1. ระบบความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต(Internet security) ระบบที่มีไว้เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากผู้ที่ประสงค์ร้ายต่อข้อมูลที่เป็นธุรกิจความลับขององค์การหรือข้อมูลของบุคคลทั่วไปที่องค์การนั้นมีอยู่รวมไปถึงข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์จากผู้ที่ต้องการคุกคามผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์บนโลกอินเทอร์เน็ต
2. Digital Literacy
2.1. คือ ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ทักษะดังกล่าวครอบคลุมความสามารถ 4 มิติ การใช้ (Use) เข้าใจ (Understand) การสร้าง (create) เข้าถึง (Access) เทคโนโลยีดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. การป้องกันรหัสผ่าน(Password protection) รหัสผ่านเป็นมาตรการขั้นแรกของการป้องกันอาชญากรไซเบอร์ เป็นเรื่องสำคัญยิ่งในการเลือกรหัสผ่านที่แข็งแกร่งที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละบัญชีสำคัญของคุณ และการอัปเดตรหัสผ่านของคุณเป็นประจำก็เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ ปฏิบัติตามเคล็ดลับเหล่านี้เพื่อสร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่งและเก็บรักษารหัสผ่านให้ปลอดภัย1.ใช้รหัสผ่านที่ไม่ซ้ำกันสำหรับแต่ละบัญชีสำคัญของคุณอย่างเช่น อีเมลและการทำธุรกรรมธนาคารออนไลน์2.ใช้รหัสผ่านยาวๆ ที่ประกอบด้วยตัวเลข ตัวอักษร และสัญลักษณ์3.ตั้งค่าตัวเลือกการกู้คืนรหัสผ่านของคุณและคอยปรับปรุงให้อัปเดตอยู่เสมอ
4. Digital Safety
4.1. ความเสี่ยงจากพฤติกรรม(Behavioral risks)สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน 1. ความบกพร่องในการควบคุมดูและการให้คำแนะนำของหัวหน้างาน หรือผู้บังคับบัญชา ซึ่งได้แก่ 1) บกพร่องในการเป็นผู้นำด้านความปลอดภัย 2) ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 3) ไม่ทำตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้ 4) บกพร่องในการสั่งการ 5) ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 6) ขาดการบำรุงขวัญ และปลูกจิตสำนึกในการทำงาน
4.2. ความเสี่ยงจากการติดต่อพบปะ(Contact risks)ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเป็นสภาพที่ปราศจากอุบัติเหตุทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งหน่วยงานจะต้องสร้างสร้างมาตรฐานด้าน ความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในองค์กร เพราะในการเกิดอุบัติเหตุในการทำงานก่อให้เกิดการสูญเสียอย่างมากมายในหลายๆ ด้าน เช่น เป็นสาเหตุที่ทำให้ประสบความขาดทุนและจำเป็นต้องเลิกกิจการไป ก่อให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ปฏิบัติงาน เป็นการ สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของผู้ปฏิบัติงาน และเป็นการสูญเสียทรัพยากรที่สำคัญของหน่วยงานและของประเทศ
4.3. ความเสี่ยงจากเนื้อหา(Content risks) มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม
5. Digital Right
5.1. คือเทคโนโลยีที่ใช้โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อควบคุมการเข้าถึงและการใช้งานข้อมูลดิจิทัล และฮาร์ดแวร์ซึ่งใช้จำกัดการใช้งานข้อมูลดิจิทัลเฉพาะงานใดงานหนึ่ง การจัดการสิทธิดิจิทัลมักสับสนกับ การป้องกันการคัดลอก ซึ่งหมายถึงเทคโนโลยีในการจำกัดการใช้งานและการเข้าถึงข้อมูลบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการสิทธิดิจิทัล การจัดการสิทธิดิจิทัลเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันอย่างมาก ฝ่ายสนับสนุนเห็นว่า การจัดการสิทธิดิจิทัลจำเป็นสำหรับเจ้าที่ลิขสิทธิ์สำหรับการป้องการการทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้แน่ใจว่ามีรายได้จากผลงานต่อไป
5.2. การคุ้มครองสิทธิของทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property rights) ประการแรก โดยทั่วไปแล้ว คำว่า “สิทธิ” (ในทางกฎหมาย) มีความหมายที่สำคัญอยู่ ๒ ประการ คือ ๑) ความหมายในแง่เนื้อหา (inhalt) ถือว่า “สิทธิ” หมายถึง อำนาจ (macht) ที่กฎหมายให้แก่บุคคล เช่น การที่บุคคลใดมีกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์ บุคคลนั้นย่อมมีอำนาจที่จะมีเจตจำนง (will) ที่จะครอบครอง ที่จะใช้สอย หรือที่จะจำหน่ายทรัพย์นั้น โดยเขาจะใช้อำนาจนั้นหรือไม่ก็ได้ หรือจะใช้อำนาจดังกล่าวแต่เพียงบางประการก็ได้แล้วแต่เจตจำนงของเขา ผู้ที่ให้คำนิยามนี้คือ วินด์ไซด์ (Windscheid) นักกฎหมายชาวเยอรมัน ๒) ความหมายในแง่จุดประสงค์ (zweck) ถือว่า “สิทธิ” หมายถึง ประโยชน์ที่กฎหมายคุ้มครองให้ ผู้ที่ให้คำนิยามนี้คือ เยีนริ่ง (Jhering) โดยถือว่า ประโยชน์ในที่นี้สืบเนื่องมาจากการที่กฎหมายให้อำนาจแก่บุคคลที่จะมีเจตจำนง (willensmacht) ก็เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งบุคคลมุ่งประสงค์ ฉะนั้นจึงควรถือว่า “สิทธิ” เป็น “ประโยชน์” ที่กฎหมายคุ้มครองมากกว่าจะเป็นอำนาจ ส่วนบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับความหมายที่ ๒ นี้เห็นว่า การที่จะถือว่า “สิทธิ” เป็นประโยชน์ที่กฎหมายคุ้มครองให้นั้นแคบไปเพราะมี “สิทธิ” เป็นจำนวนมากที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เจ้าของสิทธินั้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ถือว่า “สิทธิ” เป็นทั้ง “อำนาจ” และเป็นทั้ง “ประโยชน์” และควรจะถือว่า “สิทธิ” คือ อำนาจที่กฎหมายให้เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ที่กฎหมายคุ้มครอง ประการต่อมา จากความหมายข้างต้นแสดงให้เห็นว่า “สิทธิ” นั้นเป็นทั้งอำนาจและประโยชน์ในทรัพย์สินตามกฎหมาย ฉะนั้น “สิทธิ” ในทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นทั้งอำนาจและประโยชน์ที่กฎหมายให้ความคุ้มครองในฐานะผู้เป็นเจ้าของ หรือผู้ครอบครองทรัพย์สินทางปัญญา (หรือสิทธิ) นั้น ดังที่ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ได้ให้ความหมายไว้ว่า “สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิทธิที่ผู้สร้างสรรค์ได้รับเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง โดยที่กฎหมายได้ให้สิทธิในทรัพย์สินแก่ผู้สร้างสรรค์ให้อยู่เหนือผลงานการสร้างสรรค์ของพวกเขา” จากความหมายนี้แสดงให้เห็นว่า กฎหมายได้ให้ทั้ง “อำนาจ” และ “ประโยชน์” แก่ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา โดยให้สิทธิเหล่านี้ในฐานะผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน คือ ความรู้ ความคิด หรือข้อมูล สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจึงถูกเรียกว่า สิทธิแต่ผู้เดียว (Exclusive Rights) ของผู้เป็นเจ้าของสิทธินั้น เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทยอาจแบ่งประเภทของ “สิทธิ์” ตามลักษณะของการบังคับใช้สิทธินั้นต่อบุคคลอื่นเป็น ๒ ประเภท คือ ทรัพยสิทธิ (real right) เป็นสิทธิที่มีอยู่ต่อบุคคลทั่วไป และ บุคคลสิทธิ (personal right) เป็นสิทธิที่มีต่อบุคคลเฉพาะ ซึ่งเป็นสิทธิที่ใช้ยันหรือมีผลผูกพันเฉพาะคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง มีความหมายเช่นเดียวกับ “สิทธิเรียกร้อง” (claim) หรือสิทธิทางหนี้ (obligatory) สำหรับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจัดเป็น “ทรัพยสิทธิ” อย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นโดยอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๙๘ มีใจความว่า “ทรัพยสิทธิทั้งหลายนั้น ท่านว่าจะก่อตั้งขึ้นได้แต่ด้วยอาศัยอำนาจในประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่น” สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นทรัพยสิทธิที่ก่อตั้งด้วยอาศัยอำนาจในกฎหมายอื่นหรือกฎหมายเฉพาะ เช่น “ลิขสิทธิ์” ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗, “สิทธิบัตร” ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นต้น จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ข้างต้น แม้มิได้กำหนดบทนิยามวิเคราะห์ศัพท์เพื่อให้ความหมายไว้ก็ตาม แต่ก็อาจให้ความหมายได้ว่า “ทรัพยสิทธิ” เป็นสิทธิที่มีอยู่ต่อบุคคลทั่วไป ซึ่งนักกฎหมายเยอรมนีเรียกว่า “สิทธิเด็ดขาด” (absolute right) ตรงกับคำในภาษาอังกฤษ คือ “real right” หรือภาษาลาตินว่า “jus in rem” ซึ่ง “rem” มาจากคำว่า “Res” แปลว่า สิ่งของ “ทรัพยสิทธิ” จึงหมายถึง อำนาจในทรัพย์สิน สิทธิของบุคคลที่มีอยู่เหนือทรัพย์สิน หรือสิทธิของบุคคลที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สิน จึงเป็นสิทธิที่บังคับเอาจากทรัพย์สินโดยตรงและใช้ต่อสู้กับบุคคลได้ทั่วไป กล่าวคือ คนทั่วๆ ไปทุกคนจะต้องไม่ขัดขวางการใช้ทรัพยสิทธิของผู้ทรงทรัพยสิทธินั้น เมื่อสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจัดเป็นทรัพยสิทธิ แสดงให้เห็นว่า ทรัพย์สินทางปัญญาจัดเป็นสิทธิของบุคคลที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินไม่มีรูปร่าง หรือสิทธิของบุคคลที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สินไม่มีรูปร่าง ตัวอย่างเช่น นาย ก. ได้แต่งหนังสือคำบรรยายกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินขึ้นเล่มหนึ่ง เช่นนี้ถือว่านาย ก. มีทรัพยสิทธิเหนือลิขสิทธิ์ในหนังสือเล่มนั้น หรือ นาย ข. ได้ออกแบบผลิตภัณฑ์มีดโกนหนวดแบบใหม่ ซึ่งแตกต่างจากมีดโกนหนวดที่มีอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน และรัฐได้รับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่นาย ข. แล้ว ดังนั้น นาย ข. ย่อมเป็นผู้ทรงทรัพยสิทธิ หรือสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์มีดโกนหนวดนั้น หรือ นาย ค. ได้ใช้เครื่องหมายการค้าตรากระต่ายหมายจันทร์สำหรับสิ้นค้าของตนเอง และได้นำเครื่องหมายดังกล่าวไปจดทะเบียนไว้ เช่นนี้ถือว่านาย ค. มีทรัพยสิทธิ หรือสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้น เป็นต้น ทรัพย์สินทางปัญญาจัดเป็นทรัพยสิทธิ ผู้ทรงสิทธิจึงสามารถจำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อให้เกิดภาระติดพันใดๆ ได้ ยกเว้นสิทธิบางประเภทที่กฎหมายห้ามโอน เช่น ธรรมสิทธิ์ (moral rights) ในกฎหมายลิขสิทธิ์ และยกเว้นสิทธิบางประเภท[11] ที่อาจทำการโอนได้ก็ต่อเมื่อมีการโอนกิจการที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นไปด้วย เป็นต้น และโดยสภาพที่เป็นทรัพยสิทธินี่เอง จึงทำให้ผลงานทางปัญญาเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในทางเศรษฐกิจ ซึ่งผู้ทรงสิทธิอาจนำออกแสวงหาประโยชน์ได้ การใช้ประโยชน์จากสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานั้นอาจทำได้ ๒ วิธี คือ วิธีที่ ๑ ด้วยการที่ผู้ทรงสิทธินำเอาการประดิษฐ์หรือเทคโนโลยีนั้นไปผลิตผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายด้วยตัวเอง และวิธีที่ ๒ ถ้าผู้ทรงสิทธิไม่ประสงค์ที่จะทำการผลิตสินค้าออกจำหน่าย ก็อาจทำสัญญาอนุญาตให้ผู้อื่นที่สนใจจะใช้ประโยชน์จากผลงานทางปัญญานั้น ให้ทำการผลิตผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายแทนได้ โดยผู้ทรงสิทธิเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้สิทธิจากบุคคลดังกล่าวเป็นการตอบแทน[12] ดังนั้น สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา จึงมีลักษณะเป็น “ทรัพยสิทธิ” คือ สิทธิแต่ผู้เดียวที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า เป็นต้น
5.3. ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ (Privacy) โดยทั่วไปหมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆ ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้ 1.การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในกเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร 2.การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม 3.การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด 4.การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จีงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล
5.4. เสรีภาพในการพูด (Freedom of speech) เป็นสิทธิการเมืองในการสื่อสารความคิดของบุคคลผ่านการพูด คำวา เสรีภาพในการแสดงออก บางครั้งใช้เป็นคำไวพจน์ แต่ยังรวมไปถึงพฤติการณ์ใด ๆ ในการแสวงหา ทั้งด้วยการพูด การแสดงท่าทาง หรือการสื่อสารด้วยตัวหนังสือ ไม่ว่าจะบนหน้ากระดาษหรือในโลกออนไลน์ ตลอดจนในรูปแบบอื่นๆ เช่น เสียงเพลง ภาพถ่าย ภาพกราฟิกหรือภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ นอกจากนี้ยังรวมถึงสิทธิในการค้นคว้า หา เข้าถึงหรือได้รับข้อมูล ความรู้สึกนึกคิด ความเห็นที่มีการสื่อสารและเผยแพร่และนำข้อสนเทศหรือความคิดโดยไม่คำนึงถึงสื่อที่ใช้ ในทางปฏิบัติ สิทธิในเสรีภาพการพูดมิได้มีสมบูรณ์ในทุกประเทศ และสิทธินี้โดยทั่วไปมักถูกจำกัด เช่นเดียวกับการหมิ่นประมาท การดูหมิ่นซึ่งหน้า ความลามก และการยุยงให้ก่ออาชญากรรม สิทธิในเสรีภาพการพูดได้รับการยอมรับเป็นสิทธิมนุษยชนภายใต้ข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และได้รับการยอมรับในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 19 แห่งกติกาฯ บัญญัติว่า "ทุกคนจักมีสิทธิออกความเห็นโดยไม่ถูกแทรกแซง" และ "ทุกคนจักมีสิทธิในเสรีภาพการพูด สิทธินี้จักรวมไปถึงเสรีภาพในการแสวงหา ได้รับและส่งต่อข้อสนเทศและความคิดในทุกรูปแบบ โดยไม่คำนึงถึงขอบเขต ไม่ว่าจะโดยการพูด การเขียนหรือการพิมพ์ ในรูปของศิลปะ หรือผ่านสื่ออื่นใดที่เป็นทางเลือกของเขา" หากข้อ 19 ยังบัญญัติต่อไปว่าการใช้สิทธิเหล่านี้มี "หน้าที่และความรับผิดชอบพิเศษ" และอาจ "ดังนั้น ต้องถูกจำกัดบ้าง" เมื่อจำเป็น "เพื่อความเคารพถึงสิทธิหรือชื่อเสียงของคนอื่น" หรือ "เพื่อคุ้มครองความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือศีลธรรม" สิทธิในเสรีภาพในการแสดงออกถูกตีความรวมถึงสิทธิในการถ่ายรูปและเผยแพร่ภาพถ่ายบุคคลแปลกหน้าในพื้นที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการรับรู้จากพวกเขา อย่างไรก็ตามในคดีตามกฎหมายในประเทศเนเธอร์แลนด์สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกไม่รวมถึงสิทธิในการใช้รูปถ่ายในลักษณะเหยียดสีผิวเพื่อปลุกระดมความเกลียดชังทางเชื้อชาติหรือการเลือกปฏิบัติชาติพันธุ์
6. Digital Use
6.1. การใช้เวลาหน้าจอ(Screen time management) การรู้จักควบคุมตัวเอง และสามารถแบ่งเวลาในการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเล่นเกมออนไลน์และโซเชียลมีเดียอย่างรับผิดชอบ
6.2. สุขภาพ การแพทย์ดิจิทัล(Digital Health) ผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ นักเรียนเรียนรู้ท่านั่งที่ถูกต้องขณะใช้ PC รู้ถึงผลกระทบต่อสายตา กระดูกสันหลัง สมอง (กรณีคลื่นโทรศัพท์) หากใช้โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือ PC ผิดวิธี การเล่นเกมเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเกมต่อสู้หรือที่มีเนื้อหารุนแรง นอกจากจะทำให้ดวงตาเสื่อมเร็วแล้ว ยังสามารถทำให้ผู้เล่นเครียด หงุดหงิด และกลายเป็นคนอารมณ์ฉุนเฉียวง่ายอีกด้วย
6.3. การมีส่วนร่วมของชุมชน(Community particiration) การมีส่วนร่วมของชุมชนนั้น จะต้องประกอบไปด้วยองค์กรหลักๆอยู่ 3 องค์กร คือ รัฐบาล (Government) ประชาชน (People) และชุมชน (Community) ซึ่งองค์กรชุมชนนั้นเป็นองค์กรพื้นฐานที่สำคัญของการเป็นรากฐานของประเทศ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนและการพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้าไป
7. Digital communication
7.1. Online callaboration
7.1.1. ความร่วมมือออนไลน์(online callaboration)Transcript of ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative Learning) หลักการ 1. การเรียนรู้แบบร่วมมือ คือการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย มีสมาชิก 3-6 คน สมาชิกในกลุ่มมีความสามารถที่แตกต่างกัน สมาชิกช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม 2. องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบด้วย การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน, การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด, ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน, การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย, และ การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่มเพื่อให้กลุ่มเกิดการเรียนรู้และปรับปรุงการทำงาน การประยุกต์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1. ด้านการวางแผนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย กำหนดจุดมุ่งหมาย ขนาดกลุ่ม องค์ประกอบของกลุ่ม บทบาทของสมาชิก สถานที่ และงานที่กำหนดให้ผู้เรียนทำ 2. ด้านการสอน ประกอบด้วย อธิบายและชี้แจงการทำงานของกลุ่ม เกณฑ์การประเมิน การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน การช่วยเหลือกันระหว่างกลุ่ม การตรวจสอบความรับผิดชอบและหน้าที่ของแต่ละคน และพฤติกรรมที่ความหวัง 3. ด้านการควบคุมกำกับและการช่วยเหลือกลุ่ม ประกอบด้วย ดูแลให้สมาชิกกลุ่มปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด สังเกตการณ์การทำงานร่วมกันของกลุ่ม ให้ข้อมูลป้อนกลับและการเสริมแรง ช่วยเหลือกลุ่มตามความเหมาะสม และสรุปการเรียนรู้ 4. ด้านการประเมินผลและวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ ใช้วิธีการที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และวิเคราะห์กระบวนการทำงานและกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
7.2. Online communication
7.2.1. การสื่อสารออนไลน์(online communication)หากมองย้อนกลับไปในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเมื่อพูดถึงคำว่า “เครือข่ายสังคมที่เต็มไปด้วยกลุ่มวัยรุ่นที่ทำกิจกรรมติดต่อสื่อสาร พูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความบันเทิง หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เน้นไปที่การกระจายตัว “ความเป็นเมือง” ไปยังพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านการคมนาคมขนส่ง การค้าและบริการ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการสื่อสารที่ก้าวไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เราสามารถเข้าถึงบริการด้านข้อมูลข่าวสาร และการติดต่อสื่อสารในยุคการเชื่อมต่อไร้สายผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้มากขึ้น ใครเป็นใครบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผลการวิจัยเรื่อง “ใครเป็นใครบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ : ความหลากหลายทางคุณลักษณะและพฤติธรรม” ของ ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า กลุ่มประชากรที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ยังคงเป็นกลุ่มเยาวชน (อายุ 15 – 24 ปี) แต่มีการขยายตัวของจำนวนผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ไปกลุ่มอื่นๆ อีกด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ ภัยร้ายออนไลน์ในวัยรุ่นไทย “เครือข่ายสังคมออนไลน์” กลายเป็นสังคมที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น และมีความหลากหลายทั้งในแง่คุณลักษณะทางเพศและอายุ ตลอดจนวัตถุประสงค์การใช้งาน ที่นับวันภาพของ “สังคมออนไลน์” ก็จะยิ่งสะท้อนภาพของคนใน “สังคมไทย” เข้าไปทุกที
7.3. Digital footprints
7.3.1. Digital Footprint คืออะไร จริง ๆ แล้วก็แปลตามตัวนั้นละว่าคือร่องรอยการกระทำต่าง ๆ ที่ฝังหรือตามได้ในโลก Digital ของเรา ไม่ว่าจะเป็นข่าวที่พูดถึงเรา หรือ Blog, การโพสเว็บบอร์ด และ Digital Profile ต่าง ๆ อย่าง Twitter, Instagram และ Facebook ซึ่งหลาย ๆ อย่างนั้นเราเปิดเป็น Public และทำให้คนต่าง ๆ เข้ามาดูได้และรับรู้ว่าเราเป็นอย่างไรส่วนหนึ่งผ่านทาง Digital Footprint พวกนี้ ทำให้เหล่า Hacker นั้นสามารถมาเรียนรู้และเดาเรื่องต่าง ๆ หรือสืบเรื่องต่าง ๆ ได้ไม่ยาก และเข้าไปเจาะเอาข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มเติมมาได้มากมาย จนสร้างความเสียหายให้กับคนที่ข้อมูลรั่วได้ ทั้งนี้การสืบ Digital Footprint นั้นเป็นวิธีการหนึ่งที่องค์กรในยุคใหม่นี้ใช้ทำอะไรหลาย ๆ อย่างที่เราคาดไม่ถึงอย่างเช่น การสมัครงานที่หลาย ๆ ครั้งนั้นผู้สมัครไม่รู้เลยว่าเมื่อยื่นใบสมัครไปแล้ว HR หรือฝ่ายบุคคลหรือคนที่ดูแลเรื่องการรับบุคคลนั้น ๆ จะเอาชื่อเราไปค้นหาผ่านทาง Google เพื่อดูว่าคน ๆ นั้นเป็นอย่างไร และทัศนะคติเป็นอย่างไรเพื่อประกอบการเรียกหรือไม่เรียกสัมภาษณ์ นอกจากสาย HR จะใช้ Digital Footprint ในการรับคนเข้าทำงานแล้ว ในสายการตลาดหรือ Startups ในการใช้ Digital Footprint ในงานของด้านการเจรจาธุรกิจหรือการ pitching งานต่าง ๆ ก็มีความสำคัญเช่นกัน ดังเช่นที่ซุนวูว่าไว้ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” ดังนั้นการล่วงรู้ข้อมูลต่าง ๆ ที่จะทำให้เรามีชัยทางด้านการตลาดจึงมีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน โดยการใช้ Digital Footprint นี้ในต่างประเทศเองเป็นที่นิยมมากในหมู่ทั้ง Agency และลูกค้าที่เข้ามาประชุมกันในการเรียนรู้ว่าคนที่เข้ามาร่วมประชุมนั้นมีตัวตนอย่างไร ข้อดีของ Agency ในการสืบ Digital Footprint ของลูกค้าคือการเข้าใจว่าลูกค้าเป็นคนอย่างไร มีความคิดอย่างไร ชอบหรือไม่ชอบอย่างไร และมี Background พื้นฐานมาจากไหน ทำให้สามารถเตรียมตัวหรือสร้างสรรค์งานที่จะตรงใจคนที่จะเข้าประชุมได้ หรือสร้างบทสนทนาในห้องประชุมที่ถูกใจคนร่วมประชุมได้อย่างมาก เป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีร่วมกันส่วนหนึ่งขึ้นมา ในส่วนของลูกค้าเช่นกัน นักการตลาดหลาย ๆ คนก็ใช้สืบว่าคนในเอเจนซี่ที่เข้ามาเสนองานนั้นเป็นใคร มีความสามารถอะไร หรือทำอะไรมาบ้าง นอกจากนี้ยังตามไปดูโพสต่าง ๆ เช่นกันว่ามีทัศนคติอย่างไร เพื่อที่จะได้รู้ว่าเคมีในการทำงานจะเข้ากับทางลูกค้าหรือไม่ ดังนั้นแล้วหากคุณจะเข้าไปทำงานกับใครจงระวังในเรื่องการแสดงออกของตัวคุณเองในโลกออนไลน์ เพราะทุกอย่างนั้นมันตามสืบได้หมดในยุคนี้
8. Digital Security
8.1. ระบบความปลอดภัยบนมือถือ(Mobile security)1.การตั้งรหัสรูปร่างการใช้งานโดยการตั้งรหัสรูปร่างนี้จะมีแต่เฉพาะระบบ Android เท่านั้น ที่ใช้วิธีการลากตามจุดทั้งหมด 9 จุด คุณสามารถเลือกวิธีการลากได้ตามที่ต้องการเพียงครั้งเดียวโดยที่ไม่ยกนิ้วขึ้น ซึ่งข้อดีของวิธีนี้จะอยู่ตรงที่ถ้าใช้ดีๆ การปลดล็อคจะมีความรวดเร็วมาก ทำให้คนอื่นมองเห็นไม่ทัน แต่ในทางกลับกันถ้าจอสกปรกก็จะทำให้เห็นรอยนิ้วมือได้ง่าย2.การตั้งรหัสผ่าน หรือ Password / PIN3.ตั้งระบบสแกนลายนิ้วมือ4.ใช้ระบบสแกนม่านตา (Iris)5.ใช้ระบบสแกนใบหน้า
9. Digital Identity
9.1. อัตลักษณ์ดิจิตอลเป็นข้อมูลเกี่ยวกับกิจการที่ใช้โดยระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นตัวแทนของตัวแทนภายนอก ตัวแทนดังกล่าวอาจเป็นบุคคลองค์กรแอปพลิเคชันหรืออุปกรณ์ ISO / IEC 24760-1 กำหนดอัตลักษณ์เป็น "ชุดคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับเอนทิตี" ข้อมูลที่มีอยู่ในตัวตนดิจิตอลช่วยให้คำถามเหล่านี้[ ซึ่ง? ]จะตอบโดยไม่ต้องมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการของมนุษย์ ข้อมูลประจำตัวแบบดิจิทัลช่วยให้เราสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์และบริการที่จัดหาให้โดยอัตโนมัติและทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น คำว่า "เอกลักษณ์ดิจิทัล" ยังหมายถึงลักษณะด้านพลเมืองและอัตลักษณ์ส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูลประจำตัวที่แพร่หลายเพื่อเป็นตัวแทนของผู้คนในระบบคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันข้อมูลดิจิทัลมักใช้ในลักษณะที่ต้องใช้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่เก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ทางแพ่งหรือระดับชาติ นอกจากนี้การใช้ตัวตนดิจิทัลได้แพร่หลายมากจนการอภิปรายจำนวนมากเรียกว่า "เอกลักษณ์ดิจิทัล" เนื่องจากเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่สร้างขึ้นโดยกิจกรรมออนไลน์ของบุคคลนั้น ซึ่งรวมถึงชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านกิจกรรมการค้นหาออนไลน์วันเดือนปีเกิดความมั่นคงทางสังคมและประวัติการซื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งว่าข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลสาธารณะและสามารถนำมาใช้เพื่อค้นพบเอกลักษณ์ทางแพ่งของบุคคลนั้นได้ ในแง่กว้างนี้เอกลักษณ์ดิจิทัลเป็นรูปแบบหรือแง่มุมของอัตลักษณ์ทางสังคมของบุคคล นอกจากนี้ยังอาจจะเรียกว่าเป็นตัวตนออนไลน์ ผลกระทบด้านกฎหมายและสังคมของเอกลักษณ์ดิจิทัลมีความซับซ้อนและท้าทาย อย่างไรก็ตามความต้องการเหล่านี้เป็นผลมาจากการใช้คอมพิวเตอร์ที่เพิ่มขึ้นและความต้องการที่จะให้คอมพิวเตอร์มีข้อมูลที่สามารถใช้เพื่อระบุตัวแทนภายนอกได้
10. Digital Emotional Intelligence
10.1. E.Q. = Emotional Quotient เป็นตัวชี้วัดความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) คือ ความสามารถของบุคคลที่จะตระหนักรู้ในความคิด ความรู้สึก และภาวะอารมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่นได้ มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของตน ทำให้สามารถชี้นำความคิดและการกระทำของตนได้อย่างสมเหตุสมผล สอดคล้องกับการทำงาน และการดำเนินชีวิต โดยมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น ๆ1. การตระหนักรู้ในตนเอง (self-awareness หรือ knowing one’s emotion) เป็นความสามารถที่จะรับรู้และเข้าใจ ความรู้สึก ความคิดและอารมณ์ของตนตามความเป็นจริง สามารถประเมินตนเองได้อย่างตรงไปตรงมา 2.การบริหารจัดการกับอารมณ์ของตน (managing emotion) เป็นความสามารถที่จะจัดการกับอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม มีความสามารถในการควบคุมตนเอง ปรับตัว และมีความสามารถในการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต 3. การจูงใจตนเอง (motivation oneself) เป็นความสามารถในการจูงใจตนเอง ที่เรียกว่า แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ มองโลกในแง่ดี สามารถนำอารมณ์และความรู้สึกของตนเองมาสร้างพลังในการกระทำสิ่งต่างๆ และเป็นพลังในการให้กำลังใจตนเองในการคิดและกระทำอย่างสร้างสรรค์ 4.การรู้จักสังเกตความรู้สึกของผู้อื่น (recognizing emotion in others) เป็นการรับรู้อารมณ์และความต้องการของผู้อื่น เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา และสามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม 5.การดำเนินการด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น (handling relationships) เป็นความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลรอบข้าง อันจะส่งผลให้เกิดความเป็นผู้นำ
10.2. social and Emotional awareness
10.2.1. ความตระหนักรู้ททางสังคมเเละอารมณ์(social and Emotional awareness)Daniel Goleman นักจิตวิทยาระดับโลก ผู้เขียนหนังสือ Emotional Intelligence ได้แบ่่งรูปแบบสมรรถนะ (a competence model) ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ Richard Boyatzis และ Daniel Goleman ได้กลั่นกรองสมรรถนะของผู้นำ ออกมาเป็น 12 สมรรถนะ โดยเบื้องหลังของสมรรถนะนั้นเกิดจากการประเมินแบบ 360 องศา คือ ให้ผู้นำประเมินตนเอง และ ผู้คนรอบข้างร่วมกันประเมินผู้นำด้วย โดยทั้ง 12 สมรรถนะนี้ ถูกเรียกรวมกันว่า ESCI (Emotional and Social Competency Inventory) แยกย่อยอยู่ใน 4 กลุ่มหลัก ดังนี้ กลุ่มที่ 1 การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-Awareness) 01 การตระหนักรู้อารมณ์ตนเอง (Emotional Self-awareness) คือ สามารถรับรู้ถึงอารมณ์ต่างๆ ของตนเอง และ ผลกระทบจากอารมณ์เหล่านั้น . กลุ่มที่ 2 การบริหารจัดการตนเอง (Self-Management) 02 การควบคุมอารมณ์ตนเอง (Emotional Self-control) คือ การรักษาท่าทีได้ ไม่ผลีผลาม ไปตามอารมณ์ที่ปั่นป่วน . 03 ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) คือ มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเองให้ดีขึ้น ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ สามารถอดทน ดำรงอยู่ในความคลุมเคลือ ความไม่แน่นอนได้ . 04 การดำรงอยู่บนทางแห่งความสำเร็จ (Achievement Orientation) คือ การมุ่งมั่นปรับปรุง พัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอาจเปรียบเทียบกับตัวเองในอดีต หรือ กับบุคคลต้นแบบ (role models) สนใจใคร่รู้ ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย และ สามารถปรับสมดุลระหว่างพลังความมุ่งมั่นภายในตนเอง กับการบรรลุผลสำเร็จได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน . 05 การมีมุมมองเชิงบวก (Positive Outlook) คือ ความสามารถในการมองเห็นข้อดีในบุคคล ในสถานการณ์ และ เหตุการณ์ต่างๆ ยืนหยัดอยู่บนทางสู่เป้าหมายได้ต่อไป แม้ว่าจะพลาดพลั้ง หรือ พบเจออุปสรรค ยังคงเห็นโอกาสในสถานการณ์เหล่านั้นได้ . กลุ่มที่ 3 การตระหนักรู้ทางสังคม (Social Awareness) 06 การเข้าถึงใจ (Empathy) คือ ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น รวมถึงมุมมองที่เขามองสิ่งต่างๆ ใส่ใจอย่างกระตือรือร้น ต่อความกังวลใจของเขา มากไปกว่านั้น ยังสามารถรับรู้ถึงข้อดี และ ข้อจำกัด ของผู้อื่น รู้ถึงสิ่งที่กระตุ้นขับดันให้เกิดการกระทำ หรือ ต่อต้านให้เกิดความถดถอย สามารถอ่านอารมณ์ความรู้สึก จากภาษากายได้อย่างยอดเยี่ยม . 07 การตระหนักรู้ในองค์กร (Organizational Awareness) คือ ความสามารถในการอ่านกระแสอารมณ์ของกลุ่ม และ เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ส่งผลเชื่อมโยงถึงกันและกัน . กลุ่มที่ 4 การบริหารความสัมพันธ์ (Relationship Management) 08 การมีอิทธิพลต่อผู้อื่น (Influence) คือ ความสามารถในการใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายโน้มนาวจูงใจผู้อื่น ให้เปลี่ยนทัศนคติ มุมมอง แนวคิด จุดยืน เพื่อผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอย่างที่พึงพอใจ ปรับเปลี่ยนการสื่อสารให้เหมาะสมตามเวลา ให้เกิดมีความคิดของตัวเอง ตัดสินใจด้วยตัวเอง . 09 การเป็นโค้ช และ พี่เลี้ยง (Coach and Mentor) คือ การรับรู้ได้ถึงสิ่งที่จำเป็นต้องพัฒนาของผู้อื่น ให้การส่งเสริมเพื่อการพัฒนาอย่างเหมาะสม ให้เครื่องมือ ให้ข้อมูล ให้โอกาส กระตุ้นให้กำลังใจ โดยเลือกใช้บทบาทการเป็นโค้ช หรือ พี่เลี้ยง . 10 การบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management) คือ มีทักษะการเจรจา และ แก้ปัญหาความขัดแย้ง . 11 การเป็นผู้นำแรงบันดาลใจ (Inspirational Leadership) คือ การมีภาวะผู้นำที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจ และ นำทางให้กับบุคคล หรือ กลุ่มได้ . 12 การทำงานเป็นทีม (Teamwork) คือ การทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ มีเป้าหมายร่วมกัน สอดคล้อง กลมเกลียว กระตุ้นให้กำลังใจ ให้ความเป็นส่วนหนึ่งของทีม มีสัญลักษณ์ร่วมกัน เกิดความรู้สึกมุ่งมั่น ภูมิใจ และ สำเร็จร่วมกัน .
10.3. Empathy
10.3.1. ความเอาใจใส่ เข้าใจความรู้สึก(Empathy)นักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ (รวมไปถึงวิชาชีพหมอ) รู้จักความแตกต่างของคำศัพท์ 2 คำนี้เป็นอย่างดี มันมีความจำเป็นที่เราต้องสังเกตความรู้สึกเหล่านี้ (ที่มีต่อคนไข้) ซึ่งอาจเกิดขึ้นในใจเราขณะปฏิบัติงาน ว่ากันว่าฝรั่งยังเข้าใจกันผิดๆ ถูกๆ เลยว่ามันเหมือนกัน แต่จริงๆ ในมุมมองทางด้านอารมณ์ความรู้สึกแล้วนั้นแตกต่างกันอย่างชัดเจน สรุปนิยามสั้นๆ :- Empathy แปลได้ใจความประมาณว่า การที่เรา "รู้และเข้าใจ" ถึงความรู้สึกของผู้ป่วย แต่จิตของเราก็ยังเป็นตัวของเราอยู่ อยู่บนความเป็นกลาง ฟังด้วยใจ ฟังแบบไม่อคติ ไม่ตัดสิน Sympathy นั้นจะหมายถึงว่าเรา "เข้าใจและอิน" ไปกับอารมณ์ของผู้ป่วยด้วย เช่น ถ้าคนไข้เครียด ร้องไห้เสียใจ เราก็จะร้องไห้เสียใจ หรือมีการตัดสินผ่านประสบการณ์ของตนเอง คำถาม : นักจิตวิทยาควรจะมี Empathy หรือ Sympathy ดีล่ะ? อย่างไหนเหมาะสมกว่ากัน..? คำตอบ : โดยหลักแล้ว นักจิตวิทยาต้องเป็นคนที่มี "Empathy" ครับ นั่นคือการรับรู้และเกิดความเข้าใจในสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับอีกบุคคลหนึ่งอย่างแท้จริง อันเนื่องมาจากการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ทำให้เข้าใจว่าคนนั้นรู้สึกต่อเรื่องนั้นยังไง (Feel the emotion) แต่ไม่ใช่เราไปรู้สึกตามต่อเรื่องนั้นที่ได้ยินได้ฟังนะครับ ทั้งนี้ การที่นักจิตวิทยาสามารถอินความรู้สึกของผู้ป่วยถือเป็นสิ่งที่ดีครับ แต่ว่าถ้าเราถลำลึกมากเกินไปอารมณ์เหล่านั้นที่เกิดมามันก็อาจจะทำให้เราเครียดตามไปด้วยได้ และแน่นอน การที่เราเครียดหรือทุกข์ใจต่อสิ่งที่ได้รับฟัง เราก็จะทำอะไรไม่ได้ ตัดสินใจไม่ถูก ลองนึกสภาพคนไข้ในวอร์ดบางแห่ง ไม่ใช่น้อยๆ ครับ สมมุติถ้าไปอยู่วอร์ดเด็ก ก็จะมีเด็กที่น่าสงสารมากมาย และหลายคนที่พ่อแม่ก็รู้ว่าลูกไม่มีทางได้กลับเป็นปกติอีกแล้ว สิ่งที่เราสามารถทำได้คือ เข้าใจ และ ตัดสินใจตามรูปการณ์ของแต่ละเคสว่าจะช่วยเหลือเขาอย่างไร มิใช่พอเจอะเรื่องนี้เจอเรื่องนั้นแล้วก็ไปนั่งหดหู่หรือสังเวชใจ ร้องไห้ด้วยความสงสารเด็ก หรือไปคิดว่าทำไมโลกนี้ช่างไม่ยุติธรรมเลย อะไรแบบนี้ เมื่อมาถึงตรงนี้คงทำให้เห็นได้ว่าคุณสมบัติข้อหนึ่งของนักจิตวิทยาและหมอพึงมี คือต้องมีจิตใจที่แข็งแกร่งพอสมควรทีเดียว และต้องรู้จักใช้มุมมองของคนไข้มาเป็นแรงผลักดันให้เดินไปข้างหน้า ไม่ใช่ไปเจอเคสนั้นเคสนี้ มีแต่ปัญหาประดังเข้ามาให้เรารับรู้ แล้วเราไปมองโลกด้านลบ แบบนี้มันคงไม่ใช่วิถีของการเป็น "ผู้ช่วยเหลือ" ที่มีประสิทธิภาพ สาขาวิชาจิตวิทยาระดับปริญญาตรีมีรายวิชา "Sensitivity Training" ที่เน้นการฝึกสอนปฏิบัติให้กับ 'นักศึกษาจิตวิทยา' โดยเฉพาะ ในประเทศไทยเนื้อหา Sensitivity Training เปิดสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในระดับปริญญาตรีเป็นแห่งแรกครับ โดยที่เนื้อหา Sensitivity Training นี้ในต่างประเทศเป็นที่นิยมมากในหมู่คนทำงานและระดับองค์กร มีการนำเทคนิคเรื่อง Empathy มาใช้ในการฝึกร่วมรับความรู้สึกของเพื่อนร่วมงาน, ลูกน้อง, หัวหน้า ในบริษัท อันจะสร้างเสริมความสัมพันธ์ภายในองค์กรให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เกิดความเข้าใจกันและกัน ลดข้อขัดแย้ง ความขุ่นข้องใจ ตลอดจนปัญหาทางด้านความสัมพันธ์ต่างๆ เพื่อเอื้อต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมักจะมีการเชิญนักจิตวิทยามาจัดทำ group therapy ให้ในทริปพักผ่อนประจำปีของบริษัท