บทที่ 9 แนวทางศึกษาวรรณคดี

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
บทที่ 9 แนวทางศึกษาวรรณคดี by Mind Map: บทที่ 9 แนวทางศึกษาวรรณคดี

1. 1. วรรณคดีวิจักษณ์ (Literary Appreciation)

1.1. วิจักษณ์แปลว่ารู้แจ้ง เห็นจริง เข้าใจ กล่าวง่ายๆว่า วรรณคดีวิจักษณ์เป็นเรื่องราวความซาบซึ้งในวรรณคดี

1.2. พฤติกรรมที่แสดงออกซึ่ง ความซาบซึ้งในวรรณคดี

1.2.1. 1. สามารถรับสารที่ผู้เขียนต้องการจะบอกได้

1.2.2. 2. สามารถเชื่อมโยงเรื่องราวในงานเขียน กับโลกความจริงได้

1.2.3. 3. อ่านแล้วเกิดอารมณ์สะเทือนใจ

1.2.4. 4. เห็นความงานแห่งถ้อยคำ

1.2.5. 5. อ่านแล้วประเมินได้ว่าสิ่งที่อ่านมีค่าที่ตรงไหน และดีอย่างไร

1.3. การฝึกฝนการวิจักษณ์

1.3.1. 1. พึงมีทัศนคติที่ดีต่อวรรณคดี

1.3.1.1. ตระหนักว่าวรรณคดีมีคุณค่าอนันต์ ความรู้จักและเข้าใจวรรณคดีก็เหมือนเข้าใจโลก ศึกษาเพื่อความสุขใจและเพื่อประเทืองปัญญา

1.3.1.2. ก่อนอ่านให้สลัดข้อขัดแย้งหรืออคติออกไปก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจไขว้เขว

1.3.2. 2. พึงทำความเข้าใจกับศัพท์ เสียก่อนเป็นเบื้องแรก

1.3.2.1. วรรณคดีส่วนมากเต็มไปด้วยศัพท์ยากแก่การเข้าใจ ก่อนอ่านจึงควรศึกษาความหมายไว้บ้าง

1.3.3. 3. การอ่านวรรณคดีจะอ่านผ่านๆ หรืออ่านเร็วๆอย่างหนังสือทั่วไปไม่ได้

1.3.3.1. เพราะวรรณคดีมีความหมายและความงามบรรจุอยู่ทุกคำ ต้องอ่านช้าๆ ด้วยใจที่สงบ อ่านไป คิดไป รับรสชาติแห่งความงามไปเรื่อยๆ

1.3.4. 4. การอ่านวรรณคดีร้อยกรองพึงอ่าน เป็นทำนองเสนาะ

1.3.4.1. ความงดงามของร้อยกรองส่วนหนึ่งอยู่ที่เสียงเสนาะ การอ่านในใจจึงเป็นการละเลยความงามส่วนนี้ไปอย่างน่าเสียดาย

1.3.5. 5. พึงสร้างความคิดคำนึงและความสำนึก ร่วมกับกวี

1.3.5.1. งานเขียนควรเกิดจากประสบการณ์ร่วมกับจินตนาการของผู้เขียน การเข้าใจผู้ขียนจะทำให้ซาบซึ่งเข้าใจมากยิ่งขึ้น

1.3.6. 6. พึงเชื่อมโยงวรรณคดีเข้ากับโลกและชีวิต

1.3.6.1. วรรณคดีมีความสัมพันธ์กับศิลปะศาสตร์อื่นๆที่มีผลต่อความรู้สึกและชีวิตของกวี

1.3.7. 7. พึงทำความเข้าใจกับลักษณะพิเศษ ของภาษาวรรณดคีหรือภาษากวี

1.3.7.1. เพราะภาษากวีมุ่งไปที่ความงดงาม มีการปรุงแต่ง มีลักษณะผิดแผกจากภาษาทั่วไป

1.3.8. 8. พึงมีทัศนะเชิงวิเคราะห์วิจารณ์

1.3.8.1. อย่าสักแต่อ่าน แต่ต้องให้เหตุผลในการอ่าน รู้จักจำแนกแยกแยะให้เห็นรายละเอียด

2. 4. วรรณคดีเปรียบเทียบ (Comparative Literature)

2.1. มุ่งศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย เกี่ยวกับความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างวรรณคดีนานาชาติ ด้วยจุดประสงค์ที่จะแสดงเอกภาพ คือส่วนที่คล้ายคลึงกันของวรรณคดี แต่ในขณะเดียวกันก็ชี้เห็นส่วนแตกต่างกันเนื่องมาจากวัฒนธรรม อารยธรรมและสังคมของแต่ละชาติ

2.2. การศึกษา ทำได้ 2 แนวทาง

2.2.1. 1. เปรียบเทียบแนวตั้ง : อาศัยเหตุการณ์ตามประวัติศาสตร์ มีการเปรียบเทียบวรรณคดีต่างสมัยกัน

2.2.2. 2. เปรียบเทียบในแนวนอน : ระหว่างชาติซึ่งมีลักษณะร่วมกัน

3. 2. วรรณคดีวิเคราะห์ (The Analysis of Literature)

3.1. การศึกษาวรรณคดีใให้ได้คุณค่ามากกว่าการวิจักษณ์ที่มองโดยภาพรวม แต่วิเคราะห์เป็นการศึกษาส่วนประกอบ

3.2. กระแสร์ มาลยาภรณ์ เสนอแนวทางการวิเคราะห์ ไว้ว่าองค์ประกอบของวรรณคดีมีดังนี้

3.2.1. 1. องค์ประกอบ

3.2.2. 2. สัมพันธภาพ

3.2.3. 3. หลักการสร้างงาน

3.3. สุรีย์ โรจน์สกุลพานิช กำหนดประเด็นการวิเคราะห์ไว้ดังนี้

3.3.1. 1. วิเคราะห์รูปแบบ

3.3.2. 2. วิเคราะห์ลีลาท่วงทำนองเขียน

3.3.3. 3. วิเคราะห์แนวความคิดและจุดมุ่งหมายในการแต่ง

3.3.4. 4. วิเคราะห์คุณค่าในด้านสุนทียะ

3.3.4.1. 4.1 การใช้คำและภาษา

3.3.4.2. 4.2 ประดิษฐการ

3.3.5. 5. คุณค่าด้านอื่นๆ

4. 3. วรรณคดีวิจารณ์ (Literary Criticism)

4.1. มีวรรณคดีวิจารณ์ มีขอบเขตดังนี้

4.1.1. 1. พิจารณาทฤษฏีเกี่ยวกับวรรณคดี

4.1.2. 2. อธิบายลลักษณะของวรรณคดี ที่นำมาวิจารณ์และตัดสินประเมินค่า

4.2. หน้าที่ของนักวิจารณ์

4.2.1. 1. การอธิบายลักษณะหนังสือ หรือการวินิจฉัยสาร

4.2.2. 2. การตัดสินประเมินคุณค่า

4.3. แนวทางการวิจารณ์วรรณคดีโดยสังเขป

4.3.1. การวินิจฉัยสาร (Interpretation)

4.3.1.1. การิวจารณ์แนวจิตวิทยา

4.3.1.2. การวิจารณ์แนวสุนทรียศาสตร์

4.3.1.3. การวิจารณ์แนวสังคม

4.3.1.4. การวิจารณ์แนวปรัชญา

4.3.1.5. การวิจารณ์แนวชีวประวัติ

4.3.2. การตัดสินประเมินค่า (Judgement)

4.3.2.1. การเลียนแบบ

4.3.2.2. การแสดงออก

4.3.2.3. โครงสร้าง

4.3.2.4. ผลสะท้อน

4.3.2.4.1. ผลสะท้อนทางอารมณ์

4.3.2.4.2. ผลสะท้อนทางสติปัญญา