พฤติกรรมและการปรับพฤติกรรม

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
พฤติกรรมและการปรับพฤติกรรม by Mind Map: พฤติกรรมและการปรับพฤติกรรม

1. การปรับพฤติกรรม

1.1. การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้และข้อค้นพบจากจิตวิทยาการทดลอง เพื่อใช้ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม/ปัญหาของมนุษย์ให้เหมาะสม  ทำให้มนุษย์ปรับตัวได้ดีขึ้น

1.2. วิธีป้องกันพฤติกรรมที่เป็นปัญหา

1.2.1. สิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว มีการดูแลเอาใจใส่ ละมีการลงโทษที่เหมาะสมตามเหตุผล  แสดงตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็ก ทางด้านสื่อมวลชนต้องมีส่วนรับผิดชอบ และต้องมีสถาบันสื่อมวลชนหรือรัฐบาลทำหน้าที่ควบคุมกำกับดูแล

1.3. ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในการปรับพฤติกรรม

1.3.1. 1. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical conditioning)

1.3.1.1. สิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไขต้องเสนอก่อนสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข  โดยช่วงเวลาในการเสนอสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไขและสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไขควรสั้นเพราะหากนานจะทำให้การตอบสนองอ่อนลง

1.3.1.2. สิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไขต้องเสนอก่อนสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขอย่างสม่ำเสมอ เพราะการเสนอสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไขจะทำให้การเรียนรู้การตอบสนองเกิดขึ้นได้ยากและสิ่งเร้าที่ไม่ต้องการวางเงื่อนไข

1.3.1.3. สิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไขจะต้องมีคุณค่าในการทำนายว่าสิ่งเร้าที่ไม่ต้องการวางเงื่อนไขจะเกิดขึ้นตามมา  มากกว่าสิ่งเร้าอื่นๆในสภาพแวดล้อมนั้นๆ

1.3.1.4. ความเด่นชัดของสิ่งเร้าที่ต้องการวางเงื่อนไขช่วยให้การเรียนรู้เงื่อนไขตอบสนองได้ดีเมื่อใช้คู่กับสิ่งเร้าที่ไม่ต้องการวางเงื่อนไข

1.3.1.5. ความเข้มข้นของการตอบสนองนั้นขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไขหรือทั้งสิ่งเร้าที่ต้องการวางเงื่อนไข

1.3.2. 2. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant conditioning)

1.3.3. 3. ทฤษฎีการเสริมแรง (Reinforcement Theories) การเสริมแรงคือการทำให้ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากผลกรรมนั้นที่ตามหลังพฤติกรรม ผลกรรมที่ทำให้ความถี่เพิ่มขึ้นเรียกว่าตัวเสริมแรง (Reinforcer)  แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

1.3.3.1. 1. การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) คือการเสริมแรงที่มีผลทำให้พฤติกรรมที่ได้รับการเสริมแรงนั้นมีความถี่เพิ่มขึ้น แบ่งเป็น 2 ประเภท

1.3.3.1.1. 1.1 การเสริมแรงจากภายนอกตัวบุคคล  เช่น แรงเสริมทางสังคม  เป็นภาษาท่าทาง  วาจา  แรงเสริมที่เป็นสิ่งของ  สัญญลักษณ์ กิจกรรมนันทนาการ  ความก้าวหน้าของตนเอง

1.3.3.1.2. 1.2 แรงเสริมที่เกิดภายในตัวบุคคล เกิดจากการกระทำของตนเอง เช่นความตั้งใจ ความกระตือรือร้น ความต้องการ ความสำเร็จ ความรับผิดชอบ

1.3.3.2. 2. การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) คือการให้ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากการที่แสดงพฤติกรรม สามารถถอดถอนจากสิ่งเร้าที่ไม่พอใจ ซึ่งการเสริมแรงทางลบจะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม 2 ลักษณะคือ พฤติกรรมหลีกหนี (Escape) เป็นพฤติกรรมที่ต้องเผชิญเหตุการณ์ที่ไม่พึงพอใจ ก็จะแสดงพฤติกรรมอื่นเพื่อถอดถอนพฤติกรรมที่ไม่พึงพอใจนั้น และพฤติกรรมการหลีกเลี่ยง (Avoidance Behavior) เป็นพฤติกรรมที่ได้รับสัญญาณว่าไม่พอใจ

1.4. เทคนิคและวิธีการต่างๆที่ใช้ในการปรับพฤติกรรม

1.4.1. 1. การให้แรงเสริม สิ่งที่เป็นแรงเสริมแบ่งได้ 5 ประเภท

1.4.1.1. 1.ตัวเสริมแรงที่เป็นสิ่งของ เป็นตัวเสริมแรงที่มีประสิทธิภาพมากในเด็ก

1.4.1.2. 2. ตัวเสริมแรงทางสังคม เป็นลักษณะคำพูดและท่าทาง

1.4.1.3. 3. ตัวเสริมแรงที่เป็นกิจกรรม

1.4.1.4. 4. ตัวเสริมแรงที่เป็นเบี้ยอรรถกร(Token Reinforcers) ในรูปเงิน ดาว คูปอง

1.4.1.5. 5. ตัวเสริมแรงภายใน (Covert Reinforcers) เป็นตัวเสริมที่อธิบายว่าทำไมคนจึงมีพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การทำบุญ การให้เงินขอทาน

1.4.2. 2. การลงโทษ เป็นการลดความถี่ของพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ โดยการให้สิ่งที่ไม่น่าพึงพอใจแก่บุคคลนั้นหลังจากแสดงพฤติกรรมนั้นเกิดขึ้น

1.4.2.1. 1.วิธีการที่ให้การลงโทษ ซึ่งประกอบด้วยเงื่อนไข ความหนักแน่นของการลงโทษ การหลีกหนีการลงโทษ เวลาที่เสนอการลงโทษ ความสม่ำเสมอของการลงโทษ

1.4.2.2. 2. การเสริมแรงทีมีประสิทธิภาพของการลงโทษ ประกอบด้วย การให้การเสริมแรงต่อพฤติกรรมที่ไม่ได้รับการลงโทษ การควบคุมพฤติกรรมการเสริมแรงต่อพฤติกรรมที่ถูกลงโทษ การลงโทษควรให้ก่อนการเสริมแรง

1.4.2.3. วิธีการที่ใช้การลงโทษ

1.4.2.3.1. 1. การใช้เวลานอก (Time out) หมายถึงการถอดถอนโอกาสที่บุคคลจะได้แรงเสริมทางบวก

1.4.2.3.2. 2.การปรับสินไหม (response Cost) เป็นการถอดตัวเสริมแรงทางบวกออกไป หลังจากบุคคลกระทำพฤติกรรมบางอย่าง ทำให้พฤติกรรมนั้นลดโอกาสที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต

1.4.3. 3.  การควบคุมตนเอง (Self- Monitoring, Self Control) คือการให้บุคคลมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาสังเกตและรายงานพฤติกรรมของตนเองว่าพฤติกรรมของตนเองนั้น เกิดขึ้นเวลาใดและสถานการณ์ใดมากที่สุดและรายงานต่อสู้จะแก้ปัญหา

1.4.3.1. 1.ใช้วิธีการยับยั้งทางกาย

1.4.3.2. 2.เปลี่ยนเงื่อนไงสิ่งเร้าหรือเหตุการณ์ที่ต้องการหลีกหนี

1.4.3.3. 3.ยุติการกระทำบางอย่าง

1.4.3.4. 4.เปลี่ยนแปลงการตอบสนองทางอารมณ์

1.4.3.5. 5.ใช้เหตุการณ์ไม่พึงพอใจในสภาพแวดล้อมเพื่อควบคุมพฤติกรรมของงตนเอง  เช่น  การตั้งนาฬิกาปลุก

1.4.3.6. 6.ใช้ยา สุรา

1.4.3.7. 7. การให้แรงเสริมและการลงโทษ

1.4.3.8. 8.ทำสิ่งอื่นทดแทนสิ่งที่กำลังทำอยู่

1.4.4. 4.การฝึกความกล้าแสดงออกและเชื่อมั่นในตนเอง(Assertive) เป็นวิธีการแก้ไขความกลัว และความวิตกกังวลให้มีความกล้าและเชื่อมั่นในตนเองกล้าที่จะแสดงความสามารถ

1.4.5. 5. การรายงานประจำวัน เป็นการรายงานพฤติกรรม

1.4.6. 6.การทำสัญญา คือการทำตามที่ตกลงไว้ทั้งสองฝ่าย

1.4.7. 7.เทคนิคการสอนตนเอง เป็นการบอกตนเองควรทำอย่างไร

1.4.8. 8.การหยุดความคิด (Thought stopping) จะใช้เมื่อปัญหาอยู่ที่ระบบความคิดเป็นหลัก

2. พฤติกรรม

2.1. การกระทำหรืออาการที่แสดงออกทางท่าทาง ความคิด  ความรู้สึก เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งของมนุษย์

2.1.1. ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ 1. ส่วนการแสดงออกหรือกิริยาท่าทาง (Acting) 2. ส่วนคิดที่เกี่ยวกับกิริยานั้น (Thinking) 3. ส่วนความรู้สึกที่มีอยู่ในขณะนั้น (Feeling)

2.2. กระบวนการเกิดพฤติกรรม

2.2.1. 1. กระบวนการรับรู้ (Perception Process) โดยมีสิ่งเร้าผ่านระบบประสาทสัมผัส  ระบบสมอง และสรุปเป็นความคิดรวบยอด

2.2.2. 2. กระบวนการคิดและเข้าใจ (Cognition Process) เรียกว่ากระบวนการทางปัญญา ซึ่งประกอบไปด้วย การเรียนรู้ การคิด การจำ ตลอดจนการนำไปใช้ประโยชน์หรือเกิดการพัฒนาจากการเรียนรู้

2.2.3. 3. กระบวนแสดงออก (Spatial Behavior Process) หลังจากผ่านขั้นตอนกระบวนรับรู้และการคิดและการเข้าใจ  แล้วบุคคลจะมีอารมณ์ตอบสนอง ต่อสิ่งนั้นแต่ยังมิได้แสดงออกให้ผู้อื่นได้รับรู้

2.3. ประเภทของพฤติกรรม

2.3.1. 1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด (Inherited behavior)

2.3.1.1. เป็นพฤติกรรมง่ายๆที่เป็นลักษณะเฉพาะที่ใช้ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้มาก่อน มีแบบแผนที่แน่นอนเฉพาะตัวสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะแสดงลักษณะเหมือนกันหมด

2.3.1.2. 1. รีเฟล็กซ์ (Reflex) เป็นพฤติกรรมที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นอย่างรวดเร็วทันทีทันใด เช่น การไอจาม

2.3.1.3. 2. พฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง(Chain of Reflex) ประกอบไปด้วยพฤติกรรมย่อยๆหลายๆพฤติกรรมที่เป็นปฏิกิริยารีเฟลกซ์  แต่เดิมใช้คำว่า สัญชาตญาณ (Instinct) เช่นการดูดนมของทารก  การสร้างรังของนก

2.3.1.4. 3.พฤติกรรมแบบไคนีซีส (Kinesis) เป็นพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้วยการเคลื่อนที่ทั้งตัวแบบมีทิศทางไม่แน่นอน

2.3.1.5. 4. พฤติกรรมแบบแทกซีส(Taxis) เป็นพฤติกรรมการเคลื่อนไหวที่เข้าหาหรือหนีจากสิ่งเร้าอย่างมีทิศทางแน่นอน

2.3.2. 2.พฤติกรรมการเรียนรู้ (Learned behavior)

2.3.2.1. เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้โดยอาศัยประสบการณ์หรือการเรียนรู้ของสัตว์ พฤติกรรมแบบส่วนนี้ส่วนใหญ่พบในสัตว์ชั้นสูงที่มีระบบประสาทที่เจริญดี

2.3.2.2. 1. พฤติกรรมการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข (Conditioning) เป็นพฤติกรรมที่ตอบสนองสิ่งเร้าที่ไม่แท้จริงเช่นเดียวกับสิ่งเร้าที่แท้จริง

2.3.2.3. 2. พฤติกรรมการเรียนรู้แบบฝังใจ (Imprinting) เป็นพฤติกรรมที่ตอบสนองสิ่งเร้าในช่วงแรกของชีวิตด้วยการจดจำสิ่งเร้าต่างๆได้

2.3.2.4. 3. พฤติกรรมการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก (Trial and Error) เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้เลือกตอบสนองสิ่งเร้าที่เป็นผลดีหรือพอใจ

2.3.2.5. 4. พฤติกรรมการเรียนรู้แบบใช้เหตุผล (Reasoning) การแสดงออกโดยการใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ

2.4. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทำให้เกิดพฤติกรรม

2.4.1. 1. ปัจจัยทางชีวภาพ ประกอบด้วย พันธุกรรม และระบบการทำงานของร่างกาย

2.4.2. 2. ปัจจัยทางด้านสังคม

2.4.3. 3. ปัจจัยทางจิตวิทยา

2.4.3.1. 1. แรงจูงใจ เป็นแรงผลักดันจากภายในที่ทำให้เกิด       พฤติกรรมตอบสนองอย่างมีทิศทางและเป้าหมาย 2.การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม    และการปรับพฤติกรรมของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นจาก        ประสบการณ์ หรือมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

2.4.4. 4.ปัจจัยทางจริยธรรม

2.4.4.1. 1.ความรู้เชิงจริยธรรม  คือ  การมีความรู้ว่าในสังคมของตนนั้นถือการกระทำชนิดใดที่เลวหรือไม่ดี 2. เจตคติเชิงจริยธรรม คือ  ความรู้สึก หรือการรับรู้ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับลักษณะและพฤติกรรมจริยธรรมต่างๆว่า       ตนชอบหรือไม่ชอบลักษณะนั้นเพียงใด  3. เหตุผลเชิงจริยธรรม  คือ  การที่บุคคลใช้เหตุผลในการเลือกที่จะทำหรือไม่กระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง  4. พฤติกรรมเชิงจริยธรรม  คือ การที่บุคคลกระทำพฤติกรรมที่สังคมนิยมชมชอบ  หรือตามกฏเกณฑ์ของสังคม

2.5. แนวคิดทางจิตวิทยากลุ่มต่างๆในการศึกษาพฤติกรรม

2.5.1. 1.โครงสร้างของจิต (Structuralism)  กลุ่มนี้เชื่อว่า จิตประกอบไปด้วยจิตธาตุ 2 ชนิดคือ การรับสัมผัส(Sensory)และกับความรู้สึก (Feeling)

2.5.2. 2.หน้าที่แห่งจิต (Functionalism)

2.5.2.1. 1. การกระทำทั้งหมด หรือการแสดงออกของคนเราเป็นการแสดงออกของจิตเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม 2.การกระทำหรือการแสดงออกทั้งหมดขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน

2.5.3. 3.จิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)   Freud ได้ศึกษาค้นพบว่าจิตไร้สำนึกมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนโดยทางอ้อม เชื่ออย่างมากว่าจิตไร้สำนึกเป็นเหตุจูงใจให้บุคคลมีพฤติกรรมทุกอย่าง

2.5.4. 4.พฤติกรรมนิยม (Behaviorism) มุ่งศึกษาพฤติกรรมที่สังเกตได้

2.5.5. 5.เกสตัลท์ (Gestalt) แนวคิดที่สำคัญมี 2 ประการคือ

2.5.5.1. 1.การรับรู้ (Perception)

2.5.5.2. 2.การหยั่งเห็น (Insight) เชื่อว่าการแก้ปัญหาเป็นวิธีการเรียนรู้ของคนและสัตว์ชั้นสูง

2.5.6. 6.การรู้คิด (Cognitivism)  ศึกษากระบวนการคิดและเข้าใจในรูปของ Information processing

2.5.7. 7.มนุษยนิยม (Humanism)  เชื่อว่ามนุษย์ มีความต้องการความรัก  ความอบอุ่น  ความเข้าใจ และมีความสามารถเฉพาะตัว

2.6. เกณฑ์การพิจารณาพฤติกรรมที่เป็นปัญหา

2.6.1. 1. อายุ

2.6.2. 2.ความถี่และความรุนแรงของการเกิดพฤติกรรม

2.6.3. 3.การสูญเสียโอกาสทางสังคม

2.6.4. 4.การมีผลต่อความรู้สึกเจ็บปวดของเด็ก

2.6.5. 5.จำนวนของพฤติกรรมที่เป็นปัญหา

2.6.6. 6. พฤติกรรมที่อยู่ในสภาพที่เป็นปัญหาและไม่สามารถควบคุมได้

2.6.7. 7. บุคลิกภาพทั่วๆไปของเด็ก