การสื่อสารข้อมูล

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การสื่อสารข้อมูล by Mind Map: การสื่อสารข้อมูล

1. การถ่ายโอนข้อมูล

1.1. การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน

1.1.1. ทําได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละหลายบิตพร้อมกันจากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ผ่านสื่อกลางนําสัญญาณที่มีช่องทางส่งข้อมูลหลายช่องทาง

1.2. การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม

1.2.1. ข้อมูลจะถูกส่งออกมาทีละบิต ระหว่างจุดส่งและจุดรับ การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมต้องการสื่อกลางสําหรับการสื่อสารเพียงช่องเดียวหรือเพียงคู่สายเดียว ค่าใช้จ่ายในด้านของสายสัญญาณจะถูกกว่าแบบขนานสําหรับการส่งระยะทางไกลๆ

2. บทบาทของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

2.1. ความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูล

2.2. ความถูกต้องของข้อมูล

2.3. ความเร็วของการรับส่งข้อมูล

2.4. การประหยัดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารข้อมูล

2.5. ความสะดวกในการแบ่งปันทรัพยากร

2.6. ความสะดวกในการประสานงาน

2.7. ขยายบริการขององค์กร

2.8. การสร้างบริการรูปแบบใหม่บนเครือข่าย

3. รูปแบบการรับ-ส่งข้อมูล

3.1. การสื่อสารทางเดียว (simplex transmission)

3.1.1. ข้อมูลสามารถส่งได้ทางเดียว โดยแต่ ละฝ่ายจะทําหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง

3.2. การสื่อสารสองทางครึ่งอัตรา  (halfduplextransmission)

3.2.1. สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งสองฝ่าย แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้

3.3. การสื่อสารสองทางเต็มอัตรา (fullduplextransmission)

3.3.1. สามารถส่งข้อมูลได้สองทางโดยที่ผู้รับและผู้ส่งสามารถรับส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน

4. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล

4.1. ข้อมูล/ข่าวสาร (data/message)

4.1.1. ข้อมูลหรือสารสนเทศต่างๆ ที่ต้องการส่งไปยังผู้รับ โดยข้อมูล/ข่าวสารอาจจะประกอบด้วยข้อความ ตัวเลข รูปภาพ เสียง วีดิทัศน์ หรือสื่อประสม

4.2. โพรโทคอล (protocol)

4.2.1. กฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติต่างๆ ที่กําหนดขึ้นมาเพื่อ เป็นข้อตกลงในการสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่ง

4.3. สื่อกลางในการส่งข้อมูล (transmission media)

4.3.1. สิ่งที่ทําหน้าที่ในการรับส่งข้อมูล/ข่าวสารไปยังจุดหมายปลายทาง โดยสื่อกลางในการส่งข้อมูลจะมีทั้งแบบมีสาย เช่น สายเคเบิล สายยูทีพี สายไฟเบอร์ออพติก และสื่อกลางในการส๋งข้อมูลแบบไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ และดาวเทียม

4.4. ผู้รับ (receiver)

4.4.1. คนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สําหรับรับข้อมูล/ข่าวสารที่ทางผู้ส่งข้อมูลส่งให้ ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เป็นต้น

4.5. ผู้ส่ง (sender)

4.5.1. คนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สําหรับส่งข้อมูล/ข้าวสาร ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ กล่องวีดิทัศน์ เป็นต้น

5. สัญญาณที่ใช้ในระบบการสื่อสาร

5.1. สัญญาณแอนะล็อก (analog signal)

5.1.1. สัญญาณแอนะล็อกเป็นสัญญาณที่มีขนาดแอมพลิจูด (amplitude)ที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาและเป็นค่าต่อเนื่อง เช่น เสียงพูด และเสียงดนตรี

5.2. สัญญาณ  ดิจิทัล (digital signal)

5.2.1. สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณที่ไม่มีความต่อเนื่องที่เรียกว่า ดิสครีต (discrete) สัญญาณดิจิทัลถูกแทนด้วยระดับแรงดันไฟฟ้าสองระดับเท่านั้น โดยแสดงสถานะเป็น “0” และ “1” ซึ่งตรงกับรหัสตัวเลขฐานสอง