การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
by บวรภัค กัณหาโยธี
1. การใช้ผ้าสามเหลี่ยม ( Triangular bandages)
1.1. การใช้ผ้าสามเหลี่ยม เมื่อมีบาดแผลต้องใช้ผ้าพันแผล
1.1.1. 1. การคล้องแขน
1.1.2. 2. การพันมือ
2. บาดแผล
2.1. แผลตื้นหรือแผลมีดบาด (เลือดออกไม่มาก)
2.1.1. 1. บีบให้เลือดชะเอาสิ่งสกปรกออกมาบ้าง
2.1.2. 2. ถ้ามีฝุ่นผงหรือสกปรก ต้องล้างออกด้วยน้ำสุกกับสบู่
2.1.3. 3. ใส่ ทิงเจอร์ใส่แผลสด หรือ น้ำยาโพวิโดนไอโอดีน
2.1.4. 4. พันรัดให้ขอบแผลติดกัน
2.1.5. 5. ควรทำความสะอาดแผลและเปลี่ยนผ้ากอซวันละ 1 ครั้ง จนกว่าแผลจะหาย
3. ผงเข้าตา
3.1. ห้ามขยี้ตา
3.2. รีบลืมตาในน้ำสะอาด
3.3. กลอกตาไปมาหรือเทน้ำให้ไหลผ่านตา
3.4. ที่ถ่างหนังตาไว้ ถ้ายังไม่ออก ให้คนช่วยใช้มุมผ้าเช็ดหน้าที่สะอาดเขี่ยผงออกถ้าไม่ออก ควรรีบไปหาหมอ
4. ความดันต่ำ หน้ามืด เวียนศีรษะ
4.1. 1. ถ้ามีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง, ปวดท้องหรืออาเจียนรุนแรง, ถ่ายอุจจาระดำ,ใจหวิวใจสั่น, ชีพจรเต้นเร็ว, เหงื่อแตกท่วมตัว, หรือลุกนั่งมีอาการเป็นลม ต้องไปหาหมอโดยเร็ว.
4.2. 2. ถ้าไม่มีอาการในข้อ 1 ให้ปฏิบัติดังนี้
4.2.1. 2.1 ให้นอนลงสักครู่ แล้วลุกขึ้นใหม่โดยลุกช้าๆ อย่าลุกพรวดพราด เช่น ค่อยๆ ลุกจากท่านอน เป็นท่านั่ง แล้วนั่งพักสักครู่ ขยับและเกร็งขาหลายๆ ครั้ง, แล้วค่อย ๆ ลุกขึ้นยืน, ยืนนิ่งอยู่ สักครู่ แล้วจึงค่อยเดิน
4.2.2. 2.2 ถ้ายังมีอาการให้กินยาหอม หรือกดจุด
4.3. 3. ถ้าเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ควรไปหาหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุ
4.4. การป้องกัน
4.4.1. ให้ออกกำลังกายเพิ่มขึ้นทีละน้อย, นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ, และดื่มน้ำมาก ๆ
5. สุนัขกัด
5.1. 1. ให้รีบทำแผลทันที โดยล้างแผลด้วยน้ำสะอาด, ฟอกสบู่หลายๆ ครั้ง,แล้วชะแผลด้วย แอลกอฮอล์ หรือ ทิงเจอร์ใส่แผลสด หรือ น้ำยาโพวิโดนไอโอดีน
5.2. 2. รีบพาไปหาหมอ เพื่อพิจารณาฉีดยาป้องกันบาดทะยัก, ฉีดยาป้องกันโรคกลัวน้ำและใช้ ยาปฏิชีวนะ
6. การห้ามเลือด
6.1. 1.ถ้าบาดแผลเล็ก กดปากแผลด้วยผ้าสะอาด แล้วพันให้แน่น
6.2. 2. ถ้าบาดแผลใหญ่ เลือดออกพุ่ง ทำตามข้อ 1 แล้วเลือดยังไม่หยุด ใช้ผ้า เชือกหรือสายยางรัดเหนือแผล(ระหว่างบาดแผลกับหัวใจ) ให้แน่นพอที่เลือดหยุดไหลเท่านั้น โดยอวัยวะส่วนปลายไม่เขียวคล้ำ หรือถ้าเป็นเลือดพุ่งออกมาจากปลายหลอดเลือดที่ขาดอยู่ ให้ใช้ก้อนผ้าเล็กๆ กดลงตรงนั้นเลือดจะหยุดได้
6.3. 3. ยกส่วนที่มีเลือดออกให้สูงไว้
7. การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในขณะนั้น ก่อนที่ผู้บาดเจ็บจะได้รับการดูแลรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาล
7.1. Forosemid, Bumetanid
7.2. นำไปใช้ : รักษา K
8. การปฐมพยาบาลมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ
8.1. 1. เพื่อช่วยชีวิต
8.2. 2. เพื่อเป็นการลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย
8.3. 3. เพื่อทำให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมาน และช่วยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
8.4. 4. เพื่อป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลังการปฐมพยาบาลแบบต่าง
9. แผลงูพิษกัด
9.1. 1. ดูรอยแผล ถ้างูไม่มีพิษแผลจะเป็นรอยถลอก ให้ทำแผลแบบ แผลถลอก แล้วถ้าแผลไม่ลุกลามหรือไม่มีอาการอื่น ไม่ต้องไปหาหมอ แผลจะหายเอง ถ้างูมีพิษจะมีรอยเขี้ยว 1 หรือ 2 จุด ให้รักษาตามข้อ 2-7
9.2. 2. พูดปลอบใจอย่าให้กลัวหรือตกใจ, ให้นอนนิ่งๆ, ถ้าจำเป็นให้เคลื่อนไหวน้อยที่สุด
9.3. 3. ห้ามให้ดื่มเหล้า ยาดองเหล้า หรือยากล่อมประสาท
9.4. 4. ห้ามใช้มีดกรีดปากแผล ห้ามบีบเค้นบริเวณแผล เพราะจะทำให้แผลช้ำสกปรก และทำให้พิษกระจายเร็วขึ้น.
9.5. 5. ห้ามขันชะเนาะรัดแขนหรือขา เพราะจะเกิดอันตรายมากขึ้น
9.6. 6. รีบพาไปหาหมอ, ถ้าเป็นไปได้ควรนำซากงูที่กัดไปด้วย
9.7. 7. ถ้าหยุดหายใจ ให้ เป่าปากช่วยหายใจ