ทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาการเรียนรู้

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาการเรียนรู้ by Mind Map: ทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาการเรียนรู้

1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม

1.1. 1. ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่ม เกสตัลท์ ( Gestalt)

1.1.1. 1 หลักการเรียนรู้

1.1.1.1. การเรียนรู้ที่เห็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยนั้นจะต้องเกิด จากประสบการณ์เดิม

1.1.2. 2 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

1.1.2.1. ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง และมีอิสระที่จะให้ ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น

1.1.2.2. เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในชั้นเรียน

1.1.2.3. การกำหนดบทเรียนควรมีโครงสร้างที่มีระบบเป็นขั้นตอน เนื้อหามีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน

1.1.2.4. คำนึงถึงเจตคติและความรู้สึกของผู้เรียน

1.1.2.5. บุคลิกภาพของครูและความสามารถในการถ่ายทอด จะเป็นสิ่งจูงใจ ให้ผู้เรียนมีความศรัทธา

1.1.3. 2 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

1.2. 2. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learnning) ออซูเบล (Ausubel)

1.2.1. การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์

1.2.2. ทฤษฎีของออซูเบลเป็นทฤษฎีที่หาหลักการอธิบายการเรียนรู้ที่เรียกว่า "Meaningful Verbal Learning" เท่านั้น โดยเฉพาะการเชื่อมโยงความรู้ที่ปรากฎ ในหนังสือที่โรงเรียนใช้กับความรู้เดิมที่อยู่ในสมองของผู้เรียนในโครงสร้างสติปัญญา (Cognitive Structure)

1.3. 3 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Intellectual Development Theory)

1.3.1. เพียเจต์เชื่อว่า การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้นดังนี้

1.3.1.1. ขั้นที่ 1 ขั้นรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสจะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 0-2 ปี

1.3.1.2. ขั้นที่ 2 ขั้นตอนปฏิบัติการคิดจะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 2-7 ปี

1.3.1.3. ขั้นที่ 3 ขั้นการคิดแบบรูปประธรรมจะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 7-11 ปี

1.3.1.4. ขั้นที่ 4 ขั้นการคิดแบบนามธรรมจะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 11-15 ปี

1.3.2. ซึ่งการเรียนรู้เกิดจากการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมแล้วเกิดเป็นการเรียนรู้ โดยมีกระบวนการทางสติปัญญาดังนี้

1.3.2.1. 1) การซึมซับหรือการดูดซึม

1.3.2.2. 2) การปรับและจัดระบบ

1.3.2.3. 3) การเกิดความสมดุล

1.3.3. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

1.3.3.1. 1) จัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับพัฒนาการ

1.3.3.2. 2) สนใจและสังเกตผู้เรียน

1.3.3.3. 3) ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย

1.4. 4. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา บรุเนอร์(Bruner)

1.4.1. การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน

1.4.2. การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถ ช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้

1.4.3. แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้

1.4.4. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด

1.4.5. การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง

1.5. 5. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซูเบล (A Theory of Meaningful Verbal Learning)

1.5.1. ออซูเบลเชื่อว่า การเรียนรู้ใด ๆ จะมีความหมายต่อผู้เรียนหากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ผู้เรียนรู้มาก่อน

1.5.2. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซูเบล

1.5.2.1. ใช้เทคนิคการสอนAdvance Organizer ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงระหว่างความรู้ที่มีมาก่อนกับความรู้ใหม่ โดยมีหลักการดังนี้

1.5.2.1.1. - จัดเรียบเรียงข้อมูลเนื้อหาที่ต้องการออกเป็นหมวดหมู่

1.5.2.1.2. - แบ่งบทเรียนเป็นหัวข้อสำคัญและบอกให้ผู้เรียนทราบ

1.5.2.1.3. - จัดเรียบเรียงข้อมูลเนื้อหาที่ต้องการออกเป็นหมวดหมู่

1.5.2.1.4. - นำเสนอกรอบแนวคิดหรือหลักการกว้าง ๆ

1.5.3. ทฤษฎีนี้มีรากฐานมาจากนักจิตวิทยา 2 คนคือเพียเจต์และวิสก็อทกี้ โดยมีหลักการที่สำคัญว่าการเรียนรู้เกิดจากการที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำและเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นมาเอง และการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมก็มีความสำคัญต่อการเรียนรู้เช่นกัน

1.6. 6.ประมวลสารสนเทศ (Information Processing Model)

1.6.1. 1. การรับข้อมูล (Input) 2. การเข้ารหัส(Encoding) 3. การส่งข้อมูลออก (Output)

1.6.2. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง

1.6.2.1. การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่แล้วจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น

1.6.2.2. ควรจัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน

1.6.2.3. การท่องซ้ำกันหลายๆ ครั้งหรือการจัดสิ่งที่จำให้เป็นหมวดหมู่ง่ายแก่การจำ

1.6.2.4. การทบทวนหรือการใช้กระบวนการขยายความคิด

1.7. 7. ทฤษฎีการสร้างความรู้ใหม่ด้วยตนเอง (Constructism)

1.7.1. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง

1.7.1.1. 1) ผู้เรียนจะต้องฝึกฝนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง

1.7.1.2. 2) ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่

1.7.1.3. 3) ครูจะต้องสร้างบรรยากาศทางสังคมให้เกิดขึ้นจริง

1.8. 8. ทฤษฎีการสร้างความรู้ใหม่ด้วยตนเองโดยการสร้างชิ้นงาน (Constructionism)

1.8.1. ผู้พัฒนาทฤษฎีนี้คือศาสตราจารย์ซีมัวร์ เพเพอร์ท แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสต ทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่าการเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน และหากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเองนั่นเอง

1.8.2. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างชิ้นงาน

1.8.2.1. 1) สร้างบรรยากาศที่มีทางเลือกให้ผู้เรียนได้เลือกตามความสนใจ

1.8.2.2. 2) ใช้วัสดุอุปกรณ์ สื่อ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการสร้างชิ้นงานของผู้เรียน

1.8.2.3. 3) ประเมินผลทั้งกระบวนการและผลงาน

2. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ

2.1. 1 หลักการเรียนรู้

2.1.1. ผู้เผยแพร่ทฤษฎีนี้คือ โรเบิร์ต สลาวิน เดวิด จอห์นสัน และโรเจอร์ จอห์นสัน การเรียนรู้แบบร่วมมือ คือการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3-6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนเป็นความสัมพันธ์ที่ถูกมองข้ามทั้ งที่มีผลต่อการเรียนรู้เป็นอย่างมาก เพราะการเรียนรู้ที่ดีเกิดจากอิทธิพลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน

2.2. 2การเรียนรู้แบบร่วมมือมีองค์ประกอบดังนี้

2.2.1. 1) การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน

2.2.2. 2) การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด

2.2.3. 3) ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน

2.2.4. 4) การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย

2.2.5. 5) การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม

2.3. 3 การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน

2.3.1. 1) เน้นกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม

2.3.2. 2) ผู้สอนกระตุ้นการทำงานกลุ่มให้ความช่วยเหลือและสรุปการเรียนรู้

2.3.3. 3) ให้ผู้เรียนมีโอกาสวิเคราะห์การทำงานของกลุ่มและสมาชิกเพื่อนำไปปรับปรุงจุดบกพร่อง

3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม

3.1. 1.1 ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory)

3.1.1. 1 หลักการเรียนรู้

3.1.1.1. กล่าวถึงการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus - S) กับการตอบสนอง (Response - R) โดยมีหลักเบื้องต้นว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่ง เร้ากับการตอบสนอง โดยที่การตอบสนองมักจะออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆ หลายรูปแบบ จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีหรือเหมาะสมที่สุด เราเรียกการตอบสนองเช่นนี้ ว่าการลองถูกลองผิด (Trial and error) นั่นคือการเลือกตอบสนองของผู้เรียนรู้จะ กระทำด้วยตนเองไม่มีผู้ใดมากำหนดหรือชี้ช่องทางในการปฏิบัติให้และเมื่อเกิดการ เรียนรู้ขึ้นแล้ว

3.1.2. 2 กฎการเรียนรู้

3.1.2.1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้จะ เกิดขึ้นได้ดี ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ

3.1.2.2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อย ๆ ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร

3.1.2.3. กฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse) การเรียนรู้เกิด จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ความมั่งคงของการเรียนรู้จะ เกิดขึ้นหากได้มีการนำไปใช้บ่อย ๆ

3.1.2.4. กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of Effect) เมื่อบุคคลได้รับผลที่ พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจจะไม่อยากเรียนรู้

3.1.3. 3 การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน

3.1.3.1. การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูกด้วยตนเองบาง

3.1.3.2. การสำรวจความพร้อมของผู้เรียน

3.1.3.3. หากต้องการให้ผู้เรียนเกิดทักษะในเรื่องใดแล้ว ต้องให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างถ่องแท้

3.1.3.4. เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้ว ควรให้ผู้เรียนฝึกนำการเรียนรู้นั้นไปใช้

3.1.3.5. การให้ผู้เรียนได้รับผลที่น่าพึงพอใจ จะช่วยให้การเรียนการ สอนประสบความสำเร็จ

3.2. 1.2 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classic Conditioning Theory)

3.2.1. 1 หลักการเรียนรู้

3.2.1.1. พาฟลอฟเชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) คือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ต้องมีเงื่อนไขหรือ มีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น เช่น สุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งแล้วน้ าลายไหล เป็นต้น

3.2.2. 2 กฎการเรียนรู้

3.2.2.1. กฎการคืนสภาพเดิม (Law of Spontaneous recovery) หลังจากที่ลบพฤติกรรมนั้นไปแล้วจะไม่เกิดพฤติกรรมที่วางเงื่อนไขนั้นอีก

3.2.2.2. กฎการสรุปความเหมือน (Law of Generalization) ถ้ามีสิ่งเร้าอื่น ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่มีการวางเงื่อนไข

3.2.2.3. กฎการจำแนกความแตกต่าง (Law of Discrimination) เป็นลักษณะ ที่ผู้เรียนสามารถแยกแยะสิ่งที่แตกต่างกันได้

3.2.2.4. กฎการลบพฤติกรรม (Law of Extinction) การตอบสนองที่เคย ปรากฏจะไม่ปรากฏถ้านำสิ่งเร้านั้นออก

3.2.3. 3 การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน

3.2.3.1. ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล

3.2.3.2. การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์

3.2.3.3. การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข

3.2.3.4. การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง

3.3. 1.3 ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ (Skinner Behavior Theory)

3.3.1. 1 หลักการเรียนรู้

3.3.1.1. จากแนวความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรม และผลของการ กระทำของพฤติกรรมนั้นโดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น

3.3.2. 2 กฎแห่งการเรียนรู้

3.3.2.1. ตารางกำหนดการเสริมแรง (Schedule of Reinforcement) เป็นการใช้กฎเกณฑ์บางอย่างเช่น เวลาพฤติกรรม เป็นตัวกำหนดในการเสริมแรง

3.3.2.2. อัตราการตอบสนอง (Response Rate) เป็นการตอบสนองที่เกิดขึ้นจากการเสริมแรงต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นมากน้อยและนานคงทนถาวรเท่าใด ย่อมแล้วแต่ตารางกำหนดการเสริมแรงนั้น ๆ

3.3.3. 3 การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน

3.3.3.1. การใช้กฎการเรียนรู้ กฎที่ 1 คือกฎการเสริมแรงทันทีทันใดมักใช้ เมื่อต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว

3.3.3.2. บทเรียนสำเร็จรูป (Programmed Learning)

3.4. 1.4ทฤษฎีการเรียนรู้การวาง เงื่อนไขต่อเนื่องของกัทธรี (Guthrie‘s Contiguity Theory

3.4.1. 1 หลักการเรียนรู้

3.4.1.1. การเรียนรู้เป็นแบบต่อเนื่อง โดยไม่ต้องกระทำซ้ำๆบ่อย ๆ

3.4.2. 2 กฎแห่งการเรียนรู้

3.4.2.1. 1. กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Contiguity)

3.4.2.2. 2. กฎของการกระทำครั้งสุดท้าย (Law of Recency)

3.4.2.3. 3. กฏการเรียนรู้เกิดขึ้นได้แม้เพียงครั้งเดียว (Onetrial learning)

3.4.2.4. 4. หลักการจูงใจ (Motivation)

3.4.3. 3 การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน

4. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา

4.1. การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้

4.1.1. 1.บ่งชี้วัตถุประสงค์ที่จะให้นักเรียนแสดงพฤติกรรมหรือเขียนวัตถุประสงค์เป็นเชิงพฤติกรรม

4.1.2. 2. แสดงตัวอย่างของการกระทำหลาย ๆ อย่าง

4.1.3. 3. ให้คำอธิบายควบคู่กันไปกับการให้ตัวอย่างแต่ละอย่าง

4.1.4. 4. ชี้แจงขั้นตอนของการเรียนรู้โดยการสังเกตแก่นักเรียน

4.1.5. 5. จัดเวลาให้นักเรียนมีโอกาสที่แสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ

4.1.6. 6.ให้การเสริมแรงแก่นักเรียนที่สามารถเลียนแบบได้อย่างถูกต้อง

4.2. กระบวนการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning Processing)

4.2.1. ขั้นให้ความสนใจ (Attention Phase)

4.2.2. ขั้นจำ (Retention Phase)

4.2.3. ขั้นปฏิบัติ (Reproduction Phase)

4.2.4. ขั้นจูงใจ (Motivation Phase)