Get Started. It's Free
or sign up with your email address
Songkhla Landmark by Mind Map: Songkhla Landmark

1. จังหวัดสงขลามีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างต่อเนื่อง มีหลักฐานปรากฏในการสร้างเมือง สมัยเจ้าพระยาคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) ได้เริ่มสร้างป้อม กำแพงเมืองยาว ๑๒๐๐ เมตร และประตูเมือง สิบประตู ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๗๙ เป็นประตูเมืองที่สวยงาม เป็นซุ้มใหญ่โดยรอบ ๑๐ ประตู กว้างประมาณ ๖ ศอก สูง ๓ วา ซุ้มเป็นหลังคาจีน ทำนองเป็นหอรบ คุณบันเทิง พูลศิลป์ ได้บันทึกไว้ในงานเขียน เรื่อง "โบราณวัตถุสถานในจังหวัดสงขลาที่เกี่ยวข้อง กับตระกูล ณ สงขลา" เกี่ยวกับชื่อของประตูเมืองทั้ง ๑๐ ดังนี้ ๑. สุรามฤทธิ์ ๒. ศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์ ๓. อัคนีวุธ ๔. ยุทธชำนะ ๕. บูรพาภิบาล ๖. สนามสงคราม ๗. พยัคฆ์นามเรืองฤทธิ์ ๘. จันฑีพิทักษ์ ๙. พุทธรักษา ๑๐. มฤคพิทักษ์ ซึ่งปัจจุบันนี้เทศบาลนครสงขลา ได้จำลองไว้บริเวณทางเข้าเมืองสงขลา และย่านเมืองเก่า ถนนนครนอก ถนนนครใน เมืองสงขลา เพื่อเป็นสัญลักษณ์เมืองสงขลา จากเรื่องราวดังกล่าวช่างฝีมือจึงได้จัดทำประตูเมืองสงขลาจำลอง เป็นของที่ระลึกสำหรับผู้มาเยือนสงขลา

2. Landmark

2.1. ประตูเมืองสงขลา

2.2. นางเงือก

2.3. เขาตังกวน

3. History

3.1. ประตูเมืองสงขลา

3.2. นางเงือก

3.3. แหลมสมิหลา หรือที่มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แหลมหิน อยู่ในเขตเทศบาลเมือง ห่างจากตลาดทรัพย์สิน(ตลาดสดเทศบาล)ประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร อยู่ห่างจาก บน.๕๖ฯ ประมาณ ๔๐ กม.มีหาดทรายขาวสะอาด ทิวสนร่มรื่น ชายทะเลเมืองสงขลาซึ่งเปรียบเสมือนห้องรับแขกธรรมชาติที่ต้อนรับผู้มาเยือนเรื่อยมาจนปัจจุบันหาดสมิหลาอยู่ทางตอนเหนือของชายทะเลเมืองสงขลาถัดจากแหลมสนอ่อนทอดยาวไปจรดแหลมสมิหลาที่อยู่ท้ายหาดทางด้านใต้ เป็นชายหาดสวยงามน่าเดินเล่นทรายขาวละเอียด น้ำไม่ลึกมาก เล่นน้ำได้ดี ตลอดแนวจัดเป็นสถานที่พักผ่อนทางวิ่งออกกำลังกาย จุดชมวิวที่มีทิวทัศน์ของเกาะหนู เกาะแมวเป็นฉากหลัง มีปฏิมากรรมรูปนางเงือกนั่งอยู่บนโขดหิน อันเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสงขลา บริเวณแหลมสมิหลามีโขดหินขนาดย่อมยื่นลงทะเล หาดทรายขาวละเอียดมากที่เรียกว่า "ทรายแก้ว" มีป่าสนร่มรื่น จากแหลมสมิหลาสามารถมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของ เกาะหนูเกาะแมว จนมีคำกล่าวว่าใครมาเยือนสงขลาแล้วไม่มาเยือนสมิหลาก็เหมือนมาไม่ถึงสงขลา รูปปั้น“นางเงือกทอง” สัญลักษณ์อันโดดเด่นของจังหวัดสงขลาตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมสมิหลา นักท่องเที่ยวนิยมจะไปถ่ายภาพคู่กับนางเงือกกันเสมอ นางเงือกทองถูกสร้างขึ้นตามนิยายปรัมปราของไทยโบราณ ซึ่ง ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) ได้บอกเล่าไว้ว่า ในวันดีคืนดีนางเงือกจะมานั่งหวีผมบนชายหาดด้วยหวีทองคำ วันหนึ่งบังเอิญว่ามีชายชาวประมงเดินผ่านมา ทำให้นางเงือกตกใจ รีบหนีลงทะเลไปโดยลืมหวีทองคำไว้ ฝ่ายชาวประมงเห็นดังนั้นก็เก็บหวีทองคำไว้และเฝ้าคอยนางเงือกที่หาดนั้นเสมอ แต่นางเงือกก็ไม่เคยปรากฏกายให้เห็นอีกเลย นางเงือกทองถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2509 ในท่านั่งหวีผม ซึ่งได้หล่อขึ้นด้วยบรอนซ์รมดำ โดยฝีมือการออกแบบ ปั้น และหล่อ โดยอาจารย์จิตร บัวบุศย์ ด้วยราคา 60,000 บาทในสมัยนั้นด้วยเงินงบประมาณของเทศบาลสงขลา

3.4. เจดีย์เขาตังกวน

3.4.1. เจดีย์พระธาตุเขาตังกวน กว่า 700 ปี คู่เมืองสงขลา สร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี เดิมชื่อว่า “เมืองตังอู” เจ้าเมืองตังอูชาวบ้านเรียกว่า “พ่อเมืองตังอู” มีพระราชครู ชื่อว่า “ปลอด” เจดีย์พระธาตุ บนเขาตังกวน พ่อเมืองตังอู เป็นผู้สร้าง ให้พระราชครูปลอด เป็นผู้จัดการก่อสร้าง เมื่อวันเสาร์ ขึ้น 15ค่ำ เดือน 9 ปีเถาะ ตรงกับ วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 1853 ใช้เวลาก่อสร้าง 8 ปี นับจาก พ.ศ.2555 นับอายุได้ 702 ปี ภายในเจดีย์พระธาตุบรรจุ แก้วสารพัดนึก ลักษณะกลม ขาวใส ขนาดเท่าขวดโหล บรรจุเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีจอ ตรงกับ วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 1861 แก้วสารพัดนึก ได้มาจากเมืองสวรรค์ คือ วันหนึ่ง ฟ้ามืดครึ้ม ฝนตกหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง สะเทือนฟ้า สะเทือนบ้าน สะเทือนเมือง เมื่อฝนแล้ง ท้องฟ้าสงบ บ้านเมืองสว่างไสวเหมือนเดิม จึงมีลูกแก้วลูกใหญ่ตั้งอยู่ ชาวเมืองเข้าใจว่าเทพบนสวรรค์ประทานมาให้ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของเมืองตังอู เจ้าเมืองตังอู จึงสร้างเจดีย์พระธาตุ บนยอดเขาตังกวนที่จุดสูงสุด และบรรจุแก้วสารพัดนึกลูกนี้ในเจดีย์พระธาตุ เพื่อให้ความเจริญรุ่งเรืองแผ่ไปทั่วเมืองตังอู ผู้ดูแลเจดีย์พระธาตุตลอดมา คือ “เจ้าเมืองตังอู” ในปี พ.ศ.2402 รัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองสงขลา หลังจากนั้นในปี 2409 จึงได้โปรดเกล้าให้เจ้าพระยาวิเชียรคิรี (เม่น) ทำการบูรณะปฎิสังขรณ์พระเจดีย์ให้สูงใหญ่กว่าของเก่า ได้สร้างคฤหไว้ที่ฐานพระเจดีย์ และต่อเติมเก๋งที่มุมกำแพง ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน (ร.9) ได้ทรงพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุให้มาบรรจุในองค์พระเจดีย์