หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2560

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2560 by Mind Map: หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2560

1. สาระการเรียนรู้

1.1. เป็นแนวทางสำหรับผู้สอนนำไปใช้ในการออกแบบ การจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัย

1.2. 1. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย

1.2.1. กล้ามเนื้อใหญ่

1.2.2. กล้ามเนื้อเล็ก และการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อและระบบ ประสาท

1.2.3. การทำกิจวัตรประจำวันหรือทำกิจกรรมต่างๆ

1.2.4. ดูแลสุขภาพและ สุขอนามัย สุขนิสัย และการรักษาความปลอดภัย

1.3. 2. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ

1.3.1. แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกของตนเองที่เหมาะสมกับความเป็นตัวของตัวเอง

1.3.2. พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม สุนทรียภาพ ความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง

1.3.3. มีความเชื่อมั่นในตนเอง

1.4. 3.ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม

1.4.1. ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัวจากการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ผ่านการเรียนรู้ทางสังคม เช่น การเล่น การทำงานกับผู้อื่น

1.5. 4.ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา

1.5.1. ได้รับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กพัฒนาการใช้ภาษา จินตนาการความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และการคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ

2. สาระที่ควรเรียนรู้

2.1. 1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

2.1.1. ควรรู้จักชื่อ นามสกุล

2.1.2. รูปร่าง หน้าตาของตน รู้จักอวัยวะต่างๆ และวิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด

2.1.3. เล่นและทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง

2.1.4. แสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของตนเอง

2.1.5. มารยาทที่ดี

2.2. 2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก

2.2.1. รู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง

2.3. 3. ธรรมชาติรอบตัว

2.3.1. เรียนรู้เกี่ยวกับชื่อ ลักษณะ ส่วนประกอบของมนุษย์ สัตว์ พืช

2.3.2. รู้จักเกี่ยวกับดิน น้ำ ท้องฟ้า สภาพอากาศ ภัยธรรมชาติ

2.4. 4.สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก

2.4.1. รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะและการสื่อสารต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก

3. ขอบข่ายของกิจกรรมประจําวัน

3.1. การพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่

3.1.1. เป็นการพัฒนาความแข็งแรง การทรงตัว การยืดหยุ่นความคล่องแคล่วในการใช้อวัยวะต่างๆ

3.2. การพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก

3.2.1. เป็นการพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเล็ก มือนิ้วมือ การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือ-ตา

3.3. การพัฒนาอารมณ์ จิตใจ และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม

3.3.1. เป็นการปลูกฝังให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น

3.4. การพัฒนาสังคมนิสัย

3.4.1. เป็นการพัฒนาให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่ดี แสดงออกอย่างเหมาะสมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

3.5. การพัฒนาการคิด

3.5.1. เป็นการพัฒนาให้เด็กมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาความคิดรวบยอด

3.6. การพัฒนาภาษา

3.6.1. เป็นการพัฒนาให้เด็กใช้ภาษาสื่อสารถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่างๆ

3.7. การส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

3.7.1. เป็นการส่งเสริมให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก

4. 3.การจัดกิจกรรมประจำวัน

4.1. หลักการจัดกิจวัตรประจำวัน

4.1.1. 1.กำหนดระยะเวลาในการจัดกิจกรรม

4.1.1.1. วัย 3-4 ปีมีความสนใจประมาณ 8-12 นาที

4.1.1.2. วัย 4-5 ปีมีความสนใจประมาณ 12-15 นาที

4.1.1.3. วัย 5-6 ปีมีความสนใจประมาณ 15-20 นาที

4.1.2. 2. กิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดทั้งในกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ ไม่เกิน 20 นาที

4.1.3. 3.กิจกรรมที่เด็กมีอิสระเลือกเล่นเสรีเพื่อช่วยให้เด็กรู้จักเลือกตัดสินใจคิดแก้ปัญหาคิดสร้างสรรค์

4.1.4. 4.กิจกรรมควรมีความสมดุลระหว่างกิจกรรมในห้องและนอกห้อง

5. จุดหมาย

5.1. 1.ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยแข็งแรงและมีสุขนิสัยที่ดี

5.2. 2.สุขภาพจิตดีมีสุนทรียภาพมีคุณธรรมจริยธรรมและจิตใจที่ดีงาม

5.3. 3. มีทักษะชีวิต ปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีวินัย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

5.4. 4. มีทักษะการคิดการใช้ภาษาสื่อสาร การแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย

6. มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์

6.1. 1.พัฒนาการด้านร่างกาย

6.1.1. มาตรฐานที่ 1 ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี

6.1.1.1. ตัวบ่งชี้ 1.1 น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์

6.1.1.2. ตัวบ่งชี้ 1.2 มีสุขภาพอนามัยสุขนิสัยที่ดี

6.1.1.3. ตัวบ่งชี้ 1.3 รักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น

6.1.2. มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน

6.1.2.1. ตัวบ่งชี้ 2.1 เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่วประสานสัมพันธ์และทรงตัวได้

6.1.2.2. ตัวบ่งชี้ 2.2 ใช้มือ-ตาประสานสัมพันธ์กัน

6.2. 2.พัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ

6.2.1. มาตรฐานที่ 3 มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข

6.2.1.1. ตัวบ่งชี้ 3.1 แสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม

6.2.1.2. ตัวบ่งชี้ 3.2 มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น

6.2.2. มาตรฐานที่ 4 ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะดนตรีและการเคลื่อนไหว

6.2.2.1. ตัวบ่งชี้ 4.1 สนใจมีความสุขและแสดงออกผ่านงานศิลปะดนตรีและการเคลื่อนไหว

6.2.3. มาตรฐานที่ 5 มีคุณธรรมจริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงาม

6.2.3.1. ตัวบ่งชี้ 5.1 ซื่อสัตย์สุจริต

6.2.3.2. ตัวบ่งชี้ 5.2 มีความเมตตากรุณามีนํ้าใจและช่วยเหลือแบ่งปัน

6.2.3.3. ตัวบ่งชี้ 5.3 มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

6.2.3.4. ตัวบ่งชี้ 5.4 มีความรับผิดชอบ

6.3. 3.พัฒนาการด้านสังคม

6.3.1. มาตรฐานที่ 6 มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

6.3.1.1. ตัวบ่งชี้ 6.1 ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน

6.3.1.2. ตัวบ่งชี้ 6.2 มีวินัยในตนเอง

6.3.1.3. ตัวบ่งชี้ 6.3 ประหยัดและพอเพียง

6.3.2. มาตรฐานที่ 7 รักธรรมชาติสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรมและความเป็นไทย

6.3.2.1. ตัวบ่งชี้ 7.1 ดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

6.3.2.2. ตัวบ่งชี้ 7.2 มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยและรักความเป็นไทย

6.3.3. มาตรฐานที่ 8 อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

6.3.3.1. ตัวบ่งชี้ 8.1 ยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล

6.3.3.2. ตัวบ่งชี้ 8.2 มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

6.3.3.3. ตัวบ่งชี้ 8.3 ปฏิบัติตนเบื้องต้นในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

6.4. 4.พัฒนาการด้านสติปัญญา

6.4.1. มาตรฐานที่ 9 ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย

6.4.1.1. ตัวบ่งชี้ 9.1 สนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ

6.4.1.2. ตัวบ่งชี้ 9.2 อ่านเขียนภาพและสัญลักษณ์ได้

6.4.2. มาตรฐานที่ 10 มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้

6.4.2.1. ตัวบ่งชี้ 10.1 มีความสามารถในการคิดรวบยอด

6.4.2.2. ตัวบ่งชี้ 10.2 มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล

6.4.2.3. ตัวบ่งชี้ 10.3 มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ

6.4.3. มาตรฐานที่ 11 มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

6.4.3.1. ตัวบ่งชี้ 11.1 ทํางานศิลปะตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

6.4.3.2. ตัวบ่งชี้ 11.2 แสดงท่าทาง / เคลื่อนไหวตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์

6.4.4. มาตรฐานที่ 12 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย

6.4.4.1. ตัวบ่งชี้ 12.1 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้

6.4.4.2. ตัวบ่งชี้ 12.2 มีความสามารถในการแสวงหาความรู้

7. หลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

7.1. 1.จัดประสบการณ์เล่นและเรียนรู้อย่างหลากหลาย

7.2. 2.เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและสนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคล

7.3. 3.จัดให้เด็กได้รับการพัฒนา โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก

7.4. 4.จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง

7.5. 5.พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก