1. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.1. 1. คอมพิวเตอร์ 2 เครื่องขึ้นไป
1.2. 2. เน็ตเวิร์กการ์ด เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่าย
1.3. 3. สื่อกลางและอุปกรณ์รับส่งข้อมูล
1.4. 4. โปรโตคอล เป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ ใช้ติดต่อสื่อสารกันผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โดยจะติดต่อกันได้นั้น จะต้องใช้โปรโตคอลเดียวกัน
1.5. 5. ระบบปฏิบัติการเครือข่าย เป็นตัวที่คอยจัดการเกี่ยวกับการใช้ งานเครือข่ายของผู้ใช้แต่ละคน และควบคุมการใช้ทรัพยากร ต่างๆของเครือข่าย
2. คอมพิวเตอร์
2.1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ต้องมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่องเชื่อมต่อกัน โดยไม่จำเป็น ต้องมีแพลตฟอร์มเดียวกัน ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละตัวควรมีประสิทธิภาพเพียงพอ สำหรับรองรับการใช้งานของผู้ใช้เครื่องนั้นๆ
2.2. แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
2.2.1. 1. ประเภทที่ใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์ของเครือข่าย ควรมีประสิทธิภาพสูงพอในการ รองรับการให้บริการต่างๆกับผู้ใช้งานเครือข่ายได้
2.2.2. 2. ประเภทที่ใช้เป็นเครื่องลูกข่าย
3. เน็ตเวิร์กการ์ด
3.1. เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย หรือ บางทีเรียกว่า แลนการ์ด ทำหน้าที่แปลงข้อมูลเป็นสัญญาณที่จะสามารถส่งไปตามสายสัญญาณหรือสื่ออื่นๆได้
4. สายสัญญาณ
4.1. สายโคแอกซ์
4.1.1. มีลักษณะคล้ายกับสายเคเบิลทีวี คือ มีแกนเป็นทองแดง ห่อหุ้มด้วยฉนวน แล้วหุ้มด้วยตาข่าย ชั้นนอกสุด เป็นวัสดุป้องกันสายสัญญาณ ไม่ค่อยนิยมใช้แล้ว
4.2. สายคู่บิดเกลียว
4.2.1. เป็นสายสัญญาณมาตรฐานที่นิยมใช้มากที่สุดในระบบเครือข่ายปัจจุบัน สายสัญญาณจะประกอบไปด้วยสายทองแดงที่ห่อหุ้มด้วยฉนวน 2 เส้น แล้วบิดเป็นเกลียวเพื่อลดสัญญาณรบกวน
4.3. สายใยแก้วนำแสง
4.3.1. เป็นสายที่แสงเป็นสัญญาณ และแก้วหรือพลาสติกใสเป็นสื่อนำสัญญาณ ทำให้ไม่ถูกรบกวนโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถส่งข้อมูลในอัตราสูงและระยะไกลกว่า
5. อุปกรณ์เครือข่าย
5.1. ฮับ(Hub)
5.1.1. เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครื่องหลายๆเครื่องเข้าด้วยกันในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางกระจายข้อมูลไปยังเครื่องอื่นๆในระบบเครือข่าย การทำงานของฮับจะใช้วิธีแบ่งช่องทางการส่งผ่านข้อมูล
5.2. สวิตซ์
5.2.1. ทำหน้าที่คล้ายกับฮับ แตกต่างที่วงจรภายในจะใช้หลักการวงจรสวิตซ์ชิงที่สลับการส่ง ข้อมูลในแต่ละพอร์ตไปมา ทำให้มีความสามารถในการส่งข้อมูลสูงกว่า
5.3. รีพีตเตอร์
5.3.1. เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายเคเบิล 2 เส้นเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มระยะทางการเชื่อมต่อระบบ เครือข่าย
5.4. บริดจ์
5.4.1. เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกออกจากกัน บริจด์จึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่าย
5.5. เร้าเตอร์
5.5.1. เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายซึ่งทำหน้าที่เสมือนสะพานเชื่อมต่อเครือข่ายท้องถิ่น หรือระบบเครือข่ายแลน เข้ากับระบบเครือข่ายแวนขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการเครือข่ายภายใน
5.6. เกตเวย์
5.6.1. เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่มีความซับซ้อนมากกว่าเร้าเตอร์หรือบริดจ์ เพราะอุปกรณ์ชนิดนี้สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอล ในระดับ Data Link และ Network Layer ที่แตกต่างกันได้มากกว่า 2 ระบบ สามารถเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลจากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีก เครือข่ายหนึ่ง หรือเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลในโปรแกรมประยุกต์ได้