ชนิดของคำ
by 18ด.ช.ศรัณ สุสําเภา
1. คำนาม : คำที่ใช้เรียกสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม
1.1. ๑. สามมานยนาม คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อทั่วไป
1.2. ๒. วิสามานยนาม คือ นามที่เป็นชื่อเฉพาะของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่
1.3. ๓. ลักษณะนาม คือ คำนามที่ใช้บอกลักษณะของนามหรือกริยา เพื่อบอก รูปร่างสัณฐาน ปริมาณ การจำเเนก บอกเวลา บอกวิธีทำเเละอื่นๆ
1.4. ๔. สมุหนาม คือ คำนามที่บอกถึงลักษณะที่รวมกันเป็นหมู่ เป็นพวก
1.5. ๕. อาการนาม คือ คำนามที่บอกกิริยาอาการซึ่งมีคำ "การ" "ความ"นำหน้า
2. คำสรรพนาม : คำที่ใช้เเทนคำนาม
2.1. ๑. บุรุษสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนในการพูดจา
2.1.1. สรรพนามบุรุษที่ ๑ หมายถึง คำสรรพนามที่ใช้แทนตัวผู้พูด
2.1.2. สรรพนามบุรุษที่ ๒ หมายถึง คำสรรพนามที่ใช้แทนชื่อผู้ฟัง
2.1.3. สรรพนามบุรุษที่ ๓ หมายถึง คำสรรพนามที่ใช้แทนชื่อผู้ที่พูดถึง
2.2. ๒. ประพันธสรรพนาม ทำหน้าที่เชื่อมประโยคให้มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ คำ ที่ ซึ่ง อัน
2.3. ๓. วิภาคสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามเพื่อแบ่งพวก หรือรวมพวก ได้แก่ คำ บ้าง ต่าง กัน
2.4. ๔. นิยมสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่แสดงความชี้เฉพาะเจาะจง ได้แก่ คำ นี่ นั่น โน่น
2.5. ๕. อนิยมสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่บอกความไม่เจาะจง
2.6. ๖. ปฤจฉาสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่มีความหมายเป็นคำถาม
3. คำกริยา : หมายถึง คำแสดงอาการ การกระทำ
3.1. ๑. อกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ
3.2. ๒. สกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารับ
3.3. ๓. วิกตรรถกริยา คือ คำกริยาที่ไม่มีความหมายในตัวเอง ต้องมีคำอื่นมาประกอบจึงจะได้ความ
3.4. ๔. กริยานุเคราะห์ คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่ช่วยคำกริยาสำคัญในประโยคให้มีความหมายชัดเจนขึ้น
3.5. ๕. กริยาสภาวมาลา คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำนามจะเป็นประธาน กรรม หรือบทขยายของประโยคก็ได้
4. คำวิเศษณ์ : คำที่ใช้ขยายคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์
4.1. ๑. ลักษณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกลักษณะ
4.2. ๒. กาลวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกเวลา
4.3. ๓. สถานวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกสถานที่ ระยะทาง
4.4. ๔. ประมาณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกจำนวน
4.5. ๕. นิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความชี้เฉพาะ
4.6. ๖. อนิยมสรรพนาม คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงความไม่ชี้เฉพาะ ไม่แน่นอน
4.7. ๗. ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกเนื้อความเป็นคำถาม
4.8. ๘. ประติชญาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ใช้ในการเรียกขานและโต้ตอบกัน
4.9. ๙. ประติเษธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความปฏิเสธ
4.10. ๑๐. ประพันธวิเศษ คือ คำวิเศษณ์ที่ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ เพื่อทำหน้าที่เชื่อมประโยค ให้มีความเกี่ยวข้องกัน
5. คำบุพบท : คำที่ทำหน้าที่เชื่อมกลุ่มคำหนึ่งให้สัมพันธ์กับกลุ่มคำอื่น เพื่อแสดงความหมายต่าง ๆ
5.1. ๑. คำบุพบทที่เชื่อมโยงกับบทอื่น
5.1.1. ๑.๑ บุพบทนำหน้ากรรม
5.1.2. ๑.๒ บุพบทนำหน้าคำที่เป็นเจ้าของ
5.1.3. ๑.๓ บุพบทนำหน้าคำบอกลักษณะ
5.1.4. ๑.๔ บุพบทนำหน้าคำบอกเวลา
5.1.5. ๑.๕ บุพบทนำหน้าคำบอกสถานที่
5.1.6. ๑.๖ บุพบทนำหน้าคำบอกประมาณ