จิตวิทยาวัยรุ่น

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
จิตวิทยาวัยรุ่น by Mind Map: จิตวิทยาวัยรุ่น

1. ความหมายของวัยรุ่น

1.1. เฮอร์ ล็อค (Hurlock) (1949 กล่าวถึงวัยรุ่น ว่าเป็นระยะที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับการพัฒนาในด้านร่างกายและจิตใจ เป็นช่วงเวลาของการเจริญงอกงามและการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้าน

1.2. สุพัตรา สุภาพ (2525 : 42) ได้กล่าวถึงพฤติกรรมวัยรุ่นว่าเป็นวัยที่เริ่มแตกเนื้อหนุ่มสาว (Puberty) จนกระทั่งบรรลุนิติภาวะ มีการแปรปรวนทางอารมณ์

1.3. จิราภรณ์ อารยะรังสฤษฎ์ (2526: 65) กล่าวถึง วัยรุ่นคือวัยที่สิ้นสุดความเป็นเด็กและกำลัง จะพัฒนาไปสู่วัยผู้ใหญ่ อายุประมาณ 13-20 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญหา

1.4. โยธิน ศันสนยุทธ (2533 : 191-192) ได้กล่าวถึง วัยรุ่นเป็นวัยที่เริ่มในช่วงอายุตั้งแต่เด็กมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย (12-13 ปี) จนอายุที่เด็กสามารถมีงานทำ โดยทั่วไปจะสิ้นสุดระยะอายุประมาณ 20 ปี

1.5. สุชา จันทน์เอม (2533 : 30) กล่าวถึง วัยรุ่นไว้ว่าเป็นวัยที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย มีความเชื่อมั่น ความต้องการ ตลอดจนความปรารถนาต่าง ๆ

1.6. แนวคิดดังกล่าวสรุปได้ว่า วัยรุ่น เป็นวัยที่เริ่มตั้งแต่อายุ 12-20 ปี มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วหรือที่เรียกว่าพายุบุแคม (Strom and Stress) นี้ ส่งผลต่อการปรับตัว ความวิตกกังวล ความเครียดทางอารมณ์ ทำให้แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมาโดยไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมหรือพฤติกรรมเบี่ยงเบนนั่นเอง

2. 1. พัฒนาการทางด้านร่างกาย

2.1. Secondary Sex Characteristic (ลักษณะทางเพศหรือลักษณะทุติยภูมิทางเพศ) คือลักษณะที่แบ่งแยกความเป็นชายหนุ่ม ความเป็นหญิงสาวที่เพิ่งเริ่มเจริญเติบโตเต็มที่ในวัยแรกรุ่น การเจริญเติบโตของลักษณะทางเพศมีพัฒนาการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ (ศรีเรือน แก้วกังวาล, 2538)

2.2. 1. Pre–pubescence เป็นระยะลักษณะทางเพศส่วนต่าง ๆ เริ่มพัฒนา เช่น สะโพกเริ่มขยาย เต้านมของเด็กหญิงเริ่มเจริญ เสียงของเด็กชายเริ่มแตกพร่า แต่อวัยวะสืบพันธุ์ (Productive organs) ยังไม่เริ่มทำหน้าที่

2.3. 2. Pubescence เป็นระยะที่ลักษณะทางเพศส่วนต่าง ๆ ยังคงมีการเจริญต่อไป อวัยวะสืบพันธุ์เริ่มทำหน้าที่แต่ยังไม่สมบูรณ์ เด็กหญิงเริ่มมีประจำเดือน เด็กชายเริ่มสามารถผลิตเซลล์สืบพันธุ์ได้

2.4. 3. Post-pubescence หรือ Puberty เป็นระยะที่ลักษณะทางเพศทุกส่วนเจริญเติบโตเต็มที่ อวัยวะสืบพันธุ์ทำหน้าที่ได้ มีวุฒิภาวะทางเพศสามารถมีบุตรได้ จึงถือเป็นระยะที่เด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นที่แท้จริง

2.5. ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของวัยรุ่น มีดังนี้

2.5.1. ปัญหาความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายที่สำคัญ คือ รูปร่างที่มีลักษณะไม่พึงประสงค์ เช่น รูปร่างอ้วนเกินไป ผอมเกินไป มีพัฒนาการทางเพศไม่เป็นไปตามวัยหรือที่คิดว่าตัวเองไม่เหมือนเพื่อน วัยรุ่นที่มีความคิดวิตกกังวลในเรื่องรูปร่างลักษณะอย่างมากนี้อาจนำไปสู่โรค Anorexia Nervosa หรือ โรค Bulimia Nervosa ได้ การช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีปัญหาในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของร่างกายนี้ ผู้ปกครอง ครู– อาจารย์ ควรให้ความเข้าใจ ให้ความอบอุ่นทางด้านจิตใจ ช่วยส่งเสริมให้เด็กในวัยนี้มีความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

3. 2. พัฒนาการทางอารมณ์

3.1. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ วัยรุ่นอยู่ในขั้นพอใจในการรักเพศตรงข้าม (genital stage) ความพึงพอใจและความสุขต่าง ๆ เป็นแรงขับมาจากวุฒิภาวะทางเพศ เริ่มสนใจเพศตรงข้าม มีแรงจูงใจที่จะรักผู้อื่น ต้องการอิสระจากพ่อแม่มากขึ้น เด็กชายจะเลียนแบบพ่อ เด็กหญิงจะเลียนแบบแม่ (ทิพย์ภา เชษฐ์เชาวลิต, 2541)

3.2. อารมณ์ของวัยรุ่นเป็นอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย อ่อนไหวง่าย เจ้าอารมณ์ มีอารมณ์รุนแรง การควบคุมอารมณ์ยังไม่สู้ดี ลักษณะอารมณ์เหล่านี้เรียกกันว่า พายุบุแคม (Strom and stress) ( สุชา จันทน์เอม, 2536 ; ศรีเรือน แก้วกังวาล, 2538)

3.3. ปัญหาทางอารมณ์

3.3.1. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เด็กบางคนมีพัฒนาการทางเพศเร็วก่อนวัย หรือบางคนอาจช้ากว่าวัย คิดว่าตัวเองมีความแตกต่างจากเพื่อน ส่งผลเกิดปัญหาทางด้านอารมณ์ การส่งเสริม วุฒิภาวะทางอารมณ์ ทำได้โดยที่ผู้ปกครองต้องให้เวลาและมีความอดทนเพื่อที่จะทำความเข้าใจวัยรุ่น เป็นตัวอย่างของผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง แนะนำและส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้การควบคุมอารมณ์ และแนะนำวิธีระบายความเครียดที่เหมาะสม

4. 3. พัฒนาการทางความคิดสติปัญญา

4.1. พัฒนาการทางความคิดตามแนวคิดของเพียเจท์ (Piaget, 1958 cited in Lefrancois, 1996) เด็กวัยรุ่นพัฒนาความคิดจากความคิดแบบรูปธรรม (concrete) จากวัยเด็กสู่การพัฒนาความคิดแบบเหตุผล เป็นรูปแบบชัดเจน (Cognitive thought phase หรือ Formal operation period) สามารถคิดอย่างมีเหตุผล

4.2. พัฒนาการด้านเหตุผลเรื่องศีลธรรมจรรยา ( Moral reasoning ) ทฤษฎีพัฒนาการด้านศีลธรรมจรรยาของโคลเบริกซ์

4.2.1. • ระดับที่ 1 ก่อนมีศีลธรรมจรรยา (Preconventional) ขั้นตอนที่ 1 เชื่อฟัง ทำสิ่งที่ดี ทำตามกฎเกณฑ์เพราะกลัวถูกลงโทษ ขั้นตอนที่ 2 ทำสิ่งที่ดี ทำตามกฎเกณฑ์เพื่อหวังได้รับรางวัลและการชื่นชม

4.2.2. • ระดับที่ 2 มีศีลธรรมจรรยา (Conventional) ขั้นตอนที่ 3 เป็นเด็กดี ได้รับการยอมรับจากบิดามารดา ครู กลุ่มเพื่อน และสังคม ขั้นตอนที่ 4 ทำตามกฎเกณฑ์ของสังคม

4.2.3. • ระดับที่ 3 หลังมีศีลธรรมจรรยา (Postconventional) ขั้นตอนที่ 5 ตระหนักถึงสิทธิของบุคคล กฎระเบียบ หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม ขั้นตอนที่ 6 ปฏิบัติตามหลักศีลธรรม

4.3. ปัญหาด้านความคิดสติปัญญา

4.4. วัยรุ่นช่วงอายุประมาณ 12 – 13 ปี เด็กอาจต้องมีการเปลี่ยนย้ายห้องเรียนหรือเปลี่ยนโรงเรียนจากระดับประถมศึกษาเป็นระดับชั้นมัธยมศึกษา

4.5. วัยรุ่นช่วงอายุประมาณ 17 – 19 ปี เป็นช่วงปรับเปลี่ยนการเรียนในระดับมัธยมศึกษาสู่การเรียนระดับอุดมศึกษา วัยรุ่นทั้งหญิงและชายมักมีปัญหาเรื่องการปรับตัวเรื่องการเรียน เรื่องเพื่อนเพศเดียวกันและเพื่อนต่างเพศ และการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย

5. 4. พัฒนาการทางสังคม

5.1. ทฤษฎีพัฒนาบุคลิกภาพของอิริคสัน วัยรุ่นอยู่ในขั้นพัฒนาการขั้นที่ 5 คือ ความมีเอกลักษณ์ประจำตัวหรือความสับสนในบทบาทของตนเอง เป็นวัยที่พัฒนาเอกลักษณ์ของตนเอง มีจุดมุ่งหมายในชีวิตของตนเอง วัยรุ่นมีความต้องการในการที่จะเป็นที่ยอมรับของเพื่อนและสังคมรอบ ๆ ตัว มีการรวมกลุ่มเพื่อนรุ่นเดียวกัน กลุ่มเพื่อนนี้จะมีอิทธิพลมากต่อทัศนคติ ความสนใจ และพฤติกรรมการแสดงออกของวัยรุ่น ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนต่างเพศ เมื่อเด็กอายุประมาณ 13 –14 ปี เด็กหญิงเริ่มสนใจเด็กชายและพยายามที่จะเรียกร้องความสนใจจากเด็กชาย แต่เด็กชายยังไม่มีความรู้สึกนี้ เมื่อเด็กชายอายุประมาณ 14–16 ปี จะเริ่มสนใจเพศตรงข้ามและบางคนเริ่มแยกตัวไปสนิทสนมกับเพศตรงข้าม

5.2. ปัญหาทางด้านสังคมของวัยรุ่น

5.2.1. • ปัญหาการขัดแย้งในครอบครัว คิดว่าผู้ใหญ่มีความคิดเห็นแตกต่างจากตนเอง ยอมรับไม่ได้ที่ผู้ใหญ่ตำหนิสิ่งที่ตนและกลุ่มเพื่อนคิดว่าถูกต้อง จึงมักอยู่กับกลุ่มเพื่อนซึ่งคิดว่ามีความเข้าใจซึ่งกัน

5.2.2. • ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันทำให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ซึ่งยังไม่มีความพร้อมในการเลี้ยงดูบุตร เนื่องจากยังอยู่ในวัยเรียน จึงทำให้เกิดปัญหาการทำแท้งผิดกฎหมายเกิดขึ้น และส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของหญิงวัยรุ่นได้

5.2.3. • ปัญหาโรคทางเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีความรู้ในการป้องกันตนเองจากการตั้งครรภ์หรือการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทำให้วัยรุ่นชายและหญิงมีโอกาสเป็นโรคได้

5.2.4. • ปัญหาการใช้สารเสพติด อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ความอยากลองหรืออยากที่จะปฏิบัติตามผู้ใหญ่ที่ตนนิยมชมชอบ ฯลฯ ส่งผลให้วัยรุ่นมีการใช้สารเสพติด

6. คำแนะนำในการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับตัวในวัยรุ่น

6.1. 1. สถาบันครอบครัว

6.2. สนับสนุนให้มีการเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ ดูแลร่างกาย ด้านจิตใจ เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและแบ่งเวลาให้กับเด็กมากขึ้น สัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวจะเป็นพื้นฐานที่ดีในการส่งเสริมให้วัยรุ่นสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

6.3. 2. สถานศึกษา โรงเรียนหรือสถานศึกษา ครูอาจารย์มีบทบาทสำคัญในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและเหมาะสมในการมีสังคมร่วมกันของวัยรุ่น การส่งเสริมความรักในหมู่คณะ การเลือกคบเพื่อนที่ดี การเคารพในกฎเกณฑ์ของสังคม รู้จักการให้อภัย การควบคุมอารมณ์รุนแรงด้วยวิธีที่เหมาะสม รวมทั้งการให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่น ทำให้เด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับตนเองอย่างถูกต้อง

6.4. 3. สถาบันในชุมชน ครอบครัว โรงเรียนและวัด ควรจัดให้มีกิจกรรมร่วมกันเพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมให้วัยรุ่นได้มีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การอุปสมบถหมู่ การเรียนพุทธศาสนาในวัดสำหรับศาสนาพุทธ หรือการเรียนพระคัมภีร์ในศาสนาคริสต์และอิสลาม เป็นต้น ในโรงพยาบาลจัดกิจกรรมโดยการให้นักเรียนได้เข้าไปสังเกตการทำงานในลักษณะ การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์

6.5. 4. สื่อสารมวลชน การเลือกสื่อที่เหมาะสมสำหรับวัยรุ่น ควรได้มีการพิจารณาอย่างดี ให้ความสำคัญและตระหนักถึงวัยรุ่นที่ดูสื่อว่าจะเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมในทางที่ไม่เหมาะสมด้วย สามารถจัดกิจกรรมที่ผ่อนคลายความเครียดได้ เช่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของสมาชิกในครอบครัว