การพูดความสำคัญของการพูด

Solve your problems or get new ideas with basic brainstorming

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การพูดความสำคัญของการพูด by Mind Map: การพูดความสำคัญของการพูด

1. จุดมุ่งหมายของการพูด การพูดแต่ละครั้งมีจุดมุ่งหมายต่างกัน ผู้พูดจะต้องรู้จักจุดมุ่งหมายที่พูดได้อย่างถูกต้องตรงความต้องการของผู้ฟังมีนักพูดบางท่านเวลาพูดในโอกาสต่างๆ ไม่เข้าใจไม่รู้ซึ้งถึงความมุ่งหมายที่เขาต้องการให้พูด แต่กลับไปพูดนอกเรื่องที่ไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายที่วางไว้ ก็เป็นผลทำให้ผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่ายไม่ได้รับประโยชน์จากการฟังเท่าที่ควร เมื่อเป็นเช่นนี้นักพูดที่ดีจะต้องศึกษาวิเคราะห์ให้เข้าใจความมุ่งและวัตถุประสงค์ที่จะพูดแต่ละครั้งให้ชัดเจนและพูดตรงกับความมุ่งหมายที่วางไว้ โดยกำหนดได้ดังนี้ 1) การพูดเพื่อให้ความรู้หรือข้อเท็จจริงแก่ผู้ฟังการพูดแบบนี้เป็นการพูดโดยอาศัยข้อมูลต่าง ๆ ในเรื่องที่ผู้ฟังต้องการจะทราบ การพูดต้องพูดให้ตรงประเด็นและหัวข้อที่กำหนดให้ บางครั้งผู้พูดต้องเตรียมอุปกรณ์ประกอบการบรรยายไปด้วย เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้งในเรื่องที่พูดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การพูด เช่นนี้ส่วนมากจะใช้วิธีการพูดด้วยการบรรยาย อธิบาย พรรณนา เล่าเรื่อง ชี้แจง สาธิตและวิธีเสนอรายงาน ฯ 2) การพูดเพื่อโน้มน้าวจิตใจผู้ฟังการพูดแบบนี้ ผู้พูดจะต้องใช้ศิลปะในการพูดหลายๆ แบบเพื่อจูงใจให้ผู้ฟังเกิดความศรัทธาเลื่อมใสมีความคิดเห็นคล้อยตาม หรือกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้พูดตั้งความมุ่งหมายไว้ เช่น การพูดชักชวนให้เลื่อมใสในลัทธิทางศาสนา การพูดให้ประชาชนเลือกตนเองเป็นผู้แทนของนักการเมือง การพูดโฆษณาขายสินค้าของผู้แทนบริษัท ฯ 3) การพูดเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินหรือเพื่อจรรโลงใจแก่ผู้ฟังการพูดแบบนี้ ผู้พูดต้องเข้าใจว่าบรรยากาศในการพูดก็ดี ความต้องการของผู้ฟังก็ดี เป็นการพูดที่ผู้พูดจะต้องเน้นให้ผู้ฟังเกิดความสนุกสนานบันเทิงควบคู่ไปกับการได้รับความรู้สึกนึกคิดที่แปลกใหม่ เล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นการพูดในลักษณะเสริมสร้างความนึกคิดของผู้ฟังให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับจิตใจของผู้ฟังในทางที่ดีมีความสุขในขณะที่ฟังการพูด เช่น การกล่าวคำสดุดี กล่าวคำอวยพร กล่าวขอบคุณ หรือกล่าวคำปราศรัยในงานบันเทิงต่างๆ ที่จัดขึ้นในโอกาสต่างๆ 4) การพูดเพื่อหาทางแก้ปัญหาหรือคำตอบต่างๆกับการพูดแบบนี้ ผู้พูดจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่พูดได้เป็นอย่างดีหรือสามารถตอบปัญหาต่างๆ ที่ผู้ฟังสงสัยอยากจะรู้อยากจะฟังจากผู้พูด จึงเป็นการพูดในเชิงวิชาการหรือในแนวทางขจัดปัญหาข้อสงสัยต่างๆ ให้ปรากฏอย่างมีเหตุมีผล บางครั้งก็เป็นการพูดเพื่อตอบปัญหาของผู้ที่มีความสงสัยถามปัญหาขึ้นมา เช่น การพูดสัมมนาในทางวิชาการ การพูดตอบกระทู้คำถามของรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรี 5) การพูดเพื่อแนะนำและชี้แนะเรื่องต่างๆการพูดแบบนี้ เป็นการพูดในเวลาจำกัดตามลักษณะเรื่องแนะนำและเวลาที่จะอำนวยให้ ส่วนมากเป็นการพูดแนะนำบุคคล แนะนำการปฏิบัติงานและลักษณะของงานที่ทำของหน่วยต่างๆ การพูดให้คำแนะนำมุ่งการพูดเพื่อให้ผู้ฟังทราบเฉพาะข้อเท็จจริงต่างๆ อย่างย่อๆ พอกับเวลา ใช้กับการรายงานตัวของผู้ใต้บังคับบัญชาต่อผู้บังคับบัญชา การแนะนำสรุปงานในหน้าที่รับผิดชอบของผู้ใต้บังคับบัญชาต่อผู้บังคับบัญชาในโอกาสตรวจเยี่ยม ฯ

2. มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ การพูดในที่สาธารณะต้องรักษามารยาทให้มากกว่าการพูดระหว่างบุคคล เพราะการพูดในที่สาธารณะนั้น ย่อมมีผู้ฟังซึ่งมาจากที่ต่าง ๆ กัน มีวัยวุฒิ คุณวุฒิ และพื้นฐานความรู้ ความสนใจและรสนิยมต่างกันไป มารยาทในการพูดระหว่างบุคคลอาจนำมาใช้ได้และควรปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้ 1. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยเหมาะแก่โอกาสและสถานที่ 2. มาถึงสถานที่พูดให้ตรงเวลาหรือก่อนเวลาเล็กน้อย 3. ก่อนพูดควรแสดงความเคารพต่อผู้ฟังตามธรรมเนียมนิยม 4. ไม่แสดงกิริยาอาการอันไม่สมควรต่อหน้าที่ประชุม 5. ใช้คำพูดที่ให้เกียรติแก่ผู้ฟังเสมอ 6. ไม่พูดพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวของบุคคลอื่นในที่ประชุม 7. ไม่พูดหยาบโลนหรือตลกคะนอง 8. พูดให้ดังพอได้ยินทั่วกันและไม่พูดเกินเวลาที่กำหนด การสื่อสารด้วยการพูดไม่ว่าจะเป็นการพูดกับคนเพียงคนเดียวหรือพูดกับคนจำนวนมาก จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้พูดทุกคนต้องมีมารยาท ถ้าขาดหรือละเลยต่อมารยาทในการพูด แล้วอาจทำให้การพูดประสบความล้มเหลว หรือไม่ประสบความสำเร็จได้

3. มารยาทในการพูดระหว่างบุคคล มีดังนี้ 1. เรื่องที่พูดควรเป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่าย มีความสนใจและพอใจร่วมกัน 2. ไม่พูดเรื่องของตนเองมากจนเกินไป ควรฟังในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งพูด ไม่สอดแทรกเมื่อเขาพูดยังไม่จบ 3. พูดตรงประเด็น อาจออกนอกเรื่องบ้างพอผ่อนคลายอารมณ์ 4. เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่บังคับให้ผู้อื่นเชื่อหรือคิดเหมือนตน ฯลฯ

4. การพูด

4.1. การพูดของคนเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีหลักเกณฑ์ รู้จักกาลเวลา และที่สำคัญต้องคำนึงถึงมารยาทที่ดีในการพูดด้วย มารยาทในการพูดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. มารยาทในการพูดระหว่างบุคคล 2. มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ

4.1.1. การพูดมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอันมากไม่ว่าจะอยู่ที่ใดประกอบกับกิจการงานใดหรือคบหา สมาคมกับผู้ใด ผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจการงาน การคบหาสมาคมกับผู้อื่นตลอดจนการทำประโยชน์แก่สังคม ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีประสิทธิภาพในการพูดทั้งสิ้น การพูดมีความสำคัญต่อตนเอง เพราะถ้าผู้พูดมีศิลปะในการพูดก็จะเป็นคุณแก่ตนเอง ส่วนในด้านสังคมนั้น เนื่องจากเราต้องคบหาสมาคมและพึ่งพาอาศัยกัน การที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขนั้นจำเป็นต้องเป็นคนที่ “พูดดี” คือพูดไพเราะ น่าฟัง และพูดถูกต้องด้วย มารยาทในการพูด