บทที่ 1 บทนำเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและการสื่อสารทางการศึกษา

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
บทที่ 1 บทนำเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและการสื่อสารทางการศึกษา by Mind Map: บทที่ 1 บทนำเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและการสื่อสารทางการศึกษา

1. ความหมาย เทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการศึกษา และนวัตกรรมทางการศึกษา

1.1. เทคโนโลยี

1.1.1. การนำแนวคิด หลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการ ตลอดจนผลิตผลทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบงานนั้นๆ ให้ดีขึ้น และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจน เพื่อแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน

1.1.1.1. มีประโยชน์ด้านประสิทธิภาพ

1.1.1.2. มีประโยชน์ด้านประสิทธิผล

1.1.1.3. ประหยัด

1.1.1.4. ปลอดภัย

1.2. เทคโนโลยีการศึกษา

1.2.1. กระบวนการที่มีการบูรณาการอย่างซับซ้อน เกี่ยวกับบุคคล กรรมวิธี แนวคิด เครื่องมือ และองค์กร เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา สร้าง ประยุกต์ใช้ ประเมินผล และจัดการแก้ปัญหา

1.3. เทคโนโลยีการสอน

1.3.1. ทฤษฏีและการปฏิบัติ เกี่ยวกับการออกแบบ การพัฒนา การใช้ การจัดการ และการประเมิน ของกระบวนการและแหล่งเรียนรู้สำหรับ การเรียนรู้

1.4. เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.4.1. เทคโนโลยีที่ใช้จัดการ สารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้าง รายงาน การส่ือสารข้อมูล

2. แนวโน้มของนวัตกรรม เทคโนโลยีและการสื่อสาร ทางการศึกษาใน ศตวรรษที่ 21

2.1. การเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าทางการศึกษา

2.1.1. แนวคิดดั้งเดิม

2.1.1.1. ผู้เรียนนั่งฟังและรอรับความรู้จากครู ครูจะเป็น ผู้ดำเนินการ กำกับควบคุมวางแผน ดำเนินการและประเมินผลพฤติกรรมของผู้เรียน

2.1.2. แนวคิดใหม่

2.1.2.1. “การศึกษาจึงต้องเป็นพลวัตร” นั่นคือ ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันและสอดคล้องกับกระแส การเปลี่ยนแปลงของชาติและสังคมโลกอยู่ตลอดเวลา

2.1.2.2. ต้องคำนึงถึงการเตรียมมนุษย์ให้มีคุณภาพ อย่างรอบด้าน ให้คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถศึกษาด้วยตนเองได้

2.2. เปลี่ยนแปลงผู้เรียน

2.2.1. Driscoll (1994) ผู้เรียนเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการตื่นตัว กระฉับกระเฉง และค้นหาความหมาย

2.2.2. Bruner (1983) กล่าวว่า ผู้เรียนต้องยกระดับการเรียนที่เพิ่มจาก “การจดจำ” ไปสู่การเริ่มต้นที่จะคิดอย่างมีวิจารณญาณ และสร้างสรรค์

2.3. การเปลี่ยนแปลงมาสู่การเรียน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

2.3.1. การสอนที่ผู้เรียน ควรได้รับคือ ทักษะการคิดในระดับสูง (Higher-Order Thinking Skills) ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตลอดจนการแก้ปัญหา และการถ่ายโยงความรู้ โดยเน้นการใช้วิธีการต่างๆอาทิ สถานการณ์จ าลอง การค้นพบการแก้ปัญหา และการเรียนแบบร่วมมือ ส าหรับผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์การแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริง

2.4. แนวโน้มของนวัตกรรม เทคโนโลยีและ การสื่อสารทางการศึกษาในศตวรรษท่ี 21

2.4.1. การก้าวข้ามการจัดการเรียนรู้ที่เน้นสาระวิชาเป็นฐาน (Content Base) ไปสู่การเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาทักษะเป็นฐาน ซึ่งครูจะเป็นผู้ออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ ที่จัดเตรียมโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและการพัฒนาทักษะที่จำเป็นแห่งศตวรรษ เช่น การคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การรู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการเรียนรู้ที่บูรณาการชีวิตจริงกับสาระวิชา การใช้ปัญหา เป็นฐานในการเรียนร

3. ความหมายและพัฒนาการของ นวัตกรรม เทคโนโลยี และการสื่อสารทางการศึกษา

3.1. นวัตกรรมการศึกษา

3.1.1. การทำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิด การกระทำหรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้น โดยอาศัย หลักการทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัย จนเชื่อถือได้ เข้ามาใช้ในการศึกษา เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนการสอน

3.1.1.1. เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน อาจใช้ของเก่าที่ใช้ในอดีต แล้วนำมาปรับปรุงใหม่ให้ดียิ่งขึ้น

3.1.1.2. มีการศึกษา ทดลอง โดยอาศัยหลักการ ทฤษฏีมาใช้อย่างเป็นระบบ

3.1.1.3. มีการพิสูจน์ด้วยการทดลองหรือวิจัย

3.1.1.4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงาน

4. บทบาทและความสำคัญของนวัตกรรม เทคโนโลยี และการสารทางการศึกษา

4.1. ประโยชน์ของนวัตกรรมและ เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

4.1.1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น

4.1.2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม

4.1.3. ช่วยให้บรรยากาศการเรียนรู้สนุกสนาน

4.1.4. ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ

4.1.5. ช่วยลดเวลาในการสอน

4.1.6. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

4.2. ประโยชน์ของเทคโนโลยีการศึกษา

4.2.1. ประโยชน์สำหรับผู้เรียน

4.2.1.1. ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้ความสามารถของตนเอง ในการเรียนรู้อย่างเต็มที่

4.2.1.2. ผู้เรียนมีโอกาสตัดสินใจเลือกเรียนตามช่องทางที่เหมาะกับความสามารถ

4.2.1.3. ทำให้กระบวนการเรียนรู้ง่ายขึ้น

4.2.1.4. ผู้เรียนมีอิสระในการเลือก

4.2.1.5. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในทุกเวลา ทุกสถานที่

4.2.1.6. ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

4.2.1.7. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มากกว่าเดิมในเวลา เท่ากัน

4.2.1.8. ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก

4.2.1.9. ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักเสาะหาแหล่งการเรียนรู้

4.2.1.10. ฝึกให้ผู้เรียน คิดเป็นและสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้

4.2.2. ประโยชน์สำหรับผู้สอน

4.2.2.1. ทำให้ประสิทธิภาพของการสอนสูงขึ้น

4.2.2.2. ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลาย

4.2.2.3. ทำให้ผู้สอนมีเวลามากขึ้น จึงใช้เวลาที่เหลือในการเตรียมการสอนได้เต็มที่

4.2.2.4. ทำให้กระบวนการสอนง่ายขึ้น

4.2.2.5. ลดเวลาในการสอนน้อยลง

4.2.2.6. สามารถเพิ่มเนื้อหาและจุดมุ่งหมายในการสอนมากขึ้น

4.2.2.7. ผู้สอนลดเวลาสอนในชั้นเรียนเพราะบทบาทส่วนหนึ่งผู้เรียนทำเอง

4.2.2.8. ผู้สอนสามารถแก้ปัญหาความไม่ถนัดของตนเองได้

4.2.2.9. ผู้สอนสามารถสอนผู้เรียนได้เนื้อหาที่กว้างและลึกซึ้งกว่าเดิม

4.2.2.10. ง่ายในการประเมิน เพราะการใช้เทคโนโลยี มุ่งให้ผู้เรียนประเมินตนเองด้วย