ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Track and organize your meetings within your company

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ by Mind Map: ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. แบ่งตามขนาดทางกายภาพ

1.1. 1.เครือข่ายท้องถิ่น(LAN) เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันทั้งหมดโดยอาศัยสื่อกลางภายในพื้นที่ระยะใกล้ อาจเป็นได้ตั้งแต่เครือข่าย แบบง่ายๆ เช่น มีคอมพิวเตอร์สองเครื่องเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณไปจนถึงเครือข่ายที่ซับซ้อน แต่ลักษณะสำคัญ ของ LAN ก็คือ เครือข่ายจะครอบคลุมพื้นที่จำกัดมี3 รูปแบบ คือ

1.1.1. 1. แบบบัส (Bus) มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10-100 MB/s จะเชื่อมต่อกันบน สายสัญญาณเส้นเดียวกัน โดยจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า T-Connector เป็นตัวแปลงสัญญาณข้อมูลเพื่อนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และ Terminator ในการปิดหัวท้ายของสายในระบบเครือข่ายเพื่อดูดซับข้อมูลไม่ให้เกิดการสะท้อนกลับของสัญญาณ

1.1.2. 2. แบบสตาร์ (Star) เป็นระบบที่มีเป็นการต่อแบบรวมศูนย์ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องจะต่อสายเข้าไปที่อุปกรณ์ ที่เรียกว่า Hub หรือSwitchจะทำหน้าที่เปรียบเป็นศูนย์กลาง ที่ทำหน้าที่ กระจายข้อมูล โดยข้อดีของการต่อในรูปแบบนี้ คือ หากสายสัญญาณเกิดขาดในคอมพิวเตอร์เครื่องใด เครื่องหนึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ จะสามารถใช้งานได้ ปกติแต่หากศูนย์กลางคือ Hub หรือ Switch เกิดเสียจะ ทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้ทั้งระบบ

1.1.3. 3. แบบริง (Ring) เป็นระบบที่มีการส่งข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะมีเครื่อง Server หรือ Switch ในการปล่อยวงแหวนเครือข่าย (Token) เพื่อตรวจสอบว่ามีเครื่อง คอมพิวเตอร์ใดต้องการส่งข้อมูลหรือไม่ และระหว่างการส่งข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่ต้องการส่งข้อมูลจะต้องทำการรอให้ข้อมูลก่อนหน้านั้น ถูกส่งให้สำเร็จเสียก่อน

1.2. 2. เครือข่ายในเขตเมือง (MAN: Metropolitan Area Network) หรือเครือข่ายแมน คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากจะมีขนาดครอบคลุมเมือง หรือบริเวณมหาวิทยาลัย ระบบโครงสร้าง พื้นฐานโดยปกติแล้วจะเป็นระบบไร้สายเช่น การใช้คลื่นไมโครเวฟหรือ ใช้ใยแก้วนำแสง เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสถานที่ต่างๆ เข้าด้วยกัน

1.3. 3. เครือข่ายบริเวณกว้าง (WAN: Wide Area Network) เป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยง เครือข่ายแบบท้องถิ่นตั้งแต่2เครือข่ายขึ้นไปเข้าด้วยกันผ่านระยะทางที่ ไกลมากโดยการเชื่อมโยงจะผ่าน ช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะของบริษัทโทรศัพท์หรือองค์การ โทรศัพท์ของประเทศต่างๆ เช่น สายโทรศัพท์แบบแอนะล็อก สายแบบดิจิทัล ดาวเทียม ไมโครเวฟ เป็นต้น

2. 2. แบ่งตามหน้าที่ของคอมพิวเตอร์

2.1. 1. เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์(Peer to Peer Network) เป็นการเชื่อมต่อเครื่อง คอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะสามารถ แบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกัน ภายในเครือข่าย ได้เครื่องแต่ละเครื่อง จะทำงานในลักษณะที่ทัดเทียมกัน ไม่มี เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เป็นเครื่องหลัก การเชื่อมต่อแบบนี้มักทำในระบบ ที่มีขนาด เล็กๆ การเชื่อมต่อแบบนี้ มีจุดอ่อนในเรื่อง ของระบบรักษาความปลอดภัย แต่ถ้าเป็น เครือข่ายขนาดเล็กและ เป็นงานที่ไม่มีข้อมูลที่เป็นความลับ มากนัก

2.2. 2. เครือข่ายแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server Network) ภายในระบบเครือข่ายแต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้ บริการทรัพยากรต่างๆ ให้กับเครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ ซึ่งอาจจะ ต้องเป็นเครื่องที่มี ประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง ถึงจะทำให้การให้บริการมีประสิทธิภาพตามไป ด้วย ข้อดีของระบบเครือข่าย Client - Server เป็นระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงกว่า ดูแลรักษาง่ายและสะดวกมีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้ทรัพยากรต่างๆให้กับเครื่องผู้ขอใช้บริการ หรือเครื่อง Client

2.3. 3. ประเภทของ Server ที่ให้บริการต่างๆ เครื่องศูนย์บริการข้อมูลโดยมักเรียกว่า เครื่องเซิร์ฟเวอร์เป็น คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่บริการ ทรัพยากรให้ กับเครื่องลูกข่ายบนเครือข่าย เช่น บริการไฟล์ (File Server) การบริการงานพิมพ์ (Print Server) เป็นต้น อาจเป็นคอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์หรือ ไมโคร คอมพิวเตอร์ก็ได้โดยคอมพิวเตอร์ที่ ออกแบบมาเพื่อใช้งานเป็นเซิร์ฟเวอร์นี้มักจะมีสมรรถนะสูง รวมถึงถูก ออกแบบมาเพื่อรองรับ ความ ทนทานต่อความผิดพลาด(FaultTolerance) เนื่องจากต้องทำงาน หนัก หรือ ต้องรองรับงาน ตลอด 24 ชั่วโมง อาจมีได้หลายลักษณะ แล้วแต่ความเหมาะสม ในการทำงาน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

2.3.1. 1. File server เซิร์ฟเวอร์จะเป็นผู้จัดการระบบไฟล์บนดิสก์บนเครื่องของตนเอง โดยรับคำสั่งจากผู้ขอใช้บริการหรือ Client ว่าจะอ่านหรือบันทึก ข้อมูลกับไฟล์ใด แล้วจึงจัดการกับไฟล์ในดิสก์ หรือส่งข้อมูล กลับตามที่ถูกขอมา

2.3.2. 2. Application Server/ Database Server เป็นการทำงานที่ซับซ้อนกว่า File Server อีกระดับหนึ่ง ตัวอย่างที่ เราพบบ่อยๆ คือ Database Server หรือ SQL Server ซึ่งจะย้ายหน้าที่ การค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลหรือ Databaseมาไว้ที่ เซิร์ฟเวอร์เอง เช่น เมื่อเครื่อง Clientต้องการค้นหาข้อมูลเรคอร์ดหนึ่งที่มีเงื่อนไข ตรงตามที่กำหนด แทนที่จะต้องอ่านข้อมูลทุกเรคอร์ด (ทั้งไฟล์)มาเปรียบเทียบ ซึ่งจะ ต้องมีการส่งข้อมูลจำนวน มากผ่านสาย LAN ก็ เปลี่ยนเป็นทางฝั่ง Client เพียงแค่ส่งชื่อไฟล์ และเงื่อนไขที่ต้องการค้นหามา ให้Database Server ค้นหาแล้วส่งเฉพาะเรคอร์ดที่ต้องการ กลับไป ซึ่งวิธีส่งเงื่อนไขให้ค้นหาข้อมูลมา ที่ Database Server นี้ปัจจุบัน นิยมใช้เป็นภาษาSQL(Structure Query Language) จึงมัก เรียก Database Server อีกอย่างหนึ่งว่า SQL Server

2.3.3. 3. Print Server เรียกว่าระบบ SPOOL (Simultaneous Peripheral Operation On-Line) ซึ่งจะ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถพิมพ์งานได้พร้อมกันหลายคน โดยเครื่อง Client สั่งพิมพ์งาน จะส่ง ข้อมูลไปให้เครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ซึ่งก็จะรีบเอาข้อมูลนั้นเก็บลงฮาร์ดดิสก์ ไว้ก่อน จากนั้นเมื่อมีเวลาว่าง พอก็จะทยอยเอาข้อมูลของแต่ละคนที่ส่งมาเข้าคิว กันไว้นั้นไปพิมพ์จริงๆ อีกทีหนึ่ง

3. 3. แบ่งตามระดับความปลอดภัย ของข้อมูล

3.1. 1.อินเทอร์เน็ต (Internet) เครือข่ายสาธารณะหรืออินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์ เป็นล้านๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบ อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร กันได้อย่างอิสระ โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่างๆ ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้ ส่วน ข้อเสียของอินเทอร์เน็ตคือความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่แลกเปลี่ยนผ่าน อินเทอร์เน็ต

3.2. 2. อินทราเน็ต (Intranet) เครือข่ายส่วนบุคคลหรือตรงกันข้ามกับ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วน บุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ที่ทำให้ อินทราเน็ตทำงานได้อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่ องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กร ใช้เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะใน อินทราเน็ตเท่านั้น หรือถ้ามีการแลกเปลี่ยน ข้อมูลกับโลกภายนอกหรืออินเทอร์เน็ตองค์กร นั้นสามารถที่จะกำหนดนโยบายได้

3.3. 3. เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือเอ็กซ์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อ ระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กรดังนั้นจะมี บางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกัน ระหว่างสององค์กรหรือ บริษัท การสร้าง อินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยีแต่จะยาก ตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย ของข้อมูลที่ทั้งสอง องค์กรจะต้องตกลงกัน