ธนาคารแห่งประเทศไทย ธปท. Bank of Thailand BOT

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ธนาคารแห่งประเทศไทย ธปท. Bank of Thailand BOT by Mind Map: ธนาคารแห่งประเทศไทย ธปท. Bank of Thailand BOT

1. Space

1.1. บริเวณ Space จะมีบริเวณ Lounge โดยจัดจะเป็นนิทรรศการหมุนเวียนเรื่องต่างๆ และมีบริการ พื้นที่ Learning Space ที่สามารถให้ผู้ใช้บริการ รวมถึงการให้บริการร้านกาแฟภายในศูนย์การเรียนรู้อีกด้วย และมีขั้นบันไดที่จัดเป็นพื้นที่กิจกรรมสำหรับการพูดคุยในวงกว้าง หรือจัดกิจกรรมต่างๆ

1.2. Space ที่มีภายในห้องสมุด แบ่งได้ 7 ห้อง ตามขนาดและจำนวนของผู้ใช้บริการ ซึ่ง แบ่งเป็นห้องเล็ก 4 ห้อง สามารถรับรองผู้ใช้บริการได้ 4 คน มีอุปกรณ์ Smart TV (สามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ Notebook) และห้องใหญ่ 3 ห้องที่สามารถรองรับผู้ใช้บริการได้ 8 คน มีอุปกรณ์Smart TV (สามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ Notebook), กระดานไวท์บอร์ดกระจก

2. Museum

2.1. พิพิธภัณฑ์ ทำการจัดแสดงนิทรรศการถาวร ณ ศูนย์การเรียนรู้ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีนิทรรศการถาวรคือ 1. นิทรรศการเงินตรา จัดแสดงวิวัฒนาการเงินตรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนบัตรไทยได้รวบรวมธนบัตรซึ่งจัดพิมพ์ขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

2.2. 2.นิทรรศการประวัติและการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะธนาคารกลางของประเทศ ซึ่งมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการดูแลรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการเงินมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

2.3. 3.นิทรรศการโรงพิมพ์ธนบัตร จัดแสดงประวัติการพิมพ์ธนบัตรตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2512 แสดงขั้นตอนการพิมพ์ธนบัตรผ่านแท่นพิมพ์ที่เคยใช้งานอยู่จริง

3. Archives

3.1. หอจดหมายเหตุ เป็นสถานที่จัดเก็บรักษาเอกสารทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เกิดจากการบริหาร การปฏิบัติงาน กิจกรรม หรือธุรกรรมในทุกด้าน รวมทั้งเอกสารที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่จะต้องเก็บรักษาไว้เป็นการถาวรสืบไป ได้แก่ เอกสารต้นฉบับลายมือ เอกสารตัวพิมพ์ และเอกสารในรูปสื่ออื่น ๆ ที่ส่วนงานภายในธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดทำขึ้น หรือเอกสารสำคัญจากภายนอกที่ได้รับมาซึ่งมีผลต่อการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีเอกสารที่เกิดจากการจัดทำประวัติศาสตร์บอกเล่า ซึ่งเป็นการบันทึกข้อมูลจากการสัมภาษณ์ประสบการณ์ส่วนตัว ความเห็นของผู้เล่าเหตุการณ์ การสังเกตของผู้สัมภาษณ์ และจากหลักฐานอื่น เช่น รูปภาพ หนังสือ เป็นต้น

4. History of BOT

4.1. ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand Learning Center) อดีตโรงพิมพ์ธนบัตร โดยมุ่งหวังให้ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจการเงินแบบบูรณาการ ที่มีสื่อการเรียนรู้ทันสมัย มีกิจกรรมการเรียนรู้หลากหลาย มีพิพิธภัณฑ์ธปท. และพื้นที่จัดนิทรรศการให้ความรู้ต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนทั่วไปหันมาสนใจด้านเศรษฐศาสตร์มากขึ้น ถูกออกแบบโครงสร้างที่มีความงามทางสถาปัตยกรรมและความมั่นคงโดยทีมวิศวกรและสถาปนิกชั้นนำแห่งยุคอย่าง ดร.รชฎ กาญจนวนิช และ ม.ล.สันธยา อิสระเสนา โครงสร้างหลังคาคอนกรีตมีลักษณะหล่อโค้งซ้อนกันหลายชั้น เพื่อช่วยดูดซับเสียงและรองรับน้ำหนักเครื่องจักรขนาดใหญ่ด้านใน ปัจจุบันอาคารถูกรีโนเวทให้ผสานความเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน

5. Member Privileges ชำระค่าสมาชิก 1,500 บาทต่อปี

5.1. 1. ยืมทรัพยากรสารสนเทศได้ที่ห้องสมุดพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย ต่ออายุการยืมได้ 3 ครั้ง ในกรณีที่ทรัพยากรสารสนเทศยังไม่เกินกำหนดส่งและไม่มีสมาชิกท่านอื่นจองต่อ

5.2. 2. บริการ Wifi ที่ไม่จำกัดตลอดการใช้บริการศูนย์การเรียนรู้

5.3. 3. บริการพื้นที่ Econ Connect สำหรับค้นคว้า วิจัย

5.4. 4. บริการห้อง Idea Box และห้อง Auditorium สำหรับการประชุมกลุ่มย่อยหรือการจัดสัมมนา (สมาชิกได้ส่วนลด 50% จากราคาปกติ)

6. Library

6.1. เดิมชื่อ ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย ในปี 2560 ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น "ห้องสมุดพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย" ตามพระนามของท่านผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยพระองค์แรก เป็นแหล่งค้นคว้าวิจัยและคลังข้อมูลด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน การธนาคาร รวมถึงศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของธนาคารกลาง โดยห้องสมุดแห่งนี้มีการจัดแสดงหนังสือตัวอย่างเบื้องต้นผ่าน ระบบ Display Show เป็นเครื่อง Digital Book Shelves ภายในห้องสมุดแบ่งเป็น 2 ชั้น

6.2. โดยมีห้อง Knowledge Vault จะจัดเก็บหนังสือที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป เป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าที่ยังมีการใช้งานอยู่ในบางโอกาส

6.3. การแบ่ง Collection ของห้องสมุด จะแบ่งโดยการใช้ "สีของสันหนังสือเป็นเกณฑ์" คือ ชั้น 2 สีชมพู หมายถึง หนังสือทั่วไป ชั้น 3 สีฟ้า หมายถึง หนังสือที่เกี่ยวกับธนาคารกลาง สีเหลือง หมายถึง หนังสือที่เกี่ยวกับการเงิน-การลงทุน สีเขียว หมายถึง หนังสือเฉพาะ โดยจัดหมวดหมู่โดยระบบ LC (Library of Congress Classification)

6.4. บริการของหัองสมุดแห่งนี้คือ - มีการยืมห้องสมุดระหว่างภูมิภาค - มีการยืมห้องสมุดระหว่างสถาบันการศึกษา - มีบริการการสนับสนุนการทำวิจัย

7. การสะท้อนการเรียนรู้นอกสถานที่ "ธนาคารแห่งประเทศไทย"

8. วันและเวลาเปิด-ปิด

8.1. ห้องสมุดพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย สมาชิกศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย และประชาชนทั่วไป เปิดบริการ วันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 9.30 - 20.00 น. ปิดบริการ วันจันทร์ และวันหยุดตามประเพณีของสถาบันการเงิน (คลิกดูข้อมูลเพิ่มเติม) บุคลากรธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดบริการ วันจันทร์ เวลา 9.30-17.30 น. วันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 9.30 - 20.00 น. ปิดบริการ วันหยุดตามประเพณีของสถาบันการเงิน (คลิกดูข้อมูลเพิ่มเติม)

8.2. พิพิธภัณฑ์ เปิดให้บริการทุกวัน ยกเว้น วันจันทร์ และวันหยุดตามประเพณีของสถาบันการเงิน ตั้งแต่เวลา 09.30 - 16.30 น. (พักเที่ยงเวลา 12.00 - 13.00 น.) - สามารถเดินชมได้ด้วยตัวเอง โดยใช้ BOT Museum Application ช่วยนำชม - มีเจ้าหน้าที่นำชม วันละ 4 รอบ รอบเช้า 10.00 น. 11.00 น. รอบบ่าย 14.00 น. 15.00 น.

8.3. หอจดหมายเหตุ ห้องค้นคว้าจดหมายเหตุ อาคารศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย ชั้น 1 ให้บริการ วันอังคาร - วันศุกร์ เวลา 9.30 – 16.30 น. (ปิดทำการวันเสาร์ อาทิตย์ และจันทร์) ธนาคารแห่งประเทศไทย อาคาร 7 ชั้น 4 ให้บริการวันจันทร์ – วันศุกร์ ยกเว้นวันหยุดธนาคาร เวลา 8.30 – 16.30 น. (โปรดติดต่อล่วงหน้า)