ปรัชญาการศึกษาไทย และเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ปรัชญาการศึกษาไทย และเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา by Mind Map: ปรัชญาการศึกษาไทย และเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

1. พระราชบัญญัติการศึกษาไทย พุทธศักราช 2542

1.1. หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ

1.1.1. มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกรทรวงการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีอำนาจออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศเพื่อปฏิบัติการตาม พรบ.นี้

1.1.2. มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

1.1.3. มาตรา 7 ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีความสามรถในการประกอบอาชีพ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่อง

1.1.4. มาตรา 8 หลักการจัดการศึกษา มีองค์ประกอบ ดังนี้

1.1.4.1. 1.เป็นการศึกษาตลอดชีวิต สำหรับประชาชน

1.1.4.2. 2.ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

1.1.4.3. 3.การพัฒนาสาระ และกระบวนการเรียนรู้ ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

1.1.5. มาตรา 9 การจัดระบบโครงสร้าง และ กระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้

1.1.5.1. 1.มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ

1.1.5.2. 2.มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษาสถานศึกษา และองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น

1.1.5.3. 3.มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาและ จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ

1.1.5.4. 4.มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา

1.1.5.5. 5.ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา

1.1.5.6. 6.การมีส่วนร่วมของบุคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนาและสถาบันสังคมอื่น

1.2. หมวดที่ 2 สิทธิ และหน้าที่ทางการศึกษา

1.2.1. มาตรา 10 การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิ และโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงมีคุณภาพและไม่เก็บค่าใช้จ่าย

1.2.2. มาตรา 11 บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรได้รับการศึกษาภาคบังคับ

1.2.3. มาตรา 12 ให้บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา และสถาบันสังคมอื่นมีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.2.4. มาตรา 13 บิดามารดา หรือผู้ปกครอง มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ (การศึกษาตามอัธยาศัย)

1.2.5. มาตรา 14 บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และอื่น ๆ มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์

1.3. หมวดที่ 3 ระบบการศึกษา

1.3.1. มาตรา 15 ระบบการศึกษา มี 3 ระบบ การศึกษาในระบบ, การศึกษานอกระบบ, และการศึกษาตามอัธยาศัย

1.3.2. มาตรา 16 การศึกษาในระบบ มี 2 ระดับ คือ 1.การศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดให้ไม่น้อยกว่า 12 ปี ก่อนอุดมศึกษา 2.การศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา

1.3.3. มาตรา 17 การศึกษาขั้นบังคับ จำนวน 9 ปี โดยเด็กอายุย่างเข้าปีที่ 7 เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จนอายุย่างเข้าปีที่ 16

1.3.4. มาตรา 18 การจัดการศึกษาปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้จัดในสถานศึกษา ดังนี้ 1.สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย เช่น ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2.โรงเรียน เช่น โรงเรียนรัฐ / เอกชน 3.ศูนย์การเรียน

1.3.5. มาตรา 19 การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้จัดในมหาวิทยาลัย สถาบัน วิทยาลัย

1.3.6. มาตรา 20 การจัดการอาชีวศึกษา การฝึกอบรมวิชาชีพให้จัดในสถานศึกษาของรัฐ สถานศึกษาของเอกชน หรือสถานประกอบการ

1.3.7. มาตรา 21 กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ อาจ จัดการศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและชำนาญของหน่วยงานนั้นได้

1.4. หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา

1.4.1. มาตรา 22 การจัดการศึกษายึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ

1.4.2. มาตราที่ 23 การจัดการศึกษา ( ทั้ง 3ระบบ ) ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ บูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา

1.4.3. มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถาน ศึกษาและหน่วยที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังนี้

1.4.3.1. 1.จัดเนื้อหาและกิจกรรมให้สอดคล้องกับ ความสนใจและความถนัดของผู้เรียน

1.4.3.2. 2.ฝึกทักษะ กระบวนการคิดและประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อแก้ปัญหา

1.4.3.3. 3.จัดกิจกรรมเรียนรู้จากประการณ์จริง

1.4.3.4. 4.จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ต่างๆอย่างสมดุลกัน

1.4.3.5. 5.ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนจัดบรรยากาศสื่อการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

1.4.3.6. 6.จัดการเรียนรู้ให้เกิดได้ทุกเวลาทุกสถานที่

1.4.4. มาตรา 25 รัฐส่งเสริมการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต

1.4.5. มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดประเมินผู้เรียนควบคู่กับกระบวนการเรียนการสอน (โดยถือว่าการ ประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาและเป็นหน้าที่ของสถานศึกษา)

1.4.6. มาตรา 27 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.4.7. มาตรา 28 หลักสูตรการศึกษาระดับต่างๆต้องมีลักษณะหลากหลาย

1.4.8. มาตรา 29 ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถานบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน

1.4.9. มาตรา 30 สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมผู้สอนให้สามารถวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน

1.5. หมวด 5 การบริหาร และการจัดการศึกษา

1.5.1. ส่วนที่ 1 การบริหาร และ การจัดการศึกษาของรัฐ

1.5.1.1. มาตรา 31 ให้กระทรวงมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภทการศาสนาและวัฒนธรรม

1.5.1.2. มาตรา 32 ให้กระทรวงมีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลใรรูปสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นหรือให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรี

1.5.1.3. มาตรา 33 สภาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมแห่งชาติ มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนและมาตรฐานการศึกษาชาติ นโยบายด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การสนับสนุนทรัพยากร การประเมินผลการจัดการศึกษา การดำเนินการด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม และการพิจารณากลั่นกรองกฎหมายและกฎกระทรวง

1.5.1.4. มาตรา 34 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนามาตรฐานและหลักสูตร แกนกลางทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนาและมาตรฐานการศึกษา สนับสนุน ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา

1.5.1.5. มาตรา 35 องค์ประกอบของคณะกรรมการตามมาตรา 34 ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนกรรมการประเภทอื่นรวมกัน

1.5.1.6. มารตา 36 ให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล

1.5.1.7. มาตรา 37 การบริหาร และการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึงปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากร และความเหมาะสมด้านอื่น รัฐมนตรีกระทรวงโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขต พื้นที่การศึกษา

1.5.1.8. มาตรา 38 คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจในการ กำกับ ดูแล จัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษา

1.5.1.9. มาตรา 39 ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและกรจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไปไปยังคณะกรรมการ และสำนักงานการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในเขตพื้นที่โดยตรง

1.5.1.10. มาตรา 40 ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา

1.5.2. ส่วนที่ 2 การบริหาร และการจัดการ ศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1.5.2.1. มาตรา 41 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาได้ทุกระดับ

1.5.2.2. มาตรา 42 ให้กระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความ พร้อมในการจัดการศึกษาขแงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1.5.3. ส่วนที่ 3 การบริหาร และการจัดการศึกษาของเอกชน

1.5.3.1. มาตรา 43 การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชนให้มีความเป็นอิสระ แต่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การ ประเมินคุณภาพของมาตรฐานการศึกษาเช่นเดียวกับสถานศึกษาของรัฐ

1.5.3.2. มาตรา 44 สถานศึกษาเอกชน เป็นนิติบุคคล และมีคณะกรรมการสถานศึกษาเอกชน

1.5.3.3. มาตรา 45 สถานศึกษาเอกชน มีสิทธิจัดการศึกษาได้ทุกระดับ

1.5.3.4. มาตรา 46 รัฐต้องให้การสนับสนุนด้านการเงินอุดหนุน การลดหย่อนภาษี และสิทธิประโยชน์อย่างอื่น ที่เป็นประโยชน์ในทางการศึกษาแก่สถานศึกษาเอกชนตามความเหมาะสม

1.6. หมวดที่ 6 มาตรฐาน และการประกันคุณภาพทางการศึกษา

1.6.1. มาตรา 47 ให้มีระบบประกันคุณภาพทางการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก

1.6.2. มาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน

1.6.3. มาตรา 49 ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพทางการศึกษามีฐานะเป็นองค์กรมหาชน

1.6.4. มาตรา 50 ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับสถสนศึกษาเพื่อประเมินคุณภาพการศึกษา

1.6.5. มาตรา 51 กรณีผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาไม่ได้มาตรฐานให้สมศ. จัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุง แก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่กำหนด หากไม่ดำเนินการให้รายงานต่อคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.7. หมวดที่ 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา

1.7.1. มาตรา 52 ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต พัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ

1.7.2. มาตรา 53 ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา มีฐานะเป็นองค์กรอิสระ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชนต้องมี ใบประกอบวิชาชีพ

1.7.3. มาตรา 54 ให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู

1.7.4. มาตรา 55 ให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

1.7.5. มาตรา 56 การผลิตและพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่ง

1.7.6. มาตรา 57 ให้หน่วยงานทางการศึกษาระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษา

1.8. หมวดที่ 8 ทรัพยากร และการลงทุน เพื่อการศึกษา

1.8.1. มาตรา 58 ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนงบประมาณ ทั้งจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน เอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่น และต่างประเทศมาใช้จัดการศึกษา

1.8.2. มาตรา 59 ให้สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล มีอำนาจในการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินทางการศึกษา

1.8.3. มาตรา 60 ให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้กับการศึกษาในฐานะที่มีความสำคัญสูงสุดต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

1.8.4. มารตา 61 ให้รัฐจัดสรรเงินอุดหนุนการศึกษาที่จัดโดยบุคคล ครอบครัว ชุมชน เอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่น ตามความเหมาะสม

1.8.5. มาจรา 62 ให้มีระบบการตรวจสอบ ติดตามและประเมินประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณการจัดการ ศึกษาให้สอดคล้องกับหลักการศึกษา โดยหน่วยงานภายในและหน่วยงานรัฐมีหน้าที่ตรวจสอบภายนอก

1.9. หมวดที่ 9 เทคโนโลยี เพื่อการศึกษา

1.9.1. มาตรา 63 รัฐต้องจัดคลื่นความถี่ สื่อตัวนำ โครงสร้างพื้นฐานอื่น ที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษา

1.9.2. มาตรา 64 รัฐส่งเสริม และสนับสนุนการผลิต และพัฒนาแบบเรียน โดนเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม

1.9.3. มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิตและผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

1.9.4. มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

1.9.5. มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

1.9.6. มาตรา 68 ให้มีการระดมทุนเพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทาน ผลกำไรจากการดำเนินการด้านสื่อมวลชนและโทรคมนาคมจากทุกฝ่าย

1.9.7. มาตรา 69 รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย การพัฒนาและการใช้ ประเมินคุณภาพ ประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยี

1.10. บทเฉพาะกาล

1.10.1. มาตรา 70 บรรดา กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ ใช้บังคับอยู่ ให้ใช้ต่อไป แต่ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ พ.ร.บ. บี้ บังคับใช้

1.10.2. มาตรา 71 กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานทางการ ศึกษา และสถานศึกษา ที่มีอยู่ในวันที่ พ.ร.บ.บังคับใช้ ให้ใช้ต่อไป แต่ไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่ พ.ร.บ. บี้ บังคับใช้

1.10.3. มาตรา 72 ห้ามมิให้ใช้ มาตรา 10 (การศึกษาพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี) มาบังคับใช้ จนกว่าจะมีการ ดำเนินการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. แต่ต้องไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญบังคับใช้

1.10.4. มาตรา 73 ในวาระเริ่มแรก ไม่ให้นำบทบัญญัติหมวด 5 และหมวด 7 มาใช้จนกว่าจะมีการดำเนินการให้เป๋นไปตามบัญญัติในหมวดดังกล่าว

1.10.5. มาตรา 74 ในวาระเริ่มแรกที่การจัดตั้งกระทรวงยังไม่เสร็จ ให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย รักษาการตาม พ.ร.บนี้และมีอำนาจออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศเพื่อปฏิบัติตาม พ.ร.บ นี้

1.10.6. มาตรา 75 ให้สำนักงานปฏิรูปทางการศึกษาเป็นองค์กรมหาชนเฉพาะกิจ

1.10.7. มาตรา 76 คณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการ ศึกษา จํานวน 9 คนมีวาระดำรงตำแหน่งวาระเดียว 3 ปี เมื่อครบแล้วยุบตำแหน่ง และสำนักงาน

1.10.8. มาตรา 77 ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นคณะกรรมการบริหาร

1.10.9. มาตรา 78 ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานการปฏิรูปการศึกษา และมีอำนาจกำกับดูแลกิจการของสำนักงานตามที่กฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน

2. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

2.1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ

2.1.1. สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการศึกษา

2.1.1.1. มาตรฐาน ต 1.1

2.1.1.1.1. เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภท ต่างๆและแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล

2.1.1.2. มาตรฐาน ต 1.2

2.1.1.2.1. มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลื่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นอย่างมีประสิทะิภาพ

2.1.1.3. มาตรฐาน ต 1.3

2.1.1.3.1. นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน

2.1.2. สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม

2.1.2.1. มาตรฐาน ต 2.1

2.1.2.1.1. เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ

2.1.2.2. มาตรฐาน ต 2.2

2.1.2.2.1. เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษา และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษษและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

2.1.3. สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับ กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

2.1.3.1. มาตรฐาน ต 3.1

2.1.3.1.1. ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตนเอง

2.1.4. สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนโลก

2.1.4.1. มาตรฐาน ต 4.1

2.1.4.1.1. ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม

2.1.4.2. มาตรฐาน ต 4.2

2.1.4.2.1. ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก

3. ปรัชญาการศึกษา

3.1. ปรัชญาสารัตถนิยม

3.1.1. หลักสูตร

3.1.1.1. เป็นหลักสูตรแบบเนื้อหาวิชา และหลักสูตรแบบสหสัมพันธ์ โดยเน้นเนื้อหาวิชาและกวดขันความรู้เป็นสำคัญ

3.1.2. โรงเรียน

3.1.2.1. เน้นเรื่องมาตรฐานการศึกษา ฉะนั้นโรงเรียนจะต้อง เคร่งครัดในเรื่องระเบียบวินัย

3.1.3. ผู้สอน

3.1.3.1. เป็นศูนย์กลางของการจัดการศึกษา

3.1.4. ผู้เรียน

3.1.4.1. เป็นผู้เรียนรู้และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม

3.1.5. กระบวนการจัดการเรียนการสอน

3.1.5.1. เน้นหลักสำคัญที่จะให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาอย่างถ่องแท้ (บรรยายเป็นหลัก)

3.2. ปรัชญานิรันตรนิยม

3.2.1. หลักสูตร

3.2.1.1. เป็นหลักสูตรที่เน้นวิชาทางศิลปศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่เน้นวิชาการศึกษาทั่วไป (ที่ฝึกฝนให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่รู้จักใช้สติปัญญา เหตุผล

3.2.2. โรงเรียน

3.2.2.1. เป็นสื่อกลางที่จะนำผู้เรียนไปสู่สัจธรรม ค่านิยม และวัฒนธรรมอันดีงาม

3.2.3. ผู้สอน

3.2.3.1. ปรัชญานี้ให้ความสำคัญกับครูผู้สอนเป็นอย่างมากโดยเชื่อว่า ผู้สอนเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนการสอน

3.2.4. ผู้เรียน

3.2.4.1. พัฒนารายบุคคล เน้นฝึกฝนคุณสมบัิที่มีอยู่แล้ว

3.2.5. กระบวนการเรียนการสอน

3.2.5.1. เน้นสร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์ โดยวิธีการฝึกฝน ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ

3.3. ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม

3.3.1. หลักสูตร

3.3.1.1. เน้นเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์ในชีวิตเป็นสำคัญ

3.3.2. โรงเรียน

3.3.2.1. แบบจำลองที่ดีงาม ของชีวิตและสังคม ดังนั้นบทบาทของโรงเรียนจึงต้องทำหน้าที่เป็นแหล่งสร้างเสริม ประสบการณ์ชีวิตจริงให้แก่ผู้เรียนโดยจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับสภาพสังคม และการดำเนินชีวิตจริง

3.3.3. ผู้สอน

3.3.3.1. ผู้สอนจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และมีประสบการณ์กว้างขวาง เพื่อช่วย ให้เด็กก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางของการเรียนรู้อย่างเต็มที่

3.3.4. ผู้เรียน

3.3.4.1. ลงมือทำด้วยตัวเอง มีอิสระในการตัดสินใจ

3.3.5. กระบวนการเรียนการสอน

3.3.5.1. เน้นการฝึกการกระทำ (LEARNING BY DOING) เพื่อให้เกิดประสบการณ์โดยตรง การเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริงต้องใช้กระบวนการแก้ปัญหา

3.4. ปรัชญาปฏิรูปนิยม

3.4.1. หลักสูตร

3.4.1.1. เป็นหลักสูตรที่เน้นด้านสังคมเป้นแกนสำคัญ เนื้อหาสาระจากในหลักสูตรจากปัญหาสังคมที่ผู้เรียนปรัสบอยู่

3.4.2. โรงเรียน

3.4.2.1. ต้องสนใจใฝ่หาอนาคต และนำทางให้เด็กพบกับระบียบสังคมใหม่

3.4.3. ผู้สอน

3.4.3.1. ส่งเสริมให้เด็กเข้าใจสภาพสังคม และศึกษาแนวทางในการแก้ปัญหาทางสังคม และวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างมีคุณภาพ

3.4.4. ผู้เรียน

3.4.4.1. รู้จกเรียนรู้วิธีทำงานร่วมกัน

3.4.5. กะบวนการเรียนการสอน

3.4.5.1. เป็นการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำโดยวิธีการต่างๆ

3.5. ปรัชญาอัตถิภาวนิยม

3.5.1. หลักสูตร

3.5.1.1. ไม่กำหนดตายตัวแต่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองได้ดี ให้เลือกตามความเหมาะสม

3.5.2. โรงเรียน

3.5.2.1. สร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพ นักเรียนเลือกได้อย่างอิสระ

3.5.3. ผู้สอน

3.5.3.1. ครูคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัวใช้ความถนัดและความสามรถให้มากที่สุด

3.5.4. ผู้เรียน

3.5.4.1. ผู้เรียนสำคัญที่สุด เลือกแนวทางที่จะพัฒนาด้วยตัวเอง

3.5.4.2. เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด มีความสามารถในตนเอง มีเสรีภาพ หาแนวทางพัมนาตนเอง

3.5.5. กระบวนการเรียนการสอน

3.5.5.1. เน้นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเอง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้ เน้นการมีส่วนร่วมเป็นหลัก

3.6. พุทธปรัชญาการศึกษา

3.6.1. หลักสูตร

3.6.1.1. เน้นการฝึกฝนอบรมทางด้านจิตใจ และคุณธรรมเป็นสำคัญ

3.6.2. โรงเรียน

3.6.2.1. ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่จูงใจและปลุกเร้าให้เกิดความศรัทธาที่จะเรียนรู้ ความแปลกใหม่ เปลี่ยนแปลงไม่จำเจ

3.6.3. ผู้สอน

3.6.3.1. ผู้สอนจะต้องมีคุณธรรม มีกัลยาณมิตรต่อเด็ก ตั้งใจ สอนด้วยความมุ่งหวังว่าเด็กจะเป็นคนที่มีคุณธรรม

3.6.4. ผู้เรียน

3.6.4.1. เป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถนำหลักธรรมไปแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

3.6.5. กะบวนการเรียนการสอน

3.6.5.1. คำนึงถึงสภาพแวดล้อม แรงจูงใจและวิธีการสอน ให้เด็กเกิดความศรัทธาที่เรียนรู็ และฝึกคิดอย่างมีระบบถูกวิธี

3.7. ปรัชญาการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ

3.7.1. หลักสูตร

3.7.1.1. จัดหลักสูตรที่เน้นให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์

3.7.2. โรงเรียน

3.7.2.1. ส่งเสริมกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์และทันสมัย

3.7.3. ผู้สอน

3.7.3.1. มีความเอื้ออำนวยความสะดวก ส่งเสริมผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์

3.7.4. ผู้เรียน

3.7.4.1. มีความคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดริเริ่ม คิดรับผิดชอบ

3.7.5. กระบวนการเรียนการสอน

3.7.5.1. เน้นการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ มีแนวคิดใหม่ๆ เน้นให้มีผลผลิต

4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

4.1. หมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย

4.1.1. มาตรา 50 บุคคล มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ เข้ารับการศึกษาอบรมในการศึกษาภาคบังคับ

4.2. หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ

4.2.1. มาตรา 54 รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่างๆ และส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4.3. หมวด 16 การปฏิรูปประเทศไทย

4.3.1. มาตรา 258 ให้ดำเนินการปฏิรูปประทศอย่างน้อยในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผล ดังนี้

4.3.1.1. จ.ด้านการศึกษา

4.3.1.1.1. 1.ให้สามารถเริ่มดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลก่อนเข้ารับการศึกษา เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ

4.3.1.1.2. 2.ให้ดำเนินการตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุน (ม.54) ให้เสร็จภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้

4.3.1.1.3. 3.ให้มีกลไกและระบบการผลิต คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์

4.3.1.1.4. 4.ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนทุกระดับเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัด

4.3.2. มาตรา 261 ในการปฏิรูปตามมาตรา 258

4.3.2.1. ให้มีคณะกรรมการที่มีความเป็นอิสระคณะหนึ่งที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งดำเนินการศึกษา จัดทำข้อเสนอแนะและร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีดำเนินการต่อไป โดยให้แต่งตั้งภายใน 16 วัน หลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้

4.3.2.2. ให้คณะกรรมการดำเนินการศึกษา จัดทำข้อเสนอแนะและร่างกฎหมายให้เสร็จ และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

5. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580)

5.1. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

5.1.1. ปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรมผ่านการเรียนการสอน ปลูกฝักผ่านการเลี้ยงดูของครอบครัว และให้ชุมชนเป็นฐานในการปลูกฝัง

5.1.2. พัฒนาศักยภาพของคนทุกช่วงวัย

5.1.3. ปฏิรูปกระบวนการการจัดการเรียนรู้เพื่อศตวรรษที่ 21

5.2. ยุทธศาสตร์ 6 ข้อ

5.2.1. 1. ความมั่นคง

5.2.2. 2. การสร้างความสามารถในการแข่งขัน

5.2.3. 3. การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน

5.2.4. 4. การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม

5.2.5. 5. การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

5.2.6. 6. การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

6. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที 12 (พ.ศ. 2560-2564)

6.1. 1. การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์

6.2. 2. การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และธรรมมาภิบาลในสังคมไทย

6.3. 3. การสร้างงความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย

6.4. 4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์

6.5. 5. การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

6.6. 6. การพัฒนาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม

6.7. 7. การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

6.8. 8. การพัฒนาภาคเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจ

7. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที 13 (พ.ศ. 2566-2570)

7.1. กลยุทธ์การพัฒนา

7.1.1. กลยุทธ์ที่ 1 คนไทยทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาในทุกมิติ

7.1.1.1. 1.พัฒนาเด็กช่วงตั้งครรภ์ถึงปฐมวัยให้มีพัฒนาการรอบด้าน มีอุปนิสัยที่ดี

7.1.1.2. 2.พัฒนาผู้อยู่ในช่วงวัยการศึกษาระดับพื้นฐานให้มีความตระหนักรู้ในตนเอง มีทักษะดิจิทัลและมีสมรรรถนะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ การดำรงชีวิตและการทำงาน

7.1.1.3. 3.พัฒนาผู้เรียนช่วงวัยการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีสมรรถนะที่จำเป็นและ เชื่อมโยงกับโลกของการทำงานในอนาคตและการสร้างสรรค์นวัตกรรม

7.1.1.4. 5.พัฒนาผู้สูงอายุให้เป็นพลเมืองมีคุณค่าของสังคม

7.1.2. กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง

7.1.2.1. 1.พัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิต เป้าหมาย และสามารถสร้างงานอนาคต

7.1.2.2. 2.เพิ่มกำลังคนที่มีคุณภาพเพื่อพัฒนาภาคการผลิตเป้าหมาย

7.1.2.3. 3.สร้างผู้ประกอบการอัจฉริยะที่มีความสามารถในการสร้าง ออกแบบ และใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดกระบวนการผลิตและบริการ การจัดการและการตลาด

7.1.3. กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

7.1.3.1. 1.พัฒนาระบบนิเวศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

7.1.3.2. 2.พัฒนาทางเลือกในการเข้าถึงการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเรียนในระบบ การศึกษาปกติ

8. พระราชบัญญัติการศึกษาไทย พุทธศักราช 2542 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ปี พ.ศ.2545

8.1. มาตรา 5 ยกเลิก มาตรา 31,32,33,และ 34 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

8.1.1. มาตรา 32 การจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงให้มีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภา หรือในรูปคณะกรรมการจำนวนสี่องค์กร

8.1.2. มาตรา 31 กระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกันการส่งเสริม และกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท

8.1.3. มาตรา 33 สภาการศึกษา มีหน้าที่

8.1.3.1. 1.พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุกระดับ

8.1.3.2. 2.พิจารณาเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา

8.1.3.3. 3.พิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา

8.1.3.4. 4.ดำเนินการประเมินผลการจัดการศึกษาตาม (1)

8.1.3.5. 5.ให้ความเห็นหรือคำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมายและกฎกระทรวงที่ออกตามความในพ.ร.บ.นี้

8.1.4. มาตรา 34 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนามาตรฐาน และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

8.2. มาตรา 6 ยกเลิกความในมาตรา37,38,39, และ40 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

8.2.1. มาตรา 37 การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา โดยคำนึงถึงปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรม และความเหมาะสมด้านอื่น

8.2.2. มาตรา 38 ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจหน้าที่ในการกำกับ ดูแล จัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

8.2.3. มาตรา 39 ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงาน บุคคล และการบริหารทั่วไปไปยังคณะกรรมการ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง

8.2.4. มาตรา 40 ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา และสถานศึกษาอาชีวศึกษาของแต่ละสถานศึกษาเพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา

8.3. มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

8.3.1. การกำหนดนโยบายและแผนการจัดการศึกษาของรัฐของเขตพื้นที่การศึกษาหรือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้คำนึงถึงผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของเอกชน โดยให้รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับฟังความคิดเห็นของเอกชนและประชาชนประกอบการพิจารณาด้วย

8.4. มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

8.4.1. มาตรา 51 ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดให้สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา จัดทำข้อเสนอแนะ การปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด

8.5. มาตรา 9 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

8.5.1. เพื่อให้การปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่ต้องดำเนินการก่อนที่การจัดระบบบริหารการศึกษาตามหมวด 5 ของพระราชบัญญัตินี้จะแล้วเสร็จ ให้กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัยและคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ ทำหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี"

9. พระราชบัญญัติการศึกษาไทย พุทธศักราช 2542 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) ปี พ.ศ.2553

9.1. มาตรา 3 ยกเลิกความในมาตรา 37 พ.ร.บ การศึกษาแห่งชาติ ฉบับแก้ไข(ฉบับที่ 2)ใช้ความต่อไปนี้แทน

9.1.1. มาตรา 37 การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา และประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่นด้วย

9.2. มาตรา 4 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าจะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษาใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

10. พระราชบัญญัติการศึกษาไทย พุทธศักราช 2542 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) ปี พ.ศ.2562

10.1. มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 31 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 2) และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

10.1.1. มาตรา 31 กระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับทุกประเภท และการอาชีวศึกษา แต่ไม่รวมถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอื่นที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ

10.1.2. มาตรา 32 การจัดระเบียบบริหาราชการในกระทรวงให้มีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภาหรือในรูปคณะกรรมการจำนวน 3 องค์กร ได้แก่ สภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นหรือให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด

10.2. มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 32/1 และมาตรา 32/2 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

10.2.1. มาตรา 32/1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนและกำกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรม

10.2.2. มาตรา 32/2 การจัดระเบียบราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

10.3. มาตรา 5 ให้ยกเลิกวรรคสามของมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542(ฉบับที่ 2)

10.3.1. ที่ว่า คณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากรการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระ และความเป็นเลิศทางวิชาการ

10.4. มาตรา 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 35/1 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

10.4.1. มาตรา 35/1 ให้มีคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา และ มาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ

10.5. มาตรา 7 ยกเลิกมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และใช้ข้อความนี้แทน

10.5.1. มาตรา 47 ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ของการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก

10.6. มาตรา 8 ยกเลิกมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และใช้ข้อความนี้แทน

10.6.1. มาตรา 49 ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษา ที่มิใช่การจัดการอุดมศึกษาซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือกระทรวงอื่น

10.7. มาตรา 9 ยกเลิกมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่2) และใช้ข้อความนี้แทน

10.7.1. มาตรา 51 ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ให้สมศ.จัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด หากมิได้ดำเนินการดังกล่าว ให้สมศ.รายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

10.8. มาตรา 10 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 51/1 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

10.8.1. มาตรา 51/1 คำว่า “คณาจารย์” ในหมวดนี้ ไม่รวมถึงบุคลากรซึ่งสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม