เทคโนโลยีสัมพันธ์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
เทคโนโลยีสัมพันธ์ by Mind Map: เทคโนโลยีสัมพันธ์

1. เทคโนโลยีท้องถิ่นและเทคโนโลยีนําเข้า

1.1. เทคโนโลยีนำเข้า

1.1.1. แม้ว่าเทคโนโลยีทางการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย จะมีอยู่ในระดับสูง แต่เทคโนโลยีอุตสาหกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศ ยังกล่าว ได้ว่าอยู่ในระดับต่ำ เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ เทคโนโลยีการขนส่ง เทคโนโลยีเหล่านี้ จำเป็นต้องรับเอามาจากต่างประเทศ และนำมาพัฒนา ปรับปรุง ให้เหมาะสม กับสภาพสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต และวัฒนธรรม ของสังคมไทย

1.1.2. ตัวอย่างเทคโนโลยีนำเข้า

1.1.2.1. เทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น เทคโนโลยีการผลิต และการพัฒนายาใหม่ เทคโนโลยีการ วินิจฉัยโรค เทคโนโลยีของอวัยวะเทียม

1.1.2.2. เทคโนโลยีการขนส่ง ได้แก่ การเดินรถ เช่น รถยนต์ รถไฟ รถไฟฟ้าการเดินเรือ เครื่องบิน การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์

1.2. เทคโนโลยีท้องถิ่น

1.2.1. เทคโนโลยีระดับต่ำ (Low technology) ส่วนมากเป็น เทคโนโลยีที่มีอยู่แต่เดิม ตัวอย่างเช่น ยาสมุนไพรพื้นบ้าน ครกตำข้าว ลอบดักปลา และกระต่ายขูดมะพร้าว เป็นต้น

1.2.2. ตัวอย่างเทคโนโลยีท้องถิ่น

1.2.2.1. เทคโนโลยีระดับกลาง (Intermediate technology) เกิดจากการปรับปรุงพัฒนา เทคโนโลยี ระดับต่ำ หรือเทคโนโลยีพื้นบ้านขึ้นมา เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การผลิตอาหาร โดยใช้ ผลิตผลเหลือใช้ จากการเกษตร

1.2.3. เทคโนโลยีท้องถิ่น หมายถึง เทคโนโลยีดั้งเดิม ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ ในการดำเนิน ชีวิต ก ของ คนในท้องถิ่นนั้น เทคโนโลยีท้องถิ่น จะมีลักษณะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ของท้องถิ่น เทคโนโลยีที่เหมาะสม กับท้องถิ่น ควรมีพื้นฐานมาจาก การพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้าน โดยการดัดแปลงแก้ไข ความรู้พื้นฐาน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เป็นประโยชน์ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2. เทคโนโลยี คืออะไร

2.1. เทคโนโลยี (Technology) คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น

2.2. ตัวอย่างเทคโนโลยี

2.2.1. Ouya and other ‘microconsoles’ will disrupt home gaming

2.2.1.1. เครื่องเกมส์คอนโซลขนาดจิ๋วจะเริ่มเข้ามาเป็นหนึ่งในตัวเลือกสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการเล่นเกมส์ภายในบ้าน แม้ว่าในปี 2013 จะมีเครื่องเกมส์ชั้นนำอย่าง PlayStation 4 และ Xbox One เปิดตัวออกมา แต่ก็มีคู่แข่งม้ามืดอย่าง Ouya เครื่องเกมส์คอนโซลขนาดจิ๋วที่มีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับสองรุ่นแรก และแนวโน้มในปี 2014 น่าจะมีเครื่องเกมส์คอนโซลแนวนี้นี้ถูกผลิตออกมาอีกหลายรุ่น

2.2.2. Mobile fitness devices will grow even bigger

2.2.2.1. อุปกรณ์ไฮเทคเพื่อการออกกำลังกายได้รับความนิยมมากขึ้น โดยมีการพัฒนาอุปกรณ์เสริมที่ใช้งานร่วมกับแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน เช่นเครื่องนับก้าวเดิน สายรัดข้อมือสำหรับการติดตามกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารและมุ่งเน้นการดูแลสุขภาพทำให้ผู้คนตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น

3. ความสัมพันธ์เเละบทบาทของเทคโนโลยี

3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ตัวอย่าง เช่น 1. การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การค้นหาข้อมูลทางด้านการศึกษาง่ายขึ้น และกว้างขวางอย่างไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกมากขึ้นในการค้นคว้าวิจัยต่างๆ 2. การดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้มีความคล่องตัวและความสะดวกเร็วมากขึ้นกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตระจำวันก็สามารถทำได้หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน หรือใช้เวลาน้อย เป็นต้น 3. การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันกันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้มีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ส่งประโยชน์ให้ประเทศชาติมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 4. อัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นรวดเร็ว เพราะการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าและ ทันสมัยในปัจจุบัน จึงทำให้โลกของเราเป็นโลกไร้พรมแดน 5. ระบบการทำงาน เพราะจะต้องมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการทำงานมากขึ้นและงานบางอย่างที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ก็มีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทน

4. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

4.1. ความสำพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์

4.1.1. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ได้จากการที่นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาและวิจัยจนได้ข้อสรุปที่เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ได้จากการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์โดยอาศัยการวิจัยและพัฒนาอย่างเป็นระบบ ดังนั้น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงมีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างมาก เพราะทั้ง2อย่างนั้นต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน

4.1.1.1. เทคโนโลยีทางด้านอวกาศ

4.2. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับเกษตรศาสตร์

4.2.1. วิทยาการที่เกี่ยวข้องกับศิลปะในการนำเอา วิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านการเกษตร

4.2.1.1. เทคโนโลยีการปลูกพืชแบบไฮโดรพอนิกส์

4.3. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศึกษาศาสตร์

4.3.1. การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้นั้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย เช่น - ปัญหาผู้สอน - ปัญหาผู้เรียน - ปัญหาด้านเนื้อหา - ปัญหาด้านเวลา ปัญหาเรื่องระยะทางนอกจากนั้นการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนและเพิ่มประสิทธิผล

4.3.1.1. เทคโนโลยีการศึกษาแบบออนไลน์

4.4. ความสัมพันธ์ระหว่างโภชนศาสตร์

4.4.1. เป็นการนำวิทยาการที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในด้านของโภชนาการ

4.4.1.1. เทคโนโลยีการถนอมอาหารโดยการพาสเจอร์ไรซ์และการสเตอริไลซ์ เป็นการใช้ความร้อนทำงานจุลินทรีย์และเอนไซม์ที่ให้โทษ เมื่ออาหารผ่านการพาสเจอร์ไรซ์แล้วต้องเก็บรักษาโดยใช้ความเย็นทันที ส่วนการสเตอริไลซ์ไม่ต้องแช่เย็น

4.5. ความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและสิ่งแวดล้อม

4.5.1. - เทคโนโลยีจากพลังงานแสงอาทิตย์ มี 2 รูปแบบ คือ ใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และใช้เพื่อผลิตความร้อน

4.5.1.1. เทคโนโลยีจากพลังงานลม อาศัยเทคโนโลยีกังหันลม

4.5.1.2. เครื่องกลเติมอากาศ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” เติมอากาศเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนลงในน้ำ เหมาะสำหรับแหล่งน้ำสาธารณะและแหล่งน้ำธรรมชาติ

4.5.1.3. การนำเศษแก้วมารีไซเคิลใหม่ในอุตสาหกรรมการผลิตขวดแก้ว ช่วยลดพลังงานในการหลอมวัตถุดิบและต้นทุนการผลิต

4.6. ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ศาสตร์

4.6.1. เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ เป็นแสงที่มีคลื่นต่าง ๆ กัน ถูกนำมาใช้ในการผ่าตัดที่ต้องการความละเอียด

4.6.1.1. เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เป็นการนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมกับคลื่นวิทยุมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค

4.6.2. วงการแพทย์ได้นำเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้ทั้งการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรค เพื่อให้การรักษาอาการเจ็บป่วยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น

4.6.2.1. การนำสารกัมมันตรังสีและรังสีมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค โดยการรับประทานหรือฉีดเข้าไปในร่างกายแล้วตรวจด้วยเครื่องมือแสดงภาพอวัยวะ

5. เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ

5.1. 1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศและเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

5.2. 3.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านศึกษา แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาไว้ 5 ประเด็น คือ 3.1.การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3.2.การศึกษาทางไกล (Distance Learning) ซึ่งจัด ได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct to Home : DTH) หรือระบบการประชุมทางไกล (Video Teleconference) 3.3.เครือข่ายการศึกษา(Education Network) ซึ่งเป็นการนำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งมีบริการในหลายรูปแบบ 3.4.การใช้งานในห้องสมุด (Electronic Library) เป็นการประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูลหนังสือ วารสาร หรือบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ผลงานการวิจัย 3.5.การใช้งานในห้องปฏิบัติการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองสถานการณ์ (Simulation)

5.3. 2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้ เช่นโรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลผู้ต้องขัง และคนตาบอดที่สามารถอ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY(Digital Accessible Information System)

5.4. 5.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากร ธรรมชาติ นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวม จากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม

5.5. 4.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนาด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้ 4.2 การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน 4.3 สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้ 4.4 เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น 4.5 เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และ ติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำเป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น 4.6 ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกลทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย