1. ปัญหาดังกล่าวยังคงมีอยู่ซึ่งผู้ป่วยก็ยังได้รับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลต่อเพื่อประคับประคองอาการ
2. สรุปการรักษา
2.1. ให้การรักษาประคับประคองตามอาการตั้งแต่แรกรับ ได้ทำการตรวจ EGD ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นคือไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน เนื่องจาก NPO ไว้ และ on NG tube และให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
3. ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
3.1. เสี่ยงต่อภาวะพร่องโภชนาการสารน้ำและอิเล็กโทรไลด์
3.2. อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับทางหลอดเลือดดำ
3.3. ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันลดลง
4. สภาพผู้ป่วยวันสิ้นสุดการศึกษา
4.1. ผู้ป่วยชายไทยวัยสูงอายุ อายุ 76 ปี สวมชุดโรงพยาบาลมหาราชสีฟ้านอนหลับอยู่บนเตียงไม่สามารถเดินไปเข้าห้องน้ำ หรือทำกิจวัตรประจำวันเองได้ เดินได้ประมาณ 20 ก้าวสีหน้าหน้านิ่ง รู้เรื่อง ตอบคำถามได้ ที่จมูกด้านซ้ายไม่มี NG tube แล้ว on NPT บริเวณไหล่ด้านขวา สีหน้าเหนื่อยอ่อนเพลีย หายใจ 20 ครั้ง/นาที สม่ำเสมอ ไม่มีหอบเหนื่อย ไม่มีอาการแน่นหน้าอก ริมฝีปากแห้ง ไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน อุณหภูมิร่างกาย T=36.6 องศาเซลเซียส อัตราการเต้นของชีพจร 74 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 110/60 mmHg
5. ข้อมูลส่วนบุคคล
5.1. ผู้ป่วยเพศ ชาย อายุ 76 ปี เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย อาชีพ เกษตรกร รายได้ 5,000 บาท/เดือน อยู่ปัจจุบัน 52 หมู่ 9 ต.ทัพรั้ง อ.พระองคำจ.นครราชสีมา วันที่รับไว้ในโรงพยาบาล 1 เมษายน 2560 วันที่ดูแล 19เมษายน 2560
5.2. การวินิจฉัยโรคแรกรับ (First Diagnosis)
5.2.1. Gastric Ulcer หมายถึง โรคแผลในกระเพาะอาหาร แผลที่เกิดบนเยื่อบุกระเพาะอาหาร
5.3. การวินิจฉัยโรคในปัจจุบัน
5.3.1. Gastric Outlet Obstruct หมายถึงกระเพาะอาหารส่วนปลายอุดตัน คือกระเพาะอาหารส่วนปลายมีขนาดใหญ่ขึ้นและบีบตัวน้อยลงมีอาหารตกค้างในกระเพาะอาหารและมีกรดเกลือปริมาณมาก
5.4. การผ่าตัด
5.4.1. EGD ย่อมาจาก Esophagogastroduodenoscopy หมายถึง การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น
5.4.1.1. วันที่ผ่าตัด 3 เมษายน 2560
6. ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพของผู้รับบริการ
6.1. (CC)
6.1.1. มาตามแพทย์นัดเพื่อส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น
6.2. (PI)
6.2.1. 1 เดือนก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีอาการอาเจียนตลอดเวลาหลังรับประทานอาหาร รับประทานอาหารไม่ได้ จึงไปตรวจที่โรงพยาบาลโครกกรวด หมอบอกว่า เป็นลำไส้อุดตัน จึงมาหาหมอที่รพ.มหาราชหมอบอกว่า เป็นกระเพาะอาหารอักเสบ นอนที่ รพ.ประมาณ 15 วัน แล้วกลับบ้าน หมอนัดส่องกล้องวันที่ 1 เมษายน 2560 1 วันก่อนมารพ. อาการไม่ดีขึ้นเหนื่อยเพลีย อาเจียนมากกว่า 10 ครั้ง จึงมาไปหาหมอที่โรงพยาบาลพระทองคำ หมอบอกว่าเป็น กระเพาะอาหารอักเสบ ให้การรักษา on 5 % DN/2 1,000 ml จึง Refer มายังโรงบาลมหาราชเนื่องจากผู้ป่วยมีนัด Admit วันที่ 1 เมษายน 2560 เพื่อเตรียมส่องกล้องวันที่ 3 เมษายน 2560 ที่โรงพยาบาลมหาราช แพทย์จึงพิจารณาส่งต่อตามนัด
6.3. (PH)
6.3.1. ไม่เคยประสบอุบัติเหตุร้ายแร้ง เคยผ่าตัดไส้เลื่อนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ปฏิเสธโรคประจำตัวการแพ้ยา แพ้อาหาร
6.4. (FH)
6.4.1. บิดาของผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง พี่ชาย น้องชายและน้องสาว เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง