การคุ้มครองผู้บริโภค

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การคุ้มครองผู้บริโภค by Mind Map: การคุ้มครองผู้บริโภค

1. 4.แนวทางการเลือกบริโภคอย่างฉลาดและปลอดภัย

1.1. 1. ก่อนจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการสุขภาพ ผู้บริโภคต้องพิจารณาในการเลือกซื้อให้ดีเพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด

1.2. 2. ควรศึกษาฉลากก่อนซื้อทุกครั้ง

1.3. 3.ควรพิจารณาถึงประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับจากสินค้าและบริการให้ดีก่อนตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการนั้น ๆ อย่าให้เสียเปรียบผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการ

1.4. 4. ถ้าพบว่ามีผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือบริการสุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน ควรแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบทันที เพื่อจะได้ดำเนินการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค

1.5. 5. เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการที่สุขภาพได้มาตรฐาน หรือมีการรับรองคุณภาพกล่าวคือ มีเครื่องหมาย มอก. หรือมี อย. เป็นต้น

1.6. 6. ถ้าได้รับความไม่เป็นธรรม ให้ร้องเรียนได้ที่หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค

2. 6.การคุ้มครองด้านต่างๆ

2.1. 1.การคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณา:

2.1.1. การโฆษณาสินค้าและบริการใด ๆ ก็ตาม จะต้องไม่ใช้ข้อความ ที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมเป็นส่วนรวม

2.2. 2.การคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก :

2.2.1. ผู้ประกอบธุรกิจต้องให้ข้อเท็จจริงของสินค้า ด้วยการกำหนดรายละเอียดลงในฉลากเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค

2.3. 3.การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา

2.3.1. การประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือบริการที่พบว่ามีการใส่ข้อสัญญาหรือมีพฤติกรรมเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค โดยกำหนดให้เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาหรือควบคุมหลักฐานการรับเงินอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการออกประกาศควบคุม ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจจะต้องใช้ข้อสัญญาตามที่กฎหมายกำหนด

2.4. 4.การคุ้มครองผู้บริโภคด้านขายตรงและตลาดแบบตรง

2.4.1. ได้มีการตราพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 คุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรม และเพื่อให้มีมาตรการทางกฎหมายมาควบคุมดูแลให้การประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรงดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้องด้วย

2.5. 5.การบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้บริโภค

2.5.1. ที่ได้รับความเดือดร้อนในการซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบธุรกิจซึ่งจะทำได้โดยการโทรศัพท์ไปที่ สายด่วน 1166

3. 5.การปกป้องสิทธิของผู้บริโภค

3.1. 1.สิทธิคุ้มครองผู้บริโภค

3.1.1. 1.สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำอธิบายคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอ เกี่ยวกับสินค้าและบริการ

3.1.2. 2.สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกสินค้าและบริการ

3.1.3. 3.สิทธิที่จะได้รับความปลอดภันจากการใช้สินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

3.1.4. 4.สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา

3.1.5. 5.สิทธิที่จะได้รับพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

3.2. 2.หน้าที่ของผู้บริโภค

3.2.1. 1.ผู้บริโภคต้องใช้ความระมัดระวังในการซื้อสินค้าหรือรับบริการ

3.2.2. 2.การทำสัญญาผูกมัดทางกฎหมายที่ต้องลงมือชื่อ ต้องตรวจสอบความถูกต้องของสัญญา

3.2.3. 3.ข้อตกลงต่างๆที่มีผลบังคับใช้ ควรทำเป็นหนังสือแชะลงมือชื่อผู้ประกอบธุรกิจด้วย

3.2.4. 4.ผู้บริโภคมีหน้าที่เก็บหลักฐานไว้ เพื่อใช้ในการเรียกร้องค่าเสียหาย

3.2.5. 5.เมื่อมีการละเมิด ผู้บริโภคควรเรียกร้องต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

4. 1.ความหมาย

4.1. การคุ้มครองผู้บริโภค หมายถึง การปกป้องดูแลผู้บริโภค ให้ได้รับความปลอดภัย เป็นธรรม และประหยัด จากการบริโภคสินค้าและบริการ

5. 3.ความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภค

5.1. 1. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้เสียเปรียบผู้ผลิต

5.2. 2. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา

5.3. 3. เพื่อควบคุมสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ปลอดภัย หรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

5.4. 4. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ระหว่างผู้ผลิต และผู้บริโภค

5.5. 5. เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการด้านสุขภาพและสิทธิด้านสุขภาพ

6. 2.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค.

6.1. 1. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)

6.1.1. (สำนักงานนายกรัฐมนตรี) มีอำนาจหน้าที่รับเรื่องของผู้บริโภค โดยรับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากผู้ประกอบการธุรกิจ สอดส่องพฤติการณ์ และดำเนินคดีต่อผู้ประกอบการธุรกิจที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค

6.1.2. ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์

6.2. 2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

6.2.1. (กระทรวงสาธารณสุข) กำกับดูแลการผลิต การจำหน่ายและโฆษณาต่าง ๆ ได้แก่ อาหาร เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย ยา เครื่องมือแพทย์ และวัตถุเสพติดให้โทษ ให้เป็นตามกฎหมาย

6.3. 3. กรมอนามัย

6.3.1. (กระทรวงสาธารณสุข) โดยกองโภชนาการมีหน้าที่จัดทำเกณฑ์มาตรฐานด้านโภชนาการและให้คำปรึกษา แนะนำวิชาการด้านโภชนาการ

6.4. 4. กรมการค้าภายใน

6.4.1. (กระทรวงพาณิชย์) ควบคุมสินค้าให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนดและไม่ให้ผู้บริโภคเสียเปรียบ

6.5. 5. กรมทะเบียนการค้า

6.5.1. (กระทรวงพาณิชย์) ควบคุมปริมาณ การชั่ง ตวง และวัดสินค้า

6.6. 6. กรมที่ดิน

6.6.1. (กระทรวงมหาดไทย) มีหน้าที่เกี่ยวกับการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน

6.7. 7. สำนักงานมาตรฐานการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

6.7.1. (กระทรวงอุตสาหกรรม) มีหน้าที่กำหนดและติดตามตรวจสอบมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม

6.8. 8. กรมวิชาการเกษตร

6.8.1. (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) มีหน้าที่ควบคุมวัตถุมีพิษทางการเกษตร

6.9. 9. คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด

6.9.1. มีหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์หรือร้องเรียนจากผู้บริโภค