Get Started. It's Free
or sign up with your email address
กระบวนการเปลี่ยนแปลง ภายในโลก by Mind Map: กระบวนการเปลี่ยนแปลง ภายในโลก

1. การเปลี่ยนแปลงของธรณีภาค ธรณีภาค คือ เปลือกโลกและเนื้อโลกชั้นนอกสุด มีการเปลี่ยนแปลงสภาพอยู่ตลอดเวลา โดยมี กระบวนการเปลี่ยนแปลง 2 กระบวนการ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงจากแรงภายในโลก (endogenic process) และกระบวนการเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวโลก

2. กระบวนการเปลี่ยนแปลง บนพื้นผิวโลก

2.1. การผุพังอยู่กับที่ เป็นกระบวนการทำให้หินบนพื้นโลกผุพัง เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยมี 3 ลักษณะคือ

2.1.1. 1.การผุพังอยู่กับที่ทางฟิสิกส์ เกิดจากอุณหภูมิและความชื้นที่ทำให้แร่ประกอบหิน เกิดการขยายตัวและหดตัว ทำให้ผิวของหินแตกแยกออก

2.1.2. 2.การผุพังอยู่กับที่ทางเคมี เป็นกระบวนการทางเคมีที่หินและแร่ได้รับ การทำปฏิกิริยาทางเคมีของกรดและด่าง ในรูปสารละลาย

2.1.3. 3.การผุพังอยู่กับที่ทางชีวภาพ เกิดจากการกระทำขอสิ่งมีชีวิต เช่นรากของพืชแทรกเข้าไปในซอกหิน ดันให้หินแตก

2.2. กระบวนการกร่อน เป็นกระบวนการที่ถูกกระทำด้วยตัวการ ทางธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำ ลม ธารน้ำแข็ง และคลื่น ทำให้มวลสารของตัวถูกกระทำกร่อน ออกเป็นตะกอนขนาดต่าง ๆ กระบวนการกร่อน ที่สำคัญมีดังนี้

2.2.1. 1.การครูดถู

2.2.2. 2.การพัดกราด

2.2.3. 3.การกระทบกระแทกให้แตก

2.3. การพัดพาและทับถม เป็นกระบวนการที่เกิดคู่กันคือเมื่อพลังงานสิ้นสุดลง จะทำให้เกิด การทับถมในเวลาต่อมาลักษณะของตะกอนและสภาพแวดล้อม การพัดพาแฃะทับถมทำให้เกิดภูมิประเทศแตกต่างกันตามชนิด ของตะกอนและตัวกระทำนั้น ๆ

2.3.1. 1. การพัดพา -การพัดพาท้องธาร -การแขวนลอย -การกลิ้ง -การเลื่อน

2.3.2. 2.การทับถม -การทับถมโดยน้ำ -การทับถมโดยลม -การทับถมโดยธารน้ำแข็ง -การทับถมโดยคลื่น

2.4. การเคลื่อนที่ของมวล เป็นการเคลื่อนที่ของมวลหิน ดิน ทราย ภายใต้ แรงโน้มถ่วงลงสู่พื้นด้านล่าง โดยมีน้ำหนักหรือ แรงสั่นสะเทือนกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนที่ รูปแบบการเคลื่อนที่ของมวล มีดังนี้

2.4.1. 1.แผ่นดินถล่ม

2.4.2. 2.หินถล่ม

2.4.3. 3.ดินไหล

3. กระบวนการเปลี่ยนแปลง จากแรงภายในโลก

3.1. การแปรสัณฐานของเปลือกโลก เป็นการแปรสัณฐานของธรณีภาคอย่างช้า ๆ เป็นการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกที่ได้รับความร้อน ภายในโลกทำให้แมกมาเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ เป็นผลทำให้ธรณีภาคที่เป้นของแข็งเกิดการเคลื่อนที่ และแตกออก ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคมีการเคลื่อนเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

3.1.1. 1.แผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่แบบชนกัน

3.1.2. 2.แผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่แยกออกจากกัน

3.1.3. 3.แผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ผ่านกัน

3.2. รอยคดโค้ง เกิดจากการที่แผนธรณีภาคเคลื่อนที่ชนกัน รวมถึงแรงเค้นและแรงเครียดของเปลือกโลก ทำให้เปลือกโลกถูกดันให้โค้งงอและพับ เป็นรูปคดโค้งตามแรงดัน

3.3. การเกิดภูเขาไฟ เกิดจากแรงภายในโดยการดันตัวของหินหนืดขึ้นมาบนผิวโลก เมืออุณหภูมิและแรงดันสูงขึ้น หรืออาจมาจาเนิ้อโลกโดยตรง เมือหินหนืดดันตัวออกมาภายนอกแล้วจะไหลไปตามพื้น ที่ลาดเอียงของลักษณะภูมิประเทศ และเกิดการทบถมก่อให้เกิดภูมิประเทศใหม่ขึ้น เป็นการเพิ่มระดับบนพื้นผิวโลก

3.4. รอยเลื่อน เป็นรอยแตกของเปลือกโลกเกิดจาก แรงดันภายในโลกที่ทำให้เปลือกโลกขยับตัว โดยการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกตามแนว ระนาบรอยแตกของเปลือกโลก รอยเลื่อนจำแนกได้เป็น 3 แบบ คือ

3.4.1. 1.รอยเลือนปกติ

3.4.2. 2.รอยเลื่อนย้อน

3.4.3. 3.รอยเลื่อนตามแนวระนาบ

4. แก่นโลก เป็นส่วนชั้นในสุดของโลกมีความหนาประมาณ 3,500 กิโลเมตร มีความหนาแน่นมาก ประกอบด้วยแร่ผสมระหว่างเหล็กและนิกเกิล แบ่งออกเป็น 2 ชั่้น คือ 1.แก่นโลกชั้นนอก 2.แก่นโลกชั้นใน

5. เนื้อโลก เป็นส่วนที่อยู่ถัดลงจากขั้นเปลือกโลก มีความหนาประมาณ 2,900 กิโลเมตร มีองค์ประกอบหลักเป็นแมกนีเซียมและเหล็ก แบ่งเป็น 3 ชั้น คือ 1.เนื้อโลกชั้นบนสุด 2.เนื้อโลกชั้นบน 3.เนื้อโลกชั้นล่าง

6. โครงสร้างภายในโลก โครงสร้างของโลกประกอบด้วย ชั้นเปลือกโลก ชั้นแก่นโลก ชั้นเนื้อโลก แต่ละชั้นมีความหนาและลักษณะแตกต่างกัน

7. เปลือกโลก เป็นส่วนที่อยู่ชั้นนอกสุดของโลก มีความหนาประมาณ 70 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.เปลือกโลกส่วนภาคพื้นทวีป 2.เปลือกโลกส่วนภาคพื้นสมุทร