บทที่ 2 วิวัฒนาการของ แนวคิดทางการจัดการ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
บทที่ 2 วิวัฒนาการของ แนวคิดทางการจัดการ by Mind Map: บทที่ 2 วิวัฒนาการของ แนวคิดทางการจัดการ

1. 1. แนวคิดการจัดการในยุคแรก (Early Management Thought)

1.1. ตั้งแต่โบราณกาลจนถึงประมาณปี 1880 อารยธรรมยุคแรก (Early Civilization) ที่ยิ่งใหญ่

1.1.1. 1. บาบิโลน (Babylon)

1.1.2. 2. อียิปต์ (Egypt)

1.1.3. 3.อัสซีเรีย (Assyria)

1.1.4. 4. เปอร์เซีย (Persia)

1.1.5. จากการมีหลักการจัดการ ทำให้เกิดความสําเร็จจํานวนมาก

1.1.5.1. 1. การสร้างกําแพงเมือง

1.1.5.2. 2. ระบบการชลประทาน

1.1.5.3. 3. การสร้างเส้นทางคมนาคม

1.1.5.4. 4. ระบบห้องสมุด

1.1.5.5. 5. ระบบเมือง

1.2. ระบบการผลิตก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม

1.2.1. ระบบศักดินา (Feudal System) เป็นระบบการผลิตหลักในเขตชนบทเป็นส่วนใหญ่

1.2.1.1. 1. เจ้าของที่ดิน/เจ้าศักดินา (Lord)

1.2.1.2. 2. ทาส (Serf)

1.2.2. ระบบกลุ่มอาชีพ (Guild System) ในเขตเมืองเป็นส่วนใหญ่

1.2.2.1. 1. หัวหน้าช่างฝีมือ (Master Craftsmen)

1.2.2.2. 2. ผู้ชำนาญงาน (Journeymen)

1.2.2.3. 3. ผู้ฝึกงาน (Apprentices)

1.2.3. ระบบการผลิตขนาดย่อม (Cottage System)

1.2.3.1. คนงานทํางานในบ้านของตนเอง พ่อค้า/นายทุนจะจ้างหัวหน้าช่างฝีมือ คล้ายคนกลางหรือผู้รับเหมา และหัวหน้าช่างฝีมือจะนำเงินไปให้กับคนงานอีกที

1.2.4. ลักษณะสําคัญของระบบการผลิตก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม

1.2.4.1. 1. ใช้แรงงานคนและแรงงานสัตว์เป็นหลัก

1.2.4.2. 2. คนงานทํางานที่บ้านเป็นหลัก

1.2.4.3. 3. ไม่มีการแบ่งขั้นตอนการทํางาน และมอบหมายงาน

1.3. การปฏิวัติอุตสาหกรรม

1.3.1. การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นท่ีประเทศอังกฤษ ประมาณปี ค.ศ.1750 ขยายไปยัง ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม จนถึงสหรัฐอเมริกาประมาณปี ค.ศ.1800

1.3.2. จักรไอนํ้าของ James Watt ก่อให้เกิดการปฏิวัติด้านการใชเพลังงานไอนํ้า และทำให้ต้นทุนการใช้พลังงานด้านอื่นๆต่ำลง

1.3.3. การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบการผลิต

1.3.3.1. 1. มีการนําเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคน

1.3.3.2. 2. คนจะต้องมาทํางานที่โรงงาน

1.3.3.3. 3. มีการแบ่งงานกันทําในการผลิตสินค้า

1.3.4. เป็นแรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังวิวัฒนาการความคิดทางการจัดการในยุคแรก

1.4. บุคคลสําคัญของแนวคิดทางการจัดการในยุคแรก

1.4.1. 1. อดัม สมิธ (Adam Smith)

1.4.1.1. ปี ค.ศ.1776 Adam Smith พิมพ์หนังสือ “The Wealth of Nations” วิธีการแบ่งงานกันทํา (Division of Labor) โดยการแยกงานออกเป็นส่วนๆ แล้วมอบหมายให้ตามความถนัดของแต่ละคน

1.4.1.1.1. 1. ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Specialization)

1.4.1.1.2. 2. การประหยัดเวลาจากการ เปลี่ยนงานย่อย

1.4.1.1.3. 3. สามารถสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือ มาช่วยในการผลิต

1.4.2. 2. โรเบิร์ต โอเวน (Robert Owen)

1.4.2.1. เป็นผู้วางรากฐานการจัดการด้านพฤติกรรมศาสตร์/มนุษยสัมพันธ์ เนื่องจากคนงานได้ถูกดขี่ขูดรีดอย่างหนักจากนายทุนเจ้าของโรงงาน Robert Owen ให้ความสนใจกับสภาพการทํางานและความ เป็นอยู่ของคนงาน จึงพยายาม

1.4.2.1.1. 1. กําหนดอายุขั้นต่ำของคนงานให้สูงขึ้น

1.4.2.1.2. 2. ลดชั่วโมงการทํางานของคนงานลง

1.4.2.1.3. 3. จัดให้มีโรงอาหาร ชุมชน และที่พักอาศัยท่ีดี

1.4.2.2. New Topic

1.4.3. 3. ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage)

1.4.3.1. ศาสตราจารย์คณิตศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ “บิดาแห่งการคํานวณสมัยใหม่” ผู้ริเริ่มความคิดเก่ียวกับระบบการให้รางวัล โดยแนะนําให้มีการใช้แผนการแบ่งกําไร (Profit – sharing Plan) ออกเป็น 2 ส่วน คือ

1.4.3.1.1. 1. พนักงานจะได้รับโบนัส จากการเสนอคําแนะนําท่ีดีในการทํางาน

1.4.3.1.2. 2. ค่าจ้างพนักงานขึ้นอยู่กับ กําไรของโรงงาน

1.4.4. 4. เฮนรี ทาวน์ (Henry Towne)

1.4.4.1. เป็นวิศวกรเครื่องกลชาวอเมริกา เป็นประธานบริษัท Yale and Towne Manufacturing ถึง 48 ปี เป็นวิศวกรคนแรกท่ีเห็นความสําคัญของการจัดการและได้เสนอ ให้มีการแยกวิชาการจัดการออกจากวิศวกรรม ซึ่งเป็นต้นแบบของการจัดการ แบบวิทยาศาสตร์ในยุคต่อมา

2. 2. แนวคิดการจัดการแบบดั้งเดิม

2.1. ปี 1880 ถึง 1930 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการ จัดการคร้ังสําคัญและมีส่วนในการยกระดับผลผลิตให้สูงขึ้นอย่างชัดเจน

2.2. 2.1 แนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) เน้นการจัดการไปท่ีคนงาน เพื่อเพิ่มประสิทธภาพในการทํางานของคนงาน เน้นศึกษาการทํางานแบบวิทยาศาสตร์โดยอาศัยการทดลอง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทํางานของคนงาน

2.3. 2.2 แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร (Administrative Theory): เน้นการจัดการไปท่ีผู้บริหาร เพื่อให้การดําเนินงานในภาพรวมมีประสิทธิภาพมากข้ึน

2.4. บุคคลสําคัญของแนวคิดทางการจัดการแบบวิทยาศาสตร์

2.4.1. 1. เฟรดเดอริค ดับเบิลยู เทย์เลอร์ (Frederick Widslow Taylor)

2.4.1.1. เป็นบิดาของแนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ พัฒนา “หลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์” ซึ่งเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคนงานและภาระงานย่อย (Tasks)

2.4.1.2. หลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์

2.4.1.2.1. 1. พัฒนาวิธีการทํางานที่ดีที่สุด (One Best Way) กําหนด “การศึกษาเวลาและการ เคลื่อนไหวของคนงาน (Time and Motion Study)”

2.4.1.2.2. 2. การคัดเลือกคนงานอย่างรอบคอบ

2.4.1.2.3. 3. พัฒนาระบบการจ่ายค่าจ้าง ตามอัตราชิ้นงาน (Piece Rate System)

2.4.1.2.4. 4. แยกฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติการ ออกจากกัน

2.4.2. 2. แฟรงค์และลิลเลียน กิลเบรธ (Frank and Lilian Gilbreth)

2.4.2.1. 1. การเคลื่อนไหวของร่างกาย ในการทํางาน (Motion Study)

2.4.2.2. 2. ผังกระบวนการทํางาน (Work Flow Process Chart)

2.4.2.3. ศึกษาจนได้วิธีลดจํานวนการเคลื่อนไหวของคนงานในการเรียงอิฐ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานทําให้ได้งานเพิ่ม เป็น 2 เท่า โดยมีหลักการดังนี้

2.4.2.3.1. 1. ค้นหาและจําแนกวิธีการปฏิบัติงาน ที่ดีที่สุด

2.4.2.3.2. 2. พยายามลดกฎเกณฑ์การทํางานให้น้อยลง พยายามลดกฎเกณฑ์การทํางานให้น้อยลง

2.4.2.3.3. 3. ประยุกต์กฎเกณฑ์ให้เข้ากับมาตรฐานการปฏิบัติงาน

2.4.3. 3. เฮนรี แอล แกนต์ (Henri L. Gantt)

2.4.3.1. เสนอให้จ่ายโบนัสและใช้ระบบการประกันค่าจ้างขั้นต่ำที่คนงานจะได้รับ ไม่ว่าเขาจะทํางานถึงมาตรฐานหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าเขาจะทํางานถึงมาตรฐานหรือไม่ก็ตาม

2.4.3.2. พัฒนาวิธีการวางแผนและการควบคุมการทํางาน ในรูปแบบของกราฟท่ีเรียกว่า Gantt Chart

2.4.4. 4. แฮร์ริงตัน อีเมอร์สัน (Harrington Emerson)

2.4.4.1. เน้นหลักการด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Relations)

2.4.4.2. หลักการจัดการอย่างเป็นระบบ (Systematic Management)

2.4.4.3. ได้กําหนด “หลักการของประสิทธิภาพ (Principles of Efficiency) 12 ประการ”

2.4.4.3.1. 1. กําหนดเป้าหมายที่ชัดเจน

2.4.4.3.2. 2. การใช้สามัญสํานึกในการ บริหาร

2.4.4.3.3. 3. การร่วมปรึกษาหารือกับผู้ที่ เกี่ยวข้อง

2.4.4.3.4. 4. การมีวินัยในการปฏิบัติงาน

2.4.4.3.5. 5, การให้ค่าตอบแทนที่ ยุติธรรม

2.4.4.3.6. 6. การบันทึกข้อมูลการทํางาน

2.4.4.3.7. 7. มีการวางแผนในแต่ละหน้าที่

2.4.4.3.8. 8. กําหนดวิธีการปฏิบัติงานและ เวลามาตรฐานในการทํางาน

2.4.4.3.9. 9. กําหนดสภาพการทํางานที่ เป็นมาตรฐาน

2.4.4.3.10. 10. กําหนดมาตรฐาน การดําเนินการผลิต

2.4.4.3.11. 11. การจัดทําคู่มือการปฏิบัติงาน

2.4.4.3.12. 12. การให้รางวัลแก่คนที่ทํางานดีเด่น

2.5. 2.2 แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร

2.5.1. โดยศึกษาวิธีการที่จะกําหนดโครงสร้าง (การบริหาร) ที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทํางาน

2.5.2. บุคคลสําคัญของแนวคิดทางการจัดการเชิงบริหาร

2.5.2.1. 1. เฮนรี ฟาโยล์ (Henri Fayol)

2.5.2.1.1. บิดาของการจัดการสมัยใหม่ “หลักการบริหาร 14 ข้อ (Fourteen Principles of Management)”

2.5.2.2. 2. แม็กซ์ เว็บเบอร์ (Max Weber)

2.5.2.2.1. ได้พัฒนา แนวคิดการจัดการแบบระบบราชการ (Bureaucratic Management)

2.5.2.3. 3. ลูเธอร์ กูลิค (Luther Gulick)

2.5.2.3.1. ให้ความสนใจกับศาสตร์การปกครองและการบริการสาธารณะ “Science of Administration” Gulick ได้เสนอ ว่าผู้บริหารควรมีความรับผิดชอบ ในการทําหน้าท่ีการจัดการตามหลัก POSDCORB