นโยบายการเงิน การคลัง กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
นโยบายการเงิน การคลัง กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ by Mind Map: นโยบายการเงิน การคลัง     กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

1. เป็นการใช้จ่ายตามภาระหน้าที่ของรัฐบาลเพื่อจัดสินค้าและบริการต่างๆ อันเป็นประโยชน์แก่ประชาชน

2. สถาบันการเงิน

2.1. 3.1ธนาคารพาณิชย์

2.1.1. อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย

2.1.2. การดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากกับความเจริญเติบโตและเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ

2.1.3. ดังนั้นธนาคารกลางจึงต้องเข้ามากำกับดูแลอย่างใกล้ชิด

2.2. 3.2ธนาคารที่มีกฎหมายจัดตั้งเป็นการเฉพาะ

2.2.1. รัฐจัดตั้งขึ้น

2.2.2. ทำหน้าที่ช่วยเหลือด้านการเงินหรือส่งเสริมการดำเนินงานเฉพาะด้านตามนโยบายของรัฐบาล

2.3. 3.3ธนาคารกลาง

2.3.1. เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไรและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

2.3.2. มีวัตถุประสงค์เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพทางการเงิน

2.3.2.1. เสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน

2.3.2.2. และระบบการชำระเงิน

3. ประเภทนโยบายการคลัง

3.1. 5.1นโยบายการคลังแบบขยายตัว

3.1.1. เพิ่มการใช้จ่ายของภาครัฐและลดภาษี(นโยบายงบประมาณแบบขาดดุล)

3.1.2. การใช้จ่ายของรัฐเพิ่มขึ้น ทำให้ระบบเศรษฐกิจมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

3.1.3. รัฐบาลใช้นโยบายนี้ในกรณีที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

3.1.3.1. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

3.1.3.2. ส่งผลให้เกิดการผลิตและการจ้างงานเพิ่มขึ้น

3.1.3.3. ทำให้ประชาชนมีรายได้

3.2. 5.2นโยบายการคลังแบบหดตัว

3.2.1. ลดการใช้จ่ายของภาครัฐและเพิ่มภาษี(นโยบายงบประมาณแบบเกินดุล)

3.2.2. เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีการใช้จ่ายน้อยลง

3.2.3. รัฐบาลใช้นโยบายนี้ในกรณีที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วและเกิดปัญหาเงินเฟ้อ

3.2.3.1. เพื่อช่วยลดความร้อนแรงในระบบเศรษฐกิจ

4. เครื่องมือของนโยบายการคลัง

4.1. คือ งบประมาณแผ่นดิน

4.1.1. หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ คือ สำนักงบประมาณ

4.1.2. ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี งบประมาณแผ่นดิน มี 3 ประเภทได้แก่

4.1.2.1. 1.งบประมาณแบบสมดุล

4.1.2.1.1. คือ มีรายได้เท่ากับรายจ่ายรวม

4.1.2.2. 2.งบประมาณแบบเกินดุล

4.1.2.2.1. คือ มีรายได้มากกว่ารายจ่าย

4.1.2.3. 3.งบประมาณแบบขาดดุล

4.1.2.3.1. คือ มีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย

4.2. 6.1การใช้จ่ายของรัฐบาล

4.2.1. 6.1.1การใช้จ่ายเงินงบประมาณ

4.2.1.1. เป็นการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากรัฐสภา เพื่อพัฒนาประเทศ

4.2.1.2. เช่น พัฒนาด้านการศึกษา

4.2.1.3. จัดสาธารณูปโภคพื้นฐาน

4.2.2. 6.1.2เงินนอกงบประมาณ

4.2.2.1. เงินใดๆที่ส่วนราชการได้รับและมีกฎหมายอนุญาตให้เก็บไว้ใช้จ่ายได้ตามวัตถุประสงค์

4.2.2.2. เช่น กองทุน/เงินทุนหมุนเวียน

4.2.3. 6.1.3การใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ

4.2.3.1. เป็นการใช้จ่ายเงินที่ได้รับมาโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการงบประมาณแผ่นดิน

4.3. 6.2การจัดหารายได้ของรัฐบาล

4.3.1. 6.2.1รายได้จากภาษีอากร

4.3.1.1. เป็นรายได้หลักของรัฐบาล

4.3.1.1.1. 6.2.1.1ภาษีทางตรง

4.3.1.1.2. 6.2.1.2ภาษีทางอ้อม

4.3.1.1.3. 6.2.1.3ภาษีการขายเฉพาะ

4.3.2. 6.2.2รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ

4.3.2.1. 6.2.2.1การขายหลักทรัพย์และทรัพย์สิน

4.3.2.1.1. ประกอบด้วย ค่าขายทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์

4.3.2.1.2. ค่าขายหนังสือราชการ

4.3.2.2. 6.2.2.1การขายบริการ

4.3.2.2.1. ค่าบริการ

4.3.2.2.2. ค่าเช่า

4.3.3. 6.2.3รายได้จากรัฐพาณิชย์

4.3.3.1. ประกอบด้วย ผลกำไรขององค์กรรัฐบาล

4.3.3.2. หน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน

4.3.3.3. เงินปันผลจากบริษัทที่รัฐบาลถือหุ้น

4.3.4. 6.2.4รายได้อื่น

4.3.4.1. ประกอบด้วย ค่าแสตมป์ฤชา/ค่าปรับ

4.3.4.2. เงินรับคืน/รายได้เบ็ดเตล็ดอื่นๆ

4.4. 6.3การก่อหนี้สาธารณะ

4.4.1. ในกรณีที่รัฐบาลมีการตั้งงบประมาณแบบขาดดุล (มีรายจ่ายสูงกว่ารายได้)

4.4.2. หนี้ภายในประเทศเป็นการกู้ยืมโดยตรงจากการจำหน่ายพันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วเงินคงคลัง

4.5. 6.4การบริหารเงินคงคลัง

4.5.1. หมายถึง เงินสดและสินทรัพย์ที่ใกล้เคียงเงินสดที่มีไว้ใช้จ่ายในการดำเนินงานของรัฐบาล

4.5.2. การมีเงินคงคลังในระดับที่เหมาะสมจะทำให้การบริหารการใช้จ่ายของรัฐบาลมีประสิทธิภา

5. การคลังท้องถิ่น

5.1. เป็นรูปแบบการปกครองที่เกิดจากระบบการกระจายอำนาจการปกครองจากส่วนกลางไปยังท้องถิ่น

5.2. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้เรียนรู้และดำเนินกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง

5.3. หมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหารายได้และการใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณและการบริหารจัดการหนี้สาธารณะ

5.4. หน่วยการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทยก็คือองค์กรที่เรารู้ในชื่อที่เรียกว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)

5.5. 7.1โครงสร้างการคลังท้องถิ่น แบ่งได้เป็น2ด้าน

5.5.1. 7.1.1รายได้

5.5.1.1. ภาษีอากรที่ท้องถิ่นจัดเก็บเอง

5.5.1.1.1. ภาษีสุรา

5.5.1.1.2. ภาษีสรรพสามิต

5.5.1.2. จากทรัพย์สิน

5.5.1.2.1. ค่าเช่า

5.5.1.2.2. ประปา/ค่าปรับ

5.5.1.3. เงินอุดหนุน ได้รับจากการจัดสรรจากรัฐบาล

5.5.2. 7.1.2รายจ่าย

5.5.2.1. รายจ่ายประจำเพื่อการดำเนินงานของท้องถิ่น

5.5.2.1.1. การศึกษา

5.5.2.1.2. สาธาณสุข

5.5.2.2. รายจ่ายเพื่อการลงทุน /เพื่อการสะสมทุน

6. บทบาทของรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายการเงิน การคลัง ในการพัฒนาเศรษฐกิจ

6.1. 8.1การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

6.1.1. การดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าสาธารณะซึ่งเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยรวม

6.1.1.1. เช่น ถนนหนทาง

6.1.1.2. สะพาน

6.1.1.3. โรงเรียน

6.1.2. รัฐจะเข้ามาดำเนินการโดยใช้จ่ายจากงบประมาณแผ่นดินซึ่งมีที่มาจากรายได้ภาษีอากรเป็นหลัก

6.2. 8.2การกระจายรายได้ให้เกิดความเป็นธรรม

6.2.1. 8.2.1มาตราการทางภาษี

6.2.2. 8.2.2ควบคุมและดำเนินการให้เกิดความเป็นธรรมในด้านราคาสินค้าและผลตอบแทนจากการใช้ปัจจัยการผลิต

6.2.3. 8.2.3การลดช่องว่างการกระจายรายได้

6.3. 8.3การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

6.3.1. คือ การทำให้ประเทศมีรายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้นซึ่งสามารถวัดได้จากเครื่องมือชี้วัดต่างๆ

6.3.1.1. ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)

6.3.1.2. ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ(GNP)

6.3.1.3. วัดจากรายได้เฉลี่ยต่อบุคคล

6.4. 8.4การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

6.4.1. คือ การรักษาภาวะเศรษฐกิจไม่ให้ระดับราคาในประเทศขยายตัวหรือหดตัวมากกเกินไปจนเกิดปัญหาเงินเฟ้อ/เงินฝืด

6.4.2. และป้องกันการเกิดปัญหาการว่างงาน

6.4.3. 8.4.1นโยบายการเงินและการคลังเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ

6.4.3.1. ธนาคารกลางจะดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดเพื่อลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ

6.4.3.2. โดยการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและกำหนดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ให้สูงขึ้น

6.4.3.3. รวมทั้งการควบคุมสินเชื่อบางรายการซึ่งจะส่งผลให้การใช้จ่ายโดยรวมลดลง

6.4.4. 8.4.2นโยบายการเงินและการคลังในการแก้ปัญหาการว่างงาน

6.4.4.1. รัฐบาลดำเนินนโยบายการคลังโดยใช้งบประมาณแบบขาดดุล

6.4.4.2. ส่งผลให้เกิดการผลิตและการจ้างงานเพิ่มขึ้น

7. หน้าที่ของเงิน

7.1. 1.เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

7.1.1. เงินเป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย

7.1.2. หรือ ผู้บริโภคและผู้ผลิต

7.2. 2.เป็นมาตรฐานการวัดค่า

7.2.1. สามารถกำหนดราคาเป็นหน่วยเงินได้

7.2.2. ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายเปรียบเทียบราคาหรือมูลค่าของสิ่งต่างๆได้ง่าย

7.2.3. ช่วยให้การตัดสินใจซื้อขายเป็นไปได้ง่าย

7.3. 3.เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต

7.3.1. ลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่างได้รับความสะดวก

7.3.2. ไม่ต้องจ่ายเงินทันทีที่มีการซื้อขายเกิดขึ้น

7.4. 4.เป็นเครื่องเก็บรักษามูลค่า

7.4.1. ผู้คนทั่วไปนิยมสะสมไว้เนื่องจากสามรถนำไปจับจ่ายใช้สอยได้ทันที

7.4.2. แต่การสะสมเงินจะไม่ก่อให้เกิดดอกผลแก่เจ้าของ

7.4.3. ต่างจากการสะสมทรัยพ์สินในรูปของสินทรัพย์อื่น

7.4.3.1. เช่น อสังหาริมทรัพย์

7.4.3.2. พันธบัตร

7.4.3.3. รัฐบาล

8. ประเภทของเงินและความสำคัญของเงิน และปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ

8.1. 1.ประเภทและความสำคัญของเงิน

8.1.1. ระยะแรก เงินนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้แก่สิ่งต่างๆที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

8.1.1.1. เช่น เปลือหอย

8.1.1.2. วัว

8.1.1.3. ควาย

8.1.1.4. แพะ

8.1.1.5. ยาสูบ

8.1.1.6. เกลือ

8.1.2. ต่อมา มีการเปลี่ยนแปลงมาใช้เงินที่ทำด้วยโลหะ

8.1.2.1. เช่น เงิน

8.1.2.2. ทองคำ

8.1.3. ในปัจจุบัน วิวัฒนาการมาเป็นธนบัตร

8.1.3.1. โดยรัฐบาลเป็นผู้มีสิทธิ์ในการออกแต่เพียงผู้เดียว

8.1.3.2. โดยมีธนาคารกลางเป็นผู้จัดพิมพ์และรับรองให้ชำระหนี้ตามกฎหมาย

8.1.4. เงินมีความสำคัญในระบบเศรษฐกิจ

8.1.4.1. โดยในแต่ละระบบจำนวนเงินหรือปริมาณเงินที่หมุนเวียนจะมีผลต่อรายได้

8.1.4.2. ผลผลิตและการจ้างงานโดยรวม

8.1.4.3. หากระบบเศรษฐกิจมีปริมาณเงินหมุนเวียนมากก็อาจมีผลทำให้ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปปรับตัวสูงขึ้น = เงินเฟ้อ

8.1.4.4. หากระบบเศรษฐกิจมีปริมาณเงินหมุนเวียนน้อยเกินไปก็อาจมีผลทำให้ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปปรับตัวลดลง = เงินฝืด

8.2. 2.ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ(อุปทานของเงิน)

8.2.1. 2.1.มีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ คือ มีผลต่อระดับรายได้และผลผลิตโดยรวมของประเทศ

8.2.2. 2.2.มีผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คือ มีผลต่อระดับราคาและการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจ

8.3. 3.ตลาดการเงิน

8.3.1. หมายถึง แหล่งกลางที่อำนวยความสะดวกในการระดมเงินออมจากผู้ออมไปยังผู้ลงทุน จำแนกได้เป็น 2 ตลาด

8.3.2. 3.1ตลาดเงิน

8.3.2.1. มีการระดมเงินทุนและกาให้สินเชื่อระยะสั้น ไม่เกิน1ปี

8.3.2.2. ประกอบด้วยสถาบันการเงินต่างๆ ที่จัดตั้งตามกฎหมาย

8.3.2.2.1. เช่น ธนาคารพาณิชย์

8.3.2.2.2. บริษัทเงินทุน

8.3.2.2.3. ธนาคารกลาง

8.3.2.3. กิจกรรมในตลาด

8.3.2.3.1. ได้แก่ การกู้โดยตรง

8.3.2.3.2. ตั๋วเงินคลัง

8.3.2.4. ตลาดเงินนอกระบบ

8.3.2.4.1. แหล่งกู้ยืมโดยไม่มีกฎหมายกำหนด

8.3.3. 3.2ตลาดทุน

8.3.3.1. มีการระดมเงินออมระยะยาวและให้สินเชื่อระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

8.3.3.1.1. ได้แก่ เงินฝากประจำ

8.3.3.1.2. หุ้นสามัญ

8.3.3.1.3. หุ้นกู้

8.3.3.1.4. พันธบัตรของทั้งเอกชนและรัฐบาล

8.3.3.2. ประกอบด้วยตลาดสินเชื่อทั่วไป

8.3.3.2.1. ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นๆ

8.3.3.2.2. บริษัทเงินทุน

8.3.3.2.3. หรือ ที่มีกฎหมายจัดตั้งเป็นการเฉพาะ

8.3.4. ตลาดการเงินมีความสำคัญหลายประการ

8.3.4.1. 1.ช่วยระดมทุนจากหน่วยเศรษฐกิจที่มีเงินออม

8.3.4.2. 2.ก่อให้เกิดการจัดสรรทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

8.3.4.3. 3.ช่วยสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

8.3.4.4. 4.ช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ

9. นโยบายการเงิน

9.1. 4.1 ประเภทของนโยบายการเงิน

9.1.1. แบ่งออกเป็น2ประเภท

9.1.2. 4.1.1นโยบายการเงินแบบเข้มงวด

9.1.2.1. มีผลทำให้ปริมาณเงินลดลง

9.1.2.2. มักใช้ในกรณีเงินเฟ้อ

9.1.2.3. หรือเกิดปัญหาดุลการค้าและดุลการชำระเงินขาดดุล

9.1.2.4. มีผลทำให้อัตตราดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น

9.1.3. 4.1.2นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย

9.1.3.1. มีผลทำให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น

9.1.3.2. มักใช้ในกรณีเงินฝืด

9.1.3.3. นโยบายนี้จะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัว

9.2. 4.2เครื่องมือของนโยบายการเงิน

9.2.1. 4.2.1การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง

9.2.1.1. เงินสดในมือธนาคารพาณิชย์

9.2.1.2. เงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารกลาง

9.2.2. 4.2.2การดำเนินการผ่านตลาดการเงิน

9.2.2.1. การทำธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี

9.2.2.2. การซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาล

9.2.2.3. การออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย

9.2.2.4. การซื้อ-ขายเงินตราต่างประเทศ

9.2.3. 4.2.3หน้าต่างตั้งรับ

9.2.3.1. ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหย้าต่างปรับสภาพคล่อง ณ สิ้นวัน

9.2.3.2. สถาบันการเงินที่ขาดสภาพคล่องสามารถเข้ามากู้ยืมโดยมีพันธบัตรเป็นหลักประกัน

9.3. 4.3กลไกการส่งผ่านของนโยบายการเงิน

9.3.1. เช่น ช่องทางการลดอัตราดอกเบี้ย

9.3.1.1. นโยบายการเงินผ่อนคลายจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

9.3.1.2. อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินปรับลดลง

9.3.1.3. ต้นทุนของการบริโภคและการลงทุนถูกลง

9.3.1.4. ประชาชนต้องการบริโภคและลงทุนมากขึ้น

9.3.1.5. กิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอัตราเงินเฟ้อเร่งตัว

9.4. 4.4การดำเนินนโยบายการเงินของไทย

9.4.1. ภารกิจของธนาคารแห่งประเทศไทย

9.4.1.1. ดำรงเสถียรภาพทางการเงิน

9.4.1.2. เสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน

9.4.1.3. ระบบการชำระเงิน

9.4.2. นับตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2540 ไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่

9.4.2.1. คือ เงินบาทจะมีอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้เป็นทางการเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

9.4.2.2. ซึ่งอยู่ในความดูแลของธนาคารกลางที่จะเข้ามาดูแล โดยการซื้อหรือขายเงินดอลลาร์สหรัฐ เพื่อรักษาเสถียรภาพของอัตราการแลกเปลี่ยน

9.4.3. ธนาคารแห่งประเทศไทยจะควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบที่กำหนด

9.4.3.1. เพื่อให้ประชาชนมีอำนาจซื้อสินค้าได้ตามความเหมาะสม