กระบวนการสื่อสารการตลาด

Track and organize your meetings within your company

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
กระบวนการสื่อสารการตลาด by Mind Map: กระบวนการสื่อสารการตลาด

1. กระบวนการสื่อสาร (Communication Process)

1.1. องค์ประกอบของกระบวนการสื่อสารมี 6 ประการ คือ 1) แหล่งสารหรือผู้ส่งสาร (Source or Sender) 2) สารหรือข่าวสาร (Message or information) 3) ช่องทางข่าวสาร (Message Channel) 4) ผู้รับสาร (Receiver) 5) ผลการสื่อสาร (Effect) 6) การป้อนกลับหรือการสนองตอบ (Feedback or Response)

2. กระบวนการการตลาด (Marketing Process)

2.1. The Marketing Process กระบวนการทางการตลาด ประกอบด้วย 1. การวิเคราะห์-วิจัยตลาด หาโอกาสทางธุรกิจ เพื่อเข้าใจผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้า และสิ่ง ที่เขาต้องการ การทบทวนสถานะของธุรกิจ โดยการวิเคราะห์ตลาด และอุตสาหกรรม ในระดับมหภาค และจุลภาค 2. การวิเคราะห์ และ พัฒนากลยุทธ์การตลาด ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ ได้แก่ การวาง เป้าประสงค์ของบริษัท การวิเคราะห์หน่วยธุรกิจ และประเมินโอกาสทางการตลาด การ วางกลยุทธ์ทางการตลาด และผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์คู่แข่งและการวางตำแหน่งของ ผลิตภัณฑ์ 3. การกำหนดเป้ายอดขาย และเป้าหมายทางการตลาด มีความเฉพาะเจาะจง (Be specific) วัตถุประสงค์จะต้องมเป้าหมายที่เน้นเฉพาะ 4. การเลือกตลาดเป้าหมาย โดยการแบ่งตลาดรวมเป็นส่วนๆ เพื่อระบุถึงกลุ่มเป้าหมายที่ น่าสนใจ ช่วยในการตัดสินใจในการวางตำแหน่งทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ market positioning และ การวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า 5. พัฒนาส่วนประสมทางการตลาด โดยการวิเคราะห์ส่วนประสมคู่แข่งและแนวทางการทำ ตลาดของคู่แข่ง การจัดทำกลยุทธ์ และยุทธวิธีในการกำหนดส่วนประสมทางการตลาดที่ ระบุ The “Four Ps” – product, price, place, promotion (seller viewpoint) P ทั้ง 4 ในมุมมองของผู้ขาย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์/บริการ ราคา สถานที่/ช่องทางการจัดจำหน่าย และ การส่งเสริมการขาย The “Four Cs” – customer solution, cost, convenience, and communication (customer viewpoint) หรือคือ 4 C (ค) ในมุมมองของลูกค้า ได้แก่ (คลาย)การแก้ปัญหา (ค่าใช้จ่าย)ต้นทุนในการครอบครอง ความสะดวกสบาย และ (คุย) การติดต่อสื่อสาร 6. การสื่อสารทางการตลาด คือการทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้จัก/รับรู้และ ตอบรับผลิตภัณฑ์/บริการของบริษัท 7. แผนปฏิบัติการและงบประมาณการตลาด ครอบคลุมการวาง แผนการขาย

2.2. http://youtu.be/iVJNG58V6RM

3. กระบวนการสื่อสารการตลาด (Marking Communication Process)

3.1. เป็นกระบวนการที่ผสมผสานกระบวนการสื่อสารกับกระบวนการทางการตลาดเข้าด้วยกัน สามารถแสดงถึงองค์ประกอบของกระบวนการสื่อสารการตลาด ได้ดังนี้ 3.1 แหล่งสารหรือผู้ส่งสาร คือ บริษัทหรือผู้ขายหรือผู้ผลิต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ทำหน้าที่เข้ารหัสข่าวสารให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการสื่อสารทางการตลาด ได้แก่ การโน้มน้าวให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ตลอดจนให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสาร 3.2 กระบวนการการตลาด คือ กระบวนการย่อยที่แหล่งสารหรือผู้ส่งสารดำเนินกิจกรรมทางการตลาด เพื่อใช้เป็นข้อมูลข่าวสารพื้นฐานที่สำคัญในการวางแผนและดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด ซึ่งผลลัพธ์จากขั้นตอนนี้คือ โอกาสและปัญหาทางการตลาด กลุ่มเป้าหมายหรือผู้รับสารหรือผู้บริโภค แนวทางในการดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด 3.3 ข่าวสารและช่องทางข่าวสาร เป็นการวางแผนและดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเกี่ยวกับส่วนประสมการตลาด ได้แก่ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ หีบห่อ เลือกตราที่สื่อความหมาย ชัดเจนและเหมาะสมกับประเภทของผลิตภัณฑ์ 2) ด้านราคา เป็นการกำหนดระดับราคา กำหนดความแตกต่างของราคาของกิจ การกับคู่แข่งขัน เพื่อให้สื่อความหมายถึงคุณภาพและความยุติธรรมที่ควรจะเป็น 3) ด้านการจัดจำหน่ายและการแจกจ่ายตัวสินค้า เป็นการเลือกคนกลางที่จะทำ หน้าที่สื่อความหมายของกิจการและผลิตภัณฑ์ เลือกวิธีการขนส่ง การจัดเก็บการคลังสินค้าที่เหมาะสม ฯลฯ 4) ด้านการส่งเสริมการตลาด เป็นการกำหนดและดำเนินการสื่อความหมายให้ผู้ บริโภครับรู้ เข้าใจ สร้างหรือเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม ต่อภาพลักษณ์ของกิจการหรือต่อผลิตภัณฑ์ที่ขาย โดยการสื่อสารการตลาดผ่านส่วนประสมการส่งเสริมการตลาด อันได้แก่ การขายโดยบุคคล การส่งเสริมการขาย การโฆษณา และการประชาสัมพันธ์ 3.4 ผู้รับสาร เป็นกลุ่มผู้บริโภคหรือผู้บริโภคแต่ละคนที่ได้รับข่าวสารดังกล่าว ซึ่งผู้บริโภคนี้จะทำหน้าที่ถอดรหัสและแปลความหมายของข่าวสารที่ส่งมาจากแหล่งสารหรือบริษัท จากปัจจัยทั้งภายในและ fitness planners ภายนอกตัวผู้บริโภค ทั้งผู้บริโภคที่เป็นผู้บริโภคสุดท้าย (Ultimate Consumer) และผู้ใช้หรือซื้อสินค้าอุตสาหกรรม (Industrial User) ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน รวมทั้งผู้บริโภคบางส่วนอาจได้รับอิทธิพลจากการบอกต่อ (Words of Mouth) เป็นข่าวสารเพื่อการพิจารณาด้วย