Get Started. It's Free
or sign up with your email address
โรคอ้วน by Mind Map: โรคอ้วน

1. แนวทางการแก้ไขปัญหา

1.1. การลดพลังงานจากอาหาร

1.1.1. ปกติคนเราต้องการพลังงานประมาณ 25–35กิโลแคลอรีต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ดังนั้น เราสามารถคำนวณพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน โดยเอาน้ำหนักตัวคูณด้วย 25 ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นพลังงานทั้งหมด ถ้าเราต้องการลดน้ำหนักให้เอา 500 กิโลแคลอรีลบออกจากที่คำนวณได้จะได้พลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน นำพลังงานที่ได้หารด้วย 3 จะได้พลังงานที่ควรได้รับในแต่ละมื้อ

1.2. การเปลี่ยนแปลงอาหาร

1.2.1. ลดอาหารไขมัน และน้ำตาล รับประทานผลไม้ไม่เกิน 2 ส่วนต่อวัน

1.2.2. พิ่มอาหารที่มีใยอาหาร เช่น ผัก ธัญพืช เนื่องจากใยอาหารจะลด การดูดซึมไขมัน และยังป้องกันการขาดวิตามิน

1.2.3. งดเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น ชา กาแฟ นมเปรี้ยว น้ำอัดลม น้ำผลไม้

1.2.4. เพิ่มสัดส่วนอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน

1.2.5. หลีกเลี่ยงอาหารประเภททอดผัดใส่กะทิให้ใช้อบ นึ่ง เผา หรือต้มแทน

2. สถานการณ์การเกิดโรค

2.1. จากข้อมูลองค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2557 พบว่าทั่วโลกมีผู้ใหญ่ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน (ค่าดัชนี้มวลกายตั้งแต่ 25 กก/ตร.ม ขึ้นไป) ประมาณ 1,900 ล้านรายและเป็นโรคอ้วน (ค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 กก/ตร.ม ขึ้นไป! อย่างน้อย 600 ล้านราย นั่นคือ ร้อยละ 39 ของผู้ใหญ่ในโลกนี้มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน การสำรวจสุขภาพประชาชนูไทยทั่วประเทศโดยการตรวจร่างกาย คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปในปี พ.ศ. 2552 พบว่ามีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน (ตัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 กก!/ตร.ม. ขึ้นไป) มากกว่า 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับผลสำรวจในปี พ.ศ. 2534 พบว่าเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า (จาก 17.2% เป็น 34.7%) และภาวะอ้วนเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า (จาก 3.2% เป็น 9.1%)

3. ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค

3.1. 1.พฤติกรรมการบริโภค

3.2. 2.การไม่ออกกำลังกาย

3.3. 3.พันธุกรรม

3.4. 4.พฤติกรรมการดำรงชีวิต

3.5. 5.การใช้ยาบางชนิด

3.6. 6.การนอนไม่เพียงพอฮอร์โมนบางตัวจะถูกปล่อยออกมาเฉพาะขณะที่กำลังนอนหลับ เช่น อินซูลิน

3.7. 7.อายุ อายุมากขึ้น การเผาผลาญพลังงานของร่างกายจะช้าลงจึงเป็น สาเหตุหนึ่งของโรคอ้วน

3.8. 8.ปัญหาสุขภาพ บางโรคทำให้เกิดเป็นโรคอ้วนได้ง่าย เช่น โรคของต่อมไทรอยด์ (Hypothyroidism) หรือรังไข่ (Polycystic Ovarian Syndrome)