ระบบลีน Lean System

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ระบบลีน Lean System by Mind Map: ระบบลีน Lean System

1. 2.การสูญเปล่าจากการรอคอย

1.1. สาเหตุ เนื่องจากเวลาทำเอกสารสั่งซื้อ จะต้องมีลายเซ็นของผู้จัดการฝ่ายขาย และฝ่ายจัดซื้อ ไม่งั้นทางฝ่ายจัดซื้อจะ ไม่สั่งของให้ แต่เนื่องจากนายเข้าออฟฟิต บ้างไม่เข้าบ้าง บางทีนายไม่อยู่ทั้ง 2 คน ทำให้เสียเวลารอเป็นวันๆ ทำให้เกิดการ ล่าช้าและมีโอกาสที่ของจะได้ไม่ทันตาม Schdule ของลูกค้า ส่งผลให้บริษัทเสีย โอกาสในการทำยอดขายเพิ่ม

1.1.1. แนวทางแก้ไข ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น Line, WhatsApp โดยส่งใบสั่งซื้อให้ผู้จัดการแต่ละฝ่าย Approved เพื่อที่ฝ่ายจัดซื้อจะได้ดำเนินงานต่อไป และฝ่ายขายก็จะได้มีกำลังใจในการหายอดขาย เนื่องจากไม่ต้องกังวลว่าไปเอา Order มาแล้วจะไม่สามารถส่งสินค้าให้ทันตาม Schdule

2. 4.การสูญเปล่าจากกระบวนการผลิต

2.1. สาเหตุ สูญเปล่าจากกระบวนการผลิต สาเหตุ เนื่องจากฝ่ายผลิตมาเบิกวัตถุดิบ หน่วยเบิกจ่ายจะต้องมาเบิกของที่ Stock ฝ่าย Stock ทำการนับแล้วจัดส่งให้หน่วยเบิกจ่าย หน่วยเบิกจ่ายนับจำนวนอีกครั้งก่อนส่งมอบให้ฝ่ายผลิต ฝ่ายผลิตรับไปและนับจำนวนอีกครั้ง ทำให้เกิดการทำงานที่ซ้ำซ้อน และเป็นการทำงานที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิตที่เพิ่มขึ้น

2.1.1. แนวทางแก้ไข ต้องใช้ให้ฝ่ายผลิตมาเบิกของที่ Stock โดยตรง และให้หน่วยเบิก จ่ายไปทำหน้าที่ตัดยอดวัตถุดิบ ออกจากระบบ เพื่อลดขั้นตอนการ ทำงานที่มากเกินความจำเป็น

2.2. สาเหตุ บริษัท Garment ด้วยความที่เป็นบริษัทเล็ก ไม่มีโรงงานขึ้นรูป ทำให้เวลาที่ลูกค้ามาสั่งเสื้อ จะต้องนำผ้าเป็นม้วนๆส่งให้กับ Outsoruce ขึ้นรูปเป็นตัวๆมา ซึ่งบางครั้งเวลาที่เค้ามาส่งเสื้อไม่ผ่าน QC อย่างเช่นสั่งเสื้อไป 100 ตัว ไม่ผ่าน 10 ตัว ต้องส่งกลับไปแก้ไขใหม่ ทำให้พนักงานเราที่รอขึ้นเครื่องจักรเพื่อที่จะสกรีนโลโก้ ต้องมาทำงานซ้ำซ้อน ทำงานหลายรอบ แทนที่จะสกรีนได้เสร็จใน 100 ตัวทีเดียว ทำให้เกิดการล่าช้า เพราะในทุกๆวันก็จะต้องมีงานใหม่ๆเข้ามา

2.2.1. แนวทางแก้ไข หา Outsource หลายใหม่ หรือหา Supplier หลายๆเจ้าเพื่อเป็นแนวทางเลือกในการทำงาน เพื่อใหได้ผลตามที่ตั้งเป้าไว้ และเกิดการสูญเปล่าให้น้อยที่สุด

3. 6.การสูญเปล่าจากการจากการเคลื่อนที่ (เคลื่นไหวอวัยวะ จากการทำงาน)

3.1. สาเหตุ โรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) เมื่อล้าจากการนั่งทำงานเป็นเวลานานการ ใช้แขนหรือมือ ในการทำงานไม่สมดุลกัน การใช้แขน ข้างเดียวซ่ำๆ หรือ นั่งท่าเดียว เป็นเวลานาน

3.1.1. แนวทางแก้ไข พักสายตาจากหน้าจอดอมพิวเตอร์ พักสายตาจากหน้าจอทุกๆ 15 นาที ทุกๆ 2 ชั่วโมง โดนการหลับตาหรือ มองไกล จะช่วยถนอมสายตาได้

3.1.2. แนวทางแก้ไข ปรับแสงหน้าจอ และ แสงสว่าง ภายในที่ทำงานให้เหมาะสม ไม่ สว่าง หรือ มืดจนเกินไป

3.2. สาเหตุ เมื่อล้าจากการนั่งทำงาน เป็นเวลานานการใช้แขนหรือมือ ในการทำงานไม่สมดุลกัน การใช้ แขนข้างเดียวซ่ำๆ หรือ นั่งท่าเดียว เป็นเวลานาน

3.2.1. แนวทางแก้ไข บริษัทมีนโยบาย พัก 30 นาที โดยแบ่งช่วงเช้า เวลา 10.00-10.15น. และช่วงบ่าย เวลา 15.00-15.15น. เพื่อลดอาการเมื่อล้า และ ลดความตึงเครียด

3.3. สาเหตุ การวางผลิตภัณฑ์ที่สูงเกินกว่า ที่จะหยิบได้จนต้องมีการใช้เก้า อี้มาลองเพื่อหยิบ

3.3.1. แนวทางแก้ไข ควรวางผลิตภัณฑ์ให้อยู่ใน ระดับที่สามารถหยิบใช้ได้สะดวกโดยที่ไม่ ต้องให้ร่างกายเคลื่อนไหวมากเกินไป

4. 3.การสูญเปล่าจากการขนส่ง

4.1. สาเหตุ บริษัทผลิตสินค้า Postcard เมื่อผลิตสินค้าเสร็จแล้วขนสินค้าจาก ชั้นล่าไปเก็บไว้ Stock ไว้ชั้น 2 โดย ใช้แรงงานคนในการขนย้าย (แบบกองทับมด)ทำให้เกิดความเสีย หายจากการขนย้าย เช่น ฉีก ขาด หรือ เปรอะเปื้อน เป็นต้น

4.1.1. แนวทางแก้ไข จัดหาอุปกรณ์ที่ช่วยในการขนย้าย เช่น ลิฟท์ จะทำให้สินค้ามีความเสี่ยง น้อยลงไม่ว่าจะ ฉีก ขาด ทำให้ขนส่ง สินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.2. สาเหตุ มีการจัดส่งวัสดุให้หน่วยงานต่างๆ ของโรงพยาบาล แต่งรถส่งของได้เพียงคันเดียว บางหน่วยงานเบิกของจำนานมาก บางหน่วยงานเบิกของเพียง 1 ชิ้น ต้องเสีย เวลาไปส่งของให้เบิกของแค่เพียงชิ้นเดียวด้วย

4.2.1. แนวทางแก้ไข เพิ่มจำนวนรถส่งของ เพื่อให้เพียงพอกับ การใช้งาน กำหนดระยะเวลาในการส่งของ เหลือเพียง 2 วันต่อสัปดาห์

5. 7.การสูญเปล่าเนื่องจากของเสีย

5.1. สาเหตุ โรงงานผลิตตู้ Rack Network สินค้าหลุด QC เมื่อนำไปใช้งาน แล้วตู้ Rack เกิดปัญหา ตู้เอียง บุบ หรือ งอ ซึ่งเกิดจาการผลิต ทำให้ส่งจำหน่ายไม่ได้

5.1.1. แนวทางแก้ไข เพิ่มมาตรการ ขั้นตอนการตรวจสินค้า ให้เข็มงวดยิ่งขึ้น พัฒนาบุคลากรในการ ปฏิบัติงานให้มีความเชี่ยวชาญยิ่งขึ้น หมั่นตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักร มีความสมบูรณ์พร้อมผลิต

6. 5.การสูญเปล่าเนื่องจาก การมีสินค้าคงคลังมากเกินไป

6.1. สาเหตุ ทางโรงพยาบาล สั่งวัสดุทางการแพทย์ เพื่อมาเก็บ Stock ให้ใช้กับผู้ป่วย ซึ่ง วัสดุทางการแพทย์บางตัวใช้ไม่ทัน ทำผลิตภัณฑ์หมดอายุ ก่อนที่จะใช้งาน และยังไม่สามารถ Claim กับ Dealer ได้

6.1.1. แนวทางการแก้ไข ต้องคำนวนปริมาณการใช้ผลิตภัณฑ์ และ สำรองแค่พอใช้ ต้องตรวจสอบ วันหมดอายุอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้ ติดต่อไปยัง Dealer ขอ Clam ผลิตภัณฑ์

7. 1.การสูญเปล่าจากการผลิตมากเกินไป

7.1. สาเหตุ เนื่องจากบริษัทจำหน่ายโคมไฟ เอายอดขายของปีที่แล้วมาตั้งเป้า ทำให้ มีการผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในโคมไฟไม่ว่าจะ เป็นบัลลาสต์ สตาร์ทเตอร์เป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะมีสินค้าไว้พร้อมขาย แต่เนื่องด้วย ตลาดเปลี่ยนเทรนด์ ทำให้ลูกค้าหันมา สนใจในเรื่องของการประหยัดพลังงาน มากขึ้น จึงหันมาใช้หลอด LED ซึ่งไม่ต้อง ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ตัวอื่น ทำให้มีวัสดุคงคลัง มากเกินความต้องการ ส่งผลให้เกิดต้นทุนจม

7.1.1. แนวทางแก้ไข ผลิตตามความต้องการของลูกค้า (Make to order) เท่านั้น มีการกำหนดระดับในการจัดเก็บ เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้า เอาสินค้าที่ค้างมาทำ Promotion โดยที่กำไรน้อยแต่ไม่ขาดทุน เพื่อที่เอาเงินตัวนี้ไปจับตลาดใหม่และหมุนวียนในกิจการต่อไป

8. สมาชิกกลุ่ม 1. ธวัลรัตน์ ภู่ประเสริฐ รหัส 5814191132 2. นันทกา วันดี รหัส 5814991019 3. ฐิตาพรวดี ลิ้มปาน รหัส 5814991015 4. ยุพิน ทองพวา รหัส 5814191127 5. ชินณัฐศิกานต์ พลสังข์ รหัส 5814191098 6. พรชฏา แซ่ว่อง รหัส 5814990013