ภูมิประเทศของโลก

Track and organize your meetings within your company

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ภูมิประเทศของโลก by Mind Map: ภูมิประเทศของโลก

1. ลักษณะของเปลือกโลกมีลักษณะรูปแบบต่างๆ กัน บางบริเวณมีลักษณะไม่ราบเรียบ สูงๆ ต่ำๆ บางบริเวณเป็นที่ราบลุ่มที่มีน้ำท่วมถึง บางบริเวณเป็นที่สูง เป็นกรวดเป็นทรายกว้างขวาง บางบริเวณเป็นภูเขาสูงสลับกับหุบเขาลึก ซึ่งเราสามารถแบ่งลักษณะภูมิประเทศตามสภาพสูงต่ำของเปลือกโลกได้ 3 รูปแบบ ได้แก่

1.1. 1. ที่ราบ (plain) หมายถึง พื้นผิวโลกที่เป็นที่ราบเรียบหรือขรุขระก็ได้ โดยมีความต่างระดับในท้องถิ่น ( local relief)ไม่เกิน 150 เมตร และโดยปกติจะอยู่สูงกว่าระดับทะเลไม่เกิน 100 เมตร ความแตกต่างระหว่างพื้นที่ระหว่างที่ต่ำกับที่สูงจะมีไม่มากนัก โครงสร้างของหินที่รองรับจะวางตัวอยู่ในแนวราบหรือเกือบราบ ลักษณะที่ราบจะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

1.1.1. 1.1 ที่ราบแม่น้ำ (river plains) หรือที่ราบลุ่มแม่น้ำ (allurival plains) เป็นที่ราบที่มีลักษณะสำคัญคือมีแม่น้ำไหลผ่านบนพื้นที่ของที่ราบ และปรากฏลักษณะชัดเจนในบริเวณปากแม่น้ำ นอกจากนี้บริเวณที่ราบแม่น้ำจะมีลักษณะภูมิประเทศอื่นปะปนอยู่ด้วย เช่น 1.ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมบริเวณปากแม่น้ำ (deltaic plains) เกิดจากแม่น้ำนำตะกอนดินมาทับถมให้ตื้นเขินขึ้นที่บริเวณปากแม่น้ำ 2.ที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plains) เป็นที่ราบที่อยู่ริมแม่น้ำ จะมีน้ำท่วมเอ่ออยู่เป็นเวลานาน3.ลานตะพักลำน้ำ (river tereace) เป็นที่ราบริมแม่น้ำที่แม่น้ำกัดเซาะพื้นผิวโลก และนำตะกอนมาทับถมไว้

1.1.2. 1.2 ที่ราบชายฝั่ง (coastal plains) เป็นที่ราบที่เกิดบริเวณชายฝั่งทะเลโดยคลื่นและกระแสลมจะพัดพาเอาโคลน ทราย และตะกอนต่างๆ มาทับถมไว้ที่ชายฝั่ง ลักษณะที่ราบชายฝั่งทะเลมีหลายลักษณะ เช่น 1.ที่ราบชายฝั่งทะเลทั่วไปเมื่อคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง 2.ที่ราบบางแห่งเป็นพื้นที่กว้างขวางมีภูเขาโดดๆ 3.ที่ราบบางแห่งเป็นที่ราบแคบๆ ชายฝั่ง

1.1.3. 1.3 ที่ราบดินตะกอนเชิงเขา (piedmont alluvial plains) เป็น ที่ราบที่เกิดจากน้ำและลมพัดพาดินตะกอนจากภูเขามาทับถมไว้บริเวณเชิง เขา ซึ่งจะกระจายแผ่ออกเป็นลักษณะดินตะกอนรูปพัด ถ้าเป็นแนว ภูเขาต่อเนื่องกันยาว อาจเกิดเป็นดินตะกอนรูปพัดหลายๆ อันต่อเนื่องกันเป็นผืนกว้างขวาง บริเวณที่ราบดินตะกอนเชิงเขาจะประกอบด้วยดินหยาบๆ และกรวดซ้อนอยู่เป็นชั้นๆ กรวดเหล่านี้จะอยู่ชั้นล่าง ส่วนที่เป็นดินทับอยู่ข้างบน ลักษณะเช่นนี้จะระบายน้ำได้ดี

1.1.4. 1.4 ที่ราบธารน้ำแข็ง ใน พื้นที่ที่เป็นเขตหนาวและเขตอบอุ่น จะปรากฏที่ราบที่เกิดจากธารน้ำแข็งกัดกร่อนเปลือกโลกให้ราบลง ที่ราบที่เกิดจากธารน้ำแข็งจะมีร่องรอยของการขูดครูด ทำให้เกิดทะเลสาบหรือแอ่งน้ำกระจายอยู่ทั่วไป แหล่งน้ำเหล่านี้มีขนาดต่างๆ กัน เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากธารน้ำแข็งขุดลึกลงไปในเปลือกโลก

1.1.5. 1.5 ที่ราบภายในทวีป เป็นที่ราบที่เกิดขึ้นจากการยกตัวของผืนทวีปหรือเปลือกโลก ทำให้ท้องทะเลบางแห่งภายในผืนทวีปตื้นเขินขึ้นกลายเป็นที่ราบซึ่งจะมีพื้นที่กว้างขวางมาก ได้แก่ เกรตเพลนส์ (great plains) ในทวีปอเมริกาเหนือ มีพื้นที่บริเวณกว้างจากตะวันตกของสหรัฐอเมริกาเข้าไป

1.2. 2. ที่ราบสูง (plateau) หมายถึง บริเวณพื้นที่ที่มีระดับสูงขึ้นกว่าบริเวณที่อยู่โดยรอบ ส่วนใหญ่มักเป็นบริเวณที่มีเนื้อที่กว้างใหญ่ เป็นพื้นที่ที่มีความต่างระดับมากกว่า 150 เมตร (ความสูงในท้องถิ่นมากกว่า 150 เมตร) และสูงกว่าระดับทะเลตั้งแต่ 100 เมตร จนถึง 1,500 เมตร ส่วนโครงสร้างของหินที่รองรับวางตัวอยู่ในแนวระนาบหรือเกือบราบ โดยมีขอบชันหรือผาชัน (escarpment) อยู่อย่างน้อยหนึ่งด้าน หรือมีทิวเขากั้นเป็นขอบอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นที่ราบสูงถ้าแบ่งตามเกณฑ์ลักษณะที่ตั้งมี 3 รูปแบบ คือ ที่ราบสูงระหว่าง ภูเขา ที่ราบสูงเชิงเขา และที่ราบสูงทวีป ลักษณะที่ราบสูงถ้าแบ่งตามเกณฑ์ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ ที่ราบสูงหินแนวราบ ที่ราบสูงหินผิดรูป ที่ราบสูงหินลาวา

1.3. 3. ภูเขาและเนินเขา (mountains and hills) หมายถึง บริเวณพื้นที่ที่มีความสูงจากบริเวณรอบๆ ทั้งภูเขาและเนินเขา มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วๆ ไปเหมือนกัน แตกต่างอยู่ที่ความต่างระดับและความลาดชัน (slope) ภูเขาจะมีความต่างระดับซึ่งเป็นที่สูงเกิน 500 เมตร ส่วนเนินเขาเป็นพื้นที่ที่มีความสูงน้อยกว่า (ประมาณ 150-500 เมตร) ความไม่ราบเรียบของภูเขาและเนินเขาขึ้นอยู่กับการวางตัวของหิน ทำให้แบ่งลักษณะภูเขาและเนินเขาออกเป็น 4 รูปแบบ คือ

1.3.1. 3.1 ภูเขาโก่ง (folded Mountains) หรือ fold ภูเขาประเภทนี้มีมากที่สุดและเป็นภูเขาที่สำคัญ เกิดจากการโก่งตัวของเปลือกโลกเนื่องจากได้รับแรงกดและแรงบีบ ส่วนที่โก่งขึ้นเรียกว่า โค้งรูปประทุนหรือกระทะคว่ำ (anticline) ส่วนที่โก่งลงเรียกว่า โค้งรูปประทุนหงายหรือกระทะหงาย (syncline) ตัวอย่างภูเขาที่ขึ้นชื่อของโลกคือ เทือกเขาร็อกกี (Rocky) เทือกเขาแอนดีส (Andes) เทือกเขาแอลป์ (Alps) เทือกเขาจูรา (Jura) ในทวีปยุโรป

1.3.2. 3.2 ภูเขาบล็อก (fault-block mountains) เกิดจากการเลื่อนตัวของเปลือกโลกในลักษณะของรอยเลื่อนหรือรอยเหลื่อม (faulting) คือ เกิดแนวแตกของเปลือกโลกซีกหนึ่งจมยุบลงและดันให้อีกซีกหนึ่งยกตัวขึ้นสูงเป็นภูเขา

1.3.3. 3.3 ภูเขาโดม (dome mountains) เกิดจากการดันตัวของหินละลาย (lava) หรือหินหนืด (magma) ภายในโลก พยายามแทรกเปลือกโลกแต่ไม่สามารถดันออกมาภายนอก จึงแข็งตัวภายใต้เปลือกโลก เมื่อหินที่ปกคลุมอยู่เดิมสึกกร่อนไปหมด จะเหลือแต่แกนหินซึ่งเป็นหินอัคนีซึ่งเกิดจากการดันตัวของหินละลาย

1.3.4. 3.4 ภูเขาไฟ (Volcanic Mountains) เกิดจากการดันตัวของหินละลาย (lava) และหินหนืด (magma) ที่ขับออกมาตามรอยแตกแยกของเปลือกโลกคือ ออกมาภายนอกโลกได้ ทำให้เกิดมูลภูเขาไฟ (cinders) เถ้าถ่าน ฝุ่นละออง และโคลนเหลวไหลปลิวตกรอบๆ ปล่องภูเขา ภูเขาไฟจึงมีรูปร่างคล้ายกับกรวยหรือรูปฝาชีเพราะการไหลของลาวากระจายออกมาเสริมรูปร่างของภูเขา บริเวณภูเขาไฟและที่ใกล้เคียงจะพบหินซึ่งมีรูพรุนที่เกิดจากฟองอากาศ ถ้าเป็นภูเขาไฟซึ่งมีการระเบิดรุนแรง จะพบวัตถุภูเขาไฟ

2. ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏเด่นชัด (Major Landforms) มี 3 อย่างที่เด่นชัด

2.1. 1.ภูเขา (Mountain) หมายถึงผืนดินบริเวณที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งพันฟุต เมื่อเทียบกับบริเวณโดยรอบ ภูเขาส่วนใหญ่มีฐานกว้าง และมียอดเขา (Peak) แหลม ยอดเขาคือส่วนที่มีลักษณะแหลมบนยอดของภูเขา ภูเขาเกิดขึ้นได้โดยหลายวิธีด้วยกัน ภูเขาอาจก่อตัวขึ้นเมื่อแผ่นเปลือกโลก (Tectonic Plate) สองแผ่นเข้าปะทะกัน และทำให้แผ่นดินบางส่วนถูกดันขึ้นจนเป็นภูเขา “เทือกเขาหิมาลัย” (The Himalayas Mountain Range) ในทวีปเอเชียเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการก่อตัวของภูเขาในแบบนี้ ภูเขาบางลูกอาจเกิดขึ้นตามรอยเลื่อน (Fault) หรือรอยแยกของเปลือกโลก

2.2. 2.เนินเขา (Hill) หมายถึงผืนดินที่มีความสูงมากกว่าบริเวณรอบๆ และมียอดโค้งมน ซึ่งเนินเขาจะมีขนาดเล็กกว่า และพื้นดินจะสลับซับซ้อนน้อยกว่าภูเขา

2.3. 3.ที่ราบ” (Plain) หมายถึงพื้นดินที่ราบเกือบเสมอกันหมด ประชากรมากกว่าครึ่งบนโลกของเราอาศัยอยู่บนที่ราบ ซึ่งเป็นลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏอยู่มากกว่า 55เปอร์เซ็นต์บนผิวโลก การก่อสร้างเมืองบนที่ราบนั้นง่ายกว่ามาก และการเดินทางบนที่ราบก็เช่นกัน ที่ราบส่วนใหญ่บนโลกเป็นผืนแผ่นดินที่สมบูรณ์ และพืชผลทางการเกษตรส่วนใหญ่ของโลกเราก็ปลูกบนที่ราบ