กระบวนการสื่อสารการตลาด

Create a Competitive Analysis / SWOT to position your company in the market

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
กระบวนการสื่อสารการตลาด by Mind Map: กระบวนการสื่อสารการตลาด

1. กระบวนการสื่อสาร (Communication Process)

1.1. การสื่อสารเป็นกิจกรรมของมนุษย์ที่ใช้เพื่อถ่ายทอดความคิด แลกเปลี่ยนข่าวสาร ความรู้ ประสบการณ์ ค่านิยม ทัศนคติ และอื่น ๆ ร่วมกัน เพื่อทำให้มีความเข้าใจและมuอิทธิพลต่อมนุษย์ด้วยกัน ดังนั้น การสื่อสารจึงจัดเป็นกระบวนการที่จะถ่ายทอดความคิดและข้อมูลต่าง ๆ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน ได้แก่ การให้ความรู้ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ การให้ความบันเทิงการบอกเล่าเหตุการณ์ ฯ เป็นต้น ซึ่งการสื่อสารจะเกิดขึ้นได้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่องนั้นต้องอาศัยองค์ประกอบของกระบวนการสื่อสาร (Communication Process Components) และแบบจำลองกระบวนการสื่อสาร (Model of Communication Process)

1.1.1. องค์ประกอบของกระบวนการสื่อสาร ไม่ว่าวัตถุประสงค์ของการสื่อสารจะเป็นเช่นไร องค์ประกอบของกระบวนการสื่อสารอาจมีแตกต่างกันได้จะขึ้นกับประเด็นหรือเรื่องที่จะสื่อสารกัน ตลอดจนแนวความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์กันขององค์ประกอบของกระบวนการการสื่อสาร ทำให้มีผู้แบ่งองค์ประกอบของกระบวนการสื่อสารแตกต่างกันออกไป สำหรับในที่นี้จะแบ่งองค์ประกอบกระบวนการสื่อสารตามแนวความคิดของโรเจอร์ ซึ่งมีแนวคิดว่าการสื่อสารคือ กระบวนการที่มีแหล่งส่งสารผ่านช่องทางการสื่อสารไปยังผู้รับ แล้วก่อให้เกิดผลบางอย่างขึ้นอันเป็นการตอบสนอง ดังนั้นองค์ประกอบของกระบวนการสื่อสารจึงมี 6 ประการ คือ

1.1.1.1. 1) แหล่งสารหรือผู้ส่งสาร (Source or Sender) แหล่งสารอาจเป็นบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มบุคคลที่อาจทำงานร่วมกัน เป็นองค์กรโดยทำหน้าที่สื่อสารโดยการพูด เขียน หรือแสดงกิริยาท่าทางให้บุคคลอื่นหรือองค์กรอื่นๆ ทราบตามเป้าหมายของการสื่อสารครั้งนั้น ๆ มีปัจจัยที่สำคัญอย่างน้อย 4 ประการด้วยกัน ในตัวของแหล่งสารหรือผู้ส่งสารที่กำหนดความสามารถของแหล่งสาร garmin nuvi ในการสื่อสารว่าจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ซึ่งได้แก่ ทักษะในการสื่อสารเป็นความสามารถในการพูด การเขียน การแสดงออกของแหล่งสารหรือผู้ส่งสาร รวมทั้งทัศนคติ ความรู้ และระดับของสังคมและวัฒนธรรมของแหล่งสารนั้น

1.1.1.2. 2) สารหรือข่าวสาร (Message or information) หมายถึง สิ่งเร้าที่แหล่งสารหรือผู้ส่งสารส่งออกไปยังผู้อื่น ๆ หรือองค์กรอื่น ๆ มีลักษณะเป็นสัญญาณที่ผู้รับสามารถถอดรหัสและแปลหรือเข้าใจได้ จัดเป็นผลิตผลของแหล่งสารหรือผู้ส่งสารที่ใช้ส่งออกไปตามช่องทางข่าวสารไปยังผู้รับสาร ข่าวสารจะต้องมีเนื้อหาสาระตามวัตถุประสงค์ มีโครงสร้าง ดังนั้นในการสื่อสารผู้ส่งสารหรือแหล่งสารจะต้องเลือกเนื้อหาของสารให้เป็นข่าวสารที่เหมาะสม มีระบบ ระเบียบเพื่อให้ผู้รับเข้าใจได้ง่าย และเข้าใจถูกต้อง

1.1.1.3. 3) ช่องทางข่าวสาร (Message Channel) เป็นเส้นทางหรือพาหะในการลำเลียงข่าวสาร ซึ่งอาจอยู่ในรูปของคลื่นแสง คลื่นเสียงหรือสื่อในการสื่อสาร เช่น วิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง หนังสือพิมพ์ เป็นต้น โดยปกติข่าวสารจะถูกลำเลียงโดยพาหะต่าง ๆ ตามรูปแบบและความคงทนของข่าวสาร เช่น ข่าวสารที่เป็นคำพูดอาจถูกลำเลียงได้ทั้งผ่านความสั่นสะเทือนของมวลอากาศ เป็นการสื่อสารโดยการพูดกันหรือผ่านสายโทรศัพท์ผ่านสายเคเบิลโทรศัพท์ก็ได้ เป็นต้น

1.1.1.4. 4) ผู้รับสาร (Receiver) 4) ผู้รับสาร ผู้รับสารอาจเป็นบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มบุคคล หรืออาจเป็นองค์กร ผู้รับสารจะทำหน้าที่รับข่าวสารได้ดีเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยในตัวผู้รับสารอันได้แก่ ทักษะในการสื่อสารซึ่งเป็นความสามารถในการอ่าน ฟัง และแปลความข่าวสารตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร ทัศนคติ ความรู้ และระดับของสังคมและวัฒนธรรมของผู้รับสารเอง

1.1.1.5. 5) ผลการสื่อสาร (Effect) ผลการสื่อสารอาจเป็นไปได้ในทางลบและทางบวกอาจเรียกได้ว่า เป็นความรู้สึก ความคิดเห็นต่อแหล่งสาร ข่าวสาร ช่องทางข่าวสารของผู้รับสาร เช่น การลดราคาผลิตภัณฑ์ในช่วงเทศกาล ทำให้ผู้รับสารหรือผู้บริโภคตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์นั้นได้เร็วขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น ผลการสื่อสารอาจก่อให้เกิดผลในการเปลี่ยนแปลงความรู้ ทัศนคติ หรือพฤติกรรมของผู้รับสารได้

1.1.1.6. 6) การป้อนกลับหรือการสนองตอบ (Feedback or Response) เป็นการแสดงโต้ตอบต่อสารที่ส่งมา และการโต้ตอบซึ่งกันและกัน ผู้รับสารอาจแสดงออกถึงการโต้แย้งหรืออาจสนับสนุนต่อแหล่งสาร ข่าวสาร ตามผลการสื่อสารที่เกิดขึ้น เพื่อทำให้แหล่งสารหรือผู้รับสารรับรู้ถึงทัศนะของผู้รับสาร การป้อนกลับถือได้ว่าเป็นตัวประเมินผลสำเร็จของกระบวนการสื่อสารในครั้งนั้น ๆ ได้ กล่าวคือ ถ้ากระบวนการสื่อสารครั้งนั้นประสบผลสำเร็จ การป้อนกลับจะเป็นผลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การสื่อสาร ถ้าการป้อนกลับไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การสื่อสารกระบวนการสื่อสารครั้งนั้นถือได้ว่าไม่ประสบผลสำเร็จ

2. กระบวนการการตลาด (Marketing Process)

2.1. กระบวนการการตลาด หมายถึง กระบวนการทางการจัดการในการบ่งชี้ วิเคราะห์ คัดเลือก และเสาะแสวงหาโอกาสทางการตลาด เพื่อที่จะสามารถทำให้ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของผู้ขายหรือผู้ผลิต ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนต่อไปนี้ คือ การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด การแบ่งส่วนตลาดและเลือกตลาดเป้าหมาย การพัฒนากลยุทธ์การตลาด การพัฒนาระบบข้อมูลและบุคลากรเพื่อการควบคุมและสนับสนุนทางการตลาด ซึ่งอาจแสดงขั้นตอนกระบวนการทางการตลาด

2.1.1. 2.1 การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด เป็นการที่ผู้บริหารจะต้องศึกษาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่อสาธารณชนที่เรียกว่า ตลาด ซึ่งการวิเคราะห์ในส่วนนี้อาจพิจารณาได้เป็น 4 ลักษณะ คือ โอกาสในการเจาะตลาด โอกาสในการพัฒนาตลาด โอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โอกาสในการขยายด้านอื่น ๆ

2.1.2. 2.2 การแบ่งส่วนตลาดและเลือกตลาดเป้าหมาย จากการวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด เป็นเพียงการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ที่จะนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดแล้วมีโอกาสประสบผลสำเร็จ

2.1.3. 2.3 การพัฒนากลยุทธ์การตลาด กลยุทธ์การตลาดถูกกำหนดและพัฒนาเพื่อดำเนินกิจกรรม ทางการตลาดให้ตอบสนองนโยบายของกิจการ และสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งกลยุทธ์การตลาดประกอบด้วย กลยุทธ์ส่วนประสมการตลาด 4 ด้าน คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมการตลาด

2.1.4. 2.4 พัฒนาระบบข้อมูลและบุคลากรเพื่อการควบคุมและสนับสนุนทางการตลาด การจัดการตลาดที่ดีต้องมีระบบงานในการติดตาม สนับสนุนและควบคุมได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้อาจพัฒนาระบบข้อมูลของตนขึ้นเองเพื่อใช้การวางแผนการตลาด และใช้เพื่อการตัดสินใจในกลยุทธ์การตลาดให้เหมาะสม การพัฒนาระบบข้อมูลอาจทำควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากร เพื่อสนับสนุนการเสนอขายผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพราะงานทั้ง 2 ลักษณะเป็นงานสนับสนุนที่มีส่วนให้กระบวนการตลาด สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและเหมาะสม

3. กระบวนการสื่อสารการตลาด (Marking Communication Process)

3.1. เป็นกระบวนการที่ผสมผสานกระบวนการสื่อสารกับกระบวนการทางการตลาดเข้าด้วยกัน สามารถแสดงถึงองค์ประกอบของกระบวนการสื่อสารการตลาด

3.1.1. 3.1 แหล่งสารหรือผู้ส่งสาร คือ บริษัทหรือผู้ขายหรือผู้ผลิต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ทำหน้าที่เข้ารหัสข่าวสารให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการสื่อสารทางการตลาด ได้แก่ การโน้มน้าวให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ตลอดจนให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสาร

3.1.2. 3.2 กระบวนการการตลาด คือ กระบวนการย่อยที่แหล่งสารหรือผู้ส่งสารดำเนินกิจกรรมทางการตลาด เพื่อใช้เป็นข้อมูลข่าวสารพื้นฐานที่สำคัญในการวางแผนและดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด ซึ่งผลลัพธ์จากขั้นตอนนี้คือ โอกาสและปัญหาทางการตลาด กลุ่มเป้าหมายหรือผู้รับสารหรือผู้บริโภค แนวทางในการดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด

3.1.3. 3.3 ข่าวสารและช่องทางข่าวสาร เป็นการวางแผนและดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเกี่ยวกับส่วนประสมการตลาด

3.1.3.1. 1)ด้านผลิตภัณฑ์ เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ หีบห่อ เลือกตราที่สื่อความหมายชัดเจนและเหมาะสมกับประเภทของผลิตภัณฑ์

3.1.3.2. 2)ด้านราคา เป็นการกำหนดระดับราคา กำหนดความแตกต่างของราคาของกิจการกับคู่แข่งขัน เพื่อให้สื่อความหมายถึงคุณภาพและความยุติธรรมที่ควรจะเป็น

3.1.3.3. 3) ด้านการจัดจำหน่ายและการแจกจ่ายตัวสินค้า เป็นการเลือกคนกลางที่จะทำ หน้าที่สื่อความหมายของกิจการและผลิตภัณฑ์ เลือกวิธีการขนส่ง การจัดเก็บการคลังสินค้าที่เหมาะสม

3.1.3.4. 4) ด้านการส่งเสริมการตลาดเป็น การกำหนดและดำเนินการสื่อความหมายให้ผู้ บริโภครับรู้ เข้าใจ สร้างหรือเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม ต่อภาพลักษณ์ของกิจการหรือต่อผลิตภัณฑ์ที่ขาย โดยการสื่อสารการตลาดผ่านส่วนประสมการส่งเสริมการตลาด อันได้แก่ การขายโดยบุคคล การส่งเสริมการขาย การโฆษณา และการประชาสัมพันธ์

3.1.4. 3.4 ผู้รับสาร เป็นกลุ่มผู้บริโภคหรือผู้บริโภคแต่ละคนที่ได้รับข่าวสารดังกล่าว ซึ่งผู้บริโภคนี้จะทำหน้าที่ถอดรหัสและแปลความหมายของข่าวสารที่ส่งมาจากแหล่งสารหรือบริษัท จากปัจจัยทั้งภายในและ fitness planners ภายนอกตัวผู้บริโภค ทั้งผู้บริโภคที่เป็นผู้บริโภคสุดท้าย (Ultimate Consumer) และผู้ใช้หรือซื้อสินค้าอุตสาหกรรม (Industrial User) ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน รวมทั้งผู้บริโภคบางส่วนอาจได้รับอิทธิพลจากการบอกต่อ (Words of Mouth) เป็นข่าวสารเพื่อการพิจารณาด้วย