ประวัติความเป็นมาลีลาศ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ประวัติความเป็นมาลีลาศ by Mind Map: ประวัติความเป็นมาลีลาศ

1. ประวัติลีลาศในประเทศไทยประวัติลีลาศไทย เกิดขึ้นเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่ชัด แต่จากบันทึกของ แหม่มแอนนา ทำให้มีหลักฐานเชื่อได้ว่า เมืองไทยมีลีลาศมาตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ 4 และบุคคลที่ได้รับการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรกก็คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากบันทึกของแหม่มแอนนาทำให้มีหลักฐานเชื่อได้ว่าคนไทยลีลาศเป็น มาตั้งแต่สมัยพระองค์ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรกของไทย ตามบันทึกกล่าวว่า ในช่วงหนึ่งของการสนทนาได้พูดถึงการเต้นรำ ซึ่งแหม่มแอนนาพยายามสอนพระองค์ท่าน ให้รู้จักการเต้นรำแบบสุภาพ ซึ่งเป็นที่นิยมของชาติตะวันตก พร้อมกับแสดงท่า และบอกว่าจังหวะวอลซ์นั้นหรูมาก มักนิยมเต้นกันในวังยุโรป ซึ่งพระองค์ท่านก็ฟังอยู่เฉยๆ ไม่ออกความเห็นใดๆ แต่พอแหม่มแอนนาแสดงท่า พระองค์ท่านกลับสอนว่าใกล้เกินไปแขนต้องวางให้ถูก และพระองค์ท่านก็เต้นให้ดู จนแหม่มแอนนาถึงกับงง จึงทูลถามว่าใครเป็นคนสอนให้ พระองค์ท่านก็ไม่ตอบจึงไม่รู้ว่าใครเป็นผู้สอนพระองค์สันนิษฐานกันว่าพระองค์ท่านคงจะศึกษาจากตำราด้วยพระองค์เอง ในสมัยรัชกาลที่ 5 การเต้นรำยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ส่วนใหญ่มีแต่เจ้านายและขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่เต้นรำกัน โดยเฉพาะเจ้านายที่ว่าการต่างประเทศได้มีการเชิญทูตานุทูต และแขกชาวต่างประเทศมาชุมนุมเต้นรำกันที่บ้าน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในการเฉลิมพระชนมพรรษา หรือเนื่องในวันบรมราชาภิเษก เป็นต้น จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานวังสราญรมย์ ให้เป็นศาลาว่าการกระทรวงการต่างประเทศ งานเต้นรำที่เคยจัดกันมาทุกปีก็ได้ย้ายมาจัดกันที่วังสราญรมย์ ตามบันทึกทำให้เชื่อว่าในช่วงนั้นมักจะเต้นจังหวะวอลซ์เพียงอย่างเดียว และบางครั้งได้มีการนำเอาจังหวะวอลซ์ไปสอดแทรกในการแสดงละครด้วย เช่น เรื่องพระอภัยมณี ตอนที่กล่าวถึงนางละเวงวัณฬาได้กับพระอภัยมณี เป็นต้

2. คุณธงชัย เจริญทรัพย์มณี ได้แบ่งรูปแบบของการลีลาศตามความมุ่งหมายออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ ลีลาศเพื่อนันทนาการ (Ballroom Dancing for Recreation) การลีลาศเพื่อนันทนาการ มีความมุ่งหมายที่จะใช้การลีลาศเป็นสื่อ ดึงความสนใจของบุคคลต่าง ๆ ให้เข้าร่วมกิจกรรม จะเห็นได้ว่า การจัดงานรื่นเริงในโอกาสต่าง ๆ เช่น งานพบปะสังสรรค์ งานฉลองในวาระสำเร็จการศึกษา งานราตรีสโมสร ฯลฯ ล้วนแต่มีลีลาศเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น การลีลาศในรูปแบบนี้มักไม่ค่อยยึดติดหรือคำนึงถึงรูปแบบมากนัก เพียงแต่อาศัยจังหวะ และ ทำนองดนตรีประกอบก็พอ สำหรับลีลาท่าทางหรือลวดลาย (Figure) ต่าง ๆ ในการเคลื่อนไหวจะเน้นที่ความสนุกสนาม และ ความพึงพอใจของคู่ลีลาศเป็นสำคัญ ลีลาศเพื่อการแข่งขัน (Ballroom Dancing for Sport’s Competition) การลีลาศเพื่อการแข่งขัน จะคำนึงถึงรูปแบบที่ถูกต้องตามเทคนิควิธีมีความสง่างามตามหลักของการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติเป็นสำคัญ ได้มีสมาคมลีลาศในหลาย ๆ ประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้ร่วมกันส่งเสริมลีลาศให้มีการพัฒนา และพยายามจัดให้เป็นรูปแบบของกีฬา โดยมีแนวคิดว่าลีลาศคือกีฬาชนิดหนึ่ง ที่ให้ความบันเทิงและส่งเสริมสุขภาพพลานามัยเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังได้ร่วมกันจัดการแข่งขันลีลาศขึ้นในหลายระดับ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งประเภทอาชีพ และ สมัครเล่น โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกัน

3. จากความพยายามของสมาคมลีลาศต่างๆ ทั่วโลก ในอันที่จะผลักดันให้ลีลาศได้รับการบรรจุเข้าเป็นกีฬาชนิดหนึ่งในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ในที่สุด ผลจากการประชุมของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ที่นครบูดาเปสต์ ประเทศบัลแกเรีย เมื่อเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2539 ได้มีการลงสัตยาบันรับรองลีลาศเป็นกีฬาชนิดหนึ่ง โดยสามารถจัดแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกได้ และคณะกรรมการโอลิมปิกไทยก็ได้รับรองกีฬานี้เช่นกัน โดยจัดให้มีการแข่งขันครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิก 2000 จัดขึ้นที่นครซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย (หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันศุกร์ที่ 27 ก.ย. 2539) นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้จัดให้มีการแข่งขันลีลาศครั้งประวัติศาสตร์ขึ้น เมื่อวันที่ 30 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2539 โดยใช้ชื่อว่า โกลเด้น จูบิลี่ (Golden Jubilee Thailand Queen’s Cup Dancesport Championship) ชิงถ้วยพระราชทาน ของพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองปีมหามงคลกาญจนาภิเษก มีชาติต่าง ๆ สมัครเข้าร่วมแข่งขันในประเภทต่างๆ ถึง 25 ประเทศ รวมคู่ลีลาศได้ถึง 97 คู่ (หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันเสาร์ที่ 14 ธ.ค. 2539)

4. สรุปประวัติลีลาศ ลีลาศ หรือ การเต้นรำ ได้เกิดขึ้นมานับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และได้รับการพัฒนารูปแบบการเต้นรำมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในอดีต การเต้นรำเรามักจะพบในงานพิธีกรรมทางศาสนา อันได้แก่ การเต้นเพื่อบวงสรวงเทพเจ้า การเต้นรำด้วยอาวุธเพื่อใช้ในทางทหาร ในยุคฟื้นฟูได้มีการจัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการเต้นรำ มีการจัดเต้นรำสวมหน้ากาก ระบำบัลเลย์ได้เกิดขึ้นในยุคนี้ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ได้จัดตั้งโรงเรียนบัลเลย์ขึ้นเป็นแห่งแรก การเต้นระบำบัลเลย์ถือได้ว่าเป็นพื้นฐานของการลีลาศก็ว่าได้ ยุคโรแมนติกเกิดการเต้นวอลซ์ ซึ่งรับมาจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย และได้แพร่หลายไปในยุโรปตะวันตก ในยุคปัจจุบันได้เกิดจังหวะฟอกซ์ทรอท และแทงโก้ ในยุคนี้ได้เกิดจังหวะในประเภทบอลรูม รวมทั้งสิ้น 5 จังหวะ ได้แก่ วอลซ์ ควิ๊กวอลซ์ สโลว์ฟอกซ์ทรอท แทงโก้ และควิ๊กสเต็ป ในปีค.ศ 1950 ได้เกิดจังหวะใหม่ๆ ขึ้นอีกได้แก่ จังหวะ แมมโม้ คิวบา ชา ชา ช่า และเมอเรงโก้ ในปี 1959 ได้จัดให้มีการแข่งขันลีลาศชิงแชมป์โลกที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งจังหวะที่จัดแข่งได้แก่ วอลซ์ ฟอกซ์ทรอท แทงโก้ ควิ๊กสเต๊ป และเวนิสวอลซ์ จังหวะร็อคแอนด์โรล ได้เกิดขึ้นในยุคนี้

5. ในสมัย รัชกาลที่ 6 ทุกๆ ปีในงานเฉลิมพระชนมพรรษาก็มักจะจัดให้มีการเต้นรำกันในพระบรมมหาราชวัง โดยมีองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประธาน ซึ่งบรรดาทูตานุทูตทั้งหลายต้องเข้าเฝ้า ส่วนแขกที่ได้เข้าร่วมงานนั้นต้องได้รับบัตรเชิญจึงจะเข้าไปในงานได้ ในสมัยรัชกาลที่ 7 การเต้นรำได้รับความนิยมมากขึ้น ได้เปิดให้มีการเต้นกันตามสถานที่ต่างๆ เช่น ที่ห้อยเทียนเหลาเก้าชั้น โลลิต้า และคาร์เธ่ย์ ในพุทธศักราช 2475 หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ กับ นายหยิบ ณ นคร ได้ปรึกษากันและจัดตั้งสมาคมที่เกี่ยวกับการเต้นรำขึ้น ชื่อ สมาคมสมัครเล่นเต้นรำ โดยมี หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ เป็นประธาน นายหยิบ ณ นคร เป็นเลขาธิการสมาคม และมีคณะกรรมการอีกหลายท่าน เช่น หลวงเฉลิม สุนทรกาญจน์ นายแพทย์เติม บุนนาค พระยาปกิตกลสาร พระยาวิชิต หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ หลวงชาติตระการโกศล ในเรื่องสถานที่ตั้งสมาคมนั้นไม่แน่นนอน คือ วนเวียนไปตามบ้านสมาชิกแล้วแต่สะดวก การตั้งเป็น สมาคมครั้งนี้ไม่ได้จดทะเบียนให้เป็นที่ถูกต้องแต่อย่างใด สมาชิกส่วนมากเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งได้พาบุตรหรือบุตรี เข้าฝึกหัดด้วย ทำให้สมาชิกเพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว มักจัดให้มีงานเต้นรำขึ้นบ่อยๆ ที่สมาคมคณะราษฎร์ วังสราญรมย์ และได้จัดแข่งขันการเต้นรำขึ้นครั้งแรกที่วังสราญรมย์นี้ ผู้ชนะเลิศ คือ พลเรือตรีเฉียบ แสงชูโต และ คุณประนอม สุขุม

6. ในปี พ.ศ. 2476 นักศึกษากลุ่มหนึ่งเห็นว่า คำว่า เต้นรำ เมื่อผวนแล้วจะฟังไม่ไพเราะหู (สมาคมรำเต้น) ดังนั้น หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ จึงบัญญัติศัพท์คำว่า ลีลาศ ขึ้นแทนคำว่า เต้นรำ นับแต่บัดนี้เป็นต้นมา ต่อมาสมาคมสมัครเล่นเต้นรำก็สลายตัวไป กลายเป็น สมาคมครูลีลาศแห่งประเทศไทย โดยมี นายหยิบ ณ นคร เป็นผู้ประสานงานจนสามารถส่งนักลีลาศไปแข่งยังต่างประเทศได้ รวมทั้งให้การต้อนรับนักลีลาศชาวต่างชาติที่มาเยี่ยม หรือแสดงในประเทศไทย ในช่วงที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งนี้ด้วย จึงทำให้การลีลาศซบเซาไป เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2488 วงการลีลาศของไทยก็เริ่มคึกคัก มีชีวิตชีวาขึ้นดังเดิม มีโรงเรียนสอนลีลาศเปิดขึ้นหลายแห่ง โดยเฉพาะสาขาบอลรูมสมัยใหม่ หรือ Modern Ballroom Branch อาจารย์ยอด บุรี ซึ่งไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษแล้วนำกลับมาเผยแพร่ในไทย ทำให้การลีลาศซึ่ง ศาสตราจารย์ศุภชัย วานิชวัฒนา เป็นผู้นำอยู่ก่อนแล้วพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาได้มีบุคคลชั้นนำในการลีลาศประมาณ 10 ท่าน ซึ่งเคยเป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขันในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น คุณกวี กรโกวิท คุณอุไร โทณวนิก คุณจำลอง มาณยมฑล คุณปัตตานะ เหมะสุจิ โดยมีนายแพทย์ประสบ วรมิศร์ เป็นผู้ประสานงานติดต่อพบปะปรึกษาหารือ และมีแนวความคิดจะรวมนักลีลาศทั้งหมดให้อยู่ในสมาคมเดียวกัน เพื่อเป็นการผนึกกำลัง และช่วยกันปรับปรุงมาตรฐานการลีลาศทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติซึ่งทุกคนเห็นพ้องต้องกัน จึงมีการร่างระเบียบข้อบังคับขึ้น และได้ยื่นจดทะเบียนเป็นสมาคมตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2491 ซึ่งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้อนุญาตให้ จัดตั้ง สมาคมลีลาศแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2491 โดยมี หลวงประกอบนิติสาร เป็นนายกสมาคมคนแรก ซึ่งปัจจุบันสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นสมาชิกของสภาการลีลาศนานาชาติด้วย

7. หลังจากนั้น การลีลาศได้รับความนิยมแพร่หลายเป็นอย่างมาก มีการจัดตั้งสมาคมลีลาศขึ้น มีสถานลีลาศเปิดเพิ่มขึ้น มีการจัดส่งนักกีฬาลีลาศไปแข่งขันในต่างประเทศ และจัดแข่งขันลีลาศนานาชาติขึ้นในประเทศไทย ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้กำหนดให้โรงเรียนสอนลีลาศต่างๆ อยู่ในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ และมีการกำหนดหลักสูตรลีลาศขึ้นอย่างเป็นแบบแผน ทำให้กีฬาลีลาศมีมาตรฐานยิ่งขึ้น ส่งผลให้กีฬาลีลาศในประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและนิยมในวงการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนให้ความสนใจ ทำให้มีโรงเรียนหรือสถาบันเปิดสอนลีลาศขึ้นเกือบทุกจังหวัด สำหรับในสถานศึกษาก็ได้มีการจัดวิชาลีลาศเข้าไว้ในหลักสูตรตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา ปัจจุบันลีลาศได้รับการรับรองให้เป็นกีฬาจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee = IOC) อย่างเป็นทางการ มีการประชุมครั้งที่ 106 วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2540 ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำหรับในประเทศไทย คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในสมัยที่มี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ ได้มีมติรับรองลีลาศเป็นกีฬาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2541 จัดเป็นกีฬาลำดับที่ 45 ของการกีฬาแห่งประเทศไทย และยังได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาลีลาศ (สาธิต) ขึ้นเป็นครั้งแรก ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ณ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 6 – 20 ธันวาคม พ.ศ.2541