ประเภทของระบบสารสนเทศ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ประเภทของระบบสารสนเทศ by Mind Map: ประเภทของระบบสารสนเทศ

1. 4. ทำให้สามารถเข้าในสารสนเทศได้ดีขึ้น

2. ระบบปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Artificial Intelligence System and Expert System)

2.1. ความหมาย

2.1.1. ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เป็นระบบที่มีการศึกษา การเรียนรู้ และสามารถตอบสนองต่อปัญหาของบุคคลและองค์การในแบบเดียวกับบุคคลปกติ

2.1.2. ระบบผู้เชี่ยวชาญหรือ ES เป็นระบบสารสนเทศที่จำลองกระบวนการ ใช้เหตุผลของผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาต่อการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

2.2. ส่วนประกอบของ ES

2.2.1. 1. ฐานความรู้ทำหน้าที่เก็บรวบรวมความรู้ ของผู้เชี่ยวชาญ

2.2.2. 2. เครื่องอนุมานจะเป็นส่วนประมวลผลของ ES

2.2.3. 3. ส่วนดึงความรู้ เป็นส่วนที่ใช้ดึงความรู้จากตำรา เอกสาร หรือฐานข้อมูล และจากผู้เชี่ยวชาญ

2.2.4. 4. ส่วนอธิบาย เป็นส่วนหนึ่งที่อธิบายถึงรายละเอียดของข้อสรุปหรือคำตอบที่ได้มานั้นเป็นอย่างไรและทำไม

2.2.5. 5. ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยให้ ES และผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกันอย่างมีประสิทธิภาพ

2.3. กระบวนการ

2.3.1. การวิเคราะห์ปัญหา

2.3.2. การเลือกอุปกรณ์

2.3.3. การถอดความรู้

2.3.4. การสร้างต้นแบบ

2.3.5. การขยาย การทดสอบ และบำรุงรักษา

3. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System: OAS)

3.1. ความหมาย

3.1.1. ระบบสารสนเทศที่สามารถสร้าง (Create) เก็บข้อมูล (Store) ปรับปรุงข้อมูล (Modify) แสดงภาพ (Display) และติดต่อสื่อสารระหว่างระบบธุรกิจโดยการใช้คอมพิวเตอร์และระบบเทคโนโลยีการสื่อสาร เข้ามาช่วย แทนการพูดเขียน หรือส่งรูปภาพแบบเดิมผู้บริหารคอมพิวเตอร์

3.2. ส่วนประกอบของระบบ

3.2.1. ระบบจัดการเอกสาร

3.2.2. ระบบจัดการด้านข่าวสาร

3.2.3. ระบบประชุมทางไกล

3.2.4. ระบบสนับสนุนสำนักงาน

3.3. องค์ประกอบของสำนักงานอัตโนมัติ

3.3.1. บุคลากร

3.3.2. กระบวนการปฏิบัติงาน

3.3.3. เอกสาร ข้อมูล สารสนเทศ

3.3.4. เทคโนโลยี

3.3.5. การบริหารจัดการ

3.4. องค์ประกอบของสำนักงานอัตโนมัติ

4. ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System: TPS)

4.1. ความหมาย

4.1.1. ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบจากการปฏิบัติงานให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องจักรสามารถอ่านได้ประมวลผลได้

4.2. ประเภทของระบบประมวลผล แบ่งตามวิธีการประมวลผลข้อมูล

4.2.1. ระบบการประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing System)

4.2.2. ระบบการประมวลผลแบบออนไลน์ (Online Processing System)

4.2.2.1. การประมวลผลเชิงรายการ (Transactional Processing)

4.2.2.2. การประมวลผลแบบทันที (Real-time Processing)

4.3. ลักษณะสำคัญ

4.3.1. กระบวนการประมวลผลข้อมูลมีการดำเนินการเป็นประจำ

4.3.2. มีความสามารถในการเก็บฐานข้อมูลจำนวนมาก

4.3.3. มีความแม่นยำค่อนข้างสูง การรักษาความปลอดภัยสูง

4.4. กระบวนการของ TPS

4.4.1. Batch processing การประมวลผลเป็นชุดโดยการรวบรวมข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมที่เกิดขึ้นและรวมไว้เป็นกลุ่ม (batch) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะส่งไปประมวลผล

4.4.2. Online processing คือข้อมูลจะได้รับการประมวลผลและทำให้เป็นเอาท์พุททันทีที่มีการป้อนข้อมูลของธุรกรรมเกิดขึ้น

4.4.3. Hybrid systems เป็นวิธีการผสมผสานแบบที่ 1) และ2) โดยอาจมีการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นทันทีแต่การประมวลผลจะทำในช่วงกระยะเวลาที่กำหนด

5. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS)

5.1. ความหมาย

5.1.1. ระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลอย่างมีหลักเกณฑ์เพื่อช่วยให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

5.2. หน้าที่หลัก

5.2.1. รวบรวมข้อมูล

5.2.2. ประมวลผล

5.2.3. หมายเหตุ : ระบบ MIS ไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างขึ้นจากระบบคอมพิวเตอร์ MIS อาจสร้างขึ้นมาจากอุปกรณ์อะไรก็ได้ แต่ต้องสามารถปฏิบัติหน้าที่หลักทั้งสองประการได้

5.3. ส่วนประกอบสารสนเทศ

5.3.1. ระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลอย่างมีหลักเกณฑ์เพื่อช่วยให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

5.4. ส่วนประกอบ

5.4.1. เครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

5.4.1.1. ฐานข้อมูล (Data Base)

5.4.1.2. เครื่องมือ (Tools) ใช้จัดเก็บและประมวลผลข้อมูล

5.4.1.2.1. อุปกรณ์ (Hardware)

5.4.1.2.2. ชุดคำสั่ง (Software)

5.4.2. วิธีการหรือขั้นตอน

5.4.3. การแสดงผลลัพธ์

5.5. ระดับโครงสร้าง

5.5.1. 1. Top management : ระดับวางแผนกลยุทธ์ นโยบาย และการตัดสินใจ

5.5.2. 2. Middle management : ระดับวางแผนการปฏิบัติการ

5.5.3. 3. Bottom management : ระดับควบคุมการปฏิบัติการ

5.5.4. 4. Operation : ระดับปฏิบัติการ ระบบย่อยในการทำงาน

5.5.4.1. 1) TPS = Transaction processing System)

5.5.4.2. 2) ระบบการจัดการรายงาน (MRS = Management Reporting System)

5.5.4.3. 3) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS = Decision Support System)

5.5.4.4. 4) ระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS = Office Information System)

6. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS)

6.1. ความหมาย

6.1.1. ระบบแบบโต้ตอบที่ใช้คอมพิวเตอร์โดยอาศัยความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ระบบได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่าย และสะดวก มีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลได้ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารในปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง

6.2. ส่วนประกอบของระบบ

6.2.1. ส่วนจัดการข้อมูล (Data Management Subsystem)

6.2.2. ส่วนจัดการโมเดล (Model Management Subsystem)

6.2.3. ส่วนจัดการโต้ตอบ (Dialogue Management Subsystem)

6.2.4. ส่วนจัดการองค์ความรู้ (Knowledge-based Management Subsystem)

6.3. ประเภทของระบบ

6.3.1. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้รูปแบบเป็นหลัก (Model-driven DSS)

6.3.2. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้ข้อมูลเป็นหลัก (Data-driven DSS)

7. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Support System: ESS)

7.1. ความหมาย

7.1.1. ระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ และความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร

7.2. คุณสมบัติของระบบ

7.2.1. ความยืดหยุ่นสูงสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร

7.2.2. มีการใช้งานบ่อยและไม่ต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง

7.2.3. ผลลัพธ์ที่แสดงจะเป็นตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย

7.2.4. การใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ

7.3. หน้าที่ของระบบ

7.3.1. ช่วยในการวางแผนกลยุทธ์ โดยประเมินและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

7.3.2. ช่วยในการควบคุมเชิงกลยุทธ์ (Strategic control)

7.3.3. ช่วยในการสร้างเครือข่าย (Networks)

7.3.4. ช่วยในการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

7.3.5. ช่วยในการจัดการกับวิกฤต (Crisis management)

7.4. ข้อดี

7.4.1. 1. ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการใช้งาน

7.4.2. 2. การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์

7.4.3. 3. ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ

7.4.4. 5. มีการกรองข้อมูลให้ประหยัดเวลา

7.4.5. 6. ทำให้ระบบสามารติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น