้งนี้จะต้องมีการประยุกต์ใช้โดยผู้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการดังกล่าวเป็นอย่างดี • การกรอง (Filtration) ซึ่งเป็นการกำจัดสารที่ไม่ต้องการโดยวิธีการทางกายภาพ อันได้แก่ สารแขวนลอยที่ตกตะกอนได้ยาก เป็นต้น • การดูดติดผิว (Adsorption) ซึ่งเป็นการกำจัดสารอินทรีย์ที่มีในน้ำเสียโดยการดูดติดบนพื้นผิวของของแข็ง รวมถึงการกำจัดกลิ่นหรือก๊าซที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการเดียวกัน