สมเด็จพระเทพศิรินทร์ทราบรมราชินี

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
สมเด็จพระเทพศิรินทร์ทราบรมราชินี by Mind Map: สมเด็จพระเทพศิรินทร์ทราบรมราชินี

1. เมื่อสมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ สิ้นพระชนม์นั้น บรรดาฝรั่งพากันลดถึงครึ่งเสาให้สามวัน ซึ่งเห็นจะเป็น ครั้งแรกที่ปรากฏขึ้นในเมืองไทย ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระ ราชทานถึงพระยาศรีพิพัฒราชทูตฉบับหนึ่งมีข้อความว่า "...แม่เพยนี้ถึงในกรุงเทพฯ ท่านทั้งปวงว่าเป็นเจ้าเล็ก เจ้าน้อยก็ดีแต่ ในเมืองที่มาทำสัญญาไมตรี แลลูกค้าพาณิชต่างประเทศเป็นอันมาก เขานับถือว่า เป็นคนโตคน ใหญ่ ตั้งแต่วันสิ้นชีวิตลงแล้ว กงสุลต่างประเทศบรรดาที่มีธง เขาก็ลดธงครึ่งเสาให้สามวัน เรือกำปั่นที่จอดทอด อยู่ในแม่น้ำทุกลำ กงสุลก็ป่าวร้องให้ลดธงแลไขว้เชือกแดงสำแดงความให้รู้ว่าเศร้าโศกสามวัน...

2. ต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเถลิงถวัลย์ขึ้นครองสิริราชสมบัติจึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯเฉลิมพระนามพระอัฐิ เพื่อเป็นการสนองพระเดชพระคุณแด่องค์พระราชชนนีพันปีหลวง เป็น"กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์" และ ต่อมาในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ เฉลิมพระนามาภิไธยเป็น "สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี"

3. และอีกฉบับลงวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๐๔ มีข้อความว่า "....แม่เพย ไออาเจียนเป็นโลหิต ออกมา แต่หมอ ยังแก้ไข ก็ค่อยคลายมา โลหิตออกบ้างเล็กน้อย จางไปแล้ว ครั้น ณ วันอาทิตย์ ขึ้น สี่ค่ำ เดือนสิบ เวลากลางคืนเธอว่าค่อยสบายไอห่างไป นอนหลับได้มาก ตั้งแต่สามยาม ไปจนถึงสามโมงเช้า ครั้น ณ วันจันทร์ ขึ้นห้าค่ำ เดือนสิบ ตื่นขึ้นมาอีกที เวลาสามโมงเช้า รับประทาน อาหาร ได้ถ้วยฝาขนาดใหญ่ แล้วนั่งเล่นอยู่กับ บุตรคนเล็ก ไอเป็นโลหิตออกมา แล้วเกิดโลหิต พลุ่งพล่าน มากที่สุด ออกทั้งทางจมูกทางปาก หลายถ้วยแก้วกระบอก ไม่มีขณะหายใจพอโลหิตมากแล้ว ชีพจรทั้งตัวก็หยุดทีเดียว ไม่ฟื้นเลย ได้รับประทานจัดการไว้ศพในโกดังที่ตึกต้นสน...

4. สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ ทรงมีพระพลานามัยไม่ค่อยแข็งแรง ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๓๙๙ และ ยิ่งหลังจาก การประสูติสมเด็จเจ้าฟ้าชายภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระราชโอรสองค์ที่๔ ในปี พ.ศ.๒๔๐๒ ก็ทรงประชวรเรื่อย มา ดังปรากฎใน พระราชหัตถเลขาใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานถึง พระองค์เจ้า ปัทมราช ฉบับลงวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๐๓ ความว่า "...กระหม่อมฉันกับทั้งญาติพี่น้อง บุตร ภรรยา อยู่ ดีเป็นสุขสบายอยู่หมด แต่แม่รำเพยตั้งแต่ คลอดบุตรชายภาณุรังษีสว่างวงศ์ มาแล้ว ป่วยให้ไอ แลซูบผอม มากไป....."

5. สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ ทรงเป็นขัตติยนารีที่มีพระจริยวัตร อ่อนโยน เรียบร้อย เป็นที่ สนิทเสน่หา ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยิ่งนัก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเรียกพระ นามของพระองค์ว่า "รำเพย" บ้าง "แม่รำเพย" บ้าง "แม่เพย"บ้าง ดังปรากฏในลายพระราชหัตถเลขาถึงเจ้า จอมมารดาพึ่ง เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไป พระราชทานผ้าพระกฐิน ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ ดังนี้ ".....ลูกเมียและคนทั้งปวงที่มาด้วย ก็สบายอยู่หมดทุกคน ทูลพระองค์ลม่อมให้ทราบด้วยว่า ฟ้าชายฟ้าหญิงกับรำเพยสบายดี แม่พาลูกทั้งเล็กทั้งใหญ่ไปเที่ยวหลายแห่ง ก็ไม่เจ็บไข้อะไรดอก ...... "

6. มเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ ทรงประชวรด้วยโรควัณโรค จนเสด็จสู่สวรรคต ณ วันจันทร์ เดือน ๑๑ ขึ้น๕ค่ำ ปีระกา ตรีศก จุลศักราช๑๒๒๓ ตรงกับวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๔ พระชนมายุ ๒๘ พรรษา

7. ในปี พ.ศ.๒๕๑๙ ซึ่งเป็นปีที่ องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุอยู่ในช่วงวัย เบญจเพศ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา วัดเทพศิรินทราวาส ขึ้น ตามพระนามของสมเด็จพระ ราชชนนี เพื่อทรงเฉลิมพระเกียรติ และ ทรงอุทิศพระราชกุศลถวาย สนองพระเดชพระคุณแห่ง องค์สมเด็จ พระบรมราชชนนี และ สร้างพระพุทธรูปฉลองพระองค์ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ประดิษฐานใน พระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปยืนทรงเครื่องปางห้ามสมุทร สูง ๑.๗๓เมตร ฐานสูง ๔๕ เซนติเมตร

8. สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนี พระพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงเป็นพระธิดาใน สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอกรมหมื่นมา ตยาพิทักษ์ (พระองค์เจ้าศิริวงศ์) และ พระชนนีน้อย ประสูติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน๘ อุตราษฒ ขึ้น๑๒ ค่ำ ปีมะเมียจุลศักราช ๑๑๙๖ ตรงกับวันที่ ๑๗ กรกฏาคม พ.ศ .๒๓๗๗

9. เมื่อเสด็จเข้าไปประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง เสด็จอาผู้ทรงอภิบาลบำรุงได้จัดให้เสด็จขึ้นเฝ้า สมเด็จ พระบรมอัยยิกา อยู่เนืองนิจ เมื่อทรงมีอายุพอถวายงานพัดได้ ทรงได้รับการสอนจากเสด็จอา ให้รู้จักวิธี การถวายงานพัด แม้ขณะนั้นจะทรงพระเยาว์ (๕ พระชันษา) แต่ก็ถวายอยู่งานพัดถวายสมเด็จพระอัยยิ กา ได้อย่างดีและถูกแบบแผน เป็นโปรดปรานพอพระราชหฤทัยของสมเด็จ พระอัยยิกาธิราชเป็นยิ่งนัก สมเด็จพระอัยยิกาธิราชจึงทรงพระราชทานพระนามว่า "หม่อมเจ้าหญิงรำเพย" ซึ่งหมายถึงการพัดอย่าง โชยๆ ถูกแบบแผนราชประเพณี

10. มีเรื่องเล่ากันว่าพระภิกษุพระศรีสุทธิวงศ์ ได้ไปประเทศลังกาในขากลับได้นำเอาต้นไม้ชนิดหนึ่งเข้าถวาย สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์ทรงโปรดไม้นั้นมาก และ ได้พระราชทานชื่อไม้นั้นว่า"รำเพย"ตาม พระนามของพระเจ้าหลานเธอ

11. ครั้นล่วงเข้ารัชสมัยของ พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหามงกุฏฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เมื่อถึงปี พ.ศ.๒๓๙๕ สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระมเหสีของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จ สวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชทานสมมตยาภิเษก "หม่อมเจ้าหญิงรำเพย" ขึ้น เป็นพระราชเทวี ทรงพระนามว่า "พระนางเธอพระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์" ทรงดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสี และต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระอิสริยยศเป็นที่ "สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์

12. ข้อสังเกตุในพระนามของพระองค์ที่สมเด็จพระอัยยิกาธิราช(ร.๓) ทรงพระราชทานให้นั้นแปลว่า ลมเย็นที่พัดค่อยๆอ่อนๆ แต่ พระนามที่พระราชสวามี(ร.๔)ทรงพระราชทานนั้นแปลว่าทรงเป็น บุปผชาติที่เป็นที่ยินดีและเป็นที่พักพิงของมวลหมู่ภมร

13. สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดารวม ๔ พระองค์คือ ๑. สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ต่อมาเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เป็น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ๒. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑลโสภณภควดี ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯเฉลิมพระนามอัฐิ เป็น สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงวิสุทธิกษัตริย์ ๓. สมเด็จเจ้าฟ้าชายจาตุรนต์รัศมี ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้น เป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์ ๔. สมเด็จเจ้าฟ้าชายภาณุรังษีสว่างวงศ์ ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้น เป็น สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช

14. และอีกฉบับลงวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๐๔ มีข้อความว่า "....แม่เพย ไออาเจียนเป็นโลหิต ออกมา แต่หมอ ยังแก้ไข ก็ค่อยคลายมา โลหิตออกบ้างเล็กน้อย จางไปแล้ว ครั้น ณ วันอาทิตย์ ขึ้น สี่ค่ำ เดือนสิบ เวลากลางคืนเธอว่าค่อยสบายไอห่างไป นอนหลับได้มาก ตั้งแต่สามยาม ไปจนถึงสามโมงเช้า ครั้น ณ วันจันทร์ ขึ้นห้าค่ำ เดือนสิบ ตื่นขึ้นมาอีกที เวลาสามโมงเช้า รับประทาน อาหาร ได้ถ้วยฝาขนาดใหญ่ แล้วนั่งเล่นอยู่กับ บุตรคนเล็ก ไอเป็นโลหิตออกมา แล้วเกิดโลหิต พลุ่งพล่าน มากที่สุด ออกทั้งทางจมูกทางปาก หลายถ้วยแก้วกระบอก ไม่มีขณะหายใจพอโลหิตมากแล้ว ชีพจรทั้งตัวก็หยุดทีเดียว ไม่ฟื้นเลย ได้รับประทานจัดการไว้ศพในโกดังที่ตึกต้นสน...