กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย by Mind Map: กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

1. ป.3

1.1. มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน

1.1.1. สาระที่1 การอ่าน

1.1.1.1. สาระการเรียนรู้

1.1.1.1.1. การอ่านออกเสียงและการบอกความหมายของคำ คำคล้องจอง ข้อความ และบทร้อยกรองง่ายๆที่ประกอบด้วยคำพื้นฐานเพิ่มจาก ป.2 ไม่น้อยกว่า 1,200 คำ รวมทั้งคำที่เรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นประกอบด้วย 1.คำที่มีตัวการันต์ 2.คำที่มี รร 3.คำที่มีพยัญชนะและสระไม่ออกเสียงคำพ้องคำพิเศษอื่นๆเช่นคำที่ใช้ ฑ ฤ ฤๅ

1.1.1.1.2. การอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ เช่น 1.นิทานหรือเรื่องเกี่ยวกับท้องถิ่น 2.เรื่องเล่าสั้นๆ 3.บทเพลงและบทร้อยกรอง 4.บทเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น 5.ข่าวและเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันในท้องถิ่นและชุมชน

1.1.1.1.3. การอ่านหนังสือตามความสนใจ เช่น 1.หนังสือที่นักเรียนสนใจ และเหมาะสมกับวัย 2.หนังสือที่ครู และนักเรียนกำหนดร่วมกัน

1.1.1.1.4. การอ่านข้อเขียนเชิงอธิบาย และปฏิบัติตามคำสั่งหรือข้อแนะนำ 1.คำแนะนำต่างๆในชีวิตประจำวัน 2.ประกาศป้ายโฆษณาและคำขวัญ

1.1.1.1.5. การอ่านข้อมูลจากแผนภาพ แผนที่ และแผนภูมิ

1.1.1.1.6. มารยาทในการอ่านเช่น 1.ไม่อ่านเสียงดังรบกวนผู้อื่น 2.ไม่เล่นกันขณะที่อ่าน 3.ไม่ทำลายหนังสือ 4.ไม่ควรแย่งอ่านหรือชะโงกหน้าไปอ่านขณะที่ผู้อื่นกำลังอ่าน

1.2. มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ

1.2.1. สาระที่2 การเขียน

1.2.1.1. สาระการเรียนรู้

1.2.1.1.1. การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด ตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทย

1.2.1.1.2. การเขียนบรรยายเกี่ยวกับลักษณะของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่

1.2.1.1.3. การเขียนบันทึกประจำวัน

1.2.1.1.4. การเขียนจดหมายลาครู

1.2.1.1.5. การเขียนเรื่องตามจินตนาการจากคำภาพ และหัวข้อที่กำหนด

1.2.1.1.6. มารยาทในการเขียนเช่น 1.เขียนให้อ่านง่ายสะอาดไม่คิดค่า 2.ไม่เขียนในที่สาธารณะ 3.ใช้ภาษาเขียนเหมาะสมกับเวลา สถานที่ และบุคคล 4.ไม่เขียนล้อเลียนผู้อื่นหรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย

1.3. มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์

1.3.1. สาระที่3 การฟัง การดู และการพูด

1.3.1.1. สาระการเรียนรู้

1.3.1.1.1. การพูดสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น 1.การแนะนำตนเอง 2.การแนะนำสถานที่ในโรงเรียนและชุมชนๆ 3.การแนะนำเชิญชวน เกี่ยวกับการปฏิบัติตนในด้านต่างๆ เช่น การรักษาความสะอาดของร่างกาย 4.การเล่าประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน 5.การพูดในโอกาสต่างๆ เช่น การพูดขอร้อง การพูดทักทาย การกล่าวขอบคุณ และการพูดปฏิเสธ และการพูดซักถาม

1.3.1.1.2. การจับใจความและพูดแสดงความคิดเห็น และความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง เช่น 1.เรื่องเล่าและสารคดีสำหรับเด็ก 2.นิทานการ์ตูนเรื่องขบขัน 3.รายการสำหรับเด็ก 4.ข่าวและเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน 5.เพลง

1.3.1.1.3. 1.) มารยาทในการฟัง เช่น 1.ตั้งใจฟังตามองผู้พูด 2.ไม่รบกวนผู้อื่นขณะที่ฟัง 3.ไม่ควรนำอาหารหรือเครื่องดื่ม ไปรับประทานขณะที่ฟัง 4.ไม่แสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสม เช่น โห่ ฮา หาว 5.ให้เกียรติผู้พูดด้วยการปรบมือ 6.ไม่สอดแทรกขณะที่ฟัง 2.) มารยาทในการดู เช่น 1.ตั้งใจดู 2.ไม่ส่งเสียงดังหรือแสดงอาการ รบกวนสมาธิของผู้อื่น 3.) มารยาทในการพูด เช่น 1.ใช้ถ้อยคำและกิริยาที่สุภาพ เหมาะสมกับกาลเทศะ 2.ใช้น้ำเสียงนุ่มนวล 3.ไม่พูดสอดแทรกในขณะที่ผู้อื่นกำลังพูด 4.ไม่พูดเราเรียนให้ผู้อื่น ได้รับความอับอายหรือเสียหาย

1.4. มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

1.4.1. สาระที่4 หลักการใช้ภาษา

1.4.1.1. สาระการเรียนรู้

1.4.1.1.1. 1.) การสะกดคำการแจกลูก และการอ่านเป็นคำ 2.) มาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตรา และไม่ตรงตามมาตรา 3.) การผันอักษรกลางอักษรสูง และอักษรต่ำ 4.) คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ 5.) คำที่มีอักษรนำ 6.) คำที่ประวิสรรชนีย์ และคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ 7.) คำที่มี ฤ ฤๅ 8.) คำที่ใช้ บัน บรร 9.) คำที่ใช้ รร 10.) คำที่มีตัวการันต์ 11.) ความหมายของคำ

1.4.1.1.2. ชนิดและหน้าที่ของคำ ได้แก่ 1.คำนาม 2.คำสรรพนาม 3.คำกริยา

1.4.1.1.3. การใช้พจนานุกรมการใช้พจนานุกรม

1.4.1.1.4. การแต่งประโยคเพื่อการสื่อสาร ได้แก่ 1.ประโยคบอกเล่า 2.ประโยคปฏิเสธ 3.ประโยคคำถาม 4.ประโยคขอร้อง 5.ประโยคคำสั่ง

1.4.1.1.5. 1.) คำคล้องจอง 2.) คําขวัญ

1.4.1.1.6. 1.) ภาษาไทยมาตรฐาน 2.) ภาษาถิ่น

1.5. มาตรฐาน ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดี และวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

1.5.1. สาระที่5 วรรณคีและวรรณกรรม

1.5.1.1. สาระการเรียนรู้

1.5.1.1.1. วรรณคดี วรรณกรรม และเพลงพื้นบ้าน 1.นิทานหรือเรื่องในท้องถิ่น 2.เรื่องสั้นง่ายๆ ปริศนาคําทาย 3.บทร้อยกรอง 4.เพลงพื้นบ้าน 5.เพลงกล่อมเด็กวรรณกรรมและวรรณคดี ในบทเรียนและตามความสนใจ

1.5.1.1.2. บทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า 1.บทอาขยานที่กำหนด 2.บทร้อยกรองตามความสนใจ