chapter 1 เทคโนโลยีนวัตกรรมและสื่อการศึกษา

Comienza Ya. Es Gratis
ó regístrate con tu dirección de correo electrónico
chapter 1 เทคโนโลยีนวัตกรรมและสื่อการศึกษา por Mind Map: chapter 1 เทคโนโลยีนวัตกรรมและสื่อการศึกษา

1. ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา

1.1. การออกแบบ เป็นขอบข่ายที่แสดงให้เห็นถึงกรอบหรือโครงร่างที่แสดงความเชื่อมโยง ระหว่างหลักการและทฤษฎีพื้นฐานต่างๆที่จะนำไปสร้างและพัฒนางาน ทางด้านเทคโนโลยี และสื่อการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม

1.2. การพัฒนา เป็นขอบข่ายของการสร้างผลิตภัณฑ์ ในรูปแบบของสื่อต่างๆโดยนำพื้นฐาน ที่ได้ออกมาพัฒนาเป็นสื่อที่อาศัยคุณลักษณะของสื่อต่างๆ คือ เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ เทคโนโลยีด้านโสตทัศน์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีบูรณาการ

1.3. การใช้ เป็นขอบข่ายที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการนำสื่อที่พัฒนาแล้ว ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความง่ายในการใช้งาน ระหว่างผู้เรียนและสื่อการเรียนการสอนหรือระบบที่เกี่ยวข้อง

1.4. การจัดการ เป็นขอบข่ายหลักสำคัญของสาขาเทคโนโลยีการศึกษา เพราะจะต้องเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแหล่งการเรียนรู้ ที่จะต้องนำไปสนับสนุนในทุกๆขอบข่ายซึ่งจะต้องมีการจัดระเบียบ และแนะนำ หรือการจัดการทรัพยากรทางการเรียนรู้

1.5. การประเมิน ขอบข่ายด้านนี้ จะเกี่ยวข้องกับการประเมินเพื่อปรับปรุง ในการประเมินนั้นจะมุ่งเน้นการประเมินทั้งกระบวนการและผลิตภัณฑ์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพตลอดทั้งคุณภาพของสื่อที่ออกแบบขึ้นมา

2. บทบาทและความสำคัญของ เทคโนโลยีและสื่อการศึกษา

2.1. ครูจำเป็นต้องมีความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการศึกษาในโรงเรียนตั้งแต่การออกแบบ การพัฒนา การใช้การจัดการและการประเมิน ภายใต้กระแสความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่จะก้าวไปอย่างไม่มีวันหยุด ส่งผลให้วิถีชีวิตจะต้องใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น เพื่อสร้างประโยชน์ และสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องการทำความเข้าใจ เกี่ยวกับเทคโนโลยี และสื่อการศึกษาจะต้องเริ่มที่การเข้าใจถึง บทบาทที่สำคัญในการสนับสนุนการเรียนรู้ นั่นก็ หมายความว่า จะต้องเข้าใจผู้เรียนหรือวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน ประกอบด้วยการสื่อสารหรือสื่อความหมายและที่สำคัญคือ การทำความเข้าใจทฤษฎีการเรียนรู้

3. ความหมาย

3.1. เทคโนโลยี การนำแนวคิด หลักการเทคนิค วิธีการ กระบวนการ ตลอดจนผลิตผลทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบงานนั้นๆ ให้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนเพื่อแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน

3.2. เทคโนโลยีการศึกษา ทฤษฎีและการปฏิบัติเกี่ยวกับการออกแบบ การพัฒนา การใช้ การจัดการและการประเมินของกระบวนการ และแหล่งเรียนรู้สำหรับการเรียนรู้

3.3. นวัตกรรมการศึกษา การทำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิดหรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้นโดยอาศัยหลักการทฤษฎีที่ ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้เข้ามาใช้ในการศึกษา เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพของการเรียนการสอน

4. ความเป็นมาและพัฒนาการ ของเทคโนโลยีการศึกษา

4.1. ความเป็นมาและพัฒนาการของการออกแบบการสอน การออกแบบการสอนได้รับความสนใจตั้งแต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 อันเนื่องมาจากสาเหตุของความจำเป็นในการฝึกอบรมบุคลากรในกองทัพ และได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นในช่วงปี1950–1960 ทฤษฎีประมวลสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในช่วงนี้ แนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีนี้ คือ ความรู้ไม่สามารถส่งผ่านไปสู่ผู้เรียนได้ แต่ผู้เรียนต้องสร้างความรู้ขึ้นด้วยตนเองในบริบทของสังคม

4.2. ความเป็นมาและพัฒนาการของสื่อการเรียนการสอน จากผลของการใช้ สื่อต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น ระหว่างช่วงทศวรรษที่ 1970 และ 1980 สาขาวิชานี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงและเติบโตมากขึ้น ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อกลายเป็นผู้ที่มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ในชุมชนโรงเรียนสื่อที่มีรูปแบบใหม่ๆได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น และความเคลื่อนไหวต่างๆ นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงศาสตร์ทางด้านโสตทัศนศึกษา การศึกษาทางด้านสื่อซึ่งเริ่มประมาณปลายสงครามโลกครั้งที่2และดำเนินการต่อเนื่องมา

4.3. คอมพิวเตอร์เพื่อการสอน คอมพิวเตอร์มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับนวัตกรรมการศึกษา ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ยุคแรกจะนำอิเลคทรอนิกส์ดิจิตอลมาใช้ในการสร้าง จากการที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกันอย่างกว้างขวาง และสมรรถนะของคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มสูงขึ้น การเพิ่มปริมาณของซอร์ฟแวร์และสามารถจัดหาได้ง่าย โปรแกรมCAI ในรายวิชาต่างๆปรากฏมากมายและซอร์ฟแวร์ที่มีคุณภาพ เป็นประเด็นที่มีความสำคัญเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์การเรียนการสอน ได้ล้มเลิกแนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ ภาษาคอมพิวเตอร์ และแยกมาจัดตั้งเป็นสาขาทางการศึกษาใหม่โดยนำแนวคิดการบูรณาการลงในหลักสูตร รวมถึงการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในบริบทของเนื้อหาวิชา