1. แนวทางการแก้ปัญหาตามแผนพัฒนา
1.1. เศรษฐกิจ
1.1.1. ปรับเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูง มุ่งเป้าในการเร่งพัฒนาภาคการผลิตและบริการเป้าหมายรายสาขาที่สำคัญของประเทศ ได้แก่ 1) การยกระดับภาคการเกษตรสู่การผลิตสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการเพิ่มผลิตภาพ ลดการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ และเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตสู่อุตสาหกรรมอาหารมูลค่าสูง 2) การปรับเปลี่ยนภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็นภาคบริการที่สำคัญของไทยให้เป็นการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน 3) การเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์สู่ยานยนต์ไฟฟ้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน 4) การผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง 5) การดำเนินยุทธศาสตร์ให้ประเทศไทยเป็นประตูการค้าการลงทุนและยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค โดยเร่งยกระดับการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ ทั้งในและระหว่างประเทศ 6) การเร่งยกระดับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและอุตสาหกรรมดิจิทัลของอาเซียน
1.2. สังคม
1.2.1. มุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม
1.3. สิ่งแวดล้อม
1.3.1. เศรษฐกิจหมุนเวียนที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และสอดคล้องกับขีดความสามารถในการรองรับของระบบนิเวศ
2. ความหมายความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์
2.1. ความหมายฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ หรือปัญหา หาคำตอบ แสดงเหตุผล หรือลงข้อสรุปได้อย่างมีวิจารณญาณ รวมถึงสามารถสื่อสารได้อย่างเหมาะสม อ้างอิง สสวท.(2564).ฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คือ.สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.ipst.ac.th/news/12216/20210527_project14.html.
2.2. ความฉลาดรู้ทางวิทยาศาสตร์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคมโลกในลักษณะต่าง ๆ ทั้งในระดับบุคคล ระดับประเทศ หรือระดับโลก ประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างก็ต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความฉลาดรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้มีความพร้อม โดยมีประเด็นดังนี้ (Neni Hermita, Mahmud Alpusari, Jesi Alexander Alim and Elfis Suanto. (2020, p.61) 1) ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ให้ประโยชน์ต่อการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ในระดับบุคคลและให้คุณภาพชีวิตที่ดีแก่บุคคลทุกคน 2) การพัฒนาให้ผู้เรียนในระดับต่าง ๆ เกิดความเข้าใจและทักษะทางวิทยาศาสตร์มีผลต่อความสามารถและประสิทธิผลในการทำงานในอนาคต 3) ประเทศต่าง ๆ ต้องการองค์ความรู้และข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และวิธีคิดในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
3. ส่งผลต่อการพัฒนา
3.1. ด้านเศรษฐกิจ
3.1.1. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน: ประชากรที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์สามารถสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.1.2. ยกระดับผลิตภาพ: การใช้เทคโนโลยีและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
3.1.3. สร้างอาชีพใหม่: เกิดอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงสร้างงานที่มีมูลค่าเพิ่มสูง
3.2. ด้านสังคม
3.2.1. การตัดสินใจที่มีเหตุผล: ประชาชนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจบนพื้นฐานของหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
3.2.2. สุขภาพที่ดีขึ้น: ความเข้าใจเรื่องสุขภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์ช่วยให้ประชาชนดูแลสุขภาพได้ดีขึ้น
3.2.3. ลดความเหลื่อมล้ำ: การเข้าถึงความรู้และเทคโนโลยีช่วยลดช่องว่างทางสังคม
3.3. ด้านสิ่งแวดล้อม
3.3.1. การจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน: ความเข้าใจระบบนิเวศนำไปสู่การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
3.3.2. แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม: สามารถคิดค้นวิธีแก้ปัญหามลพิษและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
3.3.3. พัฒนาพลังงานสะอาด: ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์นำไปสู่การพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3.4. จากปัญหาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม และแนวทางการแก้ปัญหาในร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566-2570 นั้น หากประชาชนมีความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ประชาชนก็ตั้งคำถาม มีประสิทธิภาพการตัดสินใจของประชาชน ในระบอบประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสให้มีการถกเถียงและรับฟังกันด้วยเหตุผล อีกทั้งสามารถนำความรู้ความเข้าใจเชื่อมโยงความรู้ แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ และใช้ศักยภาพของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ การฉลาดรู้วิทยาศาสตร์นั้นคือความสามารถในการเข้าใจแง่มุมของวิทยาศาสตร์ทั้งในเรื่องธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และทัศนคติที่มีต่อวิทยาศาสตร์ ผู้ที่ฉลาดรู้วิทยาศาสตร์นั้น จะสามารถเข้าใจข้อเท็จจริง แนวคิดหลักและทฤษฎีสำคัญทางวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เกิดความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนกระบวนการในการสร้างความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้วิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาหรือนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนั้น ยังเป็นผู้ที่สามารถคิดวิเคราะห์ สื่อสารและโต้แย้งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล จะเห็นได้ว่า การฉลาดรู้วิทยาศาสตร์นั้น มีความสำคัญอย่างมากในยุคที่มีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฟันเฟืองสำคัญในการดำรงชีวิต เพราะ หากประชาชนมีความฉลาดรู้ทางวิทยาศาสตร์แล้ว จะสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต สิทธิโชค ทับทอง และหนึ่งฤทัย คณานนท์. (2566). การทบทวนแนวทางการพัฒนา “ความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์”ของการศึกษาไทย.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Journal: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/256310
3.4.1. เศรษฐกิจ สังคม
3.4.1.1. ทำไมเป็น "ชาวนา"ยิ่งทำยิ่งจน? เปิดปัญหากระดูกสันหลังของชาติ คนรวยยิ่งรวยขึ้นและคนจนยิ่งจนลง สังคมมีความเหลื่อมล้ำสูง คนที่อยู่ในกลุ่มคนจนส่วนใหญ่ได้แก่ เกษตรกร (ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน) ผู้ใช้แรงงาน และผู้หาเช้ากินค่ำ คนที่มีฐานะอย่างไร?จึงเรียกว่า"คนจน" นโยบายของรัฐบาลที่ขอให้ชาวนารับสภาพความเป็นจริงที่ต้องขายข้าวตามราคาตลาดโลก หรือนโยบายของสภาหอการค้าที่เสนอให้ราคาข้าวเป็นไปตามกลไกตลาด โดยรัฐบาลไม่ต้องเข้าไปแทรกแซง แท้จริงก็คือ"นโยบายที่กดให้ชาวนาจมปลักอยู่กับความยากจนตลอดไป"นั่นเอง ไม่มีทางช่วยให้ชาวนาพ้นจากความยากจนได้ เพราะการขายขาดทุนทุกฤดูคือโซ่ตรวนที่ทำให้ต้องยากจนตลอดไป แนวทางในการแก้ไขความยากจนของชาวนาไม่ต้องการความคิดที่วิเศษอะไร เป็นความคิดพื้นๆแต่ต้องทำให้เป็นจริงให้ได้นั่นคือ 1.ต้องทำให้ชาวนามีความรู้ ความสามารถในการเพิ่มผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด 2.ต้องทำให้ชาวนามีความรู้ ความสามารถในการลดต้นทุนการผลิต 3.ต้องทำให้ชาวนามีความรู้ในการเลือกพันธ์ข้าวที่ให้ผลตอบแทนสูง 4.ต้องทำให้ชาวนาขายข้าวได้กำไรในอัตราที่เหมาะสม ไม่ใช่ขายข้าวขาดทุนทุกปี ถ้าอาชีพทำนาต้องขายข้าวขาดทุนทุกปี เมื่อไหร่ที่ชาวนามีความรู้และมีทางเลือกอื่นชาวนาก็จะเลิกทำนา ไม่มีคนที่มีความรู้ที่ไหนจะเลือกอาชีพที่ต้องขาดทุนทุกปีหรอกครับ ถามตัวท่านเองก็ได้ถ้าท่านทำเองและต้องขาดทุนทุกปีท่านจะยังคงทำอยู่ต่อไปไหม? ที่มา https://www.facebook.com/Prof.SombatThamrongthanyawong/posts/1094343147273342
3.4.2. สิ่งแวดล้อม
3.4.2.1. ใช้ถุงผ้าลดโลกร้อนจริงไหม ? ภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จำเป็นต้องแจ้งข้อมูลบัญชีแสดงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ เพื่อรายงานความคืบหน้า ต่อสำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ทุก 2 ปี ซึ่งภาพรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยล่าสุดประกอบด้วย 1. ภาคพลังงาน ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด 69.06 % หรือคิดเป็นปริมาณ 257,340.89 GgCO2eq มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมพลังงาน 40.05% การขนส่ง 29.16% อุตสาหกรรมการผลิตและก่อสร้าง 20.24% และอื่นๆ 6.56% 2. ภาคเกษตร ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 15.69% หรือคิดเป็นปริมาณ 58,486.02 GgCO2eq มาจากการเพาะปลูกพืชเกษตร 77.57% การทำปศุสัตว์ 22.43% การเผาไหม้ชีวมวลจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร 2.92% การใส่ปุ๋ยยูเรีย 2.86 % 3. ภาคกระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 10.77% หรือคิดเป็นปริมาณ 40,118.14 GgCO2eq มาจากอุตสาหกรรมอโลหะ 51.28% อุตสาหกรรมเคมี 33.17% และ อุตสาหกรรมที่ใช้สารทำลายชั้นโอโซนที่ 13.33% 4. ภาคของเสีย ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 4.48% หรือคิดเป็นปริมาณ 16,703.68 GgCO2eq โดยในจำนวนนี้ มาจากกำจัดขยะมูลฝอย 52.53% การบำบัดน้ำเสีย 45.71% การกำจัดขยะด้วยการเผาในเตาเผา 1.08% และการบำบัดขยะมูลฝอยด้วยวิธีทางชีวภาพเพียง 0.68% ที่มา : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม https://climate.onep.go.th/th/topic/database/ghg-inventory/Thailand’s Fourth National Communication (NC4)
4. วิกฤตของโลก
4.1. ด้านเศรษฐกิจ
4.1.1. การชะลอตัวของเศรษฐกิจ: การระบาดของโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยว
4.1.2. อัตราการว่างงาน: อัตราการว่างงานในหลายประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
4.1.3. หนี้สาธารณะ: หลายประเทศต้องเพิ่มหนี้สาธารณะเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
4.2. ด้านสังคม
4.2.1. สังคมพลวัต : พฤติกรรมของประชากร ที่ปรับเปลี่ยนไปตามกระแสสังคมโลก ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม วิถีชีวิต
4.2.2. สังคมไร้พรมแดน: ส่งผลให้การเลื่อนไหลของคน ทุน ความรู้ เทคโนโลยี สินค้าและบริการ ที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกพื้นที่
4.2.3. ความไม่เท่าเทียมทางสังคม: วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจทำให้ความเหลื่อมล้ำในสังคมทวีความรุนแรงขึ้นโดยเฉพาะระหว่างกลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงกับกลุ่มที่มีฐานะต่ำ
4.2.4. การประท้วงและความไม่สงบ: ความไม่พอใจในระบบการเมืองและเศรษฐกิจทำให้เกิดการประท้วงในหลายพื้นที่
4.3. ด้านสิ่งแวดล้อม
4.3.1. การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม :- ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นวิกฤตที่สำคัญทั่วโลก เช่น การเกิดภัยแล้ง น้ำท่วม และพายุที่รุนแรงขึ้นซึ่ง ส่งผลกระทบต่อการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร - การขยายตัวของเศรษฐกิจและชุมชนเมืองส่งผลให้ทรัพยากรถูกทำลายและเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว - ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของประเทศมีแนวโน้มเสื่อมโทรมรุนแรง เนื่องจากการขยายตัวของจำนวนประชากร
4.3.2. มลพิษทางอากาศ: หลายเมืองใหญ่ทั่วโลกประสบปัญหามลพิษทางอากาศที่สูง ตัวอย่างเช่น กรุงนิวเดลีในอินเดีย ซึ่งมีค่าฝุ่นPM2.5 สูงเกินมาตรฐาน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
4.3.3. การจัดการขยะ: ปัญหาขยะพลาสติกเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงขึ้น เช่น ขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งทะเลส่งผลให้เกิดมลพิษในทะเลและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ
4.4. ด้านอื่นๆ เช่น ด้านสุขภาพ ด้านเทคโนโลยี
4.4.1. การระบาดของโรค: การระบาดของโควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพทั่วโลกทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่มีการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่จำกัด
4.4.2. ปัญหาสุขภาพจิต: ความเครียดจากวิกฤตเศรษฐกิจและการระบาดของโรคทำให้ปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ
4.4.3. ด้านเทคโนโลยี : ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างก้าวกระโดดส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเช่น ประเทศที่พัฒนาเทคโนโลยีได้ช้าจะกลายเป็นผู้ซื้อและมีผลิตภาพต่ำ ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ
4.5. อ้างอิง:วิกฤตของโลก (2567)สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2567,https://thestandard.co/humanity-5-years-away-from-irreversible-global- วิกฤตของโลก (2567)สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2567,crisis/https://www.finnomena.com/techtoro/financial-crisis/ วิกฤตของโลก (2567)สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2567,https://salforest.com/blog/global-risk-crisis วิกฤตโลกรวน (2567)สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2567,https://www.ccclfilmfestival.com/post/sos-food-security วิทยากร เชียงกูล. เศรษฐศาสตร์แนวใหม่ เพื่อชีวิตและระบบนิเวศที่สันติสุข.กรุงเทพธุรกิจ : 2556 (ร่าง)แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2560 - 2579 สำนักงาน กศน.
5. วิกฤตในประเทศไทย
5.1. ด้านเศรษฐกิจ
5.1.1. หนี้สินครัวเรือน: ความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชนลดลง ทำให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาทางการเงินในระยะยาว
5.1.2. การชะลอตัวของเศรษฐกิจ: การระบาดของโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงอย่างมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และบริการขนส่ง
5.1.3. การว่างงาน: อัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากธุรกิจหลายแห่งต้องปิดตัวลงหรือปรับลดจำนวนพนักงานเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากไม่มีงานทำ และขาดรายได้
5.2. ด้านสังคม
5.2.1. ปัญหาความยากจน: ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโควิด-19
5.2.2. ประชากรวัยแรงงาน: ประชากรวัยแรงงานมีสัดส่วนลดลง นำมาซึ่งปัญหาขาดแคลนกำลังแรงงานในประเทศ
5.2.3. ปัญหาสังคมสูงวัย : - สังคมไทยเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลายเป็น สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ - มีความเหลื่อมล้ำทางรายได้ - คนจนเพิ่มสูงขึ้นโอกาสในการหลุดพ้นจากจนมีแนวโน้มที่จะส่งต่อความยากจนข้ามรุ่นไปยังลูกหลาน และยังเป็นการตอกย้ำปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทย
5.2.4. ปัญหาสุขภาพจิต: การระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตในประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ เช่น ผู้ที่ตกงานหรือมีรายได้ลดลง
5.2.5. ปัญหาด้านการศึกษา : ความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการศึกษาและการพัฒนาทักษะแรงงานที่มีคุณภาพความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน และบริการสาธารณะ รวมไปถึงการขาดหลักประกันและสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่เพียงพอต่อการสร้างความมั่นคงในชีวิต
5.2.6. ความเสี่ยงจากภัยออนไลน์ : การถูกกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ การเข้าถึงสื่อลามก การติดเกม ทำให้เกิดความเครียด ความกังวล ความเศร้าโศก ความอับอาย สมาธิสั้น ส่งผลให้ผลการเรียนลดลงหรืออาจก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า
5.2.7. ความไม่เท่าเทียมทางสังคม: วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจทำให้ความเหลื่อมล้ำในสังคมทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะระหว่างกลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงกับกลุ่มที่มีฐานะต่ำ ซึ่งส่งผลให้โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาและการทำงานของประชาชนลดน้อยลง
5.3. ด้านสิ่งแวดล้อม
5.3.1. การจัดการของเสียการจัดการขยะ : ระบบการจัดการขยะในประเทศไทยยังมีความไม่เพียงพอทำให้เกิดปัญหาขยะล้นเมืองและมลพิษทางน้ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน
5.3.2. มลพิษทางอากาศ: - ปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพฯและพื้นที่เมืองใหญ่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ที่มีค่าฝุ่นPM2.5 สูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน - การปล่อยก๊าซเรือนกระจก - ภาวะโลกร้อน
5.3.3. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: ประเทศไทยประสบปัญหาภัยธรรมชาติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น น้ำท่วมและภัยแล้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเกษตรและวิถีชีวิตของประชาชน อ้างอิง : chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/ https://www.sscthailand.org/uploads_ssc/waytodevelopthaitobalanceandsustain_52.pdf