การจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม by Mind Map: การจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1. กฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

1.1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

1.1.1. สิทธิและหน้าที่ของประชาชนในการส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม -สิทธิได้รับทราบข้อมูลของราชการ ยกเว้นข้อมูลทางราชการที่ถือเป็นความลับ -สิทธิได้รับชดเชยค่าเสียหายจากภัยของมลพิษ -สิทธิร้องเรียนกล่าวโทษผู้กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับมลพิษ

1.1.2. การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม กำหนดเกณฑ์สำหรับการส่งเสริมรักษาสิ่งแวดล้อม เขตอนุรักษ์และพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม กำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้สูงกว่า

1.1.3. การควบคุมมลพิษ เขตควบคุมมลพิษ เพื่อดำเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษ มลพิษทางอากาศและเสียง ยานพาหนะที่ใช้ต้องไม่ก่อมลพิษเกินมาตรฐานควบคุม มลพิษทางน้ำเจ้าของโรงงานต้องจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย มลพิษอื่นและของเสียอันตราย เก็บรวบรวมตามที่กฎหมายกำหนด

1.1.4. ค่าบริการและค่าปรับ อัตราค่าบริการ จัดเก็บตามความเหมาะจากแหล่งกำเนิด ค่าปรับ เจ้าของที่หลีกเลี่ยงไม่จัดส่งน้ำเสียไปทำการบำบัด ความผิดทางแพ่งและบทกำหนดโทษ ความผิดทางแพ่ง -แหล่งกำเนิดมลพิษรั่วไหลเป็นเพตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ชีวิต -ผู้ที่กระทำอันเป็นการทำลายทัพยากรธรรมชาติของรัฐ บทกำหนดโทษ -ผู้ฝ่าฝืนการกระทำใดๆ ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ -ผู้บุกรุกหรือครองครองที่ดินของรัฐโดยยมิชอบทางกฎหมาย โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ -เจ้าของแหล่งกำเนิดมลพิษที่ไม่จัดส่งน้ำเสียไปทำการบำบัด โทษจำคุก 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,00บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

1.2. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และทที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2550

1.2.1. การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมุลฝอย ด้วยรถเก็บขยะตามชุมชนและเขตราชการ สุขลักษณะของอาคาร อาคารที่สภาพทรุดโทรมเจ้าพนักงานมีอำนาจออกคำสั่งให้ปรับปรุงอาคาร เหตุรำคาญ จากแหล่งน้ำ การเลี้ยงสัตว์ การกระทำที่ทำให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ฝุ่น เจ้าพนักงานมีอำนาจห้ามผู้หนึ่งผู้ใดก่อเหตุรำคาญ ตลาด ห้ามผู้ใดจัดตั้งตลาด ยกเว้นได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงา

1.2.2. บทลงโทษ -ผู้ที่ทำการเก็บขยะทำเป็นธุรกิจโดยไม่ได้รับใบอนุญาต โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ -เจ้าของอาคารที่มีสภาพทรุดโทรม ไม่แก้ไขปรับปรุงตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน โทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

1.3. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535

1.3.1. การรักษาความสะอาดในที่สาธารณะและสถานสาธารณะ -เจ้าของอาคารบริเวณใกล้เคียงทางเท้ามีหน้าที่ดูแลรักษาทำความสะอาด -ห้ามโฆษณาด้วยการปิด ทิ้ง หรือโปรยใบปลิวที่สาธารณะซึ่งไม่ได้จัดไว้เพื่อการนี้ ยกเว้นได้รับการอนุญาต -ห้ามขูด ขีด เขียน พ่นสี ที่กำแพงที่สาธารณะ ยกเว้นเป็นการกระทำของราชการส่วนท้องถิน -เจ้าของรถซึ่งใช้บรรทุกสัตว์ กรวด หิน ดิน ทราย ต้องจัดเก็บรถให้มีสิ่งป้องกันมิให้มูลสัตว์ หรือสิ่งที่บรรทุกนั้นหล่นลงบนถนน

1.3.2. การดูแลรักษาสนามหญ้าและต้นไม้บนถนนและสถานสาธารณะ -ห้ามโค่นต้นไม้ ตัด เด็ด ตามที่สาธารณะ -ห้ามปล่อยหรือจูงสัตว์เข้าไปในบริเวณที่ราชการส่วนท้องถิ่น

1.3.3. การห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูล -ห้ามถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะลงที่สาธารณะ -ห้ามเท ปล่อย อุจจาระหรือปัสสาวะจากอาคารลงทางน้ำสาธารณะ

1.3.4. การรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย -ห้ามเล่นว่าว ฟุตบอล ตะกร้อ หรือกีฬาใดๆบนถนน

1.4. พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507

1.4.1. บทกำหนดโทษ -ผู้ครองครอง หรือกระทำเป็นเหตุให้สภพป่าแห่งชาติเสื่อมเสียโดยไม่ได้รับอนุญาต โทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 10,000 บาท -ผู้ที่รับใบอนุญาตไม่จัดให้คนงานมีใบคู่มือสำหรับทำการตามที่ไดรับอนุญาตตามแบบระเบียบ โทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

1.5. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535

1.5.1. ปรเภทของสัตว์ป่า -สัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าที่หายาก ได้แก่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละอง สมัน เลียงผา กวางผา นกแต้ว นกกระเรียน แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เก้งหม้อ และพยูน -สัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

1.5.2. การล่า เพาะพันธุ์ ครองครอง การค้า -ห้ามล่าสัตว์ป่า เว้นแต่เป็นการกระทำโดยทางราชการ -ห้ามเพาะพันธุ์สัตว์ป่า เว้นแต่รัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และได้รับใบอนุญาต

1.5.3. การนำเข้า ส่งออก นำผ่าน -ห้ามนำเข้าหรือส่งออกสัตว์ป่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด -การนำเข้าส่งออกสัตว์ป่าต้องได้รับใบอนุญาต สวนสัตว์สาธารณะ ผู้ที่จะจัดตั้งต้องได้รับใบอนุญาต

2. แนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคต่างๆของโลก

2.1. ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนาโครงการจัดการภัยพิบัติ ส่งเสริมการพัฒนาพลังงานสะอาด ก่อตั้งกองทุนสีเขียว จัดทำระบบบำบัดน้ำเสีย

2.2. ทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ออกกฎหมายเพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เชื่อโยงเขตอุทยาน ลดอัตราการตัดไม้ทำลายป่าแอมะซอน

2.3. ทวีปแอฟริกา ปรับปรุงเหมืองร้างให้เป็นแหล่งอนุรักษ์ธรรมชาติ กำหนดเขตอุทยานและสงวนทางด้านตะวันออก

2.4. ภูมิภาคเอเชียตะวันออก การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การลดการพึ่งพาน้ำมัน ทำข้อตกลงในการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติในทะเลจีนตะวันออก

2.5. ทวีปยุโรป จัดตั้งองค์กรเพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสาร กำหนดให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำกัดการใช้สารเคมีอันตราย 6 ชนิด ลดการทิ้งเศษผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ลดการใช้พลังงานในการทำลายขยะ นำพลังงานทดแทนมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า

2.6. ทวีปออสเตรเลีย จัดตั้งเขตอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล กำหนดยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม ผสมผสานนโยบายสิ่งแวดล้อมและการค้า

3. องค์กรที่มีบทบาทในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3.1. 1. องค์กรในประเทศไทย

3.1.1. 1.1องค์กรภาครัฐ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีหน้าที่เกี่ยวกับการสงวน อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และดูแลหน่วยงานราชการอื่น

3.1.2. 1.2องค์กรประชาชนและเอกชน 1.2.1องค์กรประชาชนคือการรวมตัวของประชาชนที่มีเจตคติด้านการจัดสิ่งแวดล้อมแต่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชน 1.2.2องค์กรเอกชนคือองค์กรที่จดทะเบียน ตัวอย่างองค์กรเอกชนเพื่อพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพันธุ์พืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร สมาคมสร้างสรรค์ไทย มูลนิธิเพื่อนช้าง เป็นต้น

3.2. 2. องค์กรต่างประเทศ องค์กรเอกชนอิสระ (NGO : Non Government Organization) จากต่างประเทศที่เข้ามามีบทบาทในการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ที่รู้จักกันดีมี 2 องค์กร คือ

3.2.1. 2.1 องค์กรเอกชนอิสระกรีนพีช (Green Peace)2.1.1 ความเป็นมา เป็นองค์กรเอกชนอิสระจัดตั้งขึ้นในปี 2514 2.1.2 วัตถุประสงค์ เพื่อฟื้นฟูสิ่งมีชีวิตในโลกให้มีความเข้มแข็ง 2.1.3 ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ 2.1.4 ทุนการดำเนินงาน รับความช่วยเหลือจากกลุ่มเอกชนและดอกผลจากกองทุนเท่านั้น 2.1.5 บทบาทของกลุ่มกรีนพีชในประเทศไทย (1) ยับยั้งการเคลื่อนย้ายกากสารพิษกากกัมมันตภาพรังสีข้ามพรมแดน (2) ต่อต้านการจัดสร้างเตาเผาขยะที่ไม่ได้มาตรฐาน (3) ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากถ่านหิน (4) ต่อต้านการใช้พันธุ์พืชที่ผ่านกระบวนการตัดแต่งทางพันธุกรรมมาปลูกในพื้นที่ประเทศไทย

3.2.2. 2.2 องค์กรกองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wild Fund for Nature : WWF) 2.2.1 ความเป็นมา “กองทุนสัตว์โลก” เป็นองค์กรเอกชนอิสระ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2504 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 2.2.2 บทบาทและการดำเนินงาน ได้ดำเนินงานในโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากกว่า 12,000 โครงการใน 153 ประเทศทั่วโลก 2.2.3 โครงการเร่งด่วนสำคัญที่ได้รณรงค์พร้อมกันทั่วโลก เช่น โครงการป่าเพื่อชีวิต โครงการคืนชีวิตให้แหล่งน้ำ โครงการอนุรักษ์ทะเลและมหาสมุทร โครงการอนุรักษ์พืชและสัตว์น้ำที่ใกล้สูญพันธุ์ 2.2.4 บทบาทของกองทุนสัตว์ป่าโลกในประเทศไทย เช่น โครงการอนุรักษ์แม่น้ำโขง โครงการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและชายฝั่งทะเล โครงการรณรงค์เพื่อการไม่ค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ผิดกฎหมาย

4. มาตรการในการจัดการวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก

4.1. 1. อนุสัญญาไซเตส (CITES) วัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการค้าระหว่างประเทศซึ่งสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ตลอดจนผลิตภัณฑ์ของสัตว์ป่าและพืชป่า

4.2. 2. อนุสัญญาเวียนนา (Vienna convention) และพิธีสารมอนทรีออล (Montrael Protocol) วัตถุประสงค์เพื่อลดและยกเลิกการใช้สารซีเอฟซี สารฮาลอนและสารอื่นๆ ที่มีผลทำให้ชั้นโอโซนเบาบางลง

4.3. 3. อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการดปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (The United Nations Framework Convention on Climate Change-UNFCCC) วัตถุประสงค์เพื่อปกป้องชั้นบรรยากาศโลกโดยการรักษาระดับปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย

4.4. 4. อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity-CBD) วัตถุประสงค์ 1.อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ-การใช้ประโยชน์ขององค์ประกอบความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน 2.การแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม

4.5. 5. อนุสัญญาบาเซิล(Basel Convention) วัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการขนส่งสารเคมีอันตรายข้ามพรมแดนและควบคุมการจำกัดกากของเสียอันตรายโดยการผลักดันจากประเทศตนไปสู่ประเทศภาคีอื่นอย่างผิดกฎหมาย

5. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

6. นางสาวเกษนริน คนฉลาด เลขที่ ๑ นางสาวธนภรณ์ ช่วยค้ำชู เลขที่ ๒ นางสาววารุณี พรมรัตน์ เลขที่ ๔ นางสาวอารียา อนุขจรจิตติ เลขที่ ๕