ประเภทของสารสนเทศ
by ภูษิต ทุมแถว
1. ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems :TPS) คือระบบสารสนเทศที่ใช้ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบจากการปฏิบัติงานให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องจักรสามารถอ่านได้, เก็บรายละเอียดรายการ, ประมวลผลรายการและสั่งพิมพ์รายละเอียดรายการ ออกมาได้
1.1. ระบบการประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing System)
1.2. ระบบการประมวลผลแบบออนไลน์ (Online Processing System)
1.3. การประมวลผลเชิงรายการ (Transactional Processing)
1.4. การประมวลผลแบบทันที (Real-time Processing)
2. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์
2.1. DSS แบบให้ความสำคัญกับข้อมูล (Data-Oriented DSS)
2.2. DSS แบบให้ความสำคัญกับแบบจำลอง (Model-Based DSS)
3. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ( Office Automation หรือ OA)เป็นแนวคิดในการนำเอาระบบเครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ และผนวกด้วยซอฟต์แวร์สำหรับช่วยงานในสำนักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้เป็นสำนักงานไร้กระดาษ องค์ประกอบมีดังนี้
3.1. การรับเอกสารและข้อมูล
3.2. การบันทึกเอกสารและข้อมูล
3.3. การสื่อเอกสารและข้อมูล
3.4. การกระจายข่าวสาร
3.5. การจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
3.6. การขยายรูปแบบเอกสาร
3.7. การกำจัดและทำลายเอกสาร
4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS) เป็น ระบบสารสนเทศที่โดยปกติแล้วจะประมวลผลและสรุปผลจากแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูล ที่ได้จาก TPS เพื่อจัดทำสารสนเทศตามความต้องการ
4.1. รายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด (Periodic Reports)
4.2. รายงานสรุป (Summarized Reports)
4.3. รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขเฉพาะ (Exception Reports)
4.4. รายงานที่จัดทำตามความต้องการ (Demand Reports)
5. . ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems: EIS )ช่วยวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม และการวางแผนสามารถเข้าถึงสารสนเทศโดยกำหนดมุมมอง เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง และรวดเร็ว ใช้งานได้ง่าย และจะนำเสนอ ในรูปของรายงาน ตาราง และกราฟ เพื่อการสรุปสารสนเทศ
6. ระบบผู้เชี่ยวชาญ หรือ ระบบผู้ชำนาญการ (expert system) เป็นซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการหาคำตอบ อธิบายความไม่ชัดเจน ซึ่งปกตินั้นจะใช้ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาตอบคำถามนั้น ส่วนประกอบของ Expert System ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
6.1. ฐานความรู้ (knowledge base)
6.2. เครื่องอนุมาน (inference engine)
6.3. ส่วนดึงความรู้ (knowledge acquisition subsystem)
6.4. ส่วนอธิบาย (explanation subsystem)
6.5. การติดต่อกับผู้ใช้ (user interface)