นิเวศวิทยาทางทะเลและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
นิเวศวิทยาทางทะเลและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ by Mind Map: นิเวศวิทยาทางทะเลและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

1. พายุ

1.1. ความหมาย

1.1.1. สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง

1.2. ปัจจัยที่บ่งบอกความแรวงของพายุ

1.2.1. ความเร็วใกล้ศูนย์กลาง

1.2.2. ความเร็วของการเคลื่อนตัว

1.2.3. ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ

1.2.4. ขนาดความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวพายุ

1.3. การเกิด

1.3.1. เกิดขึ้นเมื่อเกิดศูนย์กลางของแรงดันในอากาศต่ำลงมากกว่าในบริเวณรอบๆ พื้นที่หนึ่ง พร้อมกับมีแรงดันอากาศสูงเกิดขึ้นรอบ ๆ พื้นที่นั้น การรวมของแรงปะทะต่าง ๆ ก่อให้เกิดลม อันส่งผลให้เกิด การเคลื่อนตัวเปลี่ยนรูปของพายุเมฆ เช่น สภาพที่เรียกว่า cumulonimbus ซึ่งเป็นในรูปแบบก้อนเมฆดำทะมึนหนาทึบอันเต็มไปด้วยประจุไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดฝนฟ้าคะนอง

2. สึนามิ

2.1. ความหมาย

2.1.1. เป็นกลุ่มคลื่นน้ำที่เกิดขึ้นจากการย้ายที่ของปริมาตรน้ำก้อนใหญ่ คือ มหาสมุทรหรือทะเลสาบขนาดใหญ่ แผ่นดินไหว การปะทุของภูเขาไฟและการระเบิดใต้น้ำอื่น (รวมทั้งการจุดระเบิดวัตถุระเบิดนิวเคลียร์ใต้น้ำ) ดินถล่ม ธารน้ำแข็งไถล อุกกาบาตตกและการรบกวนอื่น ไม่ว่าเหนือหรือใต้น้ำ ล้วนอาจก่อให้เกิดเป็นคลื่นสึนามิได้ทั้งสิ้น

2.2. สาเหตุการเกิด

2.2.1. คลื่นสึนามิเกิดขึ้นจากการกระทบกระเทือนที่ทำให้น้ำปริมาณมากเกิดการเคลื่อนตัว เช่น แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม หรืออุกกาบาตพุ่งชน

2.3. ลักษณะของคลื่น

2.3.1. คลื่นสึนามิแตกต่างจากคลื่นน้ำธรรมดามาก ตัวคลื่นนั้นสามารถเดินทางได้เป็นระยะทางไกลและสามารถเข้าทำลายชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลจากจุดกำเนิดหลายพันกิโลเมตรได้ โดยทั่วไปแล้วคลื่นสึนามิซึ่งเป็นคลื่นในน้ำ จะเดินทางได้ช้ากว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เป็นคลื่นที่เดินทางในพื้นดิน ดังนั้น คลื่นอาจเข้ากระทบฝั่งภายหลังจากที่ผู้คนบริเวณนั้นรู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหวเป็นเวลาหลายชั่วโมง

3. น้ำเกิดน้ำตาย

3.1. น้ำเกิดน้ำตาย คือ ปรากฏการณ์น้ำขึ้น มากกว่าปกติ และน้ำลงมากว่าปกติ เนื่องจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก อยู่ในแนวตรงกัน ทำให้มีแรงดึงดูดจากทัง ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ เพิ่มขึ้นระยะเวลาที่ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก อยู่ในแนวตรงกันคือ วันขึ้น 15 ค่ำและวันแรม 15 ค่ำ น้ำจะขึ้นมากกว่าปกติ เรียกว่า น้ำเกิด วันขึน 7-8 ค่ำ และวันแรม 7-8 คํ่า ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์อยู่แนวตัง ฉากกับโลก น้ำจะขึน น้อยกว่าปกติ เรียกว่า น้ำตาย

4. ลานิญา

4.1. ความหมาย

4.1.1. เป็นปรากฏการณ์บรรยากาศมหาสมุทรคู่กันซึ่งเกิดขึ้นคู่กับเอลนีโญอันเป็นส่วนหนึ่งของเอลนีโญ-ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ ในช่วงที่เกิดลานีญา อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลตลอดมหาสมุทรแแปซิฟิกตอนกลางตะวันออกแถบเส้นศูนย์สูตรจะต่ำกว่าปกติ 3-5 °C ชื่อลานีญากำเนิดจากภาษาสเปน หมายถึง "เด็กหญิง" คล้ายกับเอลนีโญที่หมายถึง "เด็กชาย"

4.2. ผลกระทบ

4.2.1. ผลกระทบของลานีญาส่วนใหญ่จะตรงข้ามกับของเอลนีโญ ตัวอย่างเช่น เอลนีโญจะทำให้เกิดช่วงฝนตกในแถบสหรัฐอเมริกาตอนกลางตะวันตก ขณะที่ลานีญาจะทำให้เกิดช่วงแห้งแล้งในพื้นที่เดียวกัน ส่วนอีกด้านหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ลานีญาทำให้เกิดฝนตกหนัก