ด้านที่ 1 ผลสัมฤทธิ์ด้านวิชาการของผู้เรียน

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ด้านที่ 1 ผลสัมฤทธิ์ด้านวิชาการของผู้เรียน by Mind Map: ด้านที่ 1 ผลสัมฤทธิ์ด้านวิชาการของผู้เรียน

1. ความสามารถในการอ่าน เขียน การสื่อสารและการคิดคำนาณตามเกณฑ์ของแต่ละระดับ

1.1. ชื่อโครงการ

1.1.1. ยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

1.2. แผนงาน

1.2.1. สนับสนุนการจัดการศึกษาตั้งแต่ปฐมวัยจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.3. สนองกลยุทธิ์

1.3.1. กลยุทธ์ ท่ี 1 เร่งรัดพัฒนายกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดย ใช้สื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่นในกระบวนการจัดการ เรียนรู้ที่ หลากหลาย

1.4. สนองมาตรฐานการศึกษา

1.4.1. มาตรฐานโรงเรียน มาตรฐานที่ 2 3 4 5

1.5. ลัษณะโครงการ

1.5.1. โครงการต่อเนื่อง

1.6. กลุ่ม/หน่วยงานที่รับผิดชอบ

1.6.1. กลุ่มบริหารงานวิชาการ

1.7. ผู้รับผิดชอบโครงการ

1.7.1. นายณฤทธิ์ หนูสมแก้ว

1.8. งบประมาณทั้งสิ้น

1.8.1. 3,500 บาท

1.9. ระยะเวลาในการดำเนินงาน

1.9.1. 1 พฤษภาคม 2559 – ๓๐ เมษายน 2560

1.10. หลักการและเหตุผล

1.10.1. การดำเนินโครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการอ่านการเขียน และยกระดับ ผลสัมฤทธิ์การเรียนภาษาไทยเป็นการด าเนินงานที่มุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถทักษะภาษาไทย โดยเฉพาะการอ่าน และการเขียนของนักเรียนที่อ่อนด้อยด้านการอ่านและการเขียนให้สามารถอ่านออกเขียนได้ตาม มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 1 (ชั้น ป.3) ตามนโยบาย และกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของ กระทรวงศึกษาธิการ และของส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการวิเคราะห์ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน และการเขียนของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 255๘ ของโรงเรียนบ้านพัฒนา พบว่าจากข้อมูล การประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ( NT) ปีการศึกษา 255๘ พบว่ามี คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 5๐.๙๑ และข้อมูลการประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนภาษาไทยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 (O - NET) ปีการศึกษา 255๘ พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๓๙.๗๒ ซึ่งต่ ากว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ที มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๔๔.๙๘ จากข้อมูลดังกล่าว โรงเรียนบ้านพัฒนาจ าเป็นต้องก าหนดโครงการนี้ขึ้นเพื่อพัฒนาครูให้สามารถจัด กิจกรรมการเรียนการสอนให้สามารถแก้ปัญหาและพัฒนานักเรียนที่ยังอ่านและเขียนไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์การเรียนภาษาไทยให้เพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง

1.11. วัตถุประสงค์

1.11.1. 1. เพื่อส่งเสริม และพัฒนายกระดับผลสัมฤทธิ์การเรียนภาษาไทย ของนักเรียนทุกระดับชั้น เพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 5 2. เพื่อส่งเสริมและพัฒนานักเรียนชั้นประถมศกึษาปีที่ 1 - 3 ให้อ่านออก เขียนได้ตามเกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ขึ้นไป อ่านคล่อง เขียนคล่อง และมีปัญหาอ่าน เขียน ภาษาไทยลดลงอย่างน้อยร้อยละ 2 3.เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะภาษาไทย แก่นักเรียนที่สนใจ และมีความสามารถภาษาไทยเป็น พิเศษ 4.เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ครูผู้สอนภาษาไทย พัฒนาสื่อ/นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อ พัฒนาการอ่าน การเขียน และ/หรือยกระดับผลสัมฤทธิ์การเรียนภาษาไทย ของนักเรียน

1.12. เป้าหมาย

1.12.1. เชิงปริมาณ

1.12.1.1. 3.1.1 ผลสัมฤทธิ์การเรียนภาษาไทยของนักเรียนทุกระดับชั้น เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 5 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา 3.1.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ร้อยละ 80 อ่านออก เขียนได้ตามเกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ขึ้นไป อ่านคล่อง เขียนคล่อง และนักเรียนมีปัญหาอ่าน เขียนภาษาไทยลดลงอย่างน้อยร้อยละ 2 เมื่อ เปรียบเทียบกับปีการศึกษาที่ผ่านมา 3.1.3 นักเรียนที่สนใจ และมีความสามารถภาษาไทยเป็นพิเศษ ร้อยละ 80 ได้รับการส่งเสริม และพัฒนาทักษะภาษาไทย 3.1.4 ครูผู้สอนภาษาไทย ร้อยละ 80 สามารถพัฒนาสื่อ/นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อ พัฒนาการอ่าน การเขียน และ/หรือยกระดับผลสัมฤทธิ์การเรียนภาษาไทยของนักเรียนที่มีคุณภาพ

1.12.2. เชิงคุณภาพ

1.12.2.1. 3.2.1 ผลสัมฤทธิ์การเรียนภาษาไทยของนักเรียนทุกระดับชั้น เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 5 เมื่อ เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา 3.2.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 อ่านออก เขียนได้ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ขึ้นไป อ่านคล่อง เขียนคล่อง 3.3.3 นักเรียนที่สนใจ และมีความสามารถภาษาไทยเป็นพิเศษ มีทักษะการใช้ภาษาไทยเป็นไป ตามมาตรฐานหลักสูตร 3.2.3 ครูผู้สอนภาษาไทย พัฒนาสื่อ/นวัตกรรมส าหรับใช้แก้ปัญหา/พัฒนาผู้เรียนที่อ่อนด้อย ด้านการอ่าน และการเขียน และยกระดับผลสัมฤทธิ์การเรียนภาษาไทยได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

1.13. ประโยชนืที่คาดว่าจะได้รับ

1.13.1. 1 นักเรียนทุกระดับชั้นมีพัฒนาการด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ 2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยสูงขึ้น 3 นักเรียนเห็นคุณค่าและมีจิตส านึกในความเป็นไทย